h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2555 (ใหม่)

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ *


- เงินได้สุทธิ 0-300,000 บาท อัตราภาษี 5%
- เงินได้สุทธิ 300,001 ถึง 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
- เงินได้สุทธิ 500,001 ถึง 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
- เงินได้สุทธิ 750,001 ถึง 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
- เงินได้สุทธิ 1,000,001 ถึง 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
- เงินได้สุทธิ 2,000,001 ถึง 4,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
- เงินได้สุทธิ 4,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%
- ผู้มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท กระทรวงการคลังจะออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีไว้เช่นเดิม

อัตรภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(เก่า) 2551

http://www.rd.go.th/publish/1780.0.html
*ข้อมูลจาก http://www.facebook.com/photo.php?fbid=239212859542570&set=a.101672099963314.1120.101367553327102&type=1&theater

วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาภาษีอากรสำหรับการประกอบกิจการขนส่ง ขนถ่ายสินค้า

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขนส่ง และขนถ่ายสินค้าและอุปกรณ์

ขอนำประเด็นปัญหาภาษีอากรสำหรับการประกอบกิจการขนส่งมาปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้ 


ปุจฉา บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่า เพิ่ม ประกอบกิจการรับจ้างขนส่งและขนถ่าย เครื่องกล เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ทุกประเภท ภายในประเทศและต่างประเทศ ทั้งทางบกและทางน้ำ โดยใช้รถเทรลเลอร์และรถเครน รวมทั้งการขนส่งโดยใช้เรือ รับจ้างขนส่งสิ่งของ โดยรับขนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งภายในประเทศตามที่ผู้ว่าจ้าง ได้ตกลงตามสัญญาจ้าง หรือรับจ้างขน ย้าย ลาก ยกส่งของขึ้นจากเรือไปลงรถยนต์ หรือขนย้ายจากรถยนต์ไปลงเรือ ตามที่ผู้ว่าจ้างได้ตกลงตามสัญญาจ้าง หรือการรับจ้างดังกล่าว บริษัทฯ เป็นผู้จัดหาเครื่องขนย้ายอุปกรณ์การขนส่งและพนักงาน กรณีดังกล่าว

1. การประกอบกิจการดังกล่าวถือเป็นกิจการขนส่งหรือไม่ ถ้าเป็นการขนส่ง เมื่อบริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทฯ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง และบริษัทฯ จะต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หรือไม่

2. กรณี บริษัทฯ ได้ขอยืมอุปกรณ์จากบริษัทในประเทศสิงคโปร์ เช่น รถเครนหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยบริษัทฯ ได้ตกลงจ่ายผลตอบแทนการใช้อุปกรณ์ เป็นค่าเช่าให้กับบริษัทในประเทศสิงคโปร์ การจ่ายค่าเช่าอุปกรณ์ดังกล่าวต้องเสียภาษีอะไรบ้าง และอยู่ในบังคับต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หรือไม่ ในอัตราเท่าไร



วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555

อัตราค่าปรับ กรณีไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้า ถึงปี 2555

ตารางอัตราค่าปรับ
กรณียื่นงบการเงินเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.. 2543
แนบท้ายระเบียบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ว่าด้วยการเปรียบเทียบตามกฎหมายที่อยู่ใน
ความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พ.ศ.2555 

1.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน    2    เดือน
ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ
รวม
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
1,000
1,000
2,000
2
บริษัทจำกัด
1,000
1,000
2,000
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
2,000
2,000
4,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
2,000
2,000
4,000
5
กิจการร่วมค้า
2,000
-
2,000

2.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า     2    เดือน    แต่ไม่เกิน     4     เดือน
ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ
รวม
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
4,000
4,000
8,000
2
บริษัทจำกัด
4,000
4,000
8,000
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
24,000
24,000
48,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
24,000
24,000
48,000
5
กิจการร่วมค้า
24,000
-
24,000

3.  อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า    4    เดือนขึ้นไป    หรือไม่ยื่นงบการเงิน
ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ
รวม
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
6,000
6,000
12,000
2
บริษัทจำกัด
6,000
6,000
12,000
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
36,000
36,000
72,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
36,000
36,000
72,000
5
กิจการร่วมค้า
36,000
-
36,000

