บริษัท เอสซีพีการบัญชีกรุ๊ป จำกัด รับทำบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน,และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ โทรติดต่อ 083-4923837 คุณสมนึก
วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554
คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบปี 2555 ช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ประสบอุทกภัย
สำนัก งานประกันสังคม เผยมติคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ม.33 และม.39 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัยในวงกว้าง โดยลดอัตราเงิน สมทบกองทุนประกันสังคมปี 2555 เตรียมเร่งยื่นเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เพื่อออกกฎกระทรวงบังคับใช้ต่อไป
นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินต่อบ้านเรือน บริษัทห้างร้านสถานประกอบการต่างๆ และส่งผลกระทบต่อนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วกัน ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมจึงได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันสังคม โดยคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในปี 2555 โดยลดจากอัตราเงินสมทบที่จ่ายในปัจจุบันฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ดังนี้
ครึ่งปีแรก (1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 2
ครึ่งปีหลัง (1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 4 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 1
ทั้ง นี้ รัฐบาลยังคงจ่ายสมทบในอัตราเดิม คือ 2.75 การลดอัตราเงินสมทบในครั้งนี้ จะช่วยแบ่งเบาภาระนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละประมาณ 16,700 ล้านบาท ในส่วนของผู้ประกันตนแบ่งเบาภาระ ได้เฉลี่ยคนละประมาณ 1,700 บาท/ปี (คำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39)
การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนเดิมทุกกรณี โดยเฉพาะการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ
ทั้ง นี้ มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)
วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554
แนววินิจฉัยของสรรพากร เรื่อง สวัสดิการอาหารให้พนักงานวันละ 3 มื้อ และ เรื่องค่ากาแฟ เครื่องดื่ม ใช้รับรองลูกค้า
ภาษีซื้ออันเกิดจากค่าเครื่องดื่ม กาแฟ น้ำตาลและคอฟฟี่เมท สำหรับรับรองลูกค้า เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อการรับรอง จึงเข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่สามารถขอคืนภาษีหรือนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (กค 0802/พ21395 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2536)
(ที่มา : คำอธิบาบ VAT ภาษีซื้อทั้งระบบ อาจารย์อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์)
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ครั้งที่ 2-5/2554-2557 (2554
สรุปสาระสำคัญจากการประชุมได้ดังนี้
1) การจัดทำและนำเสนองบการเงินระหว่างกาลของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระในการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินระหว่างกาลของกิจการ ที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีมีความเห็นว่าควรมีการออกประกาศสภาฯ เกี่ยวกับการจัดทำและนำเสนองบการเงินระหว่างกาลของกิจการที่ไม่มีส่วนได้ เสียสาธารณะโดยให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 34 เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอรายการและการเปิดเผยข้อมูลได้ โดยไม่ถือว่าขัดกับข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่ มีส่วนได้เสียสาธารณะ
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
- เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณียื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา- ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
- เงินเพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
- ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท
- เงินเพิ่มอีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าที่กระทรวงพาณิชย์
การยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน ค่าปรับจะมีอยู่ 2 ส่วนนะครับคือ ในส่วนของกรมสรรพากร กับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ลองมาดูในส่วนของกรมสรรพากรกันก่อน คุณต้องเสียค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่เกิน 2,000 บาท เค้าใช้คำว่าไม่เกิน 2,000 บาทนะครับ แต่แนวปฏิบัติของสรรพากรจะเรียกเก็บค่าปรับ 1,000 บาท สำหรับแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเกิน 7 วัน ค่าปรับจะอยู่ที่ 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ถ้าคุณไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ผมแนบตารางค่าปรับมาให้ (ดููตารางค่าปรับด้านล่าง) การจ่ายค่าปรับให้ดูในเรื่องของระยะเวลา ถ้าคุณยื่นล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับจะอยู่ที่ 1,200 บาท โดยจ่ายค่าปรับในนามบริษัท 600 บาท และจ่ายค่าปรับในนามกรรมการอีก 600 บาทวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญา
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30
ถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) กับ กรณีไม่เคยยื่นแบบ (อาจจะลืมยื่นหรือมีเงินไม่พอจ่ายก็เลยไม่ยื่น) 3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% - 20%
|
วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปัญหาใบกำกับภาษีที่พบบ่อย
- คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
- ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษี
ชื่อ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ,ชื่อ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, ที่อยู่ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนฯไว้ กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วน แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว - ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อ คือชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ชื่อการของสถานประกอบการ ตามที่ได้จดทะเบียนฯไว้ กรณีบุคคลธรรมดาให้รวมถึงนามสกุลด้วย กรณีระบุชื่อผู้ซื้อไม่ครบถ้วน โดยมีเครื่องหมาย ไปยาลน้อย (ฯ) ละคำที่ประกอบคำหน้า แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบ การรายอื่น เช่น "การสื่อสารแห่งประเทศไทย" เขียนว่า "การสื่อสารฯ" ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว กรณีระบุชื่อผู้ชื่อ โดยตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบ การรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว
- หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่น (ถ้ามี)
- ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีด้วย ให้กระทำโดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็น สินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- มูลค่าของสินค้า หรือบริการที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากค่าสินค้าหรือบริการให้ชัดแจ้ง กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าภาษีมูลค่า เพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ คูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วย 100 อันเนื่องมาจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีตามจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าสินค้า หรือบริการ คูณด้วย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หารด้วย 100
- วันเดือนปี ที่ออกใบกำกับภาษี ใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้และให้พุทธศักราช หรือ คริสต์ศักราช ก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การส่งรายงานการประชุมใหญ่ งบดุลกิจการองค์การกุศล
rd.go.th/publish/18650.0.html
มูลนิธิ องค์การ สถานพยาบาล หรือสถานศึกษา ที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การกุศลสาธารณะไปแล้ว เว้นแต่สภากาชาดไทย วัดวาอาราม และสถานพยาบาล หรือสถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 และข้อ 10 ของ “ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรฯ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535” ดังต่อไปนี้
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
นโยบายจัดเก็บภาษี 2555 กับการใช้ผู้สอบบัญชีและผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้สอบทานความถูกต้องในงบแทนข้าราชการสรรพากร
หลังจากรับฟังรายงานแล้ว นายธีระชัย ได้มอบนโยบายการจัดเก็บภาษีสำหรับปีงบประมาณ 55 (ต.ค.54–ก.ย.55) พอสรุปความได้ดังนี้
ประการ แรก แม้จำนวนข้าราชการกรมสรรพากรจะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ จึงขอให้พิจารณาใช้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรวมทั้งผู้สอบบัญชีภาษีอากรทำ หน้าที่สอบทานความถูกต้องของงบการเงินและรายการในบัญชีแทนอัตรากำลังของข้า ราชการกรมสรรพากร
คำชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย
การปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษี กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย ดังนี้
วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554
จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดได้อย่างไร
ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
1. จำนวนเงินลงทุนหรือสิงที่ผู้เป็นหุ้นสวนแตละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้) แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
2. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะประกอบกิจการ หรือที่เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้หลาย ๆ กิจการ เพื่อความคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้า จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มหรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์ แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัดและให้อำนาจกว้างขวางมากเกินไป *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
3. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
4.การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
5. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม สถานที่ที่จะใช้เป็น
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้ชำระบัญชี เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด
ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อที่คล้ายหรือซ้ำกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ต้องขอตรวจและจองชื่อนิติบุคคลก่อนจะจดทะเบียนจัดตั้ง
*ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
เมื่อผ่านการตรวจและตอบรับจากเจ้าหน้าที่ว่าชื่อที่จะจดทะเบียนไม่คล้ายหรือซ้ำกับชื่อขอนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทำตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน *ดูหลักกณฑ์การกำหนดดวงตรา* กรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่น ขอจดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2. ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคำขอจดทะเบียนก่อน และเมื่อผ่านการตรวจและตอบรับว่าคำขอจดทะเบียนถูกต้องแล้วให้ผู้ขอจดทะเบียนสั่งพิมพ์ (print out) เอกสารคำขอจดทะเบียนดังกล่าวให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน หลังจากนั้นก็นำไปยนื่ ขอจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีความรวดเร็วกว่ากรณีการยื่น ขอจดทะเบียนตาม 1. มาก เนื่องจากนายทะเบียนจะตรวจเอกสารคำขอจดทะเบียนที่นำมายื่น นั้นว่ามีข้อความถูกต้องตรงกับที่ยื่น ไว้ทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่เท่านั้น
วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การวางแผนภาษีของอพาร์ตเม้นท์ ห้องเช่า
ของน้ำมันแพง การจราจรติดขัด และมีระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ คือ รถไฟฟ้า BTS และ
รถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้ชีวิตและการทำงานของคนกรุงเทพฯ เปลี่ยนไป ผู้ที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร
ไม่อยากอยู่ชานเมือง เพราะนอกจากจะเสียเวลาในการเดินทางวันละ 1-2 ชั่วโมง แล้ว ค่าน้ำมัน
และความเหนื่อยล้าจากจราจรติดขัด เป็นภาระและบั่นทอนความสามารถในการทำงานด้วย
ขอให้ระลึกว่าคนไม่ว่ารวยหรือจน วันหนึ่งก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ถ้าวันหนึ่งต้องใช้เวลาเดินทาง
ไปกลับจากที่ทำงาน 2 ชั่วโมง เขาเหลือเวลาเพียง 22 ชั่วโมงต่อวัน ต่างกับคนที่เดินทาง
เพียง 15 นาที เขามีเวลา 23.5 ชั่วโมง
ด้วยเหตุนี้ ที่ใดที่ใกล้โรงเรียน โรงงาน แหล่งชุมชน จึงมีอพาร์ตเม้นท์ และห้องเช่าเกิดขึ้นราวกับ
เป็นดอกเห็ด ซึ่งจริง ๆ แล้วธุรกิจนี้สร้างผลกำไรให้แก่เจ้าของไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะนอกจากคุณ
จะได้รับค่าเช่าจากห้องเช่าแล้ว ยังสามารถเก็บค่าบริการที่เกี่ยวข้องหรือเปิดร้านสะดวกซื้อในอพาร์ตเม้นท์เป็นการหารายได้เพิ่มเติม ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ค่าวัสดุ
แพงขึ้น นอกจากอพาร์ตเม้นท์ต่าง ๆ ที่ปล่อยเช่าสร้างรายได้ประมาณ 6-10% แล้ว เจ้าของยังได้กำไรจากการเพิ่มค่าของอาคารที่ให้เช่า เนื่องจากจะต้องไปสร้างอาคารใหม่จะไม่ได้ราคาเดิมอีก
ต่อไป เหมือนกับคุณผ่อนบ้านมาอยู่เอง นอกจากคุณจะได้อยู่ฟรีแล้ว ยิ่งอยู่นานไปราคาบ้านก็
สูงขึ้น เพราะบ้านเป็นสมบัติที่ยิ่งใช้ราคายิ่งแพง
ผู้ที่วางแผนจะทำอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าต้องดำเนินการในด้านภาษีดังนี้
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554
หลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
1. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้เริ่มก่อการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ หรือผู้ชำระบัญชี ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
2. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน ให้ลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนพร้อมแสดงบัตรประจำตัวต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบ ในกรณีที่ไม่อาจลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนได้ ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ให้ผู้ขอจดทะเบียนลงลายมือชื่อด้วยตนเองต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้
2.1 กรณีลงลายมือชื่อในราชอาณาจักร
(1) พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งประจำอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอ
จดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่ *โปรดคลิก*
(2) สามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือ
(3) บุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด ได้แก่
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตรวจสอบบัญชี
- กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัดซึ่งสามารถรับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่หอการค้าตั้งอยู่ ตามประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง *ดูรายชื่อกรรมการหรือเจ้าหน้าที่หอการค้าหรือหอการค้าจังหวัด ได้ที่หัวข้อ “กฎหมายและระเบียบฯ/ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์/ประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง”*
2.2 กรณีลงลายมือชื่อในต่างประเทศ
(1) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้า
สำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว
(2) บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น หรือ
(3) บุคคลที่ควรเชื่อถือได้สองคนมาลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้านายทะเบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง
3. สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ ต้องแสดงหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) สำเนาบัตรประจำตัวที่แสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ เช่น บัตรประจำตัวพนักงานของรัฐ บัตรประจำตัวสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา สำเนาบัตรสภาทนายความ
เป็นต้น
(2) กรณีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองลายมือชื่อ ให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้
- กรณีที่ผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพ.ร.บ. ผู้สอบบัญชี
พ.ศ.2505 ให้แนบหลักฐานสำเนาใบอนุญาตคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาสอบบัญชี ซึ่งยังไม่หมดอายุ
- ผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
พ.ศ. 2547 ให้แนบหลักฐานสำเนาใบอนุญาตของสภาวิชาชีพบัญชี และสำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี
ตรวจสอบบัญชี
(3) กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัด ให้แนบ สำเนาบัตรที่แสดงสถานะว่าเป็นกรรมการหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัด หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่หอการค้าไทยหรือหรือการค้าจังหวัด
