h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัทจำกัดและตราสำคัญ

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขเพมิ่ เติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1. (ชื่อ) มีดังนี้
1. กรรมการของบริษัทจองชื่อนิติบุคคล *ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
2. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทาง
ไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อย
กว่า 14 วัน และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมชื่อบริษัทและตราสำคัญของบริษัท รวมทั้ง
แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อ) ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน
การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอก
กล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็น
วันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น
3. ในการลงมติให้แก้ไขชื่อ และตราสำคัญของบริษัท รวมทั้งแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ
1. (ชื่อ) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่ม
ประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
4. จัดทำคำขอจดทะเบียน รายการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 1. (ชื่อบริษัท)โดย
ให้กรรมการตามอำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจดทะเบียนแล้วยนื่ จดทะเบียนต่อนายทะเบียน
5. ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนตราสำคัญไว้โดยระบุชื่อบริษัทไว้ในตรา บริษัทต้องจด
ทะเบียนแก้ไขตราสำคัญให้สอดคล้องกับชื่อใหม่ด้วย ให้ระบุรายการแก้ไขตราสำคัญไว้ในคำขอจด
ทะเบียนเดียวกับการแก้ไขชื่อบริษัท จดทะเบียนบริษัท

บริษัทกับห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร

“จะจัดตั้งกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี”
.
.
.
นี่ คือคำถามที่มักได้ยินกันจนเคย แต่ก็ยากที่จะให้คำตอบที่ถูกต้อง มากที่สุดคำถามหนึ่ง ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า นิติบุคคล คืออะไร “นิติบุคคล คือบุคคลตามกฎหมายที่สมมติขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ (ป.พ.พ.) หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งโดยสภาพแล้วจะมีได้แต่ในบุคคลธรรมดาเท่า นั้น เช่น สิทธิการเป็นบิดา มารดา บุตร สิทธิในการสมรส เป็นต้น”

แล้วข้อแตกต่างระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร คืออะไรละ...
1. การก่อตั้ง การตั้งห้างหุ้นส่วนจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้แต่ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็น นิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) ส่วนการตั้งบริษัทจำกัดนั้นกฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียนเสมอ
2. จำนวนสมาชิก บริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน และผู้ถือหุ้นจะรับผิดจำกัดในหนี้สินของบริษัทเพียงไม่เกินจำนวนเงิน ตามค่ามูลค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น ส่วนห้างหุ้นส่วนกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีผู้ถือหุ้นกี่คน แต่หุ้นส่วนของห้างจะต้องรับผิดไม่จำกัดเว้นแต่จะจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำกัด หุ้นส่วนก็จะรับผิดจำกัดเท่ากับทุนที่ตนแจ้งไว้ว่าจะลงในห้างเหมือนบริษัท แต่หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
3. สภาพความเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัดสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ต่างๆ หนี้สิน ทำสัญญา และดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง ในนามของบริษัทเองโดยตัวแทนของกิจการ ส่วนห้างหุ้นส่วนนั้นถ้าจดทะเบียนก็จะมีสภาพเช่นเดียวกันกับบริษัท
4. วัตถุประสงค์ ทั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทก็หวังที่จะได้กำไรจากการลงหุ้น แต่บริษัทผู้ถือหุ้นอาจไม่ได้ต้องการผลกำไรจากการดำเนินงานของตัวกิจการโดย ตรง แต่หวังที่จะได้ส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้นก็ได้
5. สิ่งที่นำมาลงเป็นหุ้น ห้างหุ้นส่วนสามารถที่จะนำเงิน สินทรัพย์ หรือแรงงานมาลงทุนก็ได้ แต่บริษัทต้องลงหุ้นเป็นเงิน เว้นแต่กรณีบริษัทออกหุ้นเพื่อแทนคุณแรงงาน หรือเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ ก็ทำได้
6. การโอนเปลี่ยนมือ บริษัทผู้ถือหุ้นสามารถขายหุ้นให้ใคร หรือยกให้ใครก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นคนอื่นก่อน แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่น เสียก่อนจึงจะเปลี่ยนแปลงได้เพราะคุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทนี้ถือ ว่ามีสาระสำคัญ
7. บริษัทสามารถทำการขยายทุนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน หรือออกหุ้นกู้
8. การบริหารงาน บริษัทจะบริหารงานในรูปของคณะกรรมการ โดยผู้ถือหุ้นเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการ ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเสมอไป โดยผู้ถือหุ้นจะควบคุมกิจการโดยผ่านจากการประชุมผู้ถือหุ้น (การควบคุมโดยอ้อม) ส่วนถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการบริหารงาน ของห้างต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
9. การเสียภาษี นิติบุคคลจะเสียจากรายได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกแล้ว ตามกฎหมายกำหนด

นี่ คือความแตกต่างคร่าวๆ โดยทั้งสองแบบมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ห้างจะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าบริษัท บริษัทมีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่าห้าง ห้างดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบริษัท (หลายๆ คนว่าอย่างนั้น) หรืออื่นๆ แล้วแต่จะคิดกัน แต่สำหรับผมบริษัทบางแห่งก็ทำงานแบบห้างหรือแบบเจ้าของคนเดียวอยู่ดี กลับกันห้างบางห้างเขาก็ทำงานบริหารงานกันในแบบบริษัท ท้ายสุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการที่คุณๆ จะทำกันนั่นแหละครับว่าเหมาะสมกับรูปแบบไหนและคุณคิดที่จะบริหารงานในแบบไหน ผมคงฟันธงลงไปไม่ได้ต้องเป็ตัวผู้ประกอบการเองนั่นแหละที่จะต้องตัดสินใจว่ารูปแบบไหนที่เหมาะสมกับกิจการของท่าน............. รายละเอียดการจดทะเบียนบริษัทราคาถูก

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ขั้นตอนการดำเนินการในการจัดตั้งบริษัทจำกัด

ขั้นตอนการดำเนินการในการจัดตั้งบริษัท จำกัด มี 2 ขั้นตอน คือ
1. การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
2. ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

ต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ผู้เริ่มก่อการจองชื่อนิติบุคคล
2. เมื่อได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อแล้ว ผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 3 คน เข้าชื่อกันจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
ผู้เริ่มก่อการจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
2.1 เป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นนิติบุคคลไม่ได้
2.2 มีอายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป
2.3 จะต้องจองซื้อหุ้นอย่างน้อยคนละ 1 หุ้น
3. ผู้เริ่มก่อการยนื่ จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิต่อนายทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองชื่อนิติบุคคล

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิก

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนเลิก
1. แบบคำขอจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.1)
2. รายการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) *ผู้ชำระบัญชีต้องลงลายมือชื่อทุกคน*
3. สำเนาคำสั่งศาลให้เลิกบริษัท (ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้เลิก)
4. สำเนารายงานการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นซึ่งผู้ถือหุ้นที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชีหรือกำหนด
อำนาจผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่น โดยมีกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้
ก่อนเลิกบริษัท ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง (ใช้เฉพาะกรณีที่ผู้ชำระบัญชีมิใช่กรรมการทุกคน
ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก หรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่อำนาจของ
กรรมการตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก)
แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป 5.
ใช้เฉพาะกรณีที่สำนักงานของผู้ชำระบัญชีมิใช่ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่จดทะเบียนไว้ก่อนเลิก) (
6. สำเนาใบมรณะบัตร (ใช้เฉพาะกรณีกรรมการถึงแก่กรรม)
7. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้ชำระบัญชีทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
8. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอ
จดทะเบียน*
9. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยนื่ ขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง
ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ ด้วย)

การชำระบัญชีและการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัท

ขั้นตอนการชำระบัญชี
1. เมื่อเลิกบริษัทแล้ว
2. ประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ 1 ครั้ง เป็นอย่างน้อย
3. ส่งคำบอกกล่าวเป็นจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังเจ้าหนี้ (ถ้ามี)
ขั้นตอนตาม 2-3 ผู้ชำระบัญชีต้องดำเนินการภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกบริษัท
4. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ( ณ วันที่ประชุมมีมติพิเศษให้เลิกหรือวันที่นาย
ทะเบียนรับจดทะเบียนเลิก)
5. ส่งงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัท ให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและรับรองว่าถูกต้อง
6. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก
7. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีหรือแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และอนุมัติงบ
การเงิน ณ วันเลิก
8. ผู้ชำระบัญชีชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท (ถ้ามีทรัพย์สินก็ให้จำหน่าย มี
ลูกหนี้ให้เรียกเก็บเงินจากลูกหนี้ ชำระหนี้สิน และจ่ายค่าใช้จ่ายในการชำระบัญชีของบริษัท)
9. เมื่อมีเงินคงเหลือก็ให้คืนทุนแก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนที่ถือหุ้นหรือตามที่กำหนดไว้ใน
ข้อบังคับ
10. ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
11. ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติอนุมัติรายงานการชำระบัญชี
12. ผู้ชำระบัญชีจัดทำคำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและยนื่ จดทะเบียนต่อนาย
ทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติการชำระบัญชี

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีบริษัทจำกัด

ขั้นตอนการเลิก
บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้ 1.
1.1 เลิกโดยผลของกฎหมาย
(1) กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
(2) ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
(3) ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
(4) บริษัทล้มละลาย

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สำนักงานบัญชี

       สำนักงานบัญชี ให้บริการด้าน รับทำบัญชี ที่มากด้วยประสบการณ์ บริการ รับทำบัญชี วางรูประบบบัญชี ตรวจสอบบัญชี จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน งานประกันสังคม งานจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ รวมทั้งจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด เป็นต้น
       สำนักงานบัญชี ให้ความสำคัญในคุณภาพของผลงาน และการวางแผนภาษี เพื่อประโยชน์สูงสุดของธุรกิจ ซึ่งในขณะเดียวกันก็ถูกต้องตามกฎหมาย รองรับการตรวจสอบของกรมสรรพากร เราพร้อมให้คำปรึกษาในด้านการบัญชี เพื่อการวางแผนงาน และการดำเนินธุรกิจของท่าน

       สำนักงานบัญชีเอสซีพี เป็นสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี จดทะเบียนบริษัท  ที่ผ่านการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สามารถรองรับกับการเจริญเติบโตของผู้ใช้บริการ สำนักงานบัญชี ที่ได้คุณภาพสูง การ จดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชีให้ผู้ประกอบการได้ถูกต้องและครบถ้วนสะท้อนการดำเนินงานของกิจรวด เร็ว ดังนั้นลูกค้าที่ใช้บริการของ สำนักงานบัญชี จึงสามารถบริหารงานต่อสู้ฝ่าวิกฤติต่างๆได้ โดยใช้ข้อมูลที่ สำนักงานบัญชี ส่งให้อย่างถูกต้อง จึงทำให้สำนักงานบัญชี ได้เติบโตและมีลูกค้า มากขึ้นมาโดยตลอดและยังมีลูกค้าให้เรารับทำบัญชีบอกต่อกันอย่างต่อเนื่อง
       สำนักงานบัญชี ตั้งอยู่ 293/149 ซอยประชาอุทิศ 69 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

สำนักงานบัญชี เอสซีพีการบัญชี

สำนักงานบัญชี เอสซีพีการบัญชี เป็นสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ที่ให้บริการทางด้าน จดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ในรูปแบบใหม่ ที่มีความสะดวกประหยัดถูกต้องและรวดเร็ว ด้วยประสบการณ์ ในการ จดทะเบียนบริษัท รับทำบัญชี และตรวจสอบบัญชี จึงสามารถรับทำบัญชีท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย


ขอนำประเด็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาปุจฉา - วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำสินค้าหรือทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบการ หรือซื้อหามาเพื่อบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ทั้งกรณีอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยพิบัติอื่นอย่างไร
วิสัชนา ในหลักการเบื้องต้นเกี่ยวกับการที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำสินค้าหรือทรัพย์สินออกบริจาคให้แก่ผู้ประสบภัยหรือบุคคลอื่น นั้น ตามกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มถือเป็นการ “ขาย” ตามมาตรา 77/1 (8)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร เข้าลักษณะเป็นการนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ โดยต้องนำมูลค่าตาม “ราคาตลาด” ของสินค้าหรือทรัพย์สินที่นำออกบริจาคมารวมคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีที่ได้บริจาคนั้น ซึ่งได้แก่การบริจาคสินค้าให้แก่บุคคลหรือคณะบุคคลดังต่อไปนี้

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย

คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง การขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดภัยพิบัติอุทกภัย
_________________

http://www.rd.go.th/publish/39296.0.html

ตามที่ได้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในหลายจังหวัดทางภาคต่างๆ ของประเทศเป็นเหตุให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีในท้องที่ดังกล่าวไม่อาจประกอบกิจการตามปกติและไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการบรรเทาภาระของผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๓ อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรหรือนำส่งภาษีทุกประเภทในท้องที่ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติดังกล่าว ออกไปจนถึงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับอาญา นั้น
กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากรให้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีหรือนำส่งภาษีในท้องที่ที่เกิดอุทกภัย สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ดังนี้

การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาค-ภัยพิบัติ(3)

การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (3)
ขอนำประเด็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 นำมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังต่อไปนี้


ปุจฉา ช่วยสรุปหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ซึ่งบริจาคผ่านบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มอีกครั้งหนึ่งด้วย

วิสัชนา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวต้องเป็นดังต่อไปนี้

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลดของรัฐบาล 6 มาตรการ

มาตรการฟื้นฟูหลังน้ำลดของรัฐบาล 6 มาตรการ

• 1.ประชาชนทั่วไป
– การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยครัวเรือนละ 5,000 บาท
– การซ่อม ที่อยู่อาศัยและทรัพย์สินที่เสียหาย กรณีบ้านเสียหายทั้งหลังจ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาทต่อหลัง
บ้านเสียหายบางส่วนจ่ายจริงไม่เกิน 20,000 บาทต่อหลัง ทรัพย์สินเสียหายจ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาทต่อครัวเรือน เว้นภาษีเงินได้ผู้ประสบภัย
– ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะจัดสินเชื่อเพื่อการเคหะวงเงิน 30,000 ล้านบาท ให้วงเงินไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน
– พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย หรือขยายเวลาการผ่อนชำระหนี้ และให้กู้เพิ่มเติมกรณีฉุกเฉิน โดยธนาคารของรัฐ
– ส่วนที่ราชพัสดุ หากที่พักอาคารเสียหายจะยกเว้นค่าเช่า หากไม่สามารถประกอบอาชีพได้เกิน 3 วัน ยกเว้นค่าเช่า 1 ปี
– จัดสวัสดิการกู้เงินจากกองทุน ให้แก่ข้าราชการครู ที่ได้รับผลกระทบ กู้ยืมอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อฟื้นฟูที่อยู่อาศัย พักชำระหนี้ข้าราชการครู ให้เงินหมุนเวียนเพื่อแก้ปัญหาหนี้ครู
– เร่งรัดให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหม รวมทั้งขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับผู้ประสบอุทกภัย นำค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยวในประเทศ 15,000 บาท หักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมกันนี้ ยังมีมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน อาทิ การผ่อนผันชำระค่าไฟฟ้า 3 เดือน
ผ่อนผันค่าน้ำ
– บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ค่าบริการโทรศัพท์บ้านและค่าอินเทอร์เน็ต จำหน่ายสินค้าจำเป็นราคาต่ำกว่าตลาด 20-40% ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล และส่วนภูมิภาควงเงิน 2,000 ล้านบาท สร้างอาชีพแก่ผู้ประสบอุทกภัยเยียวยาเกษตรกร 8.1 พันล้าน
• 2.เกษตรกร
– มาตรการสำคัญช่วยฟื้นฟูด้านการเกษตร โดยจัดเงินช่วยเหลือพิเศษ วงเงิน 8,174.55 ล้านบาท จ่ายชดเชยนาข้าวไร่ละ 2,222 บาท พืชไร่ ไร่ละ 3,150 บาท พืชสวนอื่นๆ ไร่ละ 5,098 บาท ประมง ปลา ไร่ละ 4,225 บาท กุ้ง ปู หอย ไร่ละ 10,920 บาท
– สินเชื่อสำหรับกลุ่มเกษตรกร เพื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพไม่เกินรายละ 100,000 บาท ลดอัตราดอกเบี้ยลง 3% ต่อปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ขยายเวลาชำระหนี้วงเงินกู้เพิ่มเติมเป็นเวลา 3 ปี และงดคิดอัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี ยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุเพื่อการเกษตร 1 ปี
• 3.แรงงาน
– จัดตำแหน่งงานว่างรองรับ 101,845 อัตรา ส่งเสริมอาชีพที่สนับสนุนการปรับปรุงบ้าน สภาพแวดล้อม ยกระดับฝีมือแรงงานลูกจ้างที่ได้ผลกระทบจากอุทกภัย 15,000 คน จ่ายชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน 50% ของเงินเดือนแต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน
– การให้สินเชื่อต้นทุนต่ำในโครงการประกันสังคมวงเงิน 8,000 ล้านบาท สำหรับผู้ประกันตน เพื่อซ่ *** บ้านที่ถูกน้ำท่วมของตัวเอง หรือบิดามารดา รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 2.5% เป็นเวลา 2 ปี ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน สำหรับผู้เข้าฝึกจาก 1% เหลือ 0.1% เป็นเวลา 1 ปี
• 4.ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
– ให้การช่วยเหลือฟื้นฟูสถานประกอบการให้เข้าสู่ภาวะปกติได้เร็วที่สุดวงเงิน 500 ล้านบาท
– สนับสนุนช่องทางการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ร้านค้าปลีก เร่งสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้นำเข้าด้วยการจัดโรดโชว์
– จัดวงเงินกู้เพื่อซ่อม และฟื้นฟูกิจการ โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะให้สินเชื่อแก่ผู้ประการ รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท เป็นเวลา 6 ปี ดอกเบี้ย 6%
– โครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกอบการวงเงิน 2,000 ล้านบาท รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3% คงที่ 3 ปี
– โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงานวงเงิน 10,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินจัดสินเชื่อวงเงิน 40,000 ล้านบาท ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ฝ่ายละครึ่งเพื่อปล่อยกู้ผู้ประกอบการ
– การค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ ที่ต้องการฟื้นฟูธุรกิจเป็นเวลา 7 ปี ครอบคลุมวงเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ 1 แสนล้านบาท
– ผ่อนปรนการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งการจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย และมาตรการด้านภาษีอื่นๆ
• 5.ผู้ประกอบการรายใหญ่
– จะช่วยจัดหาวัตถุดิบ เครื่องจักรและบุคลากร อำนวยความสะดวกให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเดินทางเข้ามาตรวจสอบซ่อม เครื่องมือเครื่องจักรที่เสียหาย
– จัดทำระบบป้องกันอุทกภัยของนิคมอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศ
– รัฐบาลจะจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และ ผู้ประกอบการเพื่อลงทุนระบบป้องกันอุทกภัยของนิคมและโรงงานวงเงิน 15,000 ล้านบาท ประสานกับเจบิคเพื่อนำเงินเข้าฝากธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยจำนวน 50,000 ล้านบาท
– ผ่อนปรนระยะเวลาพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย รวมทั้งจัดหาวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ
– ขยายเวลาการชำระภาษีแบบผ่อนชำระแก่บริษัทที่ประสบอุทกภัย
– ยกเว้นและลดหย่อนภาษีนิติบุคคล โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร สำหรับทุกเขตนิคมอุตสาหกรรม ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านบีโอไอให้ผู้ประกอบการทั้งในและนอกนิคม อุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัย
• 6.มาตรการอื่นๆ เช่น จัดให้มีวอร์รูม เพื่อปรับปรุงศูนย์ให้ความช่วยเหลือทั้งทางโทรศัพท์และโซเชียลเน็ตเวิร์ค ประชาสัมพันธ์และสร้างความมั่นใจให้กับต่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการ ต่างๆ ในการรับมือและการแก้ปัญหา บำบัดน้ำเสียและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสีย โดยจัดทำน้ำหมักชีวภาพ เผื่อต้องใช้

เนื่องจากรัฐบาลประกาศผู้ประสบ ภัยน้ำท่วมจะได้เงินชดเชยความเสียหาย ประมาณ 5,000 บาท หรือท่วมทั้งหลังชดเชยไม่เกิน 30,000 บาท (ฟังจากข่าวทางทีวี) จึงได้หาแบบฟอร์มสำหรับยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองกรณีผู้ประสบภัยมาให้ เพื่อจะได้ใช้ในการขอเบิกกับภาครัฐฯ ต่อไป
1. เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
2.แบบคำร้อง ของเขตบางพลัด (ผู้ที่อยู่เขตบางพลัดสามารถใช้แบบฟอร์มนี้ได้เลย แต่ถ้าอยู่เขตอื่นต้องเขียนใหม่ตอนยื่นเรื่องค่ะ)
3.แบบคำขอหนังสือรับรองกรณีผู้ประสบภัย หรือเจ้าของ หรือผู้ครอบครองทรัพย์สินฯ
4.หนังสือมอบอำนาจกรณีผู้อยู่อาศัยยื่นแทนเจ้าบ้าน

วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาค(2)


การยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ (2)
ขอ นำประเด็นหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเงินได้ ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป โดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2554 นำมาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน ดังต่อไปนี้

ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่นที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร
วิสัชนา การบริจาคดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้


1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ต้องดำเนินการเป็นสื่อกลางอย่างเปิดเผยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ อย่างแท้จริง


2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่ดำเนินการในลักษณะเป็น สื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่มิใช่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตาม มาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ดังต่อไปนี้ แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากร (ผ่านผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการกำกับและตรวจสอบภาษี หรือสรรพากรพื้นที่) แสดงว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางในการเป็นตัวแทนรับ เงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าว โดยให้แจ้งตามแบบคำขอแจ้งเป็นตัวแทนรับบริจาคที่มีข้อความอย่างน้อยตามที่ แนบท้ายประกาศอธิบดีกรมสรรพากรทุกครั้งก่อนรับบริจาค หรือภายหลังรับบริจาคโดยต้องแจ้งในระหว่างการเกิดเหตุภัยธรรมชาตินั้น หรือแจ้งภายใน 1 เดือนนับถัดจากวันที่เหตุภัยธรรมชาตินั้นได้สิ้นสุดลงแล้ว ทั้งนี้ เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
 
(1) กรณีดำเนินการในลักษณะเป็นสื่อกลางแต่เพียงผู้เดียว
 
(2) กรณีร่วมกันเป็นตัวแทนรับเงินทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค และผู้ที่ทำหน้าที่ออกหลักฐานการรับบริจาค หรือผู้ที่ดำเนินการเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเพื่อรับบริจาค 


3. หลักฐานการบริจาคที่ผู้บริจาคจะนำมาใช้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการ บริจาคเงินหรือทรัพย์สิน และเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาคสินค้า แล้วแต่กรณี ได้แก่
 
(1) หลักฐานการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งเป็นตัวแทนในการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่บริจาค ได้จัดทำขึ้นเพื่อแสดงการรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าที่ระบุข้อความที่มีสาระสำคัญว่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติดังกล่าว โดยระบุช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไปด้วย หรือข้อความอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือ
 
(2) หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารในช่วงระยะเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติดังกล่าว ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทน
 
ใน การรับบริจาคดังกล่าวได้เปิดบัญชีธนาคารขึ้นเพื่อรับเงินบริจาค โดยผู้บริจาคต้องมีหลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารดังกล่าวที่พิสูจน์ได้ ว่าตนเองเป็นผู้บริจาค
 
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือ นิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับบริจาคเป็นผู้บริจาคด้วย ให้แสดงหลักฐานตาม (1) และ (2) เป็นหลักฐานการบริจาคเพื่อใช้ยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วแต่กรณี โดยจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีการบริจาคจริง
 
กรณีบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคทรัพย์สินหรือสินค้า ต้องมีหลักฐานการได้มาซึ่งทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาค ที่ระบุจำนวนและมูลค่าของทรัพย์สินหรือสินค้าที่บริจาคนั้น เช่น ใบกำกับภาษี ใบรับเงินที่ได้ซื้อทรัพย์สินหรือสินค้ามาบริจาค เป็นต้น หรือหลักฐานอื่นที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้ผลิตสินค้าหรือเป็นผู้ขายสินค้าที่ บริจาคที่แสดงต้นทุนสินค้านั้นได้ ซึ่งจะต้องเป็นทรัพย์สินหรือสินค้ารายการเดียวกับที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนในการรับทรัพย์สินหรือสินค้าออก เป็นหลักฐานในการรับบริจาคทรัพย์สินหรือสินค้านั้นให้แก่ผู้ บริจาค                            


4. ภายหลังจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติดังกล่าว หากยังมีเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าเหลืออยู่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นซึ่งเป็นตัวแทนรับเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ได้แจ้งชื่อต่ออธิบดีกรมสรรพากรตาม 2. ต้องส่งมอบเงิน ทรัพย์สิน หรือสินค้าดังกล่าวให้แก่ส่วนราชการ หรือองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือนนับถัดจากวันยื่นแบบแจ้งคำขอเป็นตัวแทนรับบริจาค เว้นแต่อธิบดีกรมสรรพากรจะกำหนดเป็นอย่างอื่น

โดย : สุเทพ พงษ์พิทักษ์