h1.post-title{ font-size:20px;}

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อความใหม่ในใบกำกับภาษี


เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2556 อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 196)

เรื่อง กำหนดข้อความอื่นในใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 (8) แห่งประมวลรัษฎากรนอกเหนือไปจากข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” “สาขาที่ออกใบกำกับภาษี คือ ...” และ “เลขทะเบียนรถยนต์” ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไปจึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ได้จัดทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 เป็นต้นไป ต้องมีข้อความเพิ่มเติมในเรื่องใดบ้าง
วิสัชนา ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป ต้องมีข้อความเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1. ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้ โดยให้จัดทำเฉพาะกรณีที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นผู้ที่ต้องมีและ ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากรตามมาตรา 3 เอกาทศ แห่งประมวลรัษฎากร (ข้อ 7)
2. ระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามที่ ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว ดังนี้ (ข้อ 8)
(1) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ ที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่”
(2) กรณีสถานประกอบการที่เป็นสาขาของผู้ประกอบการจดทะเบียนเป็นสถานที่ที่ได้ขาย สินค้าหรือให้บริการนั้น ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ..”
3. ในกรณีผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้ ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการตามที่ปรากฏ ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการนั้นไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว ดังนี้ (ข้อ 9)
(1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสำนักงานใหญ่ ตามที่ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่”
(2) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนระบุที่อยู่ของสถานประกอบการที่เป็นสาขาตามที่ ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เป็นที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการในใบกำกับภาษี ให้ระบุข้อความว่า “สาขาที่ ..”
ข้อความคำว่า “สำนักใหญ่” และ “สาขาที่ ..”ตามข้อ 2 และข้อ 3 จะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

ที่มา bangkokbiznews.com โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (4)


ขอนำประเด็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี 2556 ตามแบบ ภ.ง.ด.94

สำหรับท่านที่มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา กำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลครึ่งปีภาษี 2556 ในปีนี้ มีการขยายกำหนดเวลาหรือไม่ อย่างไร
วิสัชนา เนื่องจากวันสุดท้ายของกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการครึ่ง ปีภาษี 2556 ในปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 30 กันยายน ซึ่งเป็นวันเปิดทำการ จึงไม่มีการขยายกำหนดเวลาออกไปแต่อย่างใด เว้นแต่ท่านที่ใช้สิทธิยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 ผ่านอินเทอร์เน็ต ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร  ก็จะได้สิทธิขยายเวลาออกไปอีกแปดวัน ซึ่งจะสิ้นสุดวันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม 2556 ซึ่งเป็นการขยายกำหนดเวลาโดยรวมทุกประเภทภาษีสรรพากรเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2557 การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ทางอินเทอร์เน็ตสำหรับปีภาษี 2556 จึงถือเป็นครั้งสุดท้ายของการขยายเวลาดังกล่าว เว้นแต่จะมีการขยายกำหนดเวลากันใหม่
ปุจฉา กรณีมีเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องชำระในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภาษีตามแบบ ภ.ง.ด. 94 ต้องปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา ผู้มีเงินได้ต้องชำระภาษีเงินได้พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เว้นแต่ในกรณีที่จำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี จำนวนตั้งแต่ 3000 บาทขึ้นไป อาจขอผ่อนชำระเป็น 3 งวดๆ ละเท่ากัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ทั้งนี้ ตามมาตรา 64 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนี้
งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ที่ได้ยื่นภายในเดือนกันยายนของปีภาษี
งวดที่ 2 ภายใน 1 เดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 (ภายในเดือนตุลาคม)
งวดที่ 3 ภายใน 1 เดือนนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการชำระงวดที่ 2 (ภายในเดือนพฤศจิกายน)
หากผู้มีเงินได้ไม่ชำระงวดที่ 2 หรืองวดที่ 3 ให้เป็นอันหมดสิทธิผ่อนชำระต้องนำเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้ง สิ้นไปชำระพร้อมทั้งรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีอีกด้วย
ปุจฉา กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนดเวลา มีบทลงโทษทางอาญาอย่างไร
วิสัชนา กรณียื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ล่าช้า ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ซึ่งกรมสรรพากรกำหนดค่าปรับไว้ดังนี้
1. กรณียื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบ ปรับกระทงละ 100.- บาท
2. กรณียื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบปรับกระทงละ 200.- บาท
3. กรณีเจ้าหน้าที่ตรวจพบความผิดปรับกระทงละ 1,000.- บาท

ที่มา bangkokbiznews.com โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (3)


ขอนำประเด็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี 2556 ตามแบบ ภ.ง.ด.94

