h1.post-title{ font-size:20px;}

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง ว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 9) พ.ศ. ๒๕๕7

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและ
บริษัทจำกัด เพื่อให้มีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจขายตรง และธุรกิจตลาดแบบตรง มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความใน ข้อ ๓ วรรคสาม และข้อ 4 แห่งกฎกระทรวง จัดตั้งสำนักงานทะเบียน
หุ้นส่วนบริษัท แต่งตั้งนายทะเบียน และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
พ.ศ. ๒๕๔๙ ออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นายทะเบียนกลางจึงออกระเบียบ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียน
ห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2557”
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557
ข้อ 3 บรรดาคำสั่ง ประกาศ และระเบียบอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัด
หรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ ๓๘ แห่งระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วย
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วน
บริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๓๘ ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจะต้องไม่มีคำหรือข้อความใด ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) พระนามของพระเจ้าแผ่นดิน พระมเหสี รัชทายาท หรือพระบรมวงศานุวงศ์ในพระราชวงศ์
ปัจจุบัน เว้นแต่จะได้รับพระบรมราชานุญาต
(๒) ชื่อกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานหรือองค์การของรัฐ
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้อง
(๓) ชื่อประเทศ กรณีใช้ชื่อประเทศเป็นส่วนหนึ่งของชื่อให้ระบุไว้ในวงเล็บท้ายชื่อ
(๔) ชื่อที่อาจก่อให้เกิดสำคัญผิดว่ารัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ราชการส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานหรือองค์การของรัฐทั้งของประเทศไทยหรือต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศเป็นเจ้าของ
หรือผู้ดำเนินการ
(๕) ชื่อซึ่งมีคำว่า “บริษัทมหาชนจำกัด” “บริษัทจำกัด(มหาชน)” “บมจ” “สมาคมการค้า”
หรือ“หอการค้า” หรือชื่อที่คล้ายกันหรือเรียกขานคล้ายกับคำเช่นว่านั้น
(๖) ชื่อภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายหรือทำให้เข้าใจได้ว่าประกอบธุรกิจ
ธนาคารพาณิชย์ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ธุรกิจข้อมูลเครดิต ธุรกิจขายตรง
ธุรกิจตลาดแบบตรง กิจการประกันภัย กิจการจัดหางาน และกิจการคลังสินค้า หรือชื่อที่มีคำใดคำหนึ่งที่กำหนด
ไว้ท้ายระเบียบนี้ และที่จะกำหนดขึ้นในภายหลังประกอบชื่อ เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบ
ให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
คำว่า “โรงเรียน” “สถาบัน” “วิทยาลัย” “มหาวิทยาลัย” หรือคำในภาษาต่างประเทศ
ที่มีความหมายอย่างเดียวกัน เว้นแต่จะได้แสดงหลักฐานความเห็นชอบให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวได้
จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
(๗) ชื่อที่เป็นการสลับชื่อระหว่างห้างหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนกับบริษัท หรือ
บริษัทกับบริษัท
(๘) ชื่อที่เหมือน หรือมีเสียงเรียกขานตรงกันกับชื่อห้างหุ้นส่วน หรือชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิ
หรือชื่อบริษัทที่ได้ยื่นขอจดทะเบียน หรือนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิด
ความหลงผิดได้ เว้นแต่
(๘.๑) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อแล้ว หรือ
(๘.๒) ชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว หรือ
(๘.๓) ชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิซึ่งนายทะเบียนรับจดทะเบียนแล้วและปรากฏข้อความ
ว่าผู้เริ่มก่อการทุกคนตกลงให้หนังสือบริคณห์สนธิฉบับนั้นสิ้นผล และไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
ภายในสิบปี นับแต่วันที่จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ
(๙) ชื่อที่เหมือน หรือมีเสียงเรียกขานตรงกับชื่อห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจำกัดที่นายทะเบียน
ขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้ว เว้นแต่จะพ้นเวลาสิบปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อ
(๑๐) ชื่อซึ่งมีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือตัวเลขโรมัน
(๑๑) ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่สามารถใช้เป็นชื่อห้างหุ้นส่วนและบริษัทแนบท้ายระเบียบนี้
(๑๒) ชื่อที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน
(๑๓) ชื่อที่ใช้ภาษาต่างประเทศมีความหมาย หรือเสียงเรียกขานไม่ตรงกับชื่อภาษาไทย
(๑๔) ชื่อที่ใช้คำ หรือตัวอักษรไม่ถูกหลักภาษาไทย
ผู้ขอจองชื่อต้องตรวจสอบชื่อที่ขอจองในระบบการจองชื่อ ตามหลักเกณฑ์ในข้อ ๓๘ (๑) - (๑๑)
ก่อนจองชื่อ ยกเว้นกรณีตามข้อ ๓๘ (๑๒) - (๑๔) ให้นายทะเบียนเป็นผู้ตรวจพิจารณา
กรณีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใช้ชื่อซึ่งพ้องกับชื่อในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นซึ่งได้จดทะเบียน
ไว้แล้ว หรือพ้องกับชื่อห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือคล้ายคลึงกับชื่อเช่นว่านั้น
จนอาจทำให้เกิดความหลงผิดได้ จะต้องรับผิดชอบในการใช้ชื่อดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๘ มาตรา ๖๗ และมาตรา ๑๑๑๕
- 2 -
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ ๔4 แห่งระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วย
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. ๒๕๕๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ข้อ ๔๔ วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจะต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
(๑) ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อ
รัฐประศาสโนบาย
(๒) ใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนแน่นอน
(๓) ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
(๔) ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า
กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(๕) กิจการจัดหางาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวจากกรมการจัดหางาน
(6) กิจการนายหน้า ตัวแทน และตัวแทนค้าต่างในธุรกิจต่างๆ เว้นแต่จะได้ระบุว่า
ยกเว้นกิจการประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
(7) กิจการเกี่ยวกับการรับจำนองทรัพย์สิน เว้นแต่จะระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า “โดยมิได้รับฝากเงิน
หรือรับเงินจากประชาชนและใช้ประโยชน์จากเงินนั้น”
(8) กิจการนายหน้าประกันภัย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการ
กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(9) กิจการแชร์
(๑0) กิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า (คอมโมดิตี้) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ
ดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(11) กิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การศึกษา โรงเรียน สถาบันการศึกษา
เว้นแต่จะได้ระบุข้อความว่า “เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว”
(12) ธุรกิจขายตรง หรือธุรกิจตลาดแบบตรง เว้นแต่จะได้รับการจดทะเบียนให้ประกอบธุรกิจ
ดังกล่าวจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
ข้อ 6 คำขอจดทะเบียนซึ่งได้ยื่นขอจดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เป็นไปตาม
ระเบียบที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นคำขอจดทะเบียนนั้น
ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2557
ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์
อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
นายทะเบียนกลาง

