โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและ
บริษัทจำกัด เพื่อให้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจขายตรง และธุรกิจตลาดแบบตรง มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความใน ข้อ ๓ วรรคสาม และข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง จัดตั้งสำนักงานทะเบียน
หุ้นส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
พ.ศ. ๒๕๔๙ ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นายทะเบียนกลางจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2557”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557
ข้อ 3 บรรดาคำสั่ง ประกาศ และระเบียบอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัด
หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๘ แห่งระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วย
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน
บริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๘ ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะต้องไม่มีคำหรือข้อความใด ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์
ปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต
(๒) ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง
(๓) ชื่อประเทศ กรณีใช้ชื่อประเทศเป็นส่วนหนึ่งของชื่อให้ระบุไว้ในวงเล็บท้ายชื่อ
(๔) ชื่อที่อาจก่อให้เกิดสำคัญผิดว่ารัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานหรือองค์การของรัฐทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นเจ้าของ
หรือผู้ดำเนินการ
(๕) ชื่อซึ่งมีคำว่า “บริษัทมหาชนจำกัด” “บริษัทจำกัด(มหาชน)” “บมจ” “สมาคมการค้า”
หรือ“หอการค้า” หรือชื่อที่คล้ายกันหรือเรียกขานคล้ายกับคำเช่นว่านั้น
(๖) ชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าประกอบธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจข้อมูลเครดิต ธุรกิจขายตรง
ธุรกิจตลาดแบบตรง กิจการประกันภัย กิจการจัดหางาน และกิจการคลังสินค้า หรือชื่อที่มีคำใดคำหนึ่งที่กำหนด
ไว้ท้ายระเบียบนี้ และที่จะกำหนดขึ้นในภายหลังประกอบชื่อ เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบ
ให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
คำว่า “โรงเรียน” “สถาบัน” “วิทยาลัย” “มหาวิทยาลัย” หรือคำในภาษาต่างประเทศ
ที่มีความหมายอย่างเดียวกัน เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้
จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๗) ชื่อที่เป็นการสลับชื่อระหว่างห้างหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนกับบริษัท หรือ
บริษัทกับบริษัท
(๘) ชื่อที่เหมือน หรือมีเสียงเรียกขานตรงกันกับชื่อห้างหุ้นส่วน หรือชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิ
หรือชื่อบริษัทที่ได้ยื่นขอจดทะเบียน หรือนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิด
ความหลงผิดได้ เว้นแต่
(๘.๑) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อแล้ว หรือ
(๘.๒) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว หรือ
(๘.๓) ชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนแล้วและปรากฏข้อความ
ว่าผู้เริ่มก่อการทุกคนตกลงให้หนังสือบริคณห์สนธิฉบับนั้นสิ้นผล และไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ภายในสิบปี นับแต่วันที่จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
(๙) ชื่อที่เหมือน หรือมีเสียงเรียกขานตรงกับชื่อห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัดที่นายทะเบียน
ขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้ว เว้นแต่จะพ้นเวลาสิบปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อ
(๑๐) ชื่อซึ่งมีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตัวเลขโรมัน
(๑๑) ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่สามารถใช้เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนและบริษัทแนบท้ายระเบียบนี้
(๑๒) ชื่อที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน
(๑๓) ชื่อที่ใช้ภาษาต่างประเทศมีความหมาย หรือเสียงเรียกขานไม่ตรงกับชื่อภาษาไทย
(๑๔) ชื่อที่ใช้คำ หรือตัวอักษรไม่ถูกหลักภาษาไทย
ผู้ขอจองชื่อต้องตรวจสอบชื่อที่ขอจองในระบบการจองชื่อ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๓๘ (๑) - (๑๑)
ก่อนจองชื่อ ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓๘ (๑๒) - (๑๔) ให้นายทะเบียนเป็นผู้ตรวจพิจารณา
กรณีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใช้ชื่อซึ่งพ้องกับชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นซึ่งได้จดทะเบียน
ไว้แล้ว หรือพ้องกับชื่อห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายคลึงกับชื่อเช่นว่านั้น
จนอาจทำให้เกิดความหลงผิดได้ จะต้องรับผิดชอบในการใช้ชื่อดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๘ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๑๑๑๕
- 2 -
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ ๔4 แห่งระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วย
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๔๔ วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจะต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อ
รัฐประศาสโนบาย
(๒) ใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนแน่นอน
(๓) ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๔) ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า
กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕) กิจการจัดหางาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวจากกรมการจัดหางาน
(6) กิจการนายหน้า ตัวแทน และตัวแทนค้าต่างในธุรกิจต่างๆ เว้นแต่จะได้ระบุว่า