สำหรับท่านที่มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มาปุจฉา – วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีมีหลักเกณฑ์อย่างไร
วิสัชนา ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี มีหลักเกณฑ์ทั่วไปเช่นเดียวกับการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี ดังนี้
1. ให้นำเงินได้มาคำนวณหักค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด โดยจะเลือกหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา เป็นอัตราร้อยละของเงินได้พึงประเมิน หรือจะเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามเอกสารหลักฐานในการประกอบกิจการ หรือค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นหรือสมควร
2. จากนั้นหักด้วยค่าลดหย่อน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้หักได้กึ่งหนึ่งของค่าลดหย่อนเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ตามแบบ ภ.ง.ด.90) ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล 15,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส 15,000 บาท
- ค่าลดหย่อนบุตรที่มิได้ศึกษา หรือศึกษาในต่างประเทศคนละ 7,500 บาท สำหรับบุตรที่ศึกษาในประเทศไทย คนละ 8,500 บาท ทั้งนี้ เฉพาะบุตรที่อยู่ในเกณฑ์ที่มีสิทธิหักลดหย่อนเท่านั้น
- ค่าลดหย่อนบุพการีคนละ 15,000 บาท
- ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายไประหว่างมกราคม ถึงมิถุนายนในส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท ให้หักลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 5,000 บาท ในส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท อีกไม่เกิน 90,000 บาทให้ได้สิทธิยกเว้นภาษีโดยนำมาหักเช่นเดียวกับค่าลดหย่อน
- ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยที่จ่ายไประหว่างมกราคม ถึงมิถุนายน ในส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท ให้หักลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 5,000 บาท ในส่วนที่เกินกว่า 10,000 บาท อีกไม่เกิน 90,000 บาท เช่นเดียวกับเบี้ยประกันชีวิต
- ค่าลดหย่อนอุปการะคู่สมรส บุตร บุพการี ที่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยคนพิการ และคนพิการฯ คนละ 30,000 บาท
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน ตามที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่จำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวระหว่างเดือนมกราคม ถึงมิถุนายน ตามที่ได้จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่จำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษาและสนับสนุนและส่งเสริมการ กีฬา ให้หักยกเว้นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายได้สองเท่าของจำนวนที่จ่ายไปจริง ระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นแล้ว
- ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ให้หักลดหย่อนได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริงระหว่างมกราคม ถึงมิถุนายนแต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นแล้ว

ที่มา bangkokbiznews.com  โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (2)


ขอนำประเด็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี 2556 ตามแบบ 
ภ.ง.ด.94
สำหรับท่านที่มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มาปุจฉา – วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา รายละเอียด เกี่ยวกับประเภทเงินได้พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี มีอะไรบ้าง
วิสัชนา เงินได้พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่ได้รับในระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ดังต่อไปนี้
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ จากการให้เช่าทรัพย์สิน อาทิ การให้เช่าที่ดิน บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย หนังสือ อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้มีเงินได้ต้องยื่นนำไปใช้สิทธิเฉลี่ยเงินได้เป็นรายปีตามจำนวนปีอายุ การเช่า และต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 เพื่อเสียภาษีเงินได้ล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 ไปแล้วนั้น ก็เป็นอันไม่ต้องนำมารวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่ง ปีภาษีอีก มิฉะนั้น ก็จะเกิดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีอากร ในการบัญญัติกฎหมายจึงได้ถอดเงินได้พึงประเมินรายการนี้ออกไปจากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี
เงินได้ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ประกอบด้วย เงินได้จากการประกอบโรคศิลปะ หรือการบำบัดรักษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ รวมทั้งการศัลยกรรม วิชาชีพกฎหมาย เช่น ค่าว่าความของทนายความ ค่าที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น เงินได้จากวิศวกรรม เช่น ค่าที่ปรึกษาทางวิศวกร เงินได้จากสถาปัตยกรรม เช่น ค่าออกแบบของสถาปนิก เป็นต้น เงินได้จากวิชาการบัญชี เช่น ค่ารับจ้างทำบัญชี ค่าสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นต้น หรือเงินได้จากวิชาชีพประณีตศิลปกรรม หรือการรับจ้างผลิตงานประณีตศิลป์ เช่น ช่างวาด ช่างปั้น ช่างหล่อ เป็นต้น
เงินได้ตามมาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากร จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ อาทิ ค่ารับเหมาก่อสร้างของผู้รับเหมา ซึ่งตามสัญญาจ้างเหมากำหนดให้ผู้รับเหมาต้องจัดหาวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการ รับเหมาด้วย บางครั้งเรียกว่า รับเหมาลำซำ
เงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จากการประกอบธุรกิจให้บริการ การพาณิชย์หรือการค้าขาย การเกษตรกรรมหรือชาวนา ชาวไร่ หรือชาวสวนผลไม้และสวนยางพารา และแม้แต่ชาวนาเกลือ การอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตสินค้า การขนส่ง อาทิ แท็กซี่ รถรับจ้างขนส่ง หรือการอื่นใด อาทิ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค เป็นต้น รวมทั้งค่ารักษาสัตว์ของสัตวแพทย์ ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการประกอบโรคศิลป์ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ “นักแสดงสาธารณะ” ที่กินความไปถึง นักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ หรือนักกีฬาอาชีพ อาทิ นักฟุตบอลอาชีพ นักแบดมินตันอาชีพ นักมวยสากลอาชีพ ซึ่งถือเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 ดังกล่าว