ที่มา dbd.go.th

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หลักเกณฑ์การจดทะเบียนจัดตั้งและเพิ่มทุนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดใหม่ !

ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2558 เป็นต้นไป การยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งและเพิ่มทุนของห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด ซึ่งมีทุนที่ขอจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องมีการจัดส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการรับชาระค่าลงทุนต่อนายทะเบียน เพิ่มเติมดังนี้

1.การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
(1)กรณีชำระด้วยเงิน ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงว่าห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้นแล้ว ภายใน 15 วันนับถัดจากวันที่นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน

(2)กรณีชำระด้วยทรัพย์สิน ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ภายใน 90 วันนับถัดจากวันที่นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน
(2.1) ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
(2.2) ทรัพย์สินประเภทอื่นให้ส่งสำเนาบัญชี แสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาลงทุน
2. การจดทะเบียนเพิ่มทุนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด
(1) กรณีชำระด้วยเงินให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดได้รับชำระเงินลงหุ้นหรือเงินค่าหุ้นแล้ว
(2) กรณีชำระด้วยทรัพย์สิน ให้จัดส่งหนังสือชี้แจงยืนยันการรับชำระค่าลงหุ้นหรือค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
(2.1) ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินที่มีทะเบียน ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
(2.2) ทรัพย์สินประเภทอื่นให้ส่งสำเนาบัญชี แสดงรายละเอียดและมูลค่าทรัพย์สินที่นำมาลงทุน
เอกสารตามข้อ2. ให้จัดส่งพร้อมกับคำขอจดทะเบียน
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะต้องแสดงจำนวนเงินหรือมูลค่าทรัพย์สินที่สอดคล้องกับการชำระค่าลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือค่าหุ้นของผู้ถือหุ้นด้วย
ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัดไม่จัดส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวต่อนายทะเบียน อาจเป็นเหตุให้นายทะเบียนพิจารณาเพิกถอนการจดทะเบียนได้
**************************
ส่วนพัฒนาการจดทะเบียน
กองทะเบียนธุรกิจ
18ธันวาคม 2557

