h1.post-title{ font-size:20px;}

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ใบกำกับภาษีปลอม

การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้ บริการหากผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้ บริการ 1,800,000 บาทขึ้นไปจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็มีธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการบางประเภทที่กฎหมายให้สิทธิยกเว้นไม่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร ขายสัตว์ ขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ธุรกิจขนส่ง เป็นต้น

เมื่อผู้ประกอบการได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรคือ จะต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมส่งมอบให้กับลูกค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ ต้องยื่นแบบ (ภ.พ. 30) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตามภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

"ชา นนท์" เป็นสมุห์บัญชีบริษัทแห่งหนึ่งประกอบธุรกิจผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายเป็นการ ทั่วไป ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละเดือนภาษีจึงมีหน้าที่นำภาษีขายมาหักออกจากภาษีซื้อเพื่อคำนวณหาภาษี ที่ต้องนำส่งกรมสรรพากรในแต่ละเดือน ซึ่งภาษีขายเกิดจากการขายสินค้าให้กับลูกค้าแล้วเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากลูกค้าเพื่อนำส่งกรมสรรพากร

ส่วนภาษีซื้อเกิดจากการซื้อสินค้า วัตถุดิบ ทรัพย์สิน ตลอดจนการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้วถูกผู้ประกอบการรายอื่นเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการมี สิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ "ชานนท์" จึงมีหน้าที่นำภาษีขายมาหักออกจากภาษีซื้อในแต่ละเดือนเพื่อคำนวณหาภาษีที่ ต้องนำส่งหรือขอคืน

หากเดือนใดภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อผลแตกต่างที่ เกิดขึ้นต้องนำส่งกรมสรรพากร หากเดือนใดภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อผลแตกต่างที่เกิดขึ้นมีสิทธิขอคืนภาษี มูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร

บริษัทที่ "ชานนท์" เป็นสมุห์บัญชีอยู่นั้นได้มีการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกไปไม่ว่าจะเป็นการซื้อวัตถุดิบนำมาผลิตสินค้า วัสดุสิ้นเปลืองในการผลิต ซื้อเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ รวมถึงค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ จำนวนมากในแต่ละเดือน หากไปซื้อจากร้านค้าใดก็มักจะขอใบกำกับภาษีเต็มรูปจากร้านค้าแห่งนั้นเพื่อ นำมาใช้สิทธิในการขอภาษีซื้อคืน

ทุกครั้งที่ "ชานนท์" ได้รับใบกำกับภาษีเต็มรูปชานนท์จะพิจารณาว่า ใบกำกับภาษีเต็มรูปนั้นมีข้อความครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ หากใบกำกับภาษีที่ได้รับมีการแก้ไข ขูด ขีด ลบ ฆ่าในข้อความที่เป็นสาระสำคัญใบกำกับภาษีใบนั้นก็ไม่สามารถนำมาขอคืนภาษี มูลค่าเพิ่มได้

ปัญหาที่ "ชานนท์" พบในบริษัทของตนเองก็คือ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย ฝ่ายบริหารได้มีการจ่ายค่าใช้จ่ายแล้วขอใบกำกับภาษีซึ่งต้องนำมาเบิกเงินกับ ฝ่ายบัญชีการเงิน จะทราบได้อย่างไรว่า "ใบกำกับภาษีซื้อ" ดังกล่าวขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้หรือไม่ มีวิธีใดบ้างที่จะดูว่าเป็น "ใบกำกับภาษีปลอม"

คำถามของชานนท์เป็นคำถามที่เกิดขึ้นแทบทุกธุรกิจที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเลยทีเดียว มาพิจารณาจากประเด็นแรกกันก่อนว่า เมื่อได้รับใบกำกับภาษีซื้อมาแล้วจะดูอย่างไรว่าขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ หลักเกณฑ์มีดังนี้
1. ต้องเป็นกำกับภาษีเต็มรูปตามมาตรา 86/4 ซึ่งมีข้อความครบ 8 ประเด็น

2. คำว่า "ใบกำกับภาษี" ต้องพิมพ์มาจากโรงพิมพ์ หรือ พิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

3. คำว่า "ชื่อ-ที่อยู่" และ "เลขประจำตัวผู้เสียภาษี" ของผู้ขายหรือผู้ให้บริการ ต้องพิมพ์มาจากโรงพิมพ์ หรือพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

4. ต้องไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงบนใบกำกับภาษี

หากเข้าหลักเกณฑ์เบื้องต้นทั้ง 4 ประเด็น ใบกำกับภาษีนั้นก็มีสิทธิขอคืนได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร แต่อย่างไรก็ดีใบกำกับภาษีซื้อที่จะขอคืนได้ต้องไม่เข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไป นี้

(1) กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(2) กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(3) ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ ของผู้ประกอบการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(4) ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือ เพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี

(6) ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี

ประเด็น ของใบกำกับภาษีปลอมจะมีวิธีตรวจสอบอย่างไรเนื่องจากประมวลรัษฎากรมีบทกำหนด โทษหากนำใบกำกับภาษีปลอมมาขอคืนภาษีซื้อที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกเนื่องจาก ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ไม่ได้ประกอบธุรกิจ แต่ทำใบกำกับภาษีปลอมขึ้นมาขายให้กับผู้ประกอบการรายอื่น ถือเป็นการผิดกฎหมายมีบทลงโทษเบี้ยปรับ 200,000 บาท หรือจำคุก 7 ปี หรือทั้งจำและปรับ

สิ่งที่ชานนท์จะต้องระมัดระวังก็คือ เมื่อมีการจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ออกไปให้จ่ายเป็นเช็คขีดคร่อม A/C Payee Only ซึ่งระบุผู้รับเงินตามเช็คและโอนเปลี่ยนมือไม่ได้ การจ่ายเช็คให้ระบุชื่อผู้รับเงินตามใบกำกับภาษี

อีกวิธีหนึ่งเมื่อ ได้รับใบกำกับภาษีให้ตรวจสอบ Web Site ของกรมสรรพากรที่ www.rd.go.th เข้าไปที่ตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการแล้วพิมพ์ชื่อผู้ออกใบกำกับภาษี ก็จะทราบได้ว่า ใบกำกับภาษีที่ได้รับนั้นมีสิทธิออกหรือไม่

จะเห็น ได้ว่า "ใบกำกับภาษีปลอม" มีผู้ประกอบการหลายรายที่ได้มีการซื้อเข้ามาจัดทำบัญชีและยื่นขอภาษีซื้อคืน จากกรมสรรพากร และได้ถูกดำเนินคดีลงโทษสูงสุดมามากต่อมากแล้ว ระบบควบคุมภายในเพื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีจึงจำเป็นสำหรับธุรกิจที่จะต้องมี การตรวจสอบทุกครั้งที่ได้รับใบกำกับภาษีซื้อว่าถูกต้องครบถ้วนหรือไม่


ที่มา : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร  http://www.manager.co.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น