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา bangkokbiznews.com

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี

กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี 2556

ตามแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับท่านที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็คือ ภายในช่วงเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา มีแนวคิดอย่างไร เกี่ยวกับกรณีที่กำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
วิสัชนา แนวคิดในการกำหนดให้มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีมีดังนี้
1. เพื่ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในการเสียภาษีเงินได้ กล่าวคือ แต่เดิมนั้นผู้เงินได้พึงประเมินในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 4 ถูกกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้ ในขณะที่เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ถึงประเภทที่ 8 ไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เว้นแต่การได้รับเงินได้พึงประเมินจากทางราชการเท่านั้น จึงเท่ากับเสียภาษีเงินได้ปีละ 1 ครั้ง ในขณะที่มนุษย์เงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้ปีละ 12 ครั้งเป็นอย่างน้อย
2. ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลได้กำหนดให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแล้วตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2523 เป็นต้นมา
3. เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่จะทยอยจ่ายเงินภาษีเพียงปีละครั้ง ซึ่งอาจต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมาก
4. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล ในอันที่จะนำมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
ปุจฉา ทำไม่จึงกำหนดให้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ไม่ต้องนำเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94
วิสัชนา เนื่องจากในทางปฏิบัติกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 ได้ยอมให้ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเฉลี่ยเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น ตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า เช่น ผู้ให้เช่าได้รับเงินกินเปล่าในการให้เช่าอาคารเป็นเงิน 300,000 บาท แต่ผู้ให้เช่าต้องผูกพันให้เช่าเป็นเวลา 10 ปี ดังนี้ให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าจำนวน 300,000 บาท นั้นออกเป็นรายปีจำนวน 10 ปี โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะมีเงินได้ปีละ 30,000 บาท
ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้ยื่นรายการเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 และชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการ เช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาดังกล่าวเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ดังกล่าว ถือเป็นการกำหนดให้ยื่นรายการเงินได้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตัดเงินได้พึงประเมินดังกล่าวออกไป มิฉะนั้นจะเป็นการซ้ำซ้อน

ที่มา bangkokbiznews.com

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ใบกำกับภาษีปลอม

การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้ บริการหากผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้ บริการ 1,800,000 บาทขึ้นไปจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็มีธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการบางประเภทที่กฎหมายให้สิทธิยกเว้นไม่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร ขายสัตว์ ขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ธุรกิจขนส่ง เป็นต้น

เมื่อผู้ประกอบการได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรคือ จะต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมส่งมอบให้กับลูกค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ ต้องยื่นแบบ (ภ.พ. 30) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตามภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ

เลขที่หนังสือ
: กค 0706/4227
วันที่
: 30 เมษายน 2547
เรื่อง
: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 42(13), มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13)
ข้อหารือ
: บริษัท ม. หารือว่า กรณีที่สำนักงานสรรพากรภาคได้มีหนังสือตอบข้อหารือกรณีเบี้ยประกันชีวิต
ที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทว่า หากผู้รับประโยชน์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่
บริษัทจ่ายแทนกรรมการผู้เอาประกันไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ แต่หากผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์
เป็นครอบครัวหรือญาติพี่น้องของกรรมการ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนถือเป็น
เงินได้พึงประเมินของกรรมการ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของกรรมการ ประเด็นดังกล่าวตัวแทน
ประกันชีวิตเห็นว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัทถือว่าเป็นระเบียบ
วางไว้ให้จ่ายได้ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทซึ่งถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ได้ และหากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ
ผู้เอาประกันก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ทุก 5 ปีหรือทุกปี ถือเป็น
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(13)
แห่งประมวลรัษฎากร เพราะผลประโยชน์มิใช่สินไหมเสียชีวิตหรือครบกำหนดอายุกรมธรรม์ บริษัท
ประกันชีวิตจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น ไม่จ่ายให้แก่บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันและเป็นผู้รับ
ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ย่อมถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา
42(13) ที่กล่าวถึงข้างต้นบริษัทฯ หารือว่าความเห็นของตัวแทนประกันชีวิตในกรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย
: 1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัท หากเป็น
กรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำ
เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ผู้รับประโยชน์ตาม
กรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการก็ต้องถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการ
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ 5 ปี หรือทุกปีให้แก่
ผู้เอาประกันภัยถือเป็นเงินที่ได้จากการประกันภัย ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 67/32909 

ที่มา http://www.rd.go.th/publish/24443.0.html

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จองชื่อนิติบุคคลผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียว

เดิมทีการจองชื่อนิติบุคคล สามารถยื่นคำร้องขอจองชื่อผ่านหน่วยงานของกรม กระทรวงพาณิชย์ โดยกรอกใบคำขอ “แบบจองชื่อนิติบุคคล” แล้วนายทะเบียนก็จะทำการลงทะเบียนจองชื่อให้ต่อไป ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 14/01/2556 เป็นต้นไป กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ปรับปรุงระบบการจองชื่อและเพื่อให้มีการแจ้งผลได้รวดเร็วขึ้น จึงปรับให้จองชื่อนิติบุคคลผ่านระบบอินเตอร์เพียงช่องทางเดียว จากประสบการณ์ในจองชื่อบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ่านระบบอินเตอร์พบว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 วัน ถึงจะทราบผลการอนุมัติ ทั้งนี้นายทะเบียนจะต้องเป็นผู้สั่งอนุมัติชื่ออีกครั้ง เนื่องจากระบบตรวจสอบชื่อยังไม่ละเอียดพอ เช่น กรณีสะกดคำไม่เหมือนกัน ระบบก็จะมองว่าชื่อไม่ซ้ำกัน เช่น บางชื่อใส่ ร์ บางชื่อก็ไม่ใส่ เป็นต้น
ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2556 เป็นต้นไป กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้พัฒนาระบบการตรวจและจองชื่อนิติบุคคล โดยผู้ขอจดทะเบียนสามารถตรวจสอบชื่อที่ต้องการใช้ได้ด้วยตนเอง  ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ก่อนทําการจองชื่อว่าชื่อที่ต้องการใช้เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายคลึงกับนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้วหรือไม่ ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ของกรมฯ  จะประมวลผลและแสดงข้อมูลชื่นิติบุคคลที่เหมือนหรือใกล้เคียงกับชื่อที่ต้องการตรวจ เพื่อให้พิจารณาและตัดสินใจเองว่าจะใช้ชื่อนั้นหรือไม่  และเมื่อตรวจสอบแล้วว่าชื่อดังกล่าวไม่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายกับนิติบุคคลอื่น ให้ดําเนินการจองชื่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต  ทั้งนี้ นายทะเบียนจะตรวจสอบชื่อที่ขอจองอีกครั้งเฉพาะประเด็น ดังต่อไปนี้
- ชื่อที่ใช้คําที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐหรือชื่อที่ใช้คําที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
- ชื่อที่ใช้ภาษาต่างประเทศมีความหมายหรือมีเสียงเรียกขานไม่ตรงกับชื่อภาษาไทย
- ชื่อที่ใช้คําหรือตัวอักษรไม่ถูกหลักภาษาไทย
หากชื่อที่ใช้เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายคลึงกับชื่อนิติบุคคลอื่น  ผู้ขอจองชื่อ/ห้างหุ้นส่วน/บริษัทจํากัด ต้องรับผิดชอบในการใช้ชื่อนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 18  มาตรา 67 และมาตรา 1115 และต้องจดทะเบียนแก้ไขชื่อทันทีที่ทราบหรือควรทราบ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจองชื่อ ไม่ต้องเดินทางไปติดต่อที่หน่วยงานของกรม และมีการแจ้งผลการจองชื่อได้รวดเร็วขึ้น จึงได้ปรับช่องทางจองชื่อให้จองผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพียงช่องทางเดียว
หมายเหตุ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 18 สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้น ถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือบุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์ เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอํานาจให้ใช้ได้ก็ดี บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้  ถ้าและเป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไป จะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอํานาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกําหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
มาตรา 67 ภายใต้บังคับมาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
มาตรา 1115 ถ้าหากว่าชื่อบริษัทซึ่งตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิพ้องกับชื่อบริษัทอื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้วก็ดีหรือพ้องกับชื่อซึ่งตั้งไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิฉบับอื่นอันได้จดทะเบียนแล้วก็ดีหรือคล้ายคลึงกับชื่อเช่นกล่าวนั้นจนน่าจะลวงให้มหาชนหลงไปได้ก็ดี ท่านว่าบุคคลผู้ที่มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะฟ้องเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เริ่มก่อการบริษัทก็ได้และจะร้องขอให้ศาลสั่งบังคับให้เปลี่ยนชื่อนั้นเสียใหม่ก็ได้
เมื่อศาลมีคําสั่งเช่นนั้นแล้ว ก็ต้องบอกชื่อซึ่งเปลี่ยนใหม่นั้นจดลงทะเบียนแทนชื่อเก่า และต้องแก้ใบสําคัญการจดทะเบียนด้วยตามกันไป
ที่มา .. ฝ่ายพิจารณาอนุญาตชื่อนิติบุคคล  ส่วนบริหารการจดทะเบียน  สํานักทะเบียนธุรกิจ โทร. 0 2547 4450   e–mail : nameit@dbd.go.th 

