เมื่อ
กล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว
ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็น
ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดี ทั้งนี้
ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจน
อาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัย
ไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ
กันอยู่ไม่น้อย
อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญา
เกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไป
รวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า”
ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง
การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต
การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ
เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย
บทความในสรรพากรสาส์นฉบับนี้
ผู้เขียนจึงได้รวมรวบเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์
ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และในด้านของภาษีอากร
ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไร
บ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร
ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
และสัญญาเช่าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่
รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี
หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ความหมายของ “เช่าทรัพย์”
บริษัท เอสซีพีการบัญชีกรุ๊ป จำกัด รับทำบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน,และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ โทรติดต่อ 083-4923837 คุณสมนึก
วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 แสนบาทแรก
แม้จะได้มีการประกาศลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
ที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท
และมีรายได้จากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่
เกิน 30 ล้านบาท
ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้น
รัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554
โดยเริ่มใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555
เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ผ่านพ้นไปนั้น
เป็นปีแรกแล้ว
เนื่องจากในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้มีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ เงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 3 แสนบาทแรก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาอยู่ในขณะนี้นั้น นอกจากเพื่อให้สอดคล้องกันกับกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว รัฐบาลยังเล็งเห็นว่า เพื่อการบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 564) พ.ศ. 2556 ปรับปรุงการลดอัตราและการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
1. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้
(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก
(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาท แรก
2. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้
(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้า หมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินสามแสนบาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
การยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นกรณีที่ได้ล่วงพ้นไปหมดแล้ว ยังคงสิทธิประโยชน์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบ กิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้คงเดิม ในส่วนของการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ต่างหากที่เป็นการปรับปรุงใหม่ โดยขยายการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นยกเว้นได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทแรก.
ที่มาเดลินิวส์
เนื่องจากในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้มีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ เงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 3 แสนบาทแรก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาอยู่ในขณะนี้นั้น นอกจากเพื่อให้สอดคล้องกันกับกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว รัฐบาลยังเล็งเห็นว่า เพื่อการบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 564) พ.ศ. 2556 ปรับปรุงการลดอัตราและการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
1. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้
(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก
(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาท แรก
2. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้
(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้า หมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินสามแสนบาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
การยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นกรณีที่ได้ล่วงพ้นไปหมดแล้ว ยังคงสิทธิประโยชน์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบ กิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้คงเดิม ในส่วนของการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ต่างหากที่เป็นการปรับปรุงใหม่ โดยขยายการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นยกเว้นได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทแรก.
ที่มาเดลินิวส์
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556
ภาษีเงินปันผล
ตาม
ข้อเท็จจริงมีว่า ได้มีผู้เสียภาษีท่านหนึ่ง สมมุติ ชื่อ “นาย พ”
ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2550
ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขอคืนภาษีเป็นเงินจำนวน 323,712.42 บาท
มีรายละเอียด ดังนี้
นาย พ มีเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ คือ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินเดือน กับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทยแห่งหนึ่ง
นาย พ มีเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ คือ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินเดือน กับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทยแห่งหนึ่ง
วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556
วิธีการให้เงินกู้ยืมแก่กรรมการ,พนักงาน โดยไม่คิดดอกเบี้ยจะได้มั๊ย หรือคิดแต่น้อย ถ้าได้ต้องทำอย่างไร
ถ้าตอบกันโดยตรงตามประมวลรัษฎากร
ก็เปิดช่องเอาไว้เหมือนกัน โดยที่ประมวลนั้นได้กล่าวไว้ว่า อาจกระทำได้
แต่ต้องมีเหตุอันสมควร ทีนี้เราก็ต้องมาดูว่าเหตุใดบ้างที่ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร
ปรากฎว่าไม่มีบอกไว้เป็นการชัดเจนว่า ที่ว่าเหตุสมควรน่ะคืออะไร ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
ดังนั้นโดยทั่วไป จึงไม่มีเหตุใดอันสมควรเลย
เมื่อไม่มีเหตุอันควร เราก็ต้องอาศัยผลประโยชน์อันพึงได้ของเงินนั้นๆ หากไม่เอาเงินนั้นไปให้กรรมการ, พนักงานกู้ยืม บริษัทฯ จะได้ดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์เป็นจำนวนเงินเท่าใดในระยะเวลาที่เท่าๆกันกับการให้ยืมเงิน
และต้องไม่ต่ำกว่าอัตราตลาด! หมายความว่า
1.
ต้องมีการคิดดอกเบี้ยต่อกัน
2. หากบริษัทฯมีเงินเหลือให้กู้ยืม เงินที่ให้กู้นั้นต้องคิดดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
3. หากเงินที่ให้กู้ยืมนั้น ได้จากการที่บริษัทฯต้องไปกู้ยืมที่อื่นมาล่ะก็ ต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเงินกู้ยืม
หรือในอัตราเบิกเงินเกินบัญชี O.D.
และเมื่อมีการคิดดอกเบี้ย ต่อกัน แล้ว จะเกิดภาษีขึ้น 2 ตัวคือ
1.
ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของเงินดอกเบี้ยที่ได้รับ
โดยให้นำส่งภาษีดังกล่าวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบ
ภธ.40 ในการนำส่งภาษี
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 โดยจะต้องนำเงินรายได้จากดอกเบี้ยดังกล่าวมาคำนวนร่วมกับรายได้ของบริษัทฯ
ในรอบบัญชีที่เกิดรายได้นั้นๆ
ที่มา: thaitaxinfo.com
ซื้อสมุดเช็คธนาคาร ต้องหัก ณ ที่จ่ายธนาคารหรือไม่
สมุดเช็คธนาคาร ไม่ใช่สินค้า ดังนั้นจึงไม่ใช้การขาย
แต่เช็คธนาคารที่เราใช้กันอยู่นี้ เป็นหนังสือตราสารที่ผู้ซื้อเช็ค
สั่งให้ธนาคารผู้ออกเช็ค จ่ายเงินเมื่อทวงถามจากผู้รับเช็ค หรือผู้นำเช็คมาขึ้นเงิน
ดังนั้น สมุดเช็ค จึงเป็นค่าธรรมเนียมธนาคาร
เมื่อสมุดเช็คเป็นค่าธรรมเนียม หมายความว่า
หากราคาของค่าเช็คนั้นเกินกว่า 1,000 บาทต้องทำการหัก ณ
ที่จ่าย 3 % จากธนาคารด้วย ส่วนค่าอากรแสตมป์ ที่ปิดเช็คนั้น
เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรชนิดหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย
ที่มา: thaitaxinfo.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)