h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี (2)


ขอนำประเด็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี 2556 ตามแบบ 
ภ.ง.ด.94
สำหรับท่านที่มีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มาปุจฉา – วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา รายละเอียด เกี่ยวกับประเภทเงินได้พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสีย
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี มีอะไรบ้าง
วิสัชนา เงินได้พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ได้แก่ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่ได้รับในระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ดังต่อไปนี้
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ จากการให้เช่าทรัพย์สิน อาทิ การให้เช่าที่ดิน บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น รถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องแต่งกาย หนังสือ อย่างไรก็ตาม สำหรับเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์ ซึ่งผู้มีเงินได้ต้องยื่นนำไปใช้สิทธิเฉลี่ยเงินได้เป็นรายปีตามจำนวนปีอายุ การเช่า และต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 เพื่อเสียภาษีเงินได้ล่วงหน้าตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 ไปแล้วนั้น ก็เป็นอันไม่ต้องนำมารวมยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่ง ปีภาษีอีก มิฉะนั้น ก็จะเกิดความซ้ำซ้อนในการเสียภาษีอากร ในการบัญญัติกฎหมายจึงได้ถอดเงินได้พึงประเมินรายการนี้ออกไปจากการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี
เงินได้ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ ประกอบด้วย เงินได้จากการประกอบโรคศิลปะ หรือการบำบัดรักษาเกี่ยวกับร่างกายของมนุษย์ รวมทั้งการศัลยกรรม วิชาชีพกฎหมาย เช่น ค่าว่าความของทนายความ ค่าที่ปรึกษากฎหมาย เป็นต้น เงินได้จากวิศวกรรม เช่น ค่าที่ปรึกษาทางวิศวกร เงินได้จากสถาปัตยกรรม เช่น ค่าออกแบบของสถาปนิก เป็นต้น เงินได้จากวิชาการบัญชี เช่น ค่ารับจ้างทำบัญชี ค่าสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตหรือผู้สอบบัญชีภาษีอากร เป็นต้น หรือเงินได้จากวิชาชีพประณีตศิลปกรรม หรือการรับจ้างผลิตงานประณีตศิลป์ เช่น ช่างวาด ช่างปั้น ช่างหล่อ เป็นต้น
เงินได้ตามมาตรา 40 (7) แห่งประมวลรัษฎากร จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ อาทิ ค่ารับเหมาก่อสร้างของผู้รับเหมา ซึ่งตามสัญญาจ้างเหมากำหนดให้ผู้รับเหมาต้องจัดหาวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในการ รับเหมาด้วย บางครั้งเรียกว่า รับเหมาลำซำ
เงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร จากการประกอบธุรกิจให้บริการ การพาณิชย์หรือการค้าขาย การเกษตรกรรมหรือชาวนา ชาวไร่ หรือชาวสวนผลไม้และสวนยางพารา และแม้แต่ชาวนาเกลือ การอุตสาหกรรมหรือผู้ผลิตสินค้า การขนส่ง อาทิ แท็กซี่ รถรับจ้างขนส่ง หรือการอื่นใด อาทิ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค เป็นต้น รวมทั้งค่ารักษาสัตว์ของสัตวแพทย์ ซึ่งไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้จากการประกอบโรคศิลป์ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หรือ “นักแสดงสาธารณะ” ที่กินความไปถึง นักแสดงเพื่อความบันเทิงใดๆ หรือนักกีฬาอาชีพ อาทิ นักฟุตบอลอาชีพ นักแบดมินตันอาชีพ นักมวยสากลอาชีพ ซึ่งถือเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 ดังกล่าว

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา bangkokbiznews.com

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี

กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษี 2556

ตามแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับท่านที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ก็คือ ภายในช่วงเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา มีแนวคิดอย่างไร เกี่ยวกับกรณีที่กำหนดให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) - (8) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
วิสัชนา แนวคิดในการกำหนดให้มีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีมีดังนี้
1. เพื่ออำนวยให้เกิดความเป็นธรรมในการเสียภาษีเงินได้ กล่าวคือ แต่เดิมนั้นผู้เงินได้พึงประเมินในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 4 ถูกกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินได้ ในขณะที่เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ถึงประเภทที่ 8 ไม่ต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เว้นแต่การได้รับเงินได้พึงประเมินจากทางราชการเท่านั้น จึงเท่ากับเสียภาษีเงินได้ปีละ 1 ครั้ง ในขณะที่มนุษย์เงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้ปีละ 12 ครั้งเป็นอย่างน้อย
2. ในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลได้กำหนดให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแล้วตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2523 เป็นต้นมา
3. เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่จะทยอยจ่ายเงินภาษีเพียงปีละครั้ง ซึ่งอาจต้องเสียภาษีเป็นจำนวนมาก
4. เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่รัฐบาล ในอันที่จะนำมาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินได้เร็วขึ้นกว่าเดิม
ปุจฉา ทำไม่จึงกำหนดให้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ไม่ต้องนำเงินกินเปล่า เงินช่วยค่าก่อสร้าง เงินค่าซ่อมแซม ค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.94
วิสัชนา เนื่องจากในทางปฏิบัติกระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ผู้มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินไม่ยื่นรายการเงินได้ให้ครบถ้วน ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2528 ได้ยอมให้ผู้ให้เช่าซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเฉลี่ยเงินกินเปล่า เงินแป๊ะเจี๊ยะ เงินค่าปลูกสร้าง เงินค่าซ่อมแซม และค่าแห่งอาคารหรือโรงเรือนที่ได้รับกรรมสิทธิ์นั้น ตามส่วนแห่งจำนวนปีของอายุการเช่า เช่น ผู้ให้เช่าได้รับเงินกินเปล่าในการให้เช่าอาคารเป็นเงิน 300,000 บาท แต่ผู้ให้เช่าต้องผูกพันให้เช่าเป็นเวลา 10 ปี ดังนี้ให้เฉลี่ยเงินกินเปล่าจำนวน 300,000 บาท นั้นออกเป็นรายปีจำนวน 10 ปี โดยผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะมีเงินได้ปีละ 30,000 บาท
ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ดังกล่าวได้ยื่นรายการเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด.93 และชำระภาษีเงินได้จากเงินกินเปล่าที่เฉลี่ยเป็นรายปีตามจำนวนปีของอายุการ เช่าเป็นการล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมินนั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีของผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาดังกล่าวเสียภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการยื่นแบบ ภ.ง.ด.93 ดังกล่าว ถือเป็นการกำหนดให้ยื่นรายการเงินได้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องตัดเงินได้พึงประเมินดังกล่าวออกไป มิฉะนั้นจะเป็นการซ้ำซ้อน

ที่มา bangkokbiznews.com

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

ใบกำกับภาษีปลอม

การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้ บริการหากผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้าหรือให้ บริการ 1,800,000 บาทขึ้นไปจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ก็มีธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการบางประเภทที่กฎหมายให้สิทธิยกเว้นไม่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ธุรกิจขายพืชผลทางการเกษตร ขายสัตว์ ขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ธุรกิจขนส่ง เป็นต้น

เมื่อผู้ประกอบการได้ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการมีหน้าที่ตามประมวลรัษฎากรคือ จะต้องออกใบกำกับภาษีพร้อมส่งมอบให้กับลูกค้า ต้องจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ ต้องยื่นแบบ (ภ.พ. 30) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ว่าจะมีภาษีที่ต้องชำระหรือไม่ก็ตามภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าผู้ประกอบการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม

วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ

เลขที่หนังสือ
: กค 0706/4227
วันที่
: 30 เมษายน 2547
เรื่อง
: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแทนกรรมการ
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 42(13), มาตรา 65 ตรี (3), มาตรา 65 ตรี (13)
ข้อหารือ
: บริษัท ม. หารือว่า กรณีที่สำนักงานสรรพากรภาคได้มีหนังสือตอบข้อหารือกรณีเบี้ยประกันชีวิต
ที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการตามมติที่ประชุมของบริษัทว่า หากผู้รับประโยชน์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่
บริษัทจ่ายแทนกรรมการผู้เอาประกันไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ แต่หากผู้รับประโยชน์จากกรมธรรม์
เป็นครอบครัวหรือญาติพี่น้องของกรรมการ เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนถือเป็น
เงินได้พึงประเมินของกรรมการ ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ของกรรมการ ประเด็นดังกล่าวตัวแทน
ประกันชีวิตเห็นว่า
1. เบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัทถือว่าเป็นระเบียบ
วางไว้ให้จ่ายได้ เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัทซึ่งถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ได้ และหากผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการ
ผู้เอาประกันก็ไม่ถือเป็นเงินได้ของกรรมการ
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ทุก 5 ปีหรือทุกปี ถือเป็น
เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42(13)
แห่งประมวลรัษฎากร เพราะผลประโยชน์มิใช่สินไหมเสียชีวิตหรือครบกำหนดอายุกรมธรรม์ บริษัท
ประกันชีวิตจะจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันเท่านั้น ไม่จ่ายให้แก่บริษัทซึ่งเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันและเป็นผู้รับ
ผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ ย่อมถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการที่ได้รับยกเว้นภาษีตามมาตรา
42(13) ที่กล่าวถึงข้างต้นบริษัทฯ หารือว่าความเห็นของตัวแทนประกันชีวิตในกรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย
: 1. เงินค่าเบี้ยประกันชีวิตที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการบริษัทตามมติที่ประชุมของบริษัท หากเป็น
กรณีที่บริษัทต้องจ่ายให้กรรมการทุกคนเป็นการทั่วไปตามระเบียบของบริษัทแล้ว บริษัทมีสิทธินำ
เบี้ยประกันชีวิตที่ออกให้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร ถึงแม้ผู้รับประโยชน์ตาม
กรมธรรม์คือบริษัท เงินค่าเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายแทนกรรมการก็ต้องถือเป็นประโยชน์เพิ่มของกรรมการ
เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร
2. ผลประโยชน์ที่บริษัทประกันชีวิตจ่ายคืนระหว่างอายุกรมธรรม์ 5 ปี หรือทุกปีให้แก่
ผู้เอาประกันภัยถือเป็นเงินที่ได้จากการประกันภัย ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้ตามมาตรา 42(13) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้
: 67/32909 

ที่มา http://www.rd.go.th/publish/24443.0.html