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๐)
พ.ศ. ๒๕๕๔
--------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
                             พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
                             โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราภาษีเงินได้ และปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บางกรณี
                             อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
                             มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๐) พ.ศ. ๒๕๕๔”

                             มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
                             มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการ ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
                             มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้
                                         “ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย หรือโอนสินค้า โดยมีหรือไม่มีประโยชน์หรือค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงสัญญาให้เช่าซื้อสินค้า สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการ ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว และการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
                                         “สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่างที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ที่มีไว้เพื่อขายเท่านั้น
                                         “บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า
                             มาตรา ๕ ให้ ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (๒) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
                                         (๑) ร้อยละยี่สิบสามของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
                                         (๒) ร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับสองรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
                             มาตรา ๖ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (๒) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้ เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำ ระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการ ขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท
                                         (๑) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท ให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละสิบห้าของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
                                         (๒) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท ให้คงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
                                            (ก) ร้อยละยี่สิบสามของกำไรสุทธิ สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
                                            (ข) ร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นต้นไป
                             มาตรา ๗ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของ รอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้ บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาทสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแรกสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
                             มาตรา ๘ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ ตามมาตรา ๖ และการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๗ ต้องไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาท และต้องไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกิน สามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
                             มาตรา ๙ ให้ยกเลิก (๒) ของมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
                             ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕ มาใช้บังคับแก่บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
                             บทบัญญัติใน (๒) ของมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปแก่บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
                             มาตรา ๑๐ บทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยก เว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะแก่การลดอัตราภาษีเงินได้และการยกเว้นภาษีเงิน ได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม ก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
                             มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
     ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
      นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควร ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล เป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชี จากอัตราร้อยละสามสิบเหลืออัตราร้อยละยี่สิบสามและร้อยละยี่สิบ ตามลำดับ เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และสมควรปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทที่นำหลัก ทรัพย์มา จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออก ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลงทุนใน ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนให้มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
                             (ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๙๓ ก ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔)
space
Last update :
 Tuesday, January 17, 2012

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

หากผู้ประกอบการได้รับ  "บิลเงินสด"  มาประกอบเป็นเอกสารประกอบการลงบัญชี  โดยตามประมวลรัษฎากรจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา  65  ตรี แห่งประมวลรัษฎากร  ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา  65  ตรี ( 18 )  ดังนี้

( 18 )  รายจ่ายซึ่งผู้จ่ายพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ



ดัง นั้น  "บิลเงินสด"  ที่กิจการได้รับมาจากการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปนั้น  ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงิน  หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการมีตัวตนจริง  ทางบัญชีจะบันทึกบัญชีเป็นค่าใช้จ่าย  แต่ทางภาษีอากรจะต้องนำรายจ่ายนั้นไปปรับปรุงกำไรสุทธิ ( บวกกลับ )  แต่หากกิจการสามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้รับมีตัวตนจริงก็จะถือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร



กรณีศึกษา

กรณีการพิจารณารายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ

ในกรณีที่บริษัทมีรายจ่ายที่จ่ายไปเพื่อกิจการของบริษัทและได้รับหลักฐานดังต่อไปนี้ คือ

1.  ใบรับเงิน  มีชื่อ  ที่อยู่  และเลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน หรือ

2.  บิลเงินสด  มีชื่อ  ที่อยู่ผู้รับเงิน  แต่ไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี  หรือ

3.  บิลเงินสด  มีการประทับตรายางที่อยู่ผู้ขาย หรือมีการเขียนชื่อ  ที่อยู่  และเบอร์โทรศัพท์ของผู้ขาย

รายจ่ายดังกล่าวจะต้องห้ามในการลงรายจ่ายตามมาตรา 65 ตรี ( 18 ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่



คำวินิจฉัย

ตาม ข้อเท็จจริงข้างต้นรายจ่ายดังกล่าวมีหลักฐานระบุชื่อที่อยู่ขอ่งผู้รับเงิน  ซึ่งสามารถพิสูจน์ถึงตัวผู้รับได้  รายจ่ายดังกล่าวจึงไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี ( 18 )  แห่งประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด

( หนังสือกรมสรรพากรที่  กค 0802/10093  ลงวันที่  14  มิถุนายน  2537 )