ในกรณีที่ไม่มีบัตรประจำตัวดังกล่าวข้างต้น ให้แนบหนังสือรับรองที่ออกโดยประธานหอการค้าซึ่งได้รับรองว่าบุคคลผู้รับรองลายมือชื่อเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัดนั้น
“สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ จะให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนหรือผู้รับรองลายมือชื่อเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องก็ได้”
4. บัตรประจำตัวที่ผู้มาติดต่อราชการต้องแสดงต่อนายทะเบียน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุหรือเอกสารอื่นที่ใช้แทนเอกสารดังกล่าวได้ตามกฎหมาย
เอกสารอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัว หมายถึง เอกสารที่รับรองความเป็นตัวตน
ของผู้ถือเอกสารนั้น ๆ ไม่ใช่บัตรอนุญาต หรือเอกสารที่ใช้สำหรับติดต่อหน่วยงานต่างๆ เช่น ใบอนุญาตขับรถ ไม่ถือว่าเป็นเอกสารที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน
วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554
หลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนและบริษัท
1.1 ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อรัฐประศาสโนบาย
1.2 ใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนแน่นอน
1.3 ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
1.4 ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.5 กิจการจัดหางาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวจากกรมการจัดหางาน
1.6 กิจการนายหน้า ตัวแทน และตัวแทนค้าต่างในธุรกิจต่างๆ เว้นแต่จะได้ระบุว่ายกเว้นกิจการประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
1.7 กิจการเกี่ยวกับการรับจำนองทรัพย์สิน เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า “โดยมิได้รับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนและใช้ประโยชน์จากเงินนั้น”
1.8 กิจการนายหน้าประกันภัย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
1.9 กิจการแชร์
1.10 กิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า (คอมโมดิตี้) เว้นแต่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.11 กิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจตลาดแบบตรงการศึกษา โรงเรียน สถาบันการศึกษา เว้นแต่จะได้ระบุข้อความว่า “เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว”
2. แบบวัตถุประสงค์สำเร็จรูปที่กรมฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอจดทะเบียนมี 5 แบบ คือ
(1) แบบ ว.1 การประกอบพาณิชยกรรม *ดูตัวอย่าง*
(2) แบบ ว.2 การประกอบธุรกิจบริการ *ดูตัวอย่าง*
(3) แบบ ว.3 การประกอบอุตสาหกรรมและหัตถกรรม *ดูตัวอย่าง*
(4) แบบ ว.4 การประกอบเกษตรกรรม *ดูตัวอย่าง*
(5) แบบ ว.5 การประกอบธุรกิจสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค *ดูตัวอย่าง*
3. การใช้แบบวัตถุที่ประสงค์สำเร็จรูปแนบคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนสามารถเลือกใช้ได้เฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อความในแบบวัตถุที่ประสงค์สำเร็จรูปไม่ได้
4. ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนมีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมวัตถุประสงค์จากที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์สำเร็จรูป ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องจัดทำวัตถุที่ประสงค์ขึ้นใหม่โดยใช้แบบ ว. สีขาว จดทะเบียนบริษัท
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัทจำกัดและตราสำคัญ
1. กรรมการของบริษัทจองชื่อนิติบุคคล *ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
2. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทาง
ไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อย
กว่า 14 วัน และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัทและตราสำคัญของบริษัท รวมทั้ง
แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อ) ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน
การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอก
กล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็น
วันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น
3. ในการลงมติให้แก้ไขชื่อ และตราสำคัญของบริษัท รวมทั้งแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ
1. (ชื่อ) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่ม
ประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
4. จัดทำคำขอจดทะเบียน รายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อบริษัท)โดย
ให้กรรมการตามอำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจดทะเบียนแล้วยนื่ จดทะเบียนต่อนายทะเบียน
5. ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนตราสำคัญไว้โดยระบุชื่อบริษัทไว้ในตรา บริษัทต้องจด
ทะเบียนแก้ไขตราสำคัญให้สอดคล้องกับชื่อใหม่ด้วย ให้ระบุรายการแก้ไขตราสำคัญไว้ในคำขอจด
ทะเบียนเดียวกับการแก้ไขชื่อบริษัท จดทะเบียนบริษัท
บริษัทกับห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร
.
.
.
นี่ คือคำถามที่มักได้ยินกันจนเคย แต่ก็ยากที่จะให้คำตอบที่ถูกต้อง มากที่สุดคำถามหนึ่ง ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า นิติบุคคล คืออะไร “นิติบุคคล คือบุคคลตามกฎหมายที่สมมติขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ (ป.พ.พ.) หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งโดยสภาพแล้วจะมีได้แต่ในบุคคลธรรมดาเท่า นั้น เช่น สิทธิการเป็นบิดา มารดา บุตร สิทธิในการสมรส เป็นต้น”
แล้วข้อแตกต่างระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร คืออะไรละ...
1. การก่อตั้ง การตั้งห้างหุ้นส่วนจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้แต่ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็น นิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) ส่วนการตั้งบริษัทจำกัดนั้นกฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียนเสมอ
2. จำนวนสมาชิก บริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน และผู้ถือหุ้นจะรับผิดจำกัดในหนี้สินของบริษัทเพียงไม่เกินจำนวนเงิน ตามค่ามูลค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น ส่วนห้างหุ้นส่วนกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีผู้ถือหุ้นกี่คน แต่หุ้นส่วนของห้างจะต้องรับผิดไม่จำกัดเว้นแต่จะจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำกัด หุ้นส่วนก็จะรับผิดจำกัดเท่ากับทุนที่ตนแจ้งไว้ว่าจะลงในห้างเหมือนบริษัท แต่หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
3. สภาพความเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัดสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ต่างๆ หนี้สิน ทำสัญญา และดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง ในนามของบริษัทเองโดยตัวแทนของกิจการ ส่วนห้างหุ้นส่วนนั้นถ้าจดทะเบียนก็จะมีสภาพเช่นเดียวกันกับบริษัท
4. วัตถุประสงค์ ทั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทก็หวังที่จะได้กำไรจากการลงหุ้น แต่บริษัทผู้ถือหุ้นอาจไม่ได้ต้องการผลกำไรจากการดำเนินงานของตัวกิจการโดย ตรง แต่หวังที่จะได้ส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้นก็ได้
5. สิ่งที่นำมาลงเป็นหุ้น ห้างหุ้นส่วนสามารถที่จะนำเงิน สินทรัพย์ หรือแรงงานมาลงทุนก็ได้ แต่บริษัทต้องลงหุ้นเป็นเงิน เว้นแต่กรณีบริษัทออกหุ้นเพื่อแทนคุณแรงงาน หรือเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ ก็ทำได้
6. การโอนเปลี่ยนมือ บริษัทผู้ถือหุ้นสามารถขายหุ้นให้ใคร หรือยกให้ใครก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นคนอื่นก่อน แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่น เสียก่อนจึงจะเปลี่ยนแปลงได้เพราะคุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทนี้ถือ ว่ามีสาระสำคัญ
7. บริษัทสามารถทำการขยายทุนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน หรือออกหุ้นกู้
8. การบริหารงาน บริษัทจะบริหารงานในรูปของคณะกรรมการ โดยผู้ถือหุ้นเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการ ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเสมอไป โดยผู้ถือหุ้นจะควบคุมกิจการโดยผ่านจากการประชุมผู้ถือหุ้น (การควบคุมโดยอ้อม) ส่วนถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการบริหารงาน ของห้างต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
9. การเสียภาษี นิติบุคคลจะเสียจากรายได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกแล้ว ตามกฎหมายกำหนด
นี่ คือความแตกต่างคร่าวๆ โดยทั้งสองแบบมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ห้างจะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าบริษัท บริษัทมีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่าห้าง ห้างดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบริษัท (หลายๆ คนว่าอย่างนั้น) หรืออื่นๆ แล้วแต่จะคิดกัน แต่สำหรับผมบริษัทบางแห่งก็ทำงานแบบห้างหรือแบบเจ้าของคนเดียวอยู่ดี กลับกันห้างบางห้างเขาก็ทำงานบริหารงานกันในแบบบริษัท ท้ายสุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการที่คุณๆ จะทำกันนั่นแหละครับว่าเหมาะสมกับรูปแบบไหนและคุณคิดที่จะบริหารงานในแบบไหน ผมคงฟันธงลงไปไม่ได้ต้องเป็ตัวผู้ประกอบการเองนั่นแหละที่จะต้องตัดสินใจว่ารูปแบบไหนที่เหมาะสมกับกิจการของท่าน............. รายละเอียดการจดทะเบียนบริษัทราคาถูก
วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ขั้นตอนการดำเนินการในการจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
2. ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ผู้เริ่มก่อการจองชื่อนิติบุคคล
2. เมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อแล้ว ผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 3 คน เข้าชื่อกันจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
ผู้เริ่มก่อการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
2.1 เป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นนิติบุคคลไม่ได้
2.2 มีอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป
2.3 จะต้องจองซื้อหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น
3. ผู้เริ่มก่อการยนื่ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต่อนายทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อนิติบุคคล
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิก
1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) *ผู้ชำระบัญชีต้องลงลายมือชื่อทุกคน*
3. สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
4. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนด
อำนาจผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้
ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคน
ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อำนาจของ
กรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป 5.
ใช้เฉพาะกรณีที่สำนักงานของผู้ชำระบัญชีมิใช่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก) (
6. สำเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอ
จดทะเบียน*
9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยนื่ ขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง
ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ ด้วย)
การชำระบัญชีและการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัท
1. เมื่อเลิกบริษัทแล้ว
2. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
3. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)
ขั้นตอนตาม 2-3 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ( ณ วันที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิกหรือวันที่นาย
ทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก)
5. ส่งงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองว่าถูกต้อง
6. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก
7. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และอนุมัติงบ
การเงิน ณ วันเลิก
8. ผู้ชำระบัญชีชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท (ถ้ามีทรัพย์สินก็ให้จำหน่าย มี
ลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ชำระหนี้สิน และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของบริษัท)
9. เมื่อมีเงินคงเหลือก็ให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่กำหนดไว้ใน
ข้อบังคับ
10. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
11. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
12. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและยนื่ จดทะเบียนต่อนาย
ทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี
วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
เพื่อนบ้าน
โฆษณา2ยูดอทคอม
เพิ่มเว็บฟรี
ThaiAll
ThaiHunt.com เพิ่มรายชื่อเว็บ โฆษณาเว็บฟรี
เกมส์
ดีดีจังลิ้งค์ไดเร็คทอรี่ รวมเวบไซต์ยอดนิยมของเมืองไทย
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีบริษัทจำกัด
บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ 1.
