h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา

โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ

ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1

เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี

xxxx

(1)

หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด

xxxx

(2)

(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย

xxxx

(3)

หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด

xxxx

(4)

(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ

xxxx

(5)

หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด

xxxx

(6)

(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ

xxxx

(7)

นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1

xxxx

(8)

ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น


ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี

การคำนวณภาษี

จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (8) และ (10) จำนวนที่สูงกว่า

xxxx

(11)

หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว

xx

ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว

xx

ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า

xx

เครดิตภาษีเงินปันผล

xx

xx

(12)

(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้)

xx

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

แต่ละขั้น

อัตราภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้น

เงินได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

1 - 150,000

150,000

ได้รับยกเว้น

-

-

150,001 - 500,000

350,000

10

35,000

35,000

500,001 - 1,000,000

500,000

20

100,000

135,000

1,000,001 - 4,000,000

3,000,000

30

900,000

1,035,000

4,000,001 บาทขึ้นไป

37

หมายเหตุ :- การ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2551 เป็นต้นไป ( พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551 )

หมายเหตุ ข้อมูลจากกรมสรรพากร

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การวางแผนภาษีอากรกับหนีภาษี ต่างกันอย่างไร

ความหมายของการวาง แผนภาษีอากร ( Tax Planning) การวางแผนภาษีอากรคือการเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และประหยัด การทำให้ไม่ ต้องชำระภาษีหรือการทำให้เสียภาษีน้อยที่สุดโดยวิธีการที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็ถือเป็นการวางแผนภาษีอากรด้วยการวางแผนภาษีอากรต้องกระทำก่อน เริ่มต้นประกอบธุรกิจ และเมื่อจะเลิกประกอบ ธุรกิจก็ต้องมีการวางแผนภาษีอากรด้วย
ความหมายของการ หนีภาษี ( Tax Evasion) การหนีภาษีคือการที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ผิดกฎหมายหรือฉ้อฉลเพื่อที่จะ ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษี น้อยลง ซึ่งการกระทำเช่นนี้มีความผิดและต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ตัวอย่างของการหนีภาษี เช่น ผู้เสียภาษีไม่กรอกจำนวนเงินได้หรือทรัพย์สินที่จะ ต้องเสียภาษีในแบบแสดงรายการโดยเจตนา หรือกรอกแต่กรอกไม่ตรงต่อความเป็นจริงเพื่อให้เสียภาษีน้อย หรือการตั้งราคาโอน (Transfer Pricing) ก็เป็นการหนีภาษีเช่นเดียวกัน การตั้งราคาโอน หมายถึงการที่บริษัทในเครือของบริษัทข้ามชาติ ( Multinational Firm) ซื้อสินค้าจากบริษัทแม่หรือในบริษัท ในเครือในต่างประเทศในราคาสูงกว่าความเป็นจริง เพื่อทำให้ต้นทุนสูง กำไรของบริษัทในประเทศไทยจะได้ต่ำ ทำให้เสียภาษีน้อยลง หรือการที่บริษัท ในประเทศไทยขายสินค้าให้แก่บริษัทแม่หรือบริษัทในเครือในต่างประเทศในราคา ต่ำกว่าความเป็นจริง กำไรจะได้ต่ำหรือขาดทุน ทำให้เสียภาษีในประเทศ ไทยน้อยหรือไม่ต้องเสียภาษีเลย