สรุป  เมื่อกิจการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปนั้น  ผู้ขายหรือผู้รับเงินได้ออกหลักฐานเป็น  "บิลเงินสด"   จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้  ต่อเมื่อจะต้องพิสูจน์ได้ว่าผู้รับเงิน  หรือผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการมีตัวตนจริง  รับเงินจากกิจการจริง  หาก  "บิลเงินสด"  ที่กิจการได้รับได้มีข้อความอย่างน้อยดังต่อไปนี้

1.  ชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับเงิน หรือผู้ขาย หรือผู้ให้บริการ

2.  วัน  เดือน  ปีที่ได้รับเงิน

3.  ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้า  หรือผู้จ่ายเงิน

4.  รายละเอียดของรายการสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้น

5.  ลายเซ็นของผู้รับเงิน


วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

มาตรการช่วยเหลือ SME ปี55‏

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (วันที่ 24 เมษายน 2555) มีมติเห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถ SMEs ซึ่งจะมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาผลิตภาพการผลิต การสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และการลดภาระต้นทุนค่าแรง รวมทั้งเป็นการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
จากอุทกภัย ผ่านมาตรการทางการเงินและมาตรการภาษี ดังนี้
1. มาตรการทางการเงิน
1.1 โครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิต (Productivity Improvement Loan) โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เป็นโครงการสินเชื่อเพื่อให้ผู้ประกอบการที่เป็นวิสาหกิจขนาดย่อมนำไปใช้ในการพัฒนาเครื่องจักรหรือกระบวนการทำงาน มีวงเงินโครงการรวม 20,000 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 7 ปี สำหรับสินเชื่อเพื่อพัฒนาเครื่องจักร และ 5 ปี สำหรับสินเชื่อเพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน โดยสินเชื่อทั้ง 2 ประเภทมีอัตราดอกเบี้ย 2 ปีแรกอยู่ที่ MLR-3 / ปีที่ 3 เป็นต้นไปอยู่ที่MLR มีวงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท และไม่จำเป็นต้องมีหลักประกัน ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนในการวินิจฉัยสถานประกอบการพร้อมกับการให้คำปรึกษาและอบรมจากผู้เชี่ยวชาญที่ภาครัฐจัดให้ควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอกับ ธพว. ได้ภายใน 2 ปีนับแต่วันนี้
1.2 โครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 4 (PGS ระยะที่ 4) โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นการค้ำประกันสินเชื่อที่สถาบันการเงิน
ปล่อยให้กับ SMEs ที่มีศักยภาพแต่มีหลักประกันไม่เพียงพอในลักษณะ Portfolio มีวงเงินค้ำประกันรวม 24,000 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกันสูงสุด 5 ปี วงเงินค้ำประกันสูงสุดต่อรายไม่เกิน 40 ล้านบาท มีค่าธรรมเนียมค้ำประกันต่อปี อยู่ที่ร้อยละ 1.75 ของยอดค้ำประกันคงค้าง ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอกับสถาบันการเงินที่ใช้บริการอยู่ ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555
1.3 โครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme สำหรับผู้ประกอบการใหม่ (PGS New/Start-up) โดย บสย. เป็นการค้ำประกันสินเชื่อให้กับ SMEs ที่เพิ่งเริ่มกิจการใหม่ไม่เกิน 2 ปี ในลักษณะ Portfolio มีวงเงินค้ำประกันรวม 10,000 ล้านบาท ระยะเวลาค้ำประกันสูงสุด 7 ปีวงเงินค้ำประกันสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท มีค่าธรรมเนียมค้ำประกันต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ของยอดค้ำประกันคงค้าง โดยรัฐบาลจะชดเชยค่าธรรมเนียมให้ในปีแรก นอกจากนี้ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการจะสามารถเข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่ภาครัฐจัดให้ควบคู่ไปด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอกับสถาบันการเงินที่ใช้บริการอยู่ได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555
1.4 กองทุนพัฒนาผีมือแรงงาน ให้ SMEs กู้ยืมเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.1 ต่อปี วงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อรายไม่เกิน 42,000 บาท ระยะเวลากู้ยืมสูงสุด 4 ปี ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถติดต่อกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานหรือหน่วยงานในสังกัดได้โดยตรงภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555
1.5 โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน (ผ่านกองทุนประกันสังคม) ให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน (โดยอาศัยแหล่งเงินทุนจากกองทุน) ให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ
จากค่าแรงที่เพิ่มขึ้นสำหรับใช้เป็นเงินทุนในการเสริมสภาพคล่อง หรือเพิ่มผลิตภาพการผลิต เพื่อเป็นการรักษาการจ้างงานไว้ โครงการนี้มีวงเงินรวมอยู่ที่ 10,000 ล้านบาท วงเงินกู้ยืมสูงสุดต่อรายไม่เกิน 4 ล้านบาทขึ้นอยู่กับจำนวนการจ้างงาน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อกับสำนักงานประกันสังคมได้โดยตรงภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2555
2. มาตรการภาษี
2.1 มาตรการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนที่เป็นเงินได้ที่มาจากการขายเครื่องจักรเก่าเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ มีระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์สำหรับการขายเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2555
2.2 มาตรการหักค่าเสื่อมเครื่องจักร โดยให้หักค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรใหม่ได้ร้อยละ 100 ในปีแรก มีระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์สำหรับการหักค่าเสื่อมเครื่องจักรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31
ธันวาคม 2555
2.3 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ โดยให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่าของส่วนต่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 300 บาทต่อวันระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ตั้งแต่วันที่เริ่มใช้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทตามที่รัฐบาลประกาศกำหนด (1 เมษายน 2555) ถึง 31 ธันวาคม 2555
ทั้งนี้ SMEs ที่เข้าข่ายได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในที่นี้ หมายถึง 1) นิติบุคคลทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5
ลบ. และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ลบ. ต่อปี มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 200,000 กว่าราย และ
2) บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้เข้าข่ายตามมาตรา 40 (5) (6) (7) และ (8) มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 500,000 กว่าราย
_______________________________
สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3232

วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

การขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โดยที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีลดการใช้กระดาษเพื่อสนับสนุนโครงการร่วมชดเชยการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของกรมสรรพากร (RDCarbon Credit) อันเป็นการปลุกจิตสำนึกให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีส่วนร่วมกับสังคมในการลดภาวะโลกร้อน ทั้งนี้ สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ยื่นรายการภาษี ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557
กรมสรรพากรขอชี้แจงเกี่ยวกับการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีการชำระภาษี และการนำส่งภาษี สำหรับกรณีการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในสาระสำคัญเพื่อให้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามประมวลรัษฎากรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีที่บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร
กำหนดให้ยื่นรายการในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2557 ดังนี้

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พื้นที่ให้บริการสำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชีให้บริการพื้นที่ กรุงเทพ ทุ่งครุ สีลม พระราม2 สุขสวัสดิ์ ราษบูรณะ ประชาอุทิศ จอมทอง ลาดพร้าว พุทธบูชา บางกระปิ รามคำแหง มีนบุรี รามอินทรา ร่มเกล้า ลาดกระบัง อ่อนนุช พระราม3 พระราม4 พระราม9 รัชดาภิเษก ดินแดง ประดิษฐ์มนูธรรม สุขุมวิท เพชรบุรีตัดใหม่ ตากสิน ปิ่นเกล้า บรรทัดทอง บางนา ตราด พหลโยธิน พัฒนาการ ศรีนครินทร์ วิทยุ วัชรพล สายไหม วิภาวดีรังสิต วงแหวน สุรวงศ์ งามวงศ์วาน นวมินทร์ จรัญสนิทวงศ์ อิสรภาพ  พุทธมณฑล บางบอน บางแค บางขุนเทียน เพชรเกษม ปากเกร็ด ติวานนท์ รัตนาธิเบศร์ นนทบุรี รังสิต ลำลูกกา ปทุมธานี พระประแดง ปู่เจ้าสมิงพราย สมุทรปราการ มหาชัย สมุทรสาคร

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนมาตรา 68 ทวิ

   ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนมาตรา 68 ทวิ ใช้ งบแสดงฐานะการเงิน แทน งบดุล

http://www.rd.go.th/publish/30932.0.html

ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนตามมาตรา ๖๘ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------

ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔ ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ และกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องจัดทำงบการเงินตามรูปแบบของแต่ละประเภท โดยให้ถือปฏิบัติสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ดังนี้

