รับทำบัญชี (Bookkeeping)
1. ต้องจัดให้มี "ผู้ทำบัญชี" ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามพรบ.บัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทละ 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล ทั้งนี้อาจเป็นพนักงานของนิติบุคคล ผู้รับทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำบัญชีก็ได้
2. จัดทำบัญชีตามกฏหมาย นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำได้แก่
2.1 บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป
2.2 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
2.3 บัญชีสินค้า
2.4 บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
3. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี ให้แก่ "ผู้ทำบัญชี" ให้ครบถ้วนถูกต้อง
4. จัดให้มีการปิดบัญชี ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
5. จัด ทำงบการเงิน อย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อ ตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินต้อง มีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงาน พัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน (สำหรับห้างหุ้นส่วนต้องจัด ทำงบการเงินยื่นภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี) ทั้งนี้รวมถึง บริษัท และห้างหุ้นส่วนที่แม้ว่า จะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวาง โทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
วัตถุประสงค์การจัดทำบัญชี
ทาง สำนักงานเล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านบัญชีและ การเงิน เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการในด้านนี้ทางสำนักงานจึงขอเสนอบริการต่างๆ ให้ท่านได้พิจารณาดังนี้
* เสริมสร้างระบบบัญชี และ ระบบภายในของบริษัทให้มีความเข้มแข็ง
* จัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี พรบ.การบัญชีที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
* จัด ทำงบการเงินได้ถูกต้อง น่าเชื่อถือ นำส่งได้ตรงต่อเวลาประหยัดภาษี และลดความเสี่ยงจากการถูกกรมสรรพากรตรวจสอบ และ เรียกเก็บภาษีเพิ่มภายหลัง
บริการด้านบัญชีการเงิน
1. ให้คำแนะนำปรึกษาในการวางระบบบัญชี การควบคุมภายในด้านบัญชี และระบบการจัดเก็บเอกสารขั้นพื้นฐานแก่กิจการ
2. ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทตามที่กฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลมีผู้ทำบัญชี 1 คน
3. วิเคราะห์เอกสารเพื่อบันทึกบัญชีเกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และการปรับปรุงบัญชี เช่น ใบส่งของ, ใบแจ้งหนี้, เอกสารการรับชำระหนี้, เอกสารนำฝากธนาคาร, การบันทึกค่าเสื่อมราคา ฯลฯ
4. บันทึกรายการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่กรมสรรพากรรับรองล่าสุด
5. จัดทำสมุดบัญชีต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้จัดทำ ได้แก่ สมุดบัญชีเงินสด สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร, สมุดรายวันซื้อ-ขาย , สมุดรายวันรับ-จ่าย , สมุดรายวันทั่วไป และสมุดบัญชีแยกประเภท
6. มีการปิดงบและออกรายงานการเงินทุกเดือนเพื่อให้ผู้บริหารทราบผลการดำเนินงานและสามารถ วางแผนการดำเนินงานได้ทันท่วงที
7. จัดเตรียมงบการเงินประจำปี พร้อมรายละเอียดประกอบงบการเงินของแต่ละบัญชี ได้แก่
- งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารทุกบัญชี (Bank Reconcile)
- ทะเบียนทรัพย์สินและค่าเสื่อมราคา (Fixed Assets Register)
- รายละเอียดลูกหนี้-เจ้าหนี้รายตัวคงเหลือ ณ วันสิ้นปี (Sub A/R,A/P) เป็นต้น
ประกันสังคม และ ภาษี
1. จัดเตรียมแบบภาษีที่ต้องยื่นนำส่งสรรพากรรายเดือน พร้อมบริการยื่นชำระภาษี (ถ้ามี)ได้แก่
- แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนค่าจ้าง (ภ.ง.ด.1)
- แบบภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล (ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53)
- แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 30) รายงานภาษีซื้อ - ภาษีขาย
2. คำนวณและจัดเตรียมแบบนำส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือน พร้อมบริการยื่นแบบ
3. จัดเตรียมแบบภาษีที่ต้องยื่นนำส่งสรรพากรรายปี พร้อมบริการยื่นชำระภาษี ได้แก่
- ประมาณการเสียภาษีครึ่งปีและจัดเตรียมแบบนำส่งภาษีเงินได้ฯครึ่งปี (ภงด.51)
- คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปีและจัดเตรียมแบบนำส่งภาษีเงินได้ฯ ประจำปี (ภ.ง.ด.50)
- จัดเตรียมแบบนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้แก่ สบช.3, แบบรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ. 5)