h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เถ้าแก่ใหม่ มาทางนี้

 ใครจะทำธุรกิจในนาทีนี้  จำ เป็นต้องใช้ความละเอียดรอบคอบอย่างมากๆ จึงขอนำเสนอบทความเสริมความเข้าใจให้ผู้ประกอบการมือใหม่ได้เรียนรู้เป็นแนว คิด เพื่อความไม่ประมาทนะคะ

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

อสังหาริมทรัพย์คืออะไร
"อสังหาริมทรัพย์" หมายถึง ที่ดิน ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน รวมทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วย
จากนิยามดังกล่าว อาจแบ่งอสังหาริมทรัพย์ออกได้ดังนี้

ที่ดิน หมายถึง พื้นดินทั่วไป รวมทั้งภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลำน้ำ ทะเลสาบ เกาะ และที่ชายทะเลด้วย
ทรัพย์อันติดกับที่ดิน ได้แก่ ไม้ยืนต้น อาคาร โรงเรือน หรือสิ่งก่อสร้างบนที่ดิน
ทรัพย์ซึ่งประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง แร่ธาตุ กรวด ทราย ที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือซึ่งมนุษย์นำมารวมไว้กับที่ดินจนกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของพื้นดินตามธรรมชาติ
สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ได้แก่ กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่มีโฉนด สิทธิครอบครองในที่ดินที่ไม่มีโฉนด ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน เป็นต้น
กระทำอย่างไรถือเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์

การกระทำดังต่อไปนี้เป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ในระบบภาษีธุรกิจเฉพาะ

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การรับรู้รายได้ทางภาษีอากร "การฝากขาย" และ "การให้เช่าทรัพย์สิน"

articleบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ โดยการนำรายได้มาหักออกจากค่าใช้จ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี โดยใช้ "เกณฑ์สิทธิ" ให้นำรายได้ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีใด แม้ว่าจะยังไม่ได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น และให้นำรายจ่ายทั้งสิ้นที่เกี่ยวกับรายได้นั้น

แม้ จะยังมิได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลา บัญชีนั้นในกรณีจำเป็น ผู้มีเงินได้จะขออนุมัติต่ออธิบดีเพื่อเปลี่ยนแปลงเกณฑ์สิทธิและวิธีการทาง บัญชี เพื่อคำนวณรายได้และรายจ่ายก็ได้ และเมื่อได้รับอนุมัติจากอธิบดีแล้ว ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่อธิบดีกำหนดเป็นต้นไป

การ รับรู้รายได้และรายจ่ายของบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากจะใช้เกณฑ์ สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว กฎหมายยังกำหนดเพิ่มเติมไว้ในคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ซึ่งเป็นกฎหมายลูกที่ใช้มานานตั้งแต่ปี 2528 เป็นต้นมา ต่อมากรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.155/2549 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2549 โดยมีผลบังคับใช้รอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป ความแตกต่างจากกฎหมายเดิม ท.ป.1/2528 กับ ท.ป.155/2529 มีดังต่อไปนี้

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาษีบ้านเช่า


“ปีหนึ่ง ๆ ท่านที่มีรายได้จากการให้เช่าบ้าน อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น รวมทั้งการให้เช่าที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง” ขอเรียนตอบตามระยะเวลาในแต่ละปีดังนี้

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับเงินได้ระหว่างเดือน ม.ค.- ธ.ค.

2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประ จำปี สำหรับเงินได้ตลอดปีภาษี

3. ภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตรา 12.5% ของค่ารายปีภายในเดือน ก.พ.ของปีถัดไป

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ภาษีซื้อต้องห้าม

การที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีซื้อที่จะขอคืนจะต้องทราบว่า ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แบ่งภาษีซื้อไว้ดังนี้
      
       1. ภาษีซื้อขอคืนได้ หรือ เครดิตภาษีขายได้
      
       2. ภาษีซื้อต้องห้าม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
      
       2.1 ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ซึ่งได้แก่
      
       2.1.1 ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
      
       2.1.2 ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42
      (ดูรายละเอียดประกาศอธิบดีกรมสรรพากรข้างล่าง!!!)


       2.2 ภาษีซื้อห้ามขอคืน และห้ามถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งได้แก่ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
      
       (1) กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
      
       (2) กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
      
       (3) ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ
      
       (4) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
      
        ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้จดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำความเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขอภาษีซื้อตลอดจนหลักฐานในใบกำกับภาษีซื้อที่จะต้อง เก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรตรวจสอบได้ และเมื่อมีใบกำกับภาษีซื้อเกิดขึ้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขดัง กล่าวข้างต้นที่ภาษีซื้อบางประเภทอาจไม่สิทธิขอคืนก็ได้

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเฉลี่ยภาษีซื้อ

การเฉลี่ยภาษีซื้อ ในการทำ ธุรกิจผู้ประกอบการหลายรายมักทำธุรกิจให้มีความหลากหลายและครบวงจรมากขึ้น เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยผู้ประกอบการคนเดียวอาจประกอบธุรกิจหลายประเภท ซึ่งบางธุรกิจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและบางธุรกิจไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม เช่น ธุรกิจขายปลาสวยงาม ถ้าขายเฉพาะปลาสวยงามก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าผู้ประกอบการมีบริการรับจ้างทำและตกแต่งตู้ปลา รวมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยก็อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องจัดการกับภาษีซื้อที่เกิด ขึ้นในธุรกิจทั้งสองประเภทอย่างถูกต้อง

