h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2562

เรื่องกฎกระทรวงฉบับที่ 355

            เรื่องกฎกระทรวงฉบับที่ 355 ที่เพิ่งออกมา ประกาศในราชกิจ วันที่ 23 ธ.ค. 2562 มีผลบังคับใช้ 24 ธค 2562 คือ เรื่องที่ให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร กรณี (1)มีการฝากเงินรวม 3,000 ครั้ง และ (2)ฝากเงิน 400 ครั้งมียอดเงินรวม 2 ล้านบาท นั้น  มีผลให้ส่งข้อมูลโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค. ถึง 31 ธ.ค. 2562 (/) ก่อนหน้านี้ที่เคยออกมาเป็น พรบ คือกฏหมาย  แต่มีผลบังคับใช้ตามกฏกระทรวง 355 ที่เพิ่งประกาศราชกิจจา 23 ธ.ค. 2562 จึงมีผลบังคับ 24 ธ.ค. 2562  ฉะนั้น ธนาคารจะเริ่มนับรายการฝากเงิน ตั้งแต่ 24 ธ.ค. - 31 ธ.ค. 2562 ถ้าเข้าเกณฑ์ก็จะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
           การนับเงินเข้า รวมหมดทุกวิธี  ฝากเงินสด, โอนเข้ามา, ฝากเช็ค,  ดอกเบี้ยเข้า, เปิดบัญชีครั้งแรก  แม้กระทั่งฝากเช็คแล้วเช็คเด้งก็นับครั้ง นับจำนวนเงินด้วย
           และไม่ใช่เฉพาะบัญชีธนาคารของบุคคลธรรมดา บัญชีของนิติบุคคลก็ให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วย ถ้าเข้าหลักเกณฑ์

วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บุคคลธรรมดามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และสามารถออกหนังสือรับรองได้ หรือไม่

บุคคลธรรมดามีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และสามารถออกหนังสือรับรองได้ หรือไม่
บุคคลธรรมดาผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งพร้อมทั้งยื่นแบบแสดงรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และหรือหลักฐานการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ดังนี้ 1. กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
บุคคลธรรมดามีหน้าที่หัก ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (1)(2)(3)(5)(6) และมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 แล้วนำส่งตามมาตรา 52 แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถออกหนังสือรับรองให้ผู้รับเงินได้ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรได้ ดังนี้ 1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร จากข้อความว่า "ให้บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม หรือคณะบุคคลผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามวิธีดังต่อไปนี้..." นั้น คำว่า "บุคคล" ครอบคลุมทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น รวมทั้งรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น จึงเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร ในส่วนของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นบุคคลธรรมดา มีหน้าที่คำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 (1)(2)(3)(5) และ (6) แห่งประมวลรัษฎากรดังนี้ (1) สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร (มาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร) (ก) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ที่มิใช่เงินได้พึงประเมินซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน น้น ให้คูณเงินได้พึงประเมินที่จ่ายด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย เพื่อให้ได้จำนวนเงินเสมือนหนึ่งว่าได้จ่ายทั้งปี แล้วคำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48 เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย ได้ผลลัพธ์เป็นเงินเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ถ้าการหารด้วยจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายตามความในวรรคก่อนไม่ลงตัว เหลือเศษเท่าใดให้เพิ่มเงินเท่าจำนวนที่เหลือเศษนั้นรวมเข้ากับเงินภาษีที่จะต้องหักไว้ครั้งสุดท้ายในปีนั้น เพื่อให้ยอดเงินภาษีที่หักรวมทั้งปีเท่าจำนวนภาษีที่จะต้องเสียทั้งปี (ดู คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 96/2543 ประกอบ)