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีคนต่างด้าวร่วมลงทุนหรือมีคนต่างด้าวเป็นกรรมการ

จากเดิมบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีคนต่างด้าวถือหุ้นตั้งแต่ 40% ขึ้นไป กำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทที่เป็นคนไทยทุกคน ต้องส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนประกอบคำขอจดทะเบียน เช่น สำเนาสมุดเงินฝากธนาคารหรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร 6 เดือน หรือเอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น หรือสำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินลงทุนหรือถือหุ้น หลักฐานดังกล่าว จะต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นนำมาลงหุ้นหรือถือหุ้นแต่ละราย แต่ถ้าคนต่างด้าวถือหุ้นไม่ถึง 40% ก็ไม่ต้องแสดงที่มาของเงินลงทุน แต่ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทจำกัดที่มีคนต่างด้าวถือหุ้น หุ้นส่วนหรือผู้ร่วมก่อตั้งคนไทยทุกคนต้องส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุน (Bank Statemenet)
—————————————————————-
ประกาศสำนักทะเบียนธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์
ด้วยปรากฏว่ามีชาวต่างชาติประกอบธุรกิจบางประเภทโดยมิได้รับอนุญาต โดยจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจํากัดโดยให้คนไทยลงทุนหรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าว (นอมินี) ดังนั้นเพื่อให้การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจํากัดที่มีคนต่างด้าวร่วมลงทุน หรือคนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอํานาจลงนามหรือร่วมผูกพันบริษัท เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น สํานักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง จึงได้ออกคําสั่งที่ 205/2555 ให้ผู้ขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนประกอบคําขอจดทะเบียนโดยเอกสารดังกล่าว ต้องแสดงจํานวนเงินที่สอดคล้องกับจํานวนเงินที่นํามาลงหุ้นหรือถือหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นแต่ละราย ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) กรณีห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าวลงหุ้นหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจํากัดไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินลงหุ้นหรือทุนจดทะเบียน
(2) กรณีบริษัทจํากัดไม่มีคนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้น แต่คนต่างด้าวเป็นกรรมการผู้มีอํานาจลงนาม หรือร่วมลงนามผูกพันบริษัท
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
………………………………………………………..
ฝ่ายบริหารทั่วไป สํานักทะเบียนธุรกิจ

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ทำอย่างไร

1. เครื่องหมายการค้าคืออะไร
ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ ตรา ชื่อ คำ ข้อความตัวหนังสือ ตัวเลข ลายมือชื่อ กลุ่มของสี รูปร่าง หรือรูปทรงของวัตถุ หรือสิ่งเหล่านี้อย่างใดหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน
2. เครื่องหมายการค้ามีกี่ประเภท
เครื่องหมายการค้า หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น
เครื่องหมายบริการ หมายความว่า เครื่องหมายที่ใช้หรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการเพื่อแสดงว่า บริการที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของบริการนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่อง หมายบริการของบุคคลอื่น
เครื่องหมายรับรอง หมายความว่าเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้หรือจะใช้เป็นที่หมาย หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรอง แหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ/วิธีการผลิตคุณภาพ หรือคุณลักษณะของสินค้านั้น หรือเพื่อรับรองภาพ คุณภาพ ชนิด หรือคุณลักษณะอื่นใดของบริการนั้น
เครื่องหมายร่วม หมายความว่า เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้หรือจะใช้โดยบริษัทหรือ วิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม สหกรณ์ สหภาพ สมาพันธ์ กลุ่มบุคคลหรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การจดทะเบียนบริษัท

คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบ มูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"
  1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
  2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
  3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
  4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
  5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง...คิดทบทวนให้เข้าใจ...ก่อนจดทะเบียนบริษัท