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2554

ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2554
space
รายการหักลดหย่อน / ยกเว้นภาษี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 
(ภ.ง.ด.90 / 91)
1.  ลดหย่อนส่วนบุคคล
     1.1  ผู้มีเงินได้ 

30,000 บาท 
* คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล 60,000 บาท
(หากหุ้นส่วนฯ อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียวหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท)
     1.2  คู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) 
30,000 บาท 
     1.3  บุตรที่ศึกษาในประเทศ 
คนละ  17,000 บาท 
     1.4  บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาในต่างประเทศ 
คนละ  15,000 บาท 
     1.5  ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของผู้มีเงินได้ 
            ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
                 ทั้งนี้  บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่มีเงินได้
พึงประเมินเกิน
30,000 บาทในปีภาษี
คนละ  30,000 บาท
     1.6  ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 
                 ทั้งนี้  คนพิการหรือคนทุพพลภาพต้องไม่มีเงินได้
พึงประเมินเกิน
30,000 บาทในปีภาษี
คนละ  60,000 บาท   
2.  ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับเบี้ยประกันชีวิต
        2.1  ผู้มีเงินได้
 
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท  (หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท   ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)
 หากเบี้ยประกันภัยที่จ่าย เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
   ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นอีกร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน  หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
       2.2  คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
หักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
3.  ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา ของผู้มีเงินได้ และบิดา   
     มารดาของคู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
4.  ลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 
(หัก ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 490,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง)
5.  ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
     เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
     เพื่อการเลี้ยงชีพ  ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
     หลักทรัพย์ พ.ศ.2535
ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน  และไม่เกิน 500,000 บาท  เมื่อรวมกับ
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 
 
6.  ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว  (LTF)
     เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
     หุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
     หลักทรัพย์ พ.ศ.2535
ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 500,000 บาท
7.  ยกเว้นเงินสะสม กบข.
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 
8.  ยกเว้นเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 
9.  ยกเว้นเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
     แรงงาน (ไม่รวมค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือสิ้นสุด
     สัญญาจ้าง)
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท  ของค่าจ้างหรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย
10.  ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย
        10.1  ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท 
(หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10
,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)
        10.2  ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ตามส่วนเฉลี่ยดอกเบี้ยของจำนวนผู้กู้
11. ลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน  9,000 บาท ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
* กรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน  9,000 บาท
12.  ลดหย่อนและยกเว้นเงินบริจาค
        12.1  ยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
    

2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ร้อยละ 10 
ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
        12.2 ยกเว้นค่าใช้จ่ายและเงินบริจาค ดังนี้
·  ยกเว้นค่าใช้จ่ายการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน
·  ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์
·  ยกเว้นเงินบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น
·  ยก เว้นค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กหรือสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
(พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 515)  (ฉบับที่ 519)  (ฉบับที่ 520) และ
(ฉบับที่ 526) พ.ศ.
2554)
        12.3  ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป 
ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในเดือน ม.ค. ถึง ธ.ค. แต่
ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น
        12.4  ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
1.5 เท่าของจำนวนที่บริจาคจริงในเดือน ก.ย. ถึง ธ.ค. 2554  แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคทั่วไป ต้องไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและ
ค่าลดหย่อนอย่างอื่น
13.   ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในไทย และมีอายุ
  ไม่ต่ำกว่า 65 ปี บริบูรณ์
ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
14.  ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นคนพิการอยู่ในไทย และ
   มีอายุไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์
ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
15.  ยกเว้นเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ
ตาม จำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน ซึ่งได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างวันที่ 21 ก.ย. 2554 ถึง 31 ธ.ค. 2555  เป็นจำนวนไม่เกินภาษีเงินได้ ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการหักภาษี ณ ที่จ่ายและเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ไม่เกิน 500,000 บาท  ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิเป็นจำนวนเท่าๆกัน ในแต่ละปีภาษี
16.  ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก 
   อุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่

   25 ก.ค. 2554 
31 ธ.ค. 2554
* อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย
ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมบ้าน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท  สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555
17.  ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบ
   จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่

   25 ก.ค. 2554 31 ธ.ค. 2554
* อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย
ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาท  สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555


 ที่มา กรมสรรพากร



RD Call  Center 1161
บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี