h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จดทะเบียนบริษัทราคาถูก

***จดทะเบียนบริษัท 8,500 บาท (รวมค่าธรรมเนียม 6,300 บาท แล้ว)
***จดทะเบียน หจก 3,500 บาท (รวมค่าธรรมเนียม 1,350 บาทแล้ว)
***จดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้า คณะบุคคล 1,500 บาท (ราคาจดทะเบียนรวมค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว)
***จดเลิกกิจการ เริ่มต้น 11,000 บาท รวมปิดงบเลิกประกาศลงหนังสือพิมพ์และค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว
***จดเปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรรมการเข้าออก เปลี่ยนอำนาจกรรมการ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ เปลี่ยนชื่อ เพิ่มทุน ค่าบริการ เริ่มต้น 1,500 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมและประกาศลงหนังสือพิมพ์ตามกฎของกรม)
***จดเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (ภ.พ.09) 1,500 บาท
***จดบัตรผู้เสียภาษี 500 บาท จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,500 บาท
***ขึ้นทะเบียนประกันสังคม 1,500 บาท

บริการงานด้านบัญชีและยื่นภาษี ค่าบริการเริ่มต้นที่ 500 บาท


วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์

เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ต่อมาบริษัทต้องการประกอบกิจการค้าเพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ที่ประกอบกิจการบางอย่าง บริษัทจะต้องดำเนินการแก้ไขวัตถุประสงค์ โดยจัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. (วัตถุที่ประสงค์) แล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. มีดังนี้
1. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัท และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน
การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็วันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น
2. ในการลงมติให้แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 3. (วัตถุประสงค์) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
3. จัดทำคำขอจดทะเบียน โดยให้กรรมการตามอำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจดทะเบียนแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. (วัตถุที่ประสงค์)
1. วัตถุประสงค์ตามที่ประชุมมีมติพิเศษให้แก้ไข
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. (วัตถุที่ประสงค์)
1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
3. รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4)
4. แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.) จะต้องระบุวัตถุประสงค์ทั้งหมดที่มีมติพิเศษให้แก้ไขแล้ว *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
5. หนังสือบริคณห์สนธิแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 1 ฉบับ ผนึกอากรแสตมป์ 50 บาท
6. แบบ สสช. 1 จำนวน 1 ฉบับ
7. หลักฐานการให้ความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)
8. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
9. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
10. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)
แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถขอและซื้อได้จากหน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ Download จาก www.dbd.go.th

ค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. 400 บาท
ค่าหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

สถานที่จดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสำนักงานพัฒนา ธุรกิจการค้าทั้ง 5 เขต *ดูรายละเอียด*
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น ยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่บริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
3. ยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th *ดูคำแนะนำการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต*

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการยื่นแบบประกันสังคมและตัวอย่าง

1. กรณีมีพนักงานเข้าทำงานใหม่ จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1.1 กรณีไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้ยื่นแบบ สปส.1-03 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัว
ประชาชน (พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
1.2 กรณีเคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน (ไม่ว่าทางประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิให้
แล้วหรือไม่ก็ตาม) ให้ยื่นแบบ สปส. 1-03/1 เท่านั้น
***หมายเหตุ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
หลักการนำส่ง สปส.1-03 และ สปส. 1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สปส. 1-03 → แนบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน → พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
(รวมเรียกว่า 1 แผ่น)
2. สปส. 1-03/1 (รวมเรียกว่า 1 แผ่น )
3. ปะหน้าด้วย สปส.1-02 แล้วรวมจำนวนแผ่นที่นำส่งประกันสังคม
4. ส่งให้ นายจ้าง / ผู้รับมอบอำนาจ → เซ็น → พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
2. กรณีพนักงานลาออก ให้ยื่นแบบ สปส. 6-09
3. กรณีพนักงานขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ และหรือขอแก้ไขบัตร ให้ยื่นแบบ สปส.9-02
(ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ประจำปีได้ในวันที่ 1 ม.ค – 31 มี.ค ของทุกปี )
4. กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ให้ยื่นแบบ กท.16 และ กท.44
5. กรณีขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม ให้ยื่นแบบ สปส.2-01
ข้อกำหนดของประกันสังคม
- กรณีนำส่ง สปส. 1-03 และ สปส. 1-03 / 1 ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้า ทำงาน มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน
20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีนำส่ง สปส. 6-09 ให้แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนบริษัท

เมื่อจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็ให้ดำเนินการดังนี้
1. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
2. เมื่อมีการจองซื้อหุ้นหมดแล้ว ก็ให้ผู้เริ่มก่อการออกหนังสือนัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อประชุมจัดตั้งบริษัท การออกหนังสือนัดประชุมจะต้องห่างจากวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน
3. จัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัท
3.1 องค์ประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 2 คน นับจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด (จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนก็ได้)
3.2 วาระการประชุม
(1) ทำความตกลงตั้งข้อบังคับของบริษัท
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการต้องจ่ายในการเริ่มก่อตั้งบริษัท
(3) กำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ (ถ้ามี)
(4) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุ้นบุริมสิทธิ ให้กำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิพร้อมทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิว่ามีสภาพหรือสิทธิอย่างไร
(5) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุ้นเพื่อเป็นการตอบแทนการลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน จะต้องกำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนเพราะได้ใช้ค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน โดยจะต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนทั้งในหนังสือนัดประชุมและมติที่ประชุมแรงงานที่จะนำมาตีราคาเป็นค่าหุ้นของบริษัทต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว
(6) การเรียกชำระค่าหุ้น
(7) เลือกตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ
(8) เลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมทั้งกำหนดค่าสินจ้าง การตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงินต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเท่านั้น จะแต่งตั้งสำนักงานตรวจสอบบัญชีไม่ได้”
4. ผู้เริ่มก่อการมอบหมายกิจการงานทั้งหมดให้แก่คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม
5. คณะกรรมการเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
6. เมื่อเก็บค่าหุ้นได้ครบแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

การยื่นจดทะเบียนจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ถ้าไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะทำให้การประชุมตั้งบริษัทเสียไป หากต่อไปต้องการจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ต้องดำเนินการจัดประชุมผู้จองซื้อหุ้นใหม่

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. ข้อบังคับ (ถ้ามี)
2. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
3. ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
4. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ) *ดูตัวอย่างการกำหนดอำนาจกรรมการ*
5. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
6. ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
7. ตราสำคัญ *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*
8. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่/สาขาบริษัทจะไม่จดทะเบียนตราสำคัญของบริษัทก็ได้ หากว่าอำนาจกรรมการไม่ได้กำหนดให้ต้องประทับตราสำคัญด้วย

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
3. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
4. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
5. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
6. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
7. สำเนาข้อบังคับ ปิดอากร 200 บาท (ถ้ามี)
8. หนังสือบริคณห์สนธิฉบับตีพิมพ์และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ อย่างละ 1 ฉบับ
9. แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ
10. หลักฐานการชำระค่าหุ้น ได้แก่
10.1 หนังสือรับรองธนาคาร หรือ
10.2 สำเนาหลักฐานแสดงการรับชำระค่าหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย
11. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
12. สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)*ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียน*
13. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)
14. กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนแต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละราย อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
14.1 สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนหรือ
14.2 เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
14.3 สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้นแบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถขอและซื้อได้จากหน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ
Download จาก www.dbd.go.th

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง