“จะจัดตั้งกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดต่างกันอย่างไร เลือกแบบไหนดี”
.
.
.
นี่ คือคำถามที่มักได้ยินกันจนเคย แต่ก็ยากที่จะให้คำตอบที่ถูกต้อง มากที่สุดคำถามหนึ่ง ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า นิติบุคคล คืออะไร “นิติบุคคล คือบุคคลตามกฎหมายที่สมมติขึ้นโดยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้ (ป.พ.พ.) หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งโดยสภาพแล้วจะมีได้แต่ในบุคคลธรรมดาเท่า นั้น เช่น สิทธิการเป็นบิดา มารดา บุตร สิทธิในการสมรส เป็นต้น”
แล้วข้อแตกต่างระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วนต่างกันอย่างไร คืออะไรละ...
1. การก่อตั้ง การตั้งห้างหุ้นส่วนจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้แต่ถ้าจดทะเบียนจะมีฐานะเป็น นิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) ส่วนการตั้งบริษัทจำกัดนั้นกฎหมายกำหนดให้ต้องจดทะเบียนเสมอ
2. จำนวนสมาชิก บริษัทต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 3 คน และผู้ถือหุ้นจะรับผิดจำกัดในหนี้สินของบริษัทเพียงไม่เกินจำนวนเงิน ตามค่ามูลค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น ส่วนห้างหุ้นส่วนกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องมีผู้ถือหุ้นกี่คน แต่หุ้นส่วนของห้างจะต้องรับผิดไม่จำกัดเว้นแต่จะจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำกัด หุ้นส่วนก็จะรับผิดจำกัดเท่ากับทุนที่ตนแจ้งไว้ว่าจะลงในห้างเหมือนบริษัท แต่หุ้นส่วนผู้จัดการจะต้องเป็นหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
3. สภาพความเป็นนิติบุคคล บริษัทจำกัดสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ต่างๆ หนี้สิน ทำสัญญา และดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง ในนามของบริษัทเองโดยตัวแทนของกิจการ ส่วนห้างหุ้นส่วนนั้นถ้าจดทะเบียนก็จะมีสภาพเช่นเดียวกันกับบริษัท
4. วัตถุประสงค์ ทั้งห้างหุ้นส่วนและบริษัทก็หวังที่จะได้กำไรจากการลงหุ้น แต่บริษัทผู้ถือหุ้นอาจไม่ได้ต้องการผลกำไรจากการดำเนินงานของตัวกิจการโดย ตรง แต่หวังที่จะได้ส่วนต่างกำไรจากการขายหุ้นก็ได้
5. สิ่งที่นำมาลงเป็นหุ้น ห้างหุ้นส่วนสามารถที่จะนำเงิน สินทรัพย์ หรือแรงงานมาลงทุนก็ได้ แต่บริษัทต้องลงหุ้นเป็นเงิน เว้นแต่กรณีบริษัทออกหุ้นเพื่อแทนคุณแรงงาน หรือเป็นการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์ ก็ทำได้
6. การโอนเปลี่ยนมือ บริษัทผู้ถือหุ้นสามารถขายหุ้นให้ใคร หรือยกให้ใครก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถือหุ้นคนอื่นก่อน แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่น เสียก่อนจึงจะเปลี่ยนแปลงได้เพราะคุณสมบัติของผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทนี้ถือ ว่ามีสาระสำคัญ
7. บริษัทสามารถทำการขยายทุนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มทุน หรือออกหุ้นกู้
8. การบริหารงาน บริษัทจะบริหารงานในรูปของคณะกรรมการ โดยผู้ถือหุ้นเป็นผู้ตั้งคณะกรรมการ ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทเสมอไป โดยผู้ถือหุ้นจะควบคุมกิจการโดยผ่านจากการประชุมผู้ถือหุ้น (การควบคุมโดยอ้อม) ส่วนถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการบริหารงาน ของห้างต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น
9. การเสียภาษี นิติบุคคลจะเสียจากรายได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ออกแล้ว ตามกฎหมายกำหนด
นี่ คือความแตกต่างคร่าวๆ โดยทั้งสองแบบมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป ห้างจะมีความเป็นส่วนตัวมากกว่าบริษัท บริษัทมีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่าห้าง ห้างดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบริษัท (หลายๆ คนว่าอย่างนั้น) หรืออื่นๆ แล้วแต่จะคิดกัน แต่สำหรับผมบริษัทบางแห่งก็ทำงานแบบห้างหรือแบบเจ้าของคนเดียวอยู่ดี กลับกันห้างบางห้างเขาก็ทำงานบริหารงานกันในแบบบริษัท ท้ายสุดแล้วก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการที่คุณๆ จะทำกันนั่นแหละครับว่าเหมาะสมกับรูปแบบไหนและคุณคิดที่จะบริหารงานในแบบไหน ผมคงฟันธงลงไปไม่ได้ต้องเป็ตัวผู้ประกอบการเองนั่นแหละที่จะต้องตัดสินใจว่ารูปแบบไหนที่เหมาะสมกับกิจการของท่าน............. รายละเอียดการจดทะเบียนบริษัทราคาถูก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น