1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
(1) กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
(2) ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
(3) ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
(4) บริษัทล้มละลาย
วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สำนักงานบัญชี
สำนักงานบัญชี ให้ความสำคัญในคุณภาพของผลงาน และการวางแผนภาษี เพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ถูกต้องตามกฎหมาย รองรับการตรวจสอบของกรมสรรพากร เราพร้อมให้คำปรึกษาในด้านการบัญชี เพื่อการวางแผนงาน และการดำเนินธุรกิจของท่าน
สำนักงานบัญชีเอสซีพี เป็นสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี จดทะเบียนบริษัท ที่ผ่านการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สามารถรองรับกับการเจริญเติบโตของผู้ใช้บริการ สำนักงานบัญชี ที่ได้คุณภาพสูง การ จดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชีให้ผู้ประกอบการได้ถูกต้องและครบถ้วนสะท้อนการดำเนินงานของกิจรวด เร็ว ดังนั้นลูกค้าที่ใช้บริการของ สำนักงานบัญชี จึงสามารถบริหารงานต่อสู้ฝ่าวิกฤติต่างๆได้ โดยใช้ข้อมูลที่ สำนักงานบัญชี ส่งให้อย่างถูกต้อง จึงทำให้สำนักงานบัญชี ได้เติบโตและมีลูกค้า มากขึ้นมาโดยตลอดและยังมีลูกค้าให้เรารับทำบัญชีบอกต่อกันอย่างต่อเนื่อง
สำนักงานบัญชี ตั้งอยู่ 293/149 ซอยประชาอุทิศ 69 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ
วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
สำนักงานบัญชี เอสซีพีการบัญชี
วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำสินค้าหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบการ หรือซื้อหามาเพื่อบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ทั้งกรณีอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยพิบัติอื่นอย่างไร
วิสัชนา ในหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำสินค้าหรือทรัพย์สินออกบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยหรือบุคคลอื่น นั้น ตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นการ “ขาย” ตามมาตรา 77/1 (8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร เข้าลักษณะเป็นการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ โดยต้องนำมูลค่าตาม “ราคาตลาด” ของสินค้าหรือทรัพย์สินที่นำออกบริจาคมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีที่ได้บริจาคนั้น ซึ่งได้แก่การบริจาคสินค้าให้แก่บุคคลหรือคณะบุคคลดังต่อไปนี้
วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย
_________________
http://www.rd.go.th/publish/39296.0.html
ตามที่ได้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในหลายจังหวัดทางภาคต่างๆ ของประเทศเป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีในท้องที่ดังกล่าวไม่อาจประกอบกิจการตามปกติและไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๓ อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีทุกประเภทในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติดังกล่าว ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญา นั้น
กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดอุทกภัย สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังนี้
การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาค-ภัยพิบัติ(3)
ขอนำประเด็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 นำมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังต่อไปนี้
ปุจฉา ช่วยสรุปหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ซึ่งบริจาคผ่านบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกครั้งหนึ่งด้วย
วิสัชนา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวต้องเป็นดังต่อไปนี้
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลดของรัฐบาล 6 มาตรการ
• 1.ประชาชนทั่วไป
– การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท
– การซ่อม ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหาย กรณีบ้านเสียหายทั้งหลังจ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อหลัง
บ้านเสียหายบางส่วนจ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาทต่อหลัง ทรัพย์สินเสียหายจ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาทต่อครัวเรือน เว้นภาษีเงินได้ผู้ประสบภัย
– ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะจัดสินเชื่อเพื่อการเคหะวงเงิน 30,000 ล้านบาท ให้วงเงินไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน
– พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือขยายเวลาการผ่อนชำระหนี้ และให้กู้เพิ่มเติมกรณีฉุกเฉิน โดยธนาคารของรัฐ
– ส่วนที่ราชพัสดุ หากที่พักอาคารเสียหายจะยกเว้นค่าเช่า หากไม่สามารถประกอบอาชีพได้เกิน 3 วัน ยกเว้นค่าเช่า 1 ปี
– จัดสวัสดิการกู้เงินจากกองทุน ให้แก่ข้าราชการครู ที่ได้รับผลกระทบ กู้ยืมอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อฟื้นฟูที่อยู่อาศัย พักชำระหนี้ข้าราชการครู ให้เงินหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาหนี้ครู
– เร่งรัดให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหม รวมทั้งขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับผู้ประสบอุทกภัย นำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวในประเทศ 15,000 บาท หักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมกันนี้ ยังมีมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน อาทิ การผ่อนผันชำระค่าไฟฟ้า 3 เดือน