ยกเว้นกิจการประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
(7) กิจการเกี่ยวกับการรับจำนองทรัพย์สิน เว้นแต่จะระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า “โดยมิได้รับฝากเงิน
หรือรับเงินจากประชาชนและใช้ประโยชน์จากเงินนั้น”
(8) กิจการนายหน้าประกันภัย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ
กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(9) กิจการแชร์
(๑0) กิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า (คอมโมดิตี้) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
ดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(11) กิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การศึกษา โรงเรียน สถาบันการศึกษา
เว้นแต่จะได้ระบุข้อความว่า “เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว”
(12) ธุรกิจขายตรง หรือธุรกิจตลาดแบบตรง เว้นแต่จะได้รับการจดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจ
ดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อ 6 คำขอจดทะเบียนซึ่งได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตาม
ระเบียบที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น
ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557
ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นายทะเบียนกลาง
ที่มา dbd.go.th
บริษัท เอสซีพีการบัญชีกรุ๊ป จำกัด รับทำบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน,และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ โทรติดต่อ 083-4923837 คุณสมนึก
วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557
หลักเกณฑ์การจดทะเบียนจัดตั้งและเพิ่มทุนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดใหม่ !
ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2558 เป็นต้นไป การยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งและเพิ่มทุนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ซึ่งมีทุนที่ขอจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมีการจัดส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการรับชาระค่าลงทุนต่อนายทะเบียน เพิ่มเติมดังนี้
1.การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
(1)กรณีชำระด้วยเงิน ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงว่าห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้นแล้ว ภายใน 15 วันนับถัดจากวันที่นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน
(2)กรณีชำระด้วยทรัพย์สิน ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ภายใน 90 วันนับถัดจากวันที่นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน
(2.1) ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
(2.2) ทรัพย์สินประเภทอื่นให้ส่งสำเนาบัญชี แสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาลงทุน
2. การจดทะเบียนเพิ่มทุนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
(1) กรณีชำระด้วยเงินให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้นแล้ว
(2) กรณีชำระด้วยทรัพย์สิน ให้จัดส่งหนังสือชี้แจงยืนยันการรับชำระค่าลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(2.1) ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
(2.2) ทรัพย์สินประเภทอื่นให้ส่งสำเนาบัญชี แสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาลงทุน
เอกสารตามข้อ2. ให้จัดส่งพร้อมกับคำขอจดทะเบียน
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะต้องแสดงจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่สอดคล้องกับการชำระค่าลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือค่าหุ้นของผู้ถือหุ้นด้วย
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อนายทะเบียน อาจเป็นเหตุให้นายทะเบียนพิจารณาเพิกถอนการจดทะเบียนได้
**************************
ส่วนพัฒนาการจดทะเบียน
กองทะเบียนธุรกิจ
18ธันวาคม 2557
1.การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
(1)กรณีชำระด้วยเงิน ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงว่าห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้นแล้ว ภายใน 15 วันนับถัดจากวันที่นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน
(2)กรณีชำระด้วยทรัพย์สิน ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ภายใน 90 วันนับถัดจากวันที่นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน
(2.1) ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
(2.2) ทรัพย์สินประเภทอื่นให้ส่งสำเนาบัญชี แสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาลงทุน
2. การจดทะเบียนเพิ่มทุนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
(1) กรณีชำระด้วยเงินให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้นแล้ว
(2) กรณีชำระด้วยทรัพย์สิน ให้จัดส่งหนังสือชี้แจงยืนยันการรับชำระค่าลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(2.1) ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
(2.2) ทรัพย์สินประเภทอื่นให้ส่งสำเนาบัญชี แสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาลงทุน
เอกสารตามข้อ2. ให้จัดส่งพร้อมกับคำขอจดทะเบียน
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะต้องแสดงจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่สอดคล้องกับการชำระค่าลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือค่าหุ้นของผู้ถือหุ้นด้วย
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อนายทะเบียน อาจเป็นเหตุให้นายทะเบียนพิจารณาเพิกถอนการจดทะเบียนได้
**************************
ส่วนพัฒนาการจดทะเบียน
กองทะเบียนธุรกิจ
18ธันวาคม 2557
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)