ตามที่กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 196
เกี่ยวกับรูปแบบใบกำกับภาษีแบบใหม่ โดยจะผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2557
แต่ได้เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 มกราคม 2558
โดยสาระสำคัญในใบกำกับภาษีรูปแบบใหม่นี้จะต้องมีระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
ของผู้ซื้อหรือผู้รับบริการลงในใบกำกับภาษีด้วย
ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีข้อดีในแง่ของการตรวจสอบ
แต่ไม่สะดวกกรณีที่บุคคลธรรมดาจะซื้อสินค้าหรือบริการ
จะต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (ซึ่งเป็นเลขเดียวกับบัตรประชาชน)
ทางกรมสรรพากรจึงได้ออก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 199
ข้อ 7 ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้จัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา
86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อ
สินค้าหรือผู้รับบริการซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ไว้ในใบกำกับภาษีนั้น
โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด
หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ ทั้งนี้
สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้จัดทำ
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
โดยเนื้อหาที่สำคัญในประกาศฉบับนี้ คือ
ให้ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่า
เพิ่มเท่านั้น ดังนั้นกรณีที่ไปซื้อสินค้า
และต้องการให้ออกใบกำกับภาษีในนามของบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นผู้
ประกอบการจดทะเบียน ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งประจำตัวผู้เสียภาษีอีกต่อไป
เนื่องจากบุคคลธรรมดาไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพราะไม่สามารถนำภาษีซื้อ ภาษีขาย ไปหักลดหย่อนใดๆ ได้
จะใช้ได้แต่เพียงเพื่อเป็นหลักฐานในการจ่ายชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการเท่า
นั้น
ส่วนผู้ประกอบการที่จดทะเบียนมีสิทธิในการนำใบกำกับภาษีให้เครดิตภาษีได้
สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนก่อนที่จะรับใบกำกับภาษี
จะต้องแจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และตรวจสอบให้ถูกต้องด้วย
มิฉะนั้นจะไม่สามารถนำไปเครดิตภาษีได้
ที่มา businesssoft.com
บริษัท เอสซีพีการบัญชีกรุ๊ป จำกัด รับทำบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน,และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ โทรติดต่อ 083-4923837 คุณสมนึก
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์
กรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 148/2557
เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและเงินได้สุทธิสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 11 ก.ย.2557 โดยยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 61/2539 ลงวันที่ 1 พ.ค.2539 วางแนวทางปฏิบัติในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ที่จะนำไปคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร หรือในการคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้มีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร
จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา คำว่า “กิจการขายอสังหาริมทรัพย์” ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 148/2557 กำหนดความหมายไว้อย่างไร
วิสัชนา คำว่า “กิจการขายอสังหาริมทรัพย์” หมายความว่า การขายที่ดิน การขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง การขายสิ่งปลูกสร้าง และการขายอาคารชุด
ปุจฉา เกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายทั่วไปของกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ กำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยนำรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เกณฑ์สิทธิ โดยบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้จะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะ เวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้นแม้จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะ เวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
ทั้งนี้ โดยให้ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ดังต่อไปนี้
(1) ให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นรายได้และรายจ่ายทั้งจำนวนเมื่อมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เฉพาะการขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันกับการขายนั้น
(2) ให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จในแต่ละ รอบระยะเวลาบัญชีมารวมคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือ
(3) ให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามงวดที่ถึงกำหนดชำระโดยให้ใช้วิธีการคำนวณตามอัตรากำไรขั้นต้น
การคำนวณเป็นรายได้และรายจ่ายตาม (2) และ (3) ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้เลือกใช้วิธีหนึ่งวิธีใดตาม (2) หรือ (3) เพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทใดแล้ว ให้ใช้วิธีนั้นตลอดไปสำหรับการขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทนั้น เว้นแต่จะได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงจากอธิบดีกรมสรรพากร
การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็น กิจการที่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (Publicly Accountable Entities) ตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งประกอบกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ ให้ใช้เกณฑ์สิทธิตามข้อ 2 โดยให้คำนวณรายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป
โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์ ที่มา bangkokbiznews.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)