| “ปีหนึ่ง ๆ ท่านที่มีรายได้จากการให้เช่าบ้าน อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น รวมทั้งการให้เช่าที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว ต้องเสียภาษีอะไรบ้าง” ขอเรียนตอบตามระยะเวลาในแต่ละปีดังนี้
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี สำหรับเงินได้ระหว่างเดือน ม.ค.- ธ.ค.
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประ จำปี สำหรับเงินได้ตลอดปีภาษี
3. ภาษีโรงเรือนและที่ดินในอัตรา 12.5% ของค่ารายปีภายในเดือน ก.พ.ของปีถัดไปใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีสรรพากร การมีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใดมีเงินได้ในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดดังต่อไปนี้ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี ภายในเดือน ก.ย. ของปีภาษี
กรณีที่ท่านไม่มีคู่สมรส หรือห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ต้องมีเงินได้เกินกว่า 30,000 บาท
กรณีที่ท่านมีคู่สมรส ต้องมีเงินได้เกินกว่า 60,000 บาท
ใน การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ท่านผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี คือ เลือกหักค่าใช้จ่ายจริง หรือค่าใช้ จ่ายความจำเป็นและสมควรตามหลักฐาน หรือสำหรับผู้มีเงินได้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จะเลือก หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ซึ่งมีอัตราแตกต่าง กันในแต่ละประเภททรัพย์สินที่ให้เช่าก็ได้ในกรณี สามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้จากการขนส่งด้วยกันทั้งคู่ ให้แยกยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 คนละฉบับ โดยให้มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ตามอัตราข้างต้นทั้งสองฝ่าย
จากนั้น นำมา หักค่าลดหย่อนจำนวนครึ่งหนึ่งของค่าลดหย่อนประจำปี แล้วคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้สุทธิ โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้สุทธิ 100,000 บาท แรก แล้วเปรียบเทียบกับภาษีเงินได้ในอัตรา 0.5% ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย ใด ๆ ทั้งนี้เฉพาะกรณีมีเงินได้จากการแสดงถึง 60,000 บาท จำนวนใดมากกว่าให้เสียตามนั้น
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีที่ ภริยาชำระไว้แล้วดังกล่าว เมื่อสิ้นปีหากความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีและต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ตามกฎหมายให้ถือเอาเงินได้ของภริยาเป็นเงินได้ของสามี สามีจึงต้องเป็นผู้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90 สำหรับเงินได้ทั้งหมดของทั้งตนเองและของภริยา โดยให้นำจำนวนภาษีที่ได้ชำระไว้ตาม ภ.ง.ด.94 ไปถือเป็นเครดิตในการคำนวณภาษีเงินได้ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 ของสามีได้.
ได้รับคำถามจากท่านผู้อ่านที่ใช้ นามว่า “ผู้สมัครใจเสียภาษี” ถามว่า “ในปี 2550 นี้มีรายได้จากค่าแป๊ะเจี๊ยะจำนวน 30 ล้านบาท จากคู่สัญญาที่เป็นบริษัทจำกัด ตั้งแต่ต้นปี 2550
และค่าเช่า ที่ดินเพื่อปลูกสร้างอาคารอีกเดือนละ 200,000 บาท จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไรบ้าง ต้องเสียภาษีเงินได้ครึ่งปีหรือไม่ ช่วยไขข้อข้องใจให้ด้วยขอขอบคุณล่วงหน้าอย่างแรง”
ขอเรียนด้วยความ เคารพว่า ในเบื้องต้นท่านต้องถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 5% ของเงินได้ทั้งที่เป็นเงินแป๊ะเจี๊ยะจำนวน 30 ล้านบาท และค่าเช่ารายเดือนละ 200,000 บาท
สำหรับเงินแป๊ะเจี๊ยะนั้น ให้ท่านเฉลี่ยเงินได้เป็นปีตามอายุการเช่า
เศษ ของปีให้เฉลี่ยเป็นรายวันต่อ 365 วัน เฉพาะในส่วนของปี 2550 ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อยื่นแบบภาษีเงินได้ครึ่งปี สำหรับส่วนของปีต่อ ๆ ไป ให้นำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.93 เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาล่วงหน้าให้เสร็จสิ้นไปในปีที่ได้รับเงิน ได้ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ได้รับเงินได้
มี ปัญหาว่า จะสามารถเฉลี่ยจำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ กรมสรรพากรอนุโลมให้เฉลี่ยจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่ได้ถูกหักไว้ ในลักษณะเดียวกับเงินได้ค่าแป๊ะเจี๊ยะ ก็จะทำให้มีภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด.93 ลดน้อยลงตามส่วน หรือในบางกรณีทำให้มีภาษีที่ชำระเกินไป ผู้มีเงินได้จะยังไม่มีสิทธิขอคืนจนกว่าจะถึงปีที่ต้องรับรู้เป็นเงินได้ จริง
สำหรับค่าเช่ารายเดือนที่ได้รับอีกเดือนละ 200,000 บาท เฉพาะในระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ให้นำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี และเมื่อถึงสิ้นปีภาษีก็ให้นำค่าเช่ารายเดือนตลอดทั้งปี และค่าแป๊ะเจี๊ยะที่เฉลี่ยได้สำหรับปี 2550 มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี
ในปีภาษีต่อ ๆ ไป ก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับปี 2550 กล่าวคือ เมื่อถึงปีให้นำค่าเช่ารายเดือนที่ได้รับเดือนละ 200,000 บาท เฉพาะในระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน ให้นำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เพื่อเสียภาษีเงินได้ครึ่งปี และเมื่อถึงสิ้นปีภาษี ก็ให้นำค่าเช่ารายเดือนตลอดทั้งปี และค่าแป๊ะเจี๊ยะที่เฉลี่ยได้สำหรับปี 2550 มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี แล้วนำจำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีเงินได้ที่ชำระล่วงหน้าตามแบบ ภ.ง.ด.93 มาถือเป็นเครดิตในแต่ละปีภาษี
โดยสรุป ท่านผู้ใช้นามว่า “ผู้สมัครใจเสียภาษี” ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับปี 2550 จากเฉพาะค่าเช่ารายเดือนเท่านั้นครับ.
ที่มาของข้อมูล : อาจารย์สุเทพ พงษ์พิทักษ์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น