ชายชราสอนการจัดการสากล
เรื่อง ...คิดทบทวนให้เข้าใจ...ก่อนจดทะเบียนบริษัท

บริษัทได้รับ E-mail คำถามจากท่าน ขอให้คำปรึกษากับท่านดังนี้
1)  จากข้อมูลที่ท่านกรอก ทุนจดทะเบียนบริษัทอยู่ที่ 50,000 บาท ในทางปฏิบัติ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัทที่ทุนไม่เกิน 1.0 ล้านบาท จะเสียค่าธรรมเนียมที่ 5,000 บาท มีความหมายว่า ถ้าท่านจดทุน 50,000 บาท ก็เสียค่าธรรมเนียม 5,000 บาท จดทุน 1.0 ล้านบาท ก็เสีย 5,000 บาท ด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย หากต่อมาท่านประกาศเพิ่มทุนขึ้นอีกแต่ไม่ถึง 1.0 ล้านบาท ท่านก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมอีก 5,000 บาท
2)  จากข้อ 1) จึงนิยมจดทะเบียนที่ทุน 1.0 ล้านบาทเป็นขั้นต่ำ โดยทำการเรียกชำระค่าหุ้น 25% ของ 1.0 ล้านบาท แต่กรณีนี้ท่านมีเงินทุนจริงอยู่ 50,000 บาท การบันทึกบัญชีในวันแรกของการตั้งบริษัทจะบันทึก
(1) เงินสด 50,000
(2) ลูกหนี้เงินกู้กรรมการ 200,000
(3) ทุน 25% 250,000
ท่านจะพบว่า สินทรัพย์ (1) + (2) = (3) ภายใต้เงื่อนไขว่าบริษัทไม่มีหนี้สิน
3)  จากข้อ 2) บริษัทจะออกงบการเงินได้ตามหลักบัญชี และผ่านการสอบบัญชีได้
4)  ปัญหาของท่านตาม 2) คือ รายการลูกหนี้เงินกู้กรรมการ ซึ่งเป็นรายการเสมือนว่า ท่านมีเงินจ่ายค่าหุ้นครบ 250,000 บาท แต่หลังจากที่จ่ายค่าหุ้นมาครบ 25% แล้ว ท่านในฐานะกรรมการมาขอยืมเงินบริษัทไปใช้ ทำให้ท่านกลายเป็นลูกหนี้
5)  หลังจากตั้งบริษัทเสร็จ วันใดที่ท่านมีเงิน ท่านก็ใส่เงินเข้าบริษัท ในรูปแบบของการคืนเงินกู้ให้กับบริษัท รายการลูกหนี้ก็จะลดลงและรายการเงินสดจะเพิ่มขึ้น ในจำนวนเดียวกันกับที่ท่านนำเงินกู้มาคืน
6)  การทยอยคืนเงินกู้ตาม 5) ไม่จำกัดระยะเวลา ท่านค่อยๆ ดำเนินการ ลูกหนี้ก็จะหมดไป เท่ากับว่าท่านได้ทยอยลงทุนนั่นเอง
7)  ธุรกิจของท่านเป็นธุรกิจรับเหมา หากมูลค่างานไม่สูง และลูกค้าเป็นรายย่อย ไม่ต้องการใบเสร็จรับเงิน การจดบริษัทในขณะนี้อาจเร็วเกินไป แต่หากลูกค้าแม้เป็นรายย่อย แต่ต้องการใบเสร็จรับเงิน การจดบริษัทในขณะนี้ก็มีความจำเป็น
8)  การจดบริษัทเร็วเพื่อให้บริษัทมีความเก่าแก่ เป็นเรื่องที่ท่านจะได้ประโยชน์ในด้านของความน่าเชื่อถือ แต่ความน่าเชื่อถือเรื่องอายุบริษัทอย่างเดียวไม่พอ ยังต้องแสดงผลประกอบการให้เห็นในงบการเงินอีกด้วย หากแม้นบริษัทเก่าแก่ แต่งบการเงินดูไม่ดี ความเก่าแก่ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมาก
9)  การพิจารณาข้อ 7) จึงเป็นสาระที่นำไปสู่การตัดสินใจว่า จะจดบริษัทในขณะนี้ทันทีหรือไม่ เพราะการจดบริษัทขึ้นจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเรื่องบัญชี/ภาษี และการสอบบัญชีมีต้นทุนอยู่ที่ปีละ 30,000 – 50,000 บาทโดยประมาณ ท่านจึงต้องตัดสินใจให้รอบคอบอีกที
10)  ส่วนเงื่อนไขอื่นๆ ที่ท่านต้องการให้มี เช่น เพิ่มทุนด้วยการจ่ายค่าหุ้นเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่เงิน/ออกหุ้น บุริมสิทธิ/ขายหุ้นเกินราคา PAR/ฯลฯ บริษัทดำเนินการให้กับท่าน แต่การจะดำเนินการต่อเงื่อนไขใด จะต้องพิจารณาเรื่องที่เกิดขึ้นกับท่าน ว่ามีความเหมาะสมต่อเงื่อนไขใด ซึ่งท่านต้องแจ้งต่อบริษัทให้รับทราบก่อน จึงจะกำหนดเงื่อนไขให้ท่านได้
11)  เรื่องการคิดที่จะทำบริษัทให้ถูกต้องตามกติกาที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นเรื่องดีเยี่ยมและเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จ
12)  ใบหุ้น หากจะให้บริษัททำ ก็ทำให้ท่านได้
ณ ขณะนี้บริษัทยังไม่เสนอค่าบริการกับท่าน บริษัทต้องการให้ท่านพิจารณาข้อมูลคำแนะนำตามจดหมายฉบับนี้ หากท่านตัดสินใจอย่างไร ขอให้แจ้งกลับบริษัทอีกครั้ง บริษัทจะดำเนินการให้กับท่าน

ชาย  กิตติคุณาภรณ์
fpmconsultant.com

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครม.ไฟเขียวโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาใหม่

นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง กล่าวว่า วันนี้ (30 กรกฎาคม 2556) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้นำเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ตามมาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็น ธรรมและให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจต่อรัฐสภา โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ปรับปรุงขั้นและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 5 ขั้น เป็น 7 ขั้น และลดอัตราสูงสุดจาก 37% เป็น 35% เพื่อกระจายภาระภาษีให้เท่าเทียมกันมากขึ้น 
ทั้งนี้ สำหรับเงินได้สุทธิตั้งแต่ 0-300,000 บาท ซึ่งกำหนดอัตราภาษีไว้ 5~ กระทรวงการคลังจะตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกต่อไป โดยการปรับปรุงขั้นและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะใช้บังคับสำหรับเงินได้ ประจำปีภาษี 2556 เป็นต้นไป
2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลดังนี้
- กำหนดคำนิยามของ “คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล” ให้หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคน ขึ้นไปตกลงกระทำการที่มีเงินได้พึงประเมินร่วมกันอันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วน สามัญ
- กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญเสียภาษีจากเงินได้สุทธิในอัตราร้อยละ 20 โดยให้หักค่าใช้จ่าย  ตามความจำเป็นและสมควรเท่านั้น
- กำหนดให้คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 โดยไม่ให้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
- กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล สามารถเลือกเสียภาษีสำหรับเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดกหรือ ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาหรือที่ได้มาโดยมิได้มุ่งในทางการค้าหรือหากำไร แยกต่างหากจากเงินได้อื่น โดยให้คำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้าสำหรับบุคคลธรรมดา แล้วไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีปลายปีอีก
ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราภาษีเงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล ที่มิใช่นิติบุคคลนี้จะใช้บังคับกับเงินได้ประจำปีภาษีถัดจากปีภาษีที่ กฎหมายมีผลใช้บังคับต่อไป
“การปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับ บุคคลธรรมดาเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี รวมทั้งทำให้ระบบภาษีมีความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้น การปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราภาษี   เงินได้ของห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลเป็นการป้องกันการ ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการกระจายฐานภาษีเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดา” นางเบญจา กล่าว
นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า มาตรการนี้มีผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากรประมาณ 25,000 ล้านบาท แต่จะทำให้รายได้สุทธิของผู้เสียภาษีเพิ่มขึ้น อันจะช่วยกระตุ้นการบริโภค ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจและฐานภาษีในระยะยาว รวมทั้งทำให้อัตราภาษีของไทยเป็นที่จูงใจและแข่งขันกับต่างประเทศได้ดียิ่ง ขึ้น รองรับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
สรุปได้ดังนี้ครับ
อัตราภาษีใหม่

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เช่าทรัพย์กับภาษีอากร

     เมื่อ กล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็น ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดี ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจน อาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัย ไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญา เกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไป รวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย
     บทความในสรรพากรสาส์นฉบับนี้ ผู้เขียนจึงได้รวมรวบเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไร บ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช่าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ความหมายของ “เช่าทรัพย์”

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 แสนบาทแรก

แม้จะได้มีการประกาศลดอัตราภาษีและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ที่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่ เกิน 30 ล้านบาท ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 โดยเริ่มใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 เป็นต้นมา ซึ่งส่งผลต่อการยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 ที่ผ่านพ้นไปนั้น เป็นปีแรกแล้ว
เนื่องจากในทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะได้มีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ เงินได้สุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 3 แสนบาทแรก ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาอยู่ในขณะนี้นั้น นอกจากเพื่อให้สอดคล้องกันกับกรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว รัฐบาลยังเล็งเห็นว่า เพื่อการบรรเทาภาระภาษีและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้แก่บริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 564) พ.ศ. 2556 ปรับปรุงการลดอัตราและการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนี้
1. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้

(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก
(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามแสนบาท แรก
2. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีดังนี้
(1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้า หมื่นบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
(2) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินสามแสนบาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 15 ของกำไรสุทธิ
การยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นกรณีที่ได้ล่วงพ้นไปหมดแล้ว ยังคงสิทธิประโยชน์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้ประกอบ กิจการที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไว้คงเดิม ในส่วนของการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป ต่างหากที่เป็นการปรับปรุงใหม่ โดยขยายการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นเป็นยกเว้นได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาทแรก.