ผ่อนผันค่าน้ำ
– บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ค่าบริการโทรศัพท์บ้านและค่าอินเทอร์เน็ต จำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาต่ำกว่าตลาด 20-40% ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และส่วนภูมิภาควงเงิน 2,000 ล้านบาท สร้างอาชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยเยียวยาเกษตรกร 8.1 พันล้าน
• 2.เกษตรกร
– มาตรการสำคัญช่วยฟื้นฟูด้านการเกษตร โดยจัดเงินช่วยเหลือพิเศษ วงเงิน 8,174.55 ล้านบาท จ่ายชดเชยนาข้าวไร่ละ 2,222 บาท พืชไร่ ไร่ละ 3,150 บาท พืชสวนอื่นๆ ไร่ละ 5,098 บาท ประมง ปลา ไร่ละ 4,225 บาท กุ้ง ปู หอย ไร่ละ 10,920 บาท
– สินเชื่อสำหรับกลุ่มเกษตรกร เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพไม่เกินรายละ 100,000 บาท ลดอัตราดอกเบี้ยลง 3% ต่อปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ขยายเวลาชำระหนี้วงเงินกู้เพิ่มเติมเป็นเวลา 3 ปี และงดคิดอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุเพื่อการเกษตร 1 ปี
• 3.แรงงาน
– จัดตำแหน่งงานว่างรองรับ 101,845 อัตรา ส่งเสริมอาชีพที่สนับสนุนการปรับปรุงบ้าน สภาพแวดล้อม ยกระดับฝีมือแรงงานลูกจ้างที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัย 15,000 คน จ่ายชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 50% ของเงินเดือนแต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน
– การให้สินเชื่อต้นทุนต่ำในโครงการประกันสังคมวงเงิน 8,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกันตน เพื่อซ่ *** บ้านที่ถูกน้ำท่วมของตัวเอง หรือบิดามารดา รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.5% เป็นเวลา 2 ปี ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน สำหรับผู้เข้าฝึกจาก 1% เหลือ 0.1% เป็นเวลา 1 ปี
• 4.ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
– ให้การช่วยเหลือฟื้นฟูสถานประกอบการให้เข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วที่สุดวงเงิน 500 ล้านบาท
– สนับสนุนช่องทางการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้าปลีก เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้นำเข้าด้วยการจัดโรดโชว์
– จัดวงเงินกู้เพื่อซ่อม และฟื้นฟูกิจการ โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะให้สินเชื่อแก่ผู้ประการ รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท เป็นเวลา 6 ปี ดอกเบี้ย 6%
– โครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกอบการวงเงิน 2,000 ล้านบาท รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 3 ปี
– โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานวงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจัดสินเชื่อวงเงิน 40,000 ล้านบาท ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ฝ่ายละครึ่งเพื่อปล่อยกู้ผู้ประกอบการ
– การค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ ที่ต้องการฟื้นฟูธุรกิจเป็นเวลา 7 ปี ครอบคลุมวงเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ 1 แสนล้านบาท
– ผ่อนปรนการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย และมาตรการด้านภาษีอื่นๆ
• 5.ผู้ประกอบการรายใหญ่
– จะช่วยจัดหาวัตถุดิบ เครื่องจักรและบุคลากร อำนวยความสะดวกให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาตรวจสอบซ่อม เครื่องมือเครื่องจักรที่เสียหาย
– จัดทำระบบป้องกันอุทกภัยของนิคมอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศ
– รัฐบาลจะจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และ ผู้ประกอบการเพื่อลงทุนระบบป้องกันอุทกภัยของนิคมและโรงงานวงเงิน 15,000 ล้านบาท ประสานกับเจบิคเพื่อนำเงินเข้าฝากธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยจำนวน 50,000 ล้านบาท
– ผ่อนปรนระยะเวลาพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งจัดหาวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
– ขยายเวลาการชำระภาษีแบบผ่อนชำระแก่บริษัทที่ประสบอุทกภัย
– ยกเว้นและลดหย่อนภาษีนิติบุคคล โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร สำหรับทุกเขตนิคมอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านบีโอไอให้ผู้ประกอบการทั้งในและนอกนิคม อุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัย
• 6.มาตรการอื่นๆ เช่น จัดให้มีวอร์รูม เพื่อปรับปรุงศูนย์ให้ความช่วยเหลือทั้งทางโทรศัพท์และโซเชียลเน็ตเวิร์ค ประชาสัมพันธ์และสร้างความมั่นใจให้กับต่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการ ต่างๆ ในการรับมือและการแก้ปัญหา บำบัดน้ำเสียและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยจัดทำน้ำหมักชีวภาพ เผื่อต้องใช้
เนื่องจากรัฐบาลประกาศผู้ประสบ ภัยน้ำท่วมจะได้เงินชดเชยความเสียหาย ประมาณ 5,000 บาท หรือท่วมทั้งหลังชดเชยไม่เกิน 30,000 บาท (ฟังจากข่าวทางทีวี) จึงได้หาแบบฟอร์มสำหรับยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองกรณีผู้ประสบภัยมาให้ เพื่อจะได้ใช้ในการขอเบิกกับภาครัฐฯ ต่อไป
1. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
2.แบบคำร้อง ของเขตบางพลัด (ผู้ที่อยู่เขตบางพลัดสามารถใช้แบบฟอร์มนี้ได้เลย แต่ถ้าอยู่เขตอื่นต้องเขียนใหม่ตอนยื่นเรื่องค่ะ)
3.แบบคำขอหนังสือรับรองกรณีผู้ประสบภัย หรือเจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินฯ
4.หนังสือมอบอำนาจกรณีผู้อยู่อาศัยยื่นแทนเจ้าบ้าน
วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาค(2)
การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (2)
ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
วิสัชนา การบริจาคดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ต้องดำเนินการเป็นสื่อกลางอย่างเปิดเผยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ อย่างแท้จริง
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินการในลักษณะเป็น สื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่มิใช่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตาม มาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี หรือสรรพากรพื้นที่) แสดงว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับ เงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว โดยให้แจ้งตามแบบคำขอแจ้งเป็นตัวแทนรับบริจาคที่มีข้อความอย่างน้อยตามที่ แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรทุกครั้งก่อนรับบริจาค หรือภายหลังรับบริจาคโดยต้องแจ้งในระหว่างการเกิดเหตุภัยธรรมชาตินั้น หรือแจ้งภายใน 1 เดือนนับถัดจากวันที่เหตุภัยธรรมชาตินั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
(1) กรณีดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางแต่เพียงผู้เดียว
(2) กรณีร่วมกันเป็นตัวแทนรับเงินทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค และผู้ที่ทำหน้าที่ออกหลักฐานการรับบริจาค หรือผู้ที่ดำเนินการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรับบริจาค
3. หลักฐานการบริจาคที่ผู้บริจาคจะนำมาใช้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการ บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน และเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคสินค้า แล้วแต่กรณี ได้แก่
(1) หลักฐานการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นตัวแทนในการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค ได้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ระบุข้อความที่มีสาระสำคัญว่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติดังกล่าว โดยระบุช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไปด้วย หรือข้อความอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือ
(2) หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในช่วงระยะเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติดังกล่าว ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทน
ใน การรับบริจาคดังกล่าวได้เปิดบัญชีธนาคารขึ้นเพื่อรับเงินบริจาค โดยผู้บริจาคต้องมีหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารดังกล่าวที่พิสูจน์ได้ ว่าตนเองเป็นผู้บริจาค
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือ นิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับบริจาคเป็นผู้บริจาคด้วย ให้แสดงหลักฐานตาม (1) และ (2) เป็นหลักฐานการบริจาคเพื่อใช้ยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี โดยจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีการบริจาคจริง
กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาค ที่ระบุจำนวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาคนั้น เช่น ใบกำกับภาษี ใบรับเงินที่ได้ซื้อทรัพย์สินหรือสินค้ามาบริจาค เป็นต้น หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือเป็นผู้ขายสินค้าที่ บริจาคที่แสดงต้นทุนสินค้านั้นได้ ซึ่งจะต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้ารายการเดียวกับที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนในการรับทรัพย์สินหรือสินค้าออก เป็นหลักฐานในการรับบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้านั้นให้แก่ผู้ บริจาค
4. ภายหลังจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติดังกล่าว หากยังมีเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าเหลืออยู่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม 2. ต้องส่งมอบเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับถัดจากวันยื่นแบบแจ้งคำขอเป็นตัวแทนรับบริจาค เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์
วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554
การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (1)
การยกเว้นภาษีที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (1)
นาย สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา 5 และ มาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 527) พ.ศ. 2554 ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังต่อไปนี้
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
วิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา
โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
การคำนวณภาษี
|
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ | ช่วงเงินได้สุทธิ แต่ละขั้น | อัตราภาษี ร้อยละ | ภาษีแต่ละขั้น เงินได้สุทธิ | ภาษีสะสม สูงสุดของขั้น |
1 - 150,000 | 150,000 | - | - | |
150,001 - 500,000 | 350,000 | 10 | 35,000 | 35,000 |
500,001 - 1,000,000 | 500,000 | 20 | 100,000 | 135,000 |
1,000,001 - 4,000,000 | 3,000,000 | 30 | 900,000 | 1,035,000 |
4,000,001 บาทขึ้นไป |
| 37 |
|
|
หมายเหตุ :- การ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )
หมายเหตุ ข้อมูลจากกรมสรรพากร