h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

รายจ่ายต้องห้าม โดยผลของกฏหมาย article

รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของ กฎหมาย (Legal Non Deductible Expenditure) หมายถึง รายจ่ายที่โดยปกติในทางธุรกิจรับรู้เป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิ แต่ในทางภาษีอากรกำหนดห้ามมิให้นำมาถือเป็นรายจ่าย ทั้งนี้ เพื่อความเป็นมาตรฐานในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ซึ่งอาจจำแนกรายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรได้ดังนี้
 1.มาตรา 65 ตรี (1) เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินสำรองของกิจการประกันชีวิตหรือประกับวินาศภัยในส่วน ที่ตั้งสำรองไว้เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด

2.มาตรา 65 ตรี (2) เฉพาะในส่วนที่เป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกฎกระทรวงฉบับที่ 183 (พ.ศ.2533) ทั้งนี้ จนกว่าจะได้มีการจ่ายเงินได้นั้นให้แก่พนักงานลูกจ้างไปจริง
3.มาตรา 65 ตรี (3) เฉพาะส่วนที่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือรายจ่ายเพิ่มการกีฬา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่ขาดทุนสุทธิ หรือในส่วนที่เกินกว่า 2% ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิ
4.มาตรา 65 ตรี (4) ค่ารับรองเฉพาะในส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกฎกระทรวงฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522)
5.มาตรา 65 ตรี (6) ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้ชำระ รวมทั้งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ไม่ขอคืนหรือสละสิทธิการขอคืน
6.มาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) ภาษีซื้อต้องห้าม และภาษีขายที่มิได้เรียกเก็บหรือออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
7.มาตรา 65 ตรี ผ8) เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนที่เป็นพนักงานลูกจ้างของกิจการ เฉพาะในส่วนที่มีจำนวนสูงเกินปกติ โดยไม่มีเหตุอันสมควร ซึ่งพิจารณาจากคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถประสบการณ์ ตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งเปรียบเทียบกับกิจการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน
8.มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีอื่น เช่น รายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่ผ่านมา ซึ่งในทางปฏิบัติต้องปรับปรุงบวกกลับของปีที่ลงบัญชี แต่ก็ให้ดำเนินการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่เกิดรายจ่ายขึ้นจริงปรับปรุง
9.มาตรา 65 ตรี (12) ในส่วนที่เป็นรายจ่ายค่าความเสียหายที่มีได้รับกลับคืนเนื่องจากการประกัน หรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ซึ่งกฎหมายกำหนดยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีสิทธิได้รับค่า สินไหมอันเนื่องจากการประกันหรือสัญญาค้ำประกัน อันเป็นไปตามหลักการจับคู่ของรายจ่ายกับรายได้
10.มาตรา 65 ตรี (15) รายจ่ายเกี่ยวกับการซื้อหรือขายทรัพย์สินในส่วนที่เกินปกติ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หมายถึง รายจ่ายในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งกิจกรรมทางธุรกิจ เฉพาะในส่วนที่มิได้เป็นไปตามแนวทางการดำเนินกิจการที่เป็นไปตามประเพณีทาง ธุรกิจอันเป็นปกติทั่วไป เช่น รายจ่ายค่านายหน้า ค่าส่วนลด ที่ให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าหรือทรัพย์ หรือการขายสินค้าหรือทรัพย์สินของกิจการ ที่ไม่พึงต้องจ่ายตามปกติประเพณีทางธุรกิจ
11.มาตรา 65 ตรี (17) ค่าของทรัพย์สินนอกจากสินค้าที่ตีราคาต่ำลง นอกจากสินค้าคงเหลือ และเงินตรา หรือทรัพย์สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ ได้แก่ มูลค่าของทรัพย์สินที่ด้อยค่าลง (Devalue) ซึ่งตามมาตรฐานการบัญชียอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานได้ตามปกติ
12.มาตรา 65 ตรี (18) รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ ได้แก่ รายจ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายไปจริงในการประกอบกิจการ แต่ไม่อาจหาตัวผู้รับ หรือหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์เป็นที่ประจักษ์ได้ว่ามีการจ่ายรายจ่ายนั้น ได้ โดยทั่วไปรายจ่ายทุกรายการ ต้องมีผู้รับ ซึ่งผู้รับต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ต่อไป ดังนั้น หากไม่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ผู้จ่ายรายจ่ายจึงต้องรับภาระความเสี่ยงทางภาษีอากร (Tax Risk) นั้นไว้เอง
13.มาตรา 65 ตรี (19) รายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น เงินโบนัสที่จ่ายให้แก่กรรมการ ลูกจ้างพนักงาน โดยกำหนดจ่ายจากกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีหรือในบางกรณีอาจ กำหนดจ่ายเฉพาะในบางรอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำไร แต่ในบางรอบระยะเวลาบัญชีที่ไม่มีกำไรหรือมีกำไรน้อยก็จะไม่จ่ายโบนัสดัง กล่าว หรือการกำหนดข้อผูกพันว่า บริษัทต้องจ่ายเงินให้แก่ทางราชการเป็นจำนวนร้อยละของกำไรสุทธิ รวมทั้งค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องเสียจากฐานกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (6) แห่งประมวลรัษฎากรด้วย
14.มาตรา 65 ตรี (20) รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษี สรรพสามิตต่อไปนี้
(1) มูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่ง และรถยนต์ โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เฉพาะส่วนที่เกินคันละหนึ่งล้านบาท เว้นแต่กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายหรือให้ เช่าซื้อรถยนต์ประเภทดังกล่าว ไว้เพื่อเป็นสินค้า หรือสำหรับกิจการให้เช่ารถยนต์ เฉพาะการมีรถยนต์ประเภทดังกล่าวไว้เพื่อการให้เช่า ในส่วนของมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าสึกหรอ และค่าเสื่อมราคาตามมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร
(2) ค่าเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกินสิบคน เฉพาะส่วนที่เกินคันละสามหมื่นหกพันบาทต่อเดือนในกรณีที่เช่าเป็นรายเดือน หรือรายปี หรือค่าเช่าส่วนที่เกินคันละหนึ่งพันสองร้อยบาทต่อวันในกรณีที่เช่าเป็นราย วัน เศษของเดือนให้คิดเป็นวัน หากเช่าไม่ถึงหนึ่งวัน ให้คำนวณค่าเช่าตามส่วนของระยะเวลาที่เช่า ทั้งนี้ โดยรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ภาษีลูกจ้างคนต่างด้าว

เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรจากลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17(2) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 123) ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2545 กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นผู้ยื่นรายการ ภ.ง.ด.1 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป มีหน้าที่แจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าว อย่างน้อยต้องมีข้อความตามแบบท้ายประกาศดังกล่าว สำหรับกรณีดังต่อไปนี้
1. กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าว สำหรับเงินได้ของเดือนมกราคมของทุกปี
2. กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่เข้าทำงาน
3. กรณีการจ่ายเงินได้ให้แก่คนต่างด้าวซึ่งออกจากงานในระหว่างปีภาษี สำหรับเงินได้ระยะเวลาเต็มเดือนของเดือนที่ออกจากงาน
แบบแจ้งข้อความและรายละเอียดดังกล่าว ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ...1 ของเดือนมกราคมของทุกปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวเข้าทำงานในระหว่างปีภาษี หรือของเดือนที่คนต่างด้าวออกจากงานในระหว่างปีภาษี แล้วแต่กรณี
หลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าวให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป
อย่าง ไรก็ตามในช่วงต้นแห่งการใช้บังคับตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับดังกล่าว ได้กำหนดข้อผ่อนปรนให้ดังนี้ สำหรับการแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าว สำหรับเงินได้ของเดือนมกราคม 2546 ให้ผู้จ่ายเงินได้สามารถยื่นแบบแจ้งข้อความและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้มีเงินได้ที่เป็นคนต่างด้าวพร้อมกับการยื่นแบบ ภ...1 ของเดือนมกราคม 2546 (ภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2546) หรือของเดือนกุมภาพันธ์ 2546 (ภายในวันที่ 7 มีนาคม 2546) หรือเดือนมีนาคม 2546 (ภายในวันที่ 7 เมษายน 2546) ก็ได้