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 199 ใบกำกับภาษีรูปแบบใหม่ บุคคลธรรมดาไม่ต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 196 เกี่ยวกับรูปแบบใบกำกับภาษีแบบใหม่ โดยจะผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2557 แต่ได้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2558 โดยสาระสำคัญในใบกำกับภาษีรูปแบบใหม่นี้จะต้องมีระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ซื้อหรือผู้รับบริการลงในใบกำกับภาษีด้วย
ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีข้อดีในแง่ของการตรวจสอบ แต่ไม่สะดวกกรณีที่บุคคลธรรมดาจะซื้อสินค้าหรือบริการ จะต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ซึ่งเป็นเลขเดียวกับบัตรประชาชน) ทางกรมสรรพากรจึงได้ออก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 199
ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ สินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกำกับภาษีนั้น โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
โดยเนื้อหาที่สำคัญในประกาศฉบับนี้ คือ ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่มเท่านั้น ดังนั้นกรณีที่ไปซื้อสินค้า และต้องการให้ออกใบกำกับภาษีในนามของบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้ ประกอบการจดทะเบียน ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งประจำตัวผู้เสียภาษีอีกต่อไป
เนื่องจากบุคคลธรรมดาไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะไม่สามารถนำภาษีซื้อ ภาษีขาย ไปหักลดหย่อนใดๆ ได้ จะใช้ได้แต่เพียงเพื่อเป็นหลักฐานในการจ่ายชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการเท่า นั้น ส่วนผู้ประกอบการที่จดทะเบียนมีสิทธิในการนำใบกำกับภาษีให้เครดิตภาษีได้ สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนก่อนที่จะรับใบกำกับภาษี จะต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และตรวจสอบให้ถูกต้องด้วย  มิฉะนั้นจะไม่สามารถนำไปเครดิตภาษีได้

ที่มา businesssoft.com

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์


กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 148/2557
เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 ก.ย.2557 โดยยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 61/2539 ลงวันที่ 1 พ.ค.2539 วางแนวทางปฏิบัติในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่จะนำไปคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร
จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา คำว่า “กิจการขายอสังหาริมทรัพย์” ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 148/2557 กำหนดความหมายไว้อย่างไร
วิสัชนา คำว่า “กิจการขายอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า การขายที่ดิน การขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง การขายสิ่งปลูกสร้าง และการขายอาคารชุด
ปุจฉา เกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายทั่วไปของกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ กำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนำรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้จะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะ เวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะ เวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ทั้งนี้ โดยให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
(1) ให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นรายได้และรายจ่ายทั้งจำนวนเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการขายนั้น
(2) ให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จในแต่ละ รอบระยะเวลาบัญชีมารวมคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือ
(3) ให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามงวดที่ถึงกำหนดชำระโดยให้ใช้วิธีการคำนวณตามอัตรากำไรขั้นต้น
การคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายตาม (2) และ (3) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดตาม (2) หรือ (3) เพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดแล้ว ให้ใช้วิธีนั้นตลอดไปสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร
การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็น กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities) ตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา bangkokbiznews.com

วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เสียภาษีอย่างไร เมื่อขายรถยนต์เก่า


   ขายรถยนต์เก่าวันนี้ขอพูดถึงรถยนต์ซะหน่อย ทุกคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่ในโลกนี้พึ่งพารถยนต์ในการเดินทางเพื่อ ประกอบธุรกิจ พบญาติ ท่องเที่ยว ซื้อสินค้าประจำวัน ธุระอื่นๆ จิปาถะ รถยนต์ที่ใช้ก็มีหลากหลายรูปแบบ หลายยี่ห้อ จำไม่หวาดไหว รถยนต์จึงเป็นปัจจัยสำคัญนอกเหนือจากอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค 

หากท่านสังเกตข้างถนนจะพบร้านขายรถ ยนต์เก่าจำนวนมาก ผู้ประกอบการขายรถยนต์เก่าที่ใช้แล้ว จะหารถยนต์เก่ามาเสนอขายหลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น ซื้อรถยนต์เก่าจากเจ้าของรถยนต์โดยตรง เข้าประมูลรถยนต์จากการขายทอดตลาด รับฝากขายรถยนต์จากเจ้าของ เป็นต้น 

การขายรถยนต์เก่าที่เป็นรถยนต์ส่วน ตัวของบุคคลทั่วไปหรือการขายรถยนต์เก่าที่ใช้แล้วของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหรือไม่ หากต้องเสียภาษีจะเสียอย่างไร เสียที่ไหน คำถามครุ่นคิดอยู่ในใจ อันนี้ไม่แปลกอะไร ส่วนใหญ่ประเด็นทางภาษีผู้ขายทรัพย์สินมักจะคิดได้หลังจากตกลงราคาซื้อขาย กันแล้ว การคิดทีหลังอาจจะทำให้เงินหรือรายได้จากการขายรถยนต์เก่าต่ำกว่าที่ตนเอง ต้องการก็ได้ 

การขายรถ ยนต์ส่วนตัวที่ใช้แล้วของบุคคลทั่วไป หรือการขายรถยนต์เก่าที่ใช้แล้วของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีประเด็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร สรุปได้ ดังนี้ 

ขายรถยนต์ส่วนตัวที่ใช้แล้วของบุคคล ทั่วไป วันดี คืนดี หากมีรายได้มากขึ้น หรืออยากได้รถยนต์คันใหม่ เพราะแคมเปญล่อตาล่อใจ หรือเพราะจะถูกยึดรถยนต์คืน หรือเพราะเหตุใดๆ ก็ตาม หากท่านที่เป็นบุคคล ธรรมดาและได้ขายรถยนต์ส่วนตัวของท่านออกไป ท่านไม่ต้องนำเงินได้จากการขายรถยนต์ส่วนตัวมาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากเป็นทรัพย์สินที่มิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร และถ้าหากรถยนต์นั้นขายได้ราคาสูงกว่า 1.8 ล้านบาท ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ 

คำตอบก็คือ ไม่เสีย เหตุผลเช่นเดียวกันกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่การขายรถยนต์ส่วนตัวนั้นจะต้องเสียอากรแสตมป์ในอัตรา 1 บาทต่อวงเงิน 200 บาท เช่น ขายรถยนต์ 2 แสนบาท จะเสียอากรแสตมป์ 1,000 บาท โดยชำระอากรแสตมป์ที่กรมการขนส่งทางบก ขณะที่ได้มีการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ 

ขายรถยนต์ เก่าที่ใช้แล้วของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กรณีที่บริษัทได้ขายรถยนต์เก่าที่ใช้แล้วของบริษัท ฯลฯ ออกไป ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์เก๋ง รถปิกอัพหรือรถยนต์บรรทุกอื่นใด จะต้องนำรายได้จากการขายรถยนต์(กำไรจากการขายทรัพย์สิน)มารวมเป็นรายได้ เพื่อคำนวณหาจำนวนกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่อไป 

ส่วนภาษี มูลค่าเพิ่มนั้น หากบริษัท ฯลฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม รถยนต์เก่าที่ขายออกไปต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ไม่ว่าขณะที่ซื้อรถยนต์มาใช้งานจะมีภาษีซื้อหรือไม่ก็ตาม พูดง่ายๆ ว่าต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อรถยนต์เมื่อได้ขายรถยนต์ออกไป โดยใช้ราคาตลาดสำหรับรถยนต์นั้น ในส่วนของอากรแสตมป์ หากบริษัท ฯลฯ ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายรถยนต์แล้ว ก็ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์แต่อย่างใด 

การขายรถยนต์เก่าที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ส่วนตัวของบุคคลทั่วไปหรือรถยนต์ของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคล ผู้ขายรถยนต์มีหน้าที่ทางภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรที่กล่าวมาข้างต้น ท่านสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนขายและซื้อรถยนต์ได้ ว่าควรจะขายหรือซื้อในราคาใด แต่ภาษีอากรเป็นเพียงปัจจัยเล็กน้อยในการขายหรือซื้อรถยนต์เก่าที่ใช้แล้ว มีปัจจัยอื่นที่เป็นตัวแปรที่สำคัญกว่านี้อีกเยอะ เช่น สภาพของรถยนต์ ดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น สวัสดีครับ 

บทความโดย : สมชาย ชูเกตุ    ที่มา : โพสต์ทูเดย์  วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (1)


ช่วงเดือนก.ย.ของทุกปี เป็นเดือนสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94

สำหรับผู้มีเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ในระหว่างเดือนม.ค.ถึงเดือนมิ.ย.ของปีภาษี ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่ จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา เงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี มีรายการเงินได้ใดบ้าง
วิสัชนา เงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้แก่ เงินได้ประเภทต่อไปนี้
1. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร จากการให้เช่าทรัพย์สิน อาทิ การให้เช่าที่ดิน บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย หนังสือ หรือแม้กระทั่งต้นไม้ แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์
2. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร จากวิชาชีพอิสระ อาทิ แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก สำนักงานบัญชีและผู้สอบบัญชี ผู้รับจ้างทำงานศิลป์ เช่น ช่างวาด ช่างปั้น ช่างหล่อ ช่างแกะสลัก
3. เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากรจากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจาก เครื่องมือ อาทิ เงินได้จากรับเหมา ก่อสร้างที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาวัสดุก่อสร้างมาใช้ในการรับจ้างเหมาด้วย
4. เงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จากการประกอบธุรกิจหรือการให้บริการ การพาณิชย์หรือการค้าขาย การเกษตรกรรมหรือเงินได้จากการขายพืชผลทางการเกษตรของชาวไร่ ชาวสวน การอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตสินค้า การขนส่ง อาทิ แท็กซี่ รถรับจ้างขนส่ง หรือการอื่นใดที่ไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ประเภทอื่น อาทิ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค
ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 อย่างไร
วิสัชนา เกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ให้ใช้เกณฑ์เดียวกับเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำเพื่อแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำ ปี โดยจะต้องมีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ถึงประเภทที่ 8 ในระหว่างเดือนม.ค.ถึงเดือนมิ.ย.เกินกว่าจำนวนต่อไปนี้
1. เกินกว่า 30,000 บาท สำหรับผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นคนโสดหรือผู้ที่ไม่มีคู่สมรส รวมทั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังมิได้แบ่งด้วย
กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่นั้น นับแต่ปีพ.ศ. 2555 เป็นต้นมา ได้มีข้อกำหนดให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการเงินได้ในส่วนของ ตน หากสามีภริยามีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ถึงประเภทที่ 8 ทั้งสองจะใช้สิทธิเลือกให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของฝ่ายหนึ่งเป็นของอีก ฝ่ายหนึ่ง ก็ต้องเลือกตั้งแต่การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีนี้เลย มิฉะนั้น ก็จะทำไม่ได้สิทธิเลือก ต้องกลับไปใช้กรณีต่างฝ่ายต่างยื่นเงินได้ในส่วนของตน
2. เกินกว่า 60,000 บาท กรณีผู้มีเงินได้มีคู่สมรส โดยผู้มีเงินได้มีเงินได้แต่เพียงฝ่ายเดียว

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์  ที่มา bangkokbiznews.com

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ขยายระยะเวลาการปรับลดภาษี 3 ประเภท

กรมสรรพากร ได้ปรับขยายระยะเวลาการปรับลดภาษี 3 ประเภท ดังนี้

          1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะขยายระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 - 31 ธันวาคม 2558 ในอัตราร้อยละ 5, 10, 15, 20, 25, 30, 35 เพื่อความสมดุลและเป็นธรรม ผู้ที่มีรายได้น้อยจะชำระภาษีน้อย ผู้มีรายได้มากจะชำระภาษีมาก

          2. ภาษีนิติบุคคล ระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2558 ในอัตราร้อยละ 20 เพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจของภาคเอกชนขยายตัว สร้างความเชื่อมั่นในการลงทุนทั้งในไทยและต่างประเทศ

          3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2558 ในอัตราร้อยละ 7 รวมภาษีท้องถิ่น เพื่อกระตุ้นการบริโภคของประชาชนและลดค่าครองชีพ

วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (4)


ขอนำประเด็น ปัญหาการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา ขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม อีกครั้งหนึ่งด้วย
วิสัชนา หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม หรือ SMEs เป็นไปตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 555) พ.ศ. 2555 ดังต่อไปนี้
“มาตรา 5 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (2) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด 3 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละยี่สิบสามของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(2) ร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557”
จากบทบัญญัติดังกล่าว พอสรุปความได้ว่า
1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม หรือ SMEs รวมทั้งกิจการร่วมค้า จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
2. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม หรือ SMEs รวมทั้งกิจการร่วมค้า จะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิเป็นร้อยละ 23 และร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเพียง 3 รอบระยะเวลาบัญชีดังต่อไปนี้
(1) ร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555
(2) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
อนึ่ง การที่รัฐบาลกำหนดให้มีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลเพียงไม่เกิน 3 รอบระยะเวลาบัญชีนั้น ก็เนื่องจากในสภาวการณ์ขณะนั้น รัฐบาลเชื่อมั่นว่า จะสามารถแก้ไขบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม หรือ SMEs รวมทั้งกิจการร่วมค้า ได้ทันภายในปี พ.ศ. 2557 ดังนั้น เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว คาดว่าจะมีการขยายกำหนดเวลาการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลออกไปอีกอย่างแน่ นอน เพื่อให้สอดรับกับกิจการ SMEs

ที่มา bangkokbiznews.com โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (3)


ขอนำประเด็นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา การยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล รัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เงินทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้วยัง ไม่เกิน 5 ล้าน และไม่เคยมีรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการต้องไม่เกินกว่า 30 ล้านในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เงื่อนไขดังกล่าวมีข้อกำหนดอย่างไร
วิสัชนา ในกรณีหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกิน 30 ล้านบาท หรือมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกิน 5 ล้านบาท อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองกรณี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ย่อมเสียสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 7 และการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ตลอดไป
ปุจฉา มีข้อความใดบ่งบอกหรือระบุว่า การลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว ให้ใช้บังคับแก่เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ไทยเท่านั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ ประกอบกิจการในประเทศไทย รวมทั้งกิจการร่วมค้าตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
วิสัชนา สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ “มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท” นั้น ให้หมายความถึงแต่เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของไทยเท่านั้น เนื่องจาก
1. คำว่า “มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท” นั้น มีเจตนารมณ์ที่จะสิทธิแต่เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้น ตามกฎหมายของไทยเท่านั้น
2. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มีแต่ทุนที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งแสดงเป็นเจ้าหนี้สำนักงานใหญ่ ซึ่งมิใช่ทุนที่เรียกชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแต่อย่างใด
3. กรณีกิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลของต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ก็เช่นเดียวกันกับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ของต่างประเทศนั่นเอง
4. กรณี “กิจการร่วมค้าตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร” ซึ่งได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น นั้น โดยสถานภาพมิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หากแต่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น จึงไม่มีเงินทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี เพราะไม่ได้มีการจดทะเบียนต่อทางราชการแต่อย่างใด

ที่มา bangkokbiznews.com โดยสุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (2)


ขอนำประเด็นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีการยกเว้นและลดอัตราตามพระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 มาปุจฉา - วิสัชนา
ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อมอย่างไร
วิสัชนา หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อมเป็นไปตามมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ดังต่อไปนี้
1. “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดย่อม” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีทุนที่เรียกชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้าน บาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท
คำว่า “สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ที่มีไว้ เพื่อขายเท่านั้น อาทิ รายได้จากการขายสินค้าที่ซื้อหรือนำเข้ามาเพื่อขายหรือส่งออก หรือสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเพื่อขาย ดังนั้น รายได้จากการขายอื่นใดจึงไม่นับรวมเป็นรายได้ในกรณีนี้ เช่น กำไรจากการขายทรัพย์สินที่มีไว้ในการประกอบกิจการ รายได้จากเศษซากวัสดุสำนักงาน เป็นต้น
คำว่า “บริการ” หมายความว่า การกระทำใดๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า ซึ่งหมายความรวมถึง รายได้ค่าดอกเบี้ยรับ รายได้เงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไร หรือรายได้จากการให้บริการอื่นใดทั้งสิ้น
2. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิดังต่อไปนี้
(1) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555
(2) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทแรก สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป โดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง
3. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(1) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 150,000 บาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท ให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555
(2) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท ให้คงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(ก) ร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555
(ข) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป โดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง


bangkokbiznews.com โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (1)


ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ได้มีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลทั่วไป เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี และสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จึงขอนำมาทบทวนเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการทั่วไปอย่างไร
วิสัชนา เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลงทุนใน ด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนให้มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่สอดคล้องกัน
1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้จัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(1) ร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค.2555
(2) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2556 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค.2557
ปุจฉา การกำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 3 รอบระยะเวลาบัญชีมีเหตุผลอย่างไร
วิสัชนา ในความเป็นจริงต้องการลดอัตราลงเหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ แต่เนื่องจากการแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรเป็นการถาวร ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาที่พอสมควร ดังนั้น ในกรณีเร่งด่วน จำเป็นต้องใช้กลไกตามมาตรา 3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งให้อำนาจแก่รัฐบาลที่จะตราพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร จึงได้มีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ณ บัดนี้ เชื่อว่ารัฐบาลคงจะไม่สามารถตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ได้ทันภายในปี 2557 อย่างแน่นอนช่วงเวลา 3 ปี เครื่องมือที่ใช้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยการตราพระราช กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร ก็ยังคงสามารถกระทำต่อไปได้อีก
ปุจฉา การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิดังกล่าว สอดคล้องกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่อย่างไร
วิสัชนา ในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนาม และมาเลเซีย จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 25% ของกำไรสุทธิ ส่วนสิงคโปร์ จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 17% ของกำไรสุทธิ เท่านั้น
นอกจากนี้ ทั้งสามประเทศยังจัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเพียงระดับเดียว คือภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ไม่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการจ่ายเงินปันผล ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยของเราที่จัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเป็นสอง ระดับ คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และเมื่อมีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรก็จะจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจากผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย อีก 10% ของเงินปันผลหรือเงินแบ่งของกำไร

bangkokbiznews.com โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กรณีลดทุนบริษัท บริษัทต้องทำอย่างไร

บริษัท มาร์ค ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2538 ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท (ชำระเต็มมูลค่าแล้ว) ต่อมา 23 พ.ย. 2553 บริษัทฯ จดทะเบียนลดทุนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เหลือ 5 ล้านบาท โดยข้อมูลตามงบการเงิน กำไรสะสมยกมาจากปี 2552 มี 1แสนบาท กำไรของปี 53 มี 250,000 บาท รวมกำไรสะสมยังไม่ได้แบ่งในงบแสดงฐานะการเงินทั้งสิ้น (ตั้งแต่ก่อตั้งถึงปี 2553) จำนวน 1 ล้านบาท
อยากเรียนถามว่า กรณีลดทุนบริษัท บริษัทต้องทำอย่างไรกับเงินที่ลดทุน ตามมาตรา 40 (4)(ง) นี้บ้าง คะ บริษัทฯ ต้องทำเสมือนแบ่งกำไรสะสม ตามส่วนของผู้ถือหุ้นหรือไม่ แล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งสรรพากร 10% หรือไม่ แล้ว ถ้าแบ่ง ต้องแบ่งเท่าไร แบ่ง ณ วันที่ลดทุนคือ 23 พย. 2553 หรือไม่ (มีกำไร ตามงบ 1 ล้าน แบ่ง 1 ล้านเลยหรือไม่)
แต่ถ้าแบ่ง ในปี 2553 กำไรสะสมนี้พันยอดมาถึงปี 2555 แล้ว จะต้องมีการปรับปรุงย้อนหลังหรือไม่"


ตามหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/3969 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2552 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการลดทุน ได้วางแนวทางปฏิบัติกรณีการลดทุนตามมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวล รัษฎากร ไว้ว่า "การจ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกันนั้น เงินลดทุนที่ผู้ถือหุ้นได้รับดังกล่าว จะต้องเป็นการคืนทุนซึ่งเป็นกำไรสะสมตามงบดุล" ดังนี้
ข้อหารือ :
1. นาย พ. ประกอบกิจการขายยาสำเร็จรูป และมีรายได้จากการให้เช่าบ้าน นาย พ. ถือหุ้นบริษัท อ. จำนวน 100,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวมมูลค่า 1,000,000 บาท ราคาซื้อขายหุ้นละ 71.50 บาท ต่อมาบริษัท อ. ได้จดทะเบียนลดทุน และได้จ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่นาย พ. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 จำนวนเงิน 8,000,000 บาท และหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไว้จำนวนเงิน 2,520,000 บาท
บริษัท อ. จดทะเบียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2537 มีทุนจดทะเบียน 90,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมทุนจด ทะเบียน 900,000,000 บาท ได้เพิกถอนหุ้นจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2543 และจดทะเบียนลดทุนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 จำนวนตามมูลค่าทุน 6,690,000 บาท โดยจ่ายเงินลดทุนให้ผู้ถือหุ้นรวม 34,768,800 บาท เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2547 บริษัท อ. มีกำไรสะสมยังมิได้จัดสรร จำนวนเงิน 171,507,000 บาท เงิน สำรองตามกฎหมาย จำนวนเงิน 90,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 261,507,000 บาท บริษัท อ. จ่ายเงินปันผลเมื่อเดือนพฤษภาคม2548 จำนวนเงิน 194,811,000 บาท คงเหลือเงินสำรองตามกฎหมายจำนวนเงิน 66,696,000 บาท นาย พ. ไม่ได้นำเงินลดทุน ที่ได้รับจำนวน 8,000,000 บาท มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด
2. บริษัท ก.ประกอบกิจการให้ยืมเงิน ซื้อ เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สิน มีทุนจดทะเบียน ที่ชำระแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 จำนวน 350,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมทุนจดทะเบียน 35,000,000 บาท บริษัท ก. ได้ทำการลดทุนตามมติของที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 และครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 โดยลดจำนวนหุ้นลงรวม 60,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท จำนวนเงิน 6,000,000 บาท บริษัท ก. ได้จดทะเบียนลดทุนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2549 ปัจจุบันคงเหลือหุ้นจำนวน 290,000 หุ้น มูลค่า หุ้นละ 100 บาท เป็นจำนวนเงิน 29,000,000 บาท ก่อนจดทะเบียนลดทุน บริษัท ก. ได้จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นราคาหุ้นละ 14 บาท จำนวน 350,000 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 4,900,000 บาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 การจ่ายเงินลดทุนให้กับผู้ถือหุ้น ดังกล่าว บริษัท ก. มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนำส่งแต่อย่างใด
แนววินิจฉัย :
กรณีตาม 1. และ 2. บริษัท อ. และบริษัท ก. ได้จดทะเบียนลดทุนและได้จ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกันนั้น เงินลดทุนที่ผู้ถือหุ้นได้รับดังกล่าว จะต้องเป็นการคืนทุนซึ่งเป็นกำไรสะสมตามงบดุลของบริษัท อ. และบริษัท ก. ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ครั้งสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนการคืนเงินลดทุนหักด้วยเงินปันผลระหว่างกาล เฉพาะยอดที่บริษัท อ. และบริษัท ก. ประกาศจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นก่อนการคืนเงินลดทุน หากเงินลดทุนไม่เกินจำนวนเงินดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินลดทุนคืนต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษี เงินได้ทั้งจำนวน
เลขตู้ : 72/36628

ดังนั้น กรณีที่บริษัทฯ ได้ลดทุนและคืนเฉพาะเงินทุน โดยไม่มีการนำส่วนของกำไรสะสมมาจ่ายคืนให้แก่ผูถือหุ้น จึงไม่ถือมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็น "เงินลดทุนเฉพาะส่วนที่จ่าย ไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน" ตามมาตรา 40 (4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้น กรณีจึงไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับ "เงินลดทุน เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและ เงินที่กันไว้รวมกัน" ตามมาตรา 40 (4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น กรมสรรพากร ตอบข้อหารือไม่เหมือกัน บางข้อหารือก็ทึกทักเอาเงินลดทุน เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน มาถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่สนใจว่าจะมีการนำเงินกำไรมาจ่ายเป็นเงินลดทุนหรือไม่
แต่ผมยึดตามข้อหารือนี้ เพราะเป็นข้อหารือที่ "เป็นธรรม" แก่ผู้มีเงินได้ที่สุด และสมตามเจตนารมณ์ของการบัญญัติประมวลรัษฎากร ที่มุ่งอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมแก่สั้งคม
 
ที่มา http://119.46.210.53/library/show_article.php?art_id=340

วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2557

กรมสรรพากรขยายเวลาการเพิ่มรายการในใบกำกับภาษี

         ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 194)ฯ (ฉบับที่ 195)ฯ (ฉบับที่ 196)ฯ และ (ฉบับที่ 197)ฯ ลงวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ เพิ่มเติมรายการเลขประจาตัว ผู้เสียภาษีอากรและรายการสถานประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และเพิ่มเติมรายการสถานประกอบการของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ ในการจัดทำใบกากับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และในการ ลงรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขาย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป นั้น
        กรมสรรพากรได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายในเรื่องดังกล่าว โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการ เพิ่มเติมรายการดังกล่าวข้างต้น ในใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และในการลงรายงานภาษีซื้อและรายงานภาษีขาย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199)ฯ (ฉบับที่ 200)ฯ (ฉบับที่ 201)ฯ และ (ฉบับที่ 202)ฯ ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ที่มา rd.go.th