         
  ทําไมต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ ?
           การเฉลี่ยภาษีซื้อจะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (NON VAT) และผู้ประกอบการได้นำสินค้าหรือบริการ   มาใช้ในกิจการทั้ง 2 ประเภท โดยไม่สามารถแยก ได้อย่างชัดเจนว่าสินค้าหรือบริการที่นำมาใช้นั้น เป็นการใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงไม่สามารถแยกแยะได้ว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการนั้นเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใดแน่ จึงต้องนำภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาเฉลี่ยตามส่วนของกิจการที่ตนเองนำภาษีมูลค่า เพิ่มไปใช้

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนราคาถูก

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนราคาถูก

***จดทะเบียนบริษัท 2,500 บาท
***จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน 2,500 บาท

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนราคาถูก

***จดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้า คณะบุคคล 1,500 บาท (ราคาจดทะเบียนรวมค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว)
***จดเลิกกิจการ เริ่มต้น 11,000 บาท รวมปิดงบเลิกประกาศลงหนังสือพิมพ์และค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว
***จดเปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรรมการเข้าออก  เปลี่ยนอำนาจกรรมการ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ เปลี่ยนชื่อ เพิ่มทุน ค่าบริการ เริ่มต้น 2,000 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมและประกาศลงหนังสือพิมพ์ตามกฎของกรม)   
***จดเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (ภ.พ.09) 1,500 บาท
***จดบัตรผู้เสียภาษี 500 บาท จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,500 บาท
***ขึ้นทะเบียนประกันสังคม 1,500 บาท   

จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนราคาถูก


บริการงานด้านบัญชีและยื่นภาษี  ค่าบริการเริ่มต้นที่ 500 บาท 

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

SMEs เสียภาษีสรรพากรอย่างไร ?

ท่ามกลางกระแสของสังคมที่เรียกร้องต้องการแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงใน ปัจจุบัน การประกอบกิจการในรูปแบบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ Small and Medium Enterprises (SMEs) นับว่าเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการทั่วไป หากย้อนกลับไปดูจะพบว่า SMEs เป็นกลุ่มพลังที่ใหญ่ที่สุดของภาคธุรกิจที่มีประมาณกว่าร้อยละ 85 ของรายที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปัจจุบัน นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเพราะเป็นกิจการที่สร้าง มูลค่าแก่ระบบเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทั้งในแง่ของการสร้างงาน สร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ในบทบาทที่หลากหลาย เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าและผู้ให้บริการ เรื่องจากปกในสรรพากรสาส์นฉบับนี้ จึงนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากร รวมทั้งสิทธิและประโยชน์ทางภาษีอากรที่ SMEs ได้รับตามประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนสำคัญต่อการประกอบกิจการในรูปแบบของ SMEs ในประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

บริษัทฯ ได้ส่งพนักงานไปทำงานยังต่างจังหวัด ซึ่งให้ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน จะถือเป็นเงินได้ของพนักงานหรือไม่ และเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ไหม
1. ค่าเบี้ยเลี้ยง เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าอาหารประจำวัน ในกรณีที่ออกทำงานนอกสถานที่ตั้งประจำ

- พนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ แต่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.59/2538 http://www.rd.go.th/publish/3588.0.html

- ค่าเบี้ยเลี้ยง จะจ่ายกันในรูปของตัวเงินสด ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่มครับ

- เมื่อเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ จึงถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามครับ

2. ค่าที่พัก เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อเป็นค่าที่พักประจำวัน ในกรณีที่ออกทำงานนอกสถานที่ตั้งประจำ

- พนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ แต่ต้องเป็นไปตามจ่ายจริง

- ภาษีซื้อ มีสิทธิขอคืนได้ไม่ต้องห้าม แต่ต้องเป็นไปเพื่อการติดต่องาน มิใช่เป็นค่ารับรอง

- เมื่อเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ จึงถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามครับ แต่ควรมีเอกสารประกอบการจ่ายของกิจการดังนี้
ก. บิลเงินสด / ใบกำกับภาษี
ข. รายงานการเดินทาง พร้อมลายเซ็นของผู้อนุมัติ

3. ค่าตั๋วเครื่องบิน ปัญหาคือ แค่ตั๋วเครื่องบินอย่างเดียวไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานการจ่ายของกิจการได้ครับ

- พนักงานจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้ แต่ต้องเป็นไปตามจ่ายจริง

- ค่าตั๋วเครื่องบิน จะได้รับยกเว้นไม่ต้องมีภาระภาษีมูลค่าเพิ่มครับ

- เมื่อเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ จึงถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามครับ แต่ควรมีเอกสารประกอบการจ่ายของกิจการดังนี้
ก. บิลเงินสด / ใบกำกับภาษี ค่าตั๋วเครื่องบิน
ข. สำเนาตั๋วเครื่องบิน
ค. รายงานการเดินทาง ที่จะต้องมีข้อความระบุดังนี้
1) แสดงเวลาการเดินทาง
2) การเดินทางจากต้นทางไปปลายทาง หรือ จากปลายทางกลับไปต้นทาง
3) สถานที่ไปปฏิบัติงานในแต่ละวัน
4) ลายเซ็นของผู้อนุมัติให้เบิกเงิน