h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง ภงด 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

สรุป ภงด.51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ปีแรกที่ตั้งบริษัทไม่ต้องยื่นแบบ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วรอบบัญชีไม่เต็ม 12 เดือน เช่น เปิดบริษัทวันที่ 10 กพ. ถ้าปิดงบวันที่ 31 ธค. ก็ไม่ต้องยื่นแบบ ภงด.51 หรือถึงแม้ว่าจะปิดงบในวันที่ 31 มค.ของปีถัดไป รอบบัญชีก็ไม่เต็ม 12 เดือนอยู่ดี เว้นแต่ว่าจะปิดงบในวันที่ 9 กพ.ของปีถัดไป ซึ่งจะทำให้รอบบัญชีครบ 12 เดือนพอดี อย่างนี้ก็ต้องยื่นเสียภาษี ภงด.51 กลางปีด้วย

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานบัญชี รู้จักกับ IFRS (International Financial Reporting Standards)

กำเนิด IFRS - เพราะเรายังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นรูปแบบเดียวกันอันเป็นมาตรฐานสากลของโลก

ดัง จะเห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ที่เรียกว่า GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ในขณะที่ทางยุโรปใช้มาตรฐานการบัญชีที่เรียกว่า IAS (International Accounting Standard) สำหรับประเทศไทยเริ่มต้นการจัดทำบัญชีจากระบบมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับ GAAP และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเพื่อให้สอดคล้องกับ IAS

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาษีธุรกิจเฉพาะ มีกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่าย

ภาษีธุรกิจเฉพาะ มีกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่าย

1. การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด (ตามมาตรา 5 บัณรส แห่งพระราชกฤษฎีกา
ฉบับที่ 10)

2. การโอนอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด
ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ตามมาตรา 5 โสฬส  แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 10)

3. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการ
เข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมฯ (ตามมาตรา 5 เอกวีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 10)

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ค่าปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

กำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ และมีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีปฏิทิน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภ.ง.ด. 51 และเสียภาษีเงินได้ภายในวันอังคารที่ 31 สิงหาคม นี้

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อแตกต่างระหว่าง บัญชีการเงิน และ บัญชีภาษีอากร

ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจนอกจากจะต้องมีความรู้ด้านบัญชีไม่ว่าจะเป็น หลักการบัญชีทั่วไป มาตรฐานการบัญชีแล้ว นักบัญชีและผู้บริหารกิจการจะต้องมีความรู้ด้านภาษีอากรอีกด้วย
ดังนั้นการจัดทำงานเกี่ยวกับบัญชีจะต้องมีแนวทาง ที่จะกำหนดในการจัดทำเพราะต้องคำนึงถึงทั้งหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งมักจะพบว่า บัญชีที่ ได้จัดทำนั้นไม่ตอบสนองกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายภาษีอากร มีข้อขัดแย้งกับที่นักบัญชีจะต้องเข้าไปแก้ไขปรับปรุงให้เป็น ที่ยอมรับและถูกต้องทั้งด้านการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร จะเห็นได้ว่าหากนักบัญชีได้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่สมุดรายวันขั้นต้น สมุดขั้นปลาย งบทดลอง งบการเงิน นักบัญชีจะยึดหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี อีกนัยหนึ่งก็คือยึดหลักของบัญชีการเงิน (Financial Accounting) นักบัญชีจะต้องนำข้อมูลทางบัญชีการเงินมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษี อากรซึ่งก็คือการบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) ข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากรจึงสรุปได้ดังต่อไปนี้

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การวางแผนภาษี 5 วิธี

1. รายได้ที่ยกเว้นภาษี
มีรายได้บางประเภทที่ได้รับการ “ยกเว้นภาษีเงินได้” ซึ่งดูได้จาก ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 42 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ที่สำคัญ ได้แก่ กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมีโอกาสทำกำไร จากหุ้น พอๆ กับการขาดทุน ซึ่งถ้าเขาขาดทุน ก็ไม่สามารถ นำมาเป็นค่าใช้จ่าย ในทางภาษีเช่นกัน ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน ก็เป็นเรื่องยาก ที่จะทำกำไร มีทางเลือกหนึ่ง คือ การลงทุนในกองทุน เพื่อรอรับผลได้ในรูป ของการเพิ่มราคา ของหน่วยลงทุน ซึ่งการขายหน่วยในตลาด โดยได้กำไร ก็ไม่ต้องเสียภาษี
ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ที่ออกก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 ก็ได้รับ การยกเว้นภาษี เช่นกัน แต่พันธบัตรเหล่านี้ ก็ครบอายุการไถ่ถอนไปหมดแล้ว ดังนั้น การหารายได้ ที่ยกเว้นภาษี จากพันธบัตรรัฐบาลจึงยาก