ที่มาเดลินิวส์

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษีเงินปันผล

ตาม ข้อเท็จจริงมีว่า ได้มีผู้เสียภาษีท่านหนึ่ง สมมุติ ชื่อ “นาย พ” ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2550 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขอคืนภาษีเป็นเงินจำนวน 323,712.42 บาท มีรายละเอียด ดังนี้

นาย พ มีเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ คือ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินเดือน กับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทยแห่งหนึ่ง


วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิธีการให้เงินกู้ยืมแก่กรรมการ,พนักงาน โดยไม่คิดดอกเบี้ยจะได้มั๊ย หรือคิดแต่น้อย ถ้าได้ต้องทำอย่างไร

       ถ้าตอบกันโดยตรงตามประมวลรัษฎากร ก็เปิดช่องเอาไว้เหมือนกัน โดยที่ประมวลนั้นได้กล่าวไว้ว่า อาจกระทำได้ แต่ต้องมีเหตุอันสมควร   ทีนี้เราก็ต้องมาดูว่าเหตุใดบ้างที่ถือว่าเป็นเหตุอันสมควร ปรากฎว่าไม่มีบอกไว้เป็นการชัดเจนว่า ที่ว่าเหตุสมควรน่ะคืออะไร ให้อยู่ในดุลพินิจของเจ้าหน้าที่
        ดังนั้นโดยทั่วไป จึงไม่มีเหตุใดอันสมควรเลย เมื่อไม่มีเหตุอันควร เราก็ต้องอาศัยผลประโยชน์อันพึงได้ของเงินนั้นๆ หากไม่เอาเงินนั้นไปให้กรรมการ, พนักงานกู้ยืม บริษัทฯ จะได้ดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์เป็นจำนวนเงินเท่าใดในระยะเวลาที่เท่าๆกันกับการให้ยืมเงิน และต้องไม่ต่ำกว่าอัตราตลาด! หมายความว่า
1. ต้องมีการคิดดอกเบี้ยต่อกัน
2. หากบริษัทฯมีเงินเหลือให้กู้ยืม เงินที่ให้กู้นั้นต้องคิดดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
3. หากเงินที่ให้กู้ยืมนั้น ได้จากการที่บริษัทฯต้องไปกู้ยืมที่อื่นมาล่ะก็ ต้องคิดดอกเบี้ยในอัตราเงินกู้ยืม หรือในอัตราเบิกเงินเกินบัญชี O.D.
และเมื่อมีการคิดดอกเบี้ย ต่อกัน แล้ว จะเกิดภาษีขึ้น 2 ตัวคือ
1. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% ของเงินดอกเบี้ยที่ได้รับ โดยให้นำส่งภาษีดังกล่าวภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบ ภธ.40 ในการนำส่งภาษี
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภงด.50 โดยจะต้องนำเงินรายได้จากดอกเบี้ยดังกล่าวมาคำนวนร่วมกับรายได้ของบริษัทฯ ในรอบบัญชีที่เกิดรายได้นั้นๆ

ที่มา: thaitaxinfo.com

ซื้อสมุดเช็คธนาคาร ต้องหัก ณ ที่จ่ายธนาคารหรือไม่

        สมุดเช็คธนาคาร ไม่ใช่สินค้า ดังนั้นจึงไม่ใช้การขาย แต่เช็คธนาคารที่เราใช้กันอยู่นี้ เป็นหนังสือตราสารที่ผู้ซื้อเช็ค สั่งให้ธนาคารผู้ออกเช็ค จ่ายเงินเมื่อทวงถามจากผู้รับเช็ค หรือผู้นำเช็คมาขึ้นเงิน ดังนั้น สมุดเช็ค จึงเป็นค่าธรรมเนียมธนาคาร
        เมื่อสมุดเช็คเป็นค่าธรรมเนียม หมายความว่า หากราคาของค่าเช็คนั้นเกินกว่า 1,000 บาทต้องทำการหัก ณ ที่จ่าย 3 % จากธนาคารด้วย  ส่วนค่าอากรแสตมป์ ที่ปิดเช็คนั้น เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรชนิดหนึ่ง ดังนั้น จึงไม่มีหน้าที่หัก ณ ที่จ่าย

ที่มา: thaitaxinfo.com


วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ขยายเวลาใช้ เลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ไปจนถึง 31/7/2556

กรมสรรพากรจึงขยายระยะเวลาการใช้เลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น ออกไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/TIN13ExpandTime-010256.pdf

คาชี้แจงเกี่ยวกับการใช้เลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
ตาม ที่กรมสรรพากรได้กาหนดให้ใช้เลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กาหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และผู้จ่ายเงินได้ ซึ่งมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย มีและใช้เลขประจาตัวผู้เสียภาษีในการปฏิบัติตามประมวลรัษฏากร (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11 มกราคม 2555 และขยายเวลาให้ใช้เลขประจาตัว ผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ออกไปจนถึงวันที่ 31 มกราคม 2556 ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2555 นั้น
เนื่อง จากมีผู้ประกอบการจดทะเบียนจานวนมาก แจ้งว่า มีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้เลขประจาตัว ผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก เหลืออยู่เป็นจานวนมาก ได้แก่ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ใบกากับภาษี ใบรับและใบส่งของ เป็นต้น
กรมสรรพากรจึงขยายระยะเวลาการใช้ เลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ในเอกสารดังกล่าวข้างต้น ออกไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการใช้เลขประจาตัวผู้เสียภาษีอากร ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้มีหน้าที่นาส่งภาษี