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจำกัด

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจำกัด

กรรมการ คือบุคคลที่ผู้ถือหุ้นตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารกิจการบริษัทแทนผู้ถือ หุ้น  กรรมการของบริษัทอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ตามที่ที่ประชุมหรือข้อบังคับ ของบริษัทกำหนด
การแต่งตั้งกรรมการ
1.ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทจะเป็นผู้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดแรก
2.ต่อ ไปเมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีแต่ละปีกรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งจำนวน หนึ่งในสาม (โดย 2 ปีแรกหลังตั้งบริษัท  ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น  ให้ใช้วิธีจับฉลากออก  ส่วนปีถัดไปให้กรรมการที่อยู่นานที่สุดออก) และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่ง (กรรมการที่ออกจะถูกแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ก็ได้)
3.ในกรณีที่มีกรรมการออก จากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นก่อนครบวาระ  เช่น  ตาย  ลาออก  ล้มละลาย  และไร้ความสามารถ  ที่ประชุมคณะกรรมการสามารถแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกได้
4.ที่ ประชุมใหญ่ถือหุ้นเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอดถอนกรรมการออกจากตำแหน่งได้  การเปลี่ยนแปลงกรรมการทุกครั้งต้องจดทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ฝึกหัดงานเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ลำดับที่ 1
แจ้งการฝึกหัดงานสอบบัญชี ก่อนเริ่มฝึกหัดงาน ต่อสภาวิชาชีพบัญชี โดยใช้ แบบ ผส.1
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
  1. สำเนาปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร พร้อม ต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  2. สำเนาพร้อมต้นฉบับใบรับรอง ผลการศึกษาตลอด หลักสูตร (Transcript) กรณีฝึกหัดงานระหว่างการ ศึกษา ให้ใช้ให้หนังสือรับรองของสถาบันการศึกษา ที่แสดงว่าได้สอบผ่านวิชาการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพ บัญชีกำหนดไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบ บัญชี ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งรวมทุกวิชาแล้ว ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
  3. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสืออื่นใด ของทางราชการ ซึ่งใช้ในการแสดงตนได้
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปพรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดและบทเฉพาะกาล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. คำนิยามของ “วิชาชีพบัญชี”
“วิชาชีพบัญชี” หมายถึง วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี ทั้งนี้ ในภายหน้าหากเห็นว่ามีบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านใดที่มีความสำคัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อาจออกกฎกระทรวงกำหนดบริการเกี่ยวกับการบัญชี ด้านนั้นเพิ่มเติมขึ้นในคำนิยามวิชาชีพบัญชีก็ได้ เช่น การตรวจสอบภายใน เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เสริมกลยุทธ์ธุรกิจ SMEs ด้วย"บัญชี"

บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ผิดหวังกับ “บัญชี” เพราะตัวเลขจากงบการเงิน ที่ ได้มาตลอดปีแสดงผลงานที่ดี มีกำไร แต่พอผู้สอบบัญชีตรวจสอบประจำปีกลับต้องผิดหวัง เพราะตัวเลขในงบการเงินต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่เนื่องจากไม่เป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชี ที่ ถูกต้อง ผลการดำเนินงานพลิกกลับจากกำไรเป็นขาดทุน ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลหลายประการ เช่น นักบัญชีของกิจการไม่รู้หรือไม่เข้าใจในมาตรฐานการบัญชีหรือเปล่า ถ้าใช่ก็คงต้องแก้ไขที่ตัวนักบัญชีเพราะเป็นอาชีพและความรับผิดชอบเบื้องต้น ที่ต้องทำบัญชีให้ถูกต้อง ไม่ควรใช้มาตรฐานการบัญชีผิดทำให้ผู้บริหารเข้าใจสถานการณ์ผิดคลาดเคลื่อนไป ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก แต่ถ้าไม่ใช่ความผิดของนักบัญชี หากเป็นเพราะผู้บริหารไม่ยอมปฏิบัติตาม เนื่องจากไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องที่คุยกับผู้สอบบัญชีไม่ได้หรือผู้บริหารไม่ ยอมรับในมาตรฐานการบัญชี ก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจกับผู้บริหารใหม่ให้ทราบถึงข้อกำหนดของกฎหมาย เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี มาตรฐานการบัญชีในปัจจุบันมีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายบัญชีมาก ตัวเลขในงบการเงินจึงต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเสมอ ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการที่ผู้บริหารได้ดำเนินมาในรอบปีบัญชี หนึ่งจะต้องถือตามเกณฑ์นี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผลการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของผู้บริหารจะปรากฏออกมาในรูปของบัญชี และงบการเงินตามกติกาที่เรียกว่า มาตรฐานการบัญชีนั่นเอง

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี

สำนักงานบัญชี เปิดบริการรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี โดยรับทำบัญชีมายาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งทางสำนักงานบัญชี มีบุคลากรที่มีคุณภาพในการรับทำบัญชี ในการรับทำบัญชี สำนักงานบัญชีได้ทำตามความต้องการให้รับทำบัญชีของผู้ประกอบการที่มีอุปการะคุณ และสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นสำนักงานบัญชี โดยรับทำบัญชีตามพรบ.การบัญชี และรับทำบัญชีโดยระบบบัญชีสำเร็จรูป ที่กรมสรรพากรยอมรับ ทางผู้บริหารเล็งเห็นถึงความต้องการใช้ที่ผู้ใช้บริการสำนักงานบัญชีอย่างเต็มรูปแบบ และทางสำนักงานบัญชีได้ปรับปรุงพัฒนาระบบรับทำบัญชีมาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยได้มีการพัฒนาความรู้อบรมหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ในการรับทำบัญชี

สำนัำกงานบัญชี ยินดีให้บริการรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบการที่ต้องการและดำเนินกิจการรับทำบัญชี สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี อย่าง ต่อเนื่อง พัฒนาความรู้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกิจการ ทุกประเภท พร้อมทั้งทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องรับงานบัญชี และรับทำบัญชี มาโดยตลอด พร้อมทั้งทีมงานทางด้านบัญชีคอมพิวเตอร์พัฒนาระบบงานและระบบการรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีที่ใช้เฉพาะงานใน สำนักงานบัญชี เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการบันทึกบัญชี โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการตรวจทาน ทำให้สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุด

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือ (2)


ขอนำประเด็นการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) ที่มิใช่เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว
เพราะเหตุออกจากงาน เป็นไปตามมาตรา 50 (1) วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ซึ่งอาจสรุปหลักเกณฑ์การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีดังกล่าวได้ดังนี้

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินและความหมาย

คำชี้แจงกรมทะเบียนการค้า
เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
-----------------------
เนื่องจากกรมทะเบียนการค้า ได้ออกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ออกตามความในมาตรา 11วรรคสาม ของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องมีรายการย่อ ดังนี้
  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 1
  • บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 2
  • บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 3
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 4
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 5
เพื่อให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน กรมทะเบียนการค้า จึงขอชี้แจงดังต่อไปนี้

รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน

1 - 1
แบบ 1
งบการเงิน
ของ
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
--------------------
งบดุล
สินทรัพย์                                                                   หน่วย : บาท
25 X 1
1. สินทรัพย์หมุนเวียน
1.1 เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน
1.2 เงินลงทุนชั่วคราว
1.3 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ
1.4 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
1.5 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น
1.6 สินค้าคงเหลือ
1.7 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

ศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย

absorbed cost ต้นทุนคิดเข้างาน
absorbed overhead ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน
bsorption costing บัญชีต้นทุนรวม

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทุนจดทะเบียนที่ดีต้องมีการวางแผน

ทุนจดทะเบียนที่ดีต้องมีการวางแผน

โดยปกติกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกัน ขึ้นมาเพื่อประกอบธุรกิจและต้องการจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดนั้น ย่อมต้องกำหนดทุนของบริษัทขึ้นมาตั้งแต่ตอนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับ กระทรวงพาณิชย์ หากแต่ท่านทราบหรือเข้าใจคำว่า “ทุนจดทะเบียน”และ “ทุนเรียกชำระ” หรือไม่ว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด และจะมีผลกระทบกับบริษัทของท่านอย่างไรหากขาดการวางแผนที่ดี

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ครม.คงภาษีมูลค่าเพิ่ม7%ต่ออีก2ปี

รมว.คลัง เผย ครม. มีมติให้คงภาษีมูลเพิ่ม 7 % ต่ออีก 2 ปี  ช่วยผู้ประกอบการให้ต้นทุนคงที่
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า   ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติ ตามที่ ก.คลังเสนอให้ ยืดระยะเวลา การคงภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7 % ต่อไป เป็นเวลา อีก 2 ปี หลังจากจะหมดเวลาลงในช่วงเดือนกันยายน สาเหตุที่ต้องยืดระยะเวลาออกไป เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อยู่ในระหว่างการฟื้นตัว จึงต้องการให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจ มีต้นทุนคงที่และสามารถประเมินสถานการณ์ในระยะยาวได้

แหล่งข้อมูล หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (3)

ขอนำประเด็นผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันเป็น ส่วนหนึ่งของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนาดังนี้
ปุจฉา ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิสัชนา ได้มีการกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้ ไม่ว่าบุคคลต่างๆ ดังกล่าวจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทใดในหน้าที่ตำแหน่งงานหรือกิจการที่ กำหนดนั้น

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (2)

กรณีผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึงแก่ความตายระหว่างภาษี และกองมรดกยังไม่ได้แบ่ง ต้องทำอย่างไร

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประกอบด้วยผู้มีเงินได้ ที่เป็นบุคคลธรรมดารวมทั้งผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีและกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีเงื่อนไขใดบ้างลองทำความเข้าใจกันดูครับ
ขอนำประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาทบทวนทำความเข้าใจใหม่ทั้งหมดในรูปแบบปุจฉา - วิสัชนา โดยจะไล่เรียงเป็นลำดับไปตั้งแต่หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และวิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ครับ
ปุจฉา หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา มีหลักการทั่วไปในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังต่อไปนี้

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (20)

ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรมาปุจฉา-วิสัชนาประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่าย
ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกันวินาศภัย อย่างไร
วิสัชนา การจ่ายเงินได้ที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกัน วินาศภัย ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้