ตามที่กระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี
และการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตออกไปอีก 8
วัน
นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งจะสิ้นสุด
โครงการในวันที่ 31 มกราคม 2558
ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรค 2
แห่งประมวลรัษฎากรขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบการชำระกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดง
รายการดังกล่าวออกไปถึง 31 มกราคม 2560
(คำชี้แจงกรมสรรพากรการขยายกำหนดเวลากำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตฉบับที่ 3 ลงวันที่ 14 มกราคม 2558)
ที่มา facebook.com/taxationdotcom
บริษัท เอสซีพีการบัญชีกรุ๊ป จำกัด รับทำบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน,และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ โทรติดต่อ 083-4923837 คุณสมนึก
วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558
ข้อความที่ต้องระบุเพิ่มในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ รายงานภาษีซื้อและภาษีขาย
ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ จะต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังนี้
1. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี(ตั้งแต่ปี2558ต้องระบุสำนักงาน ใหญ่หรือสาขาที่)
2. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ(ตั้งแต่ปี2558ต้องระบุเลขประจำตัวผู้ เสียภาษีซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่)
การระบุข้อความดังกล่าวจะต้องดำเนินการ ดังนี้
1. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี(ตั้งแต่ปี2558ต้องระบุสำนักงาน ใหญ่หรือสาขาที่)
2. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ(ตั้งแต่ปี2558ต้องระบุเลขประจำตัวผู้ เสียภาษีซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่)
การระบุข้อความดังกล่าวจะต้องดำเนินการ ดังนี้
- ตีพิมพ์,จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์,ประทับด้วยตรายาง,
เขียนด้วยหมึก,พิมพ์ดีดหรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนอง
เดียวกัน
- สำนักงานใหญ่ สนญ >> HO,HQหรือ 00000 (ห้าหลัก)
- สาขาที่... สาขาที่ 1 >> สาขาที่01,BRANCH NO 1
br.no 1 หรือ 00001(ห้าหลัก)
นอกจากนี้ รายงานภาษีขายจะต้องเพิ่มช่องมา 2 ช่อง ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้า/ ผู้รับบริการ
2. สถานประกอบการต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขา
รายงานภาษีซื้อจะต้องเพิ่มช่องมา 2 ช่อง ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขายสินค้า/ ผู้ให้บริการ
2. สถานประกอบการต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขา
หากไม่ดำเนินการดังกล่าว ผู้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และรายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อ จะต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ตามมาตรา 89(5)(10) และระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทตามมาตรา 90(12)(15)
ที่มา facebook.com/taxationdotcom
- สำนักงานใหญ่ สนญ >> HO,HQหรือ 00000 (ห้าหลัก)
- สาขาที่... สาขาที่ 1 >> สาขาที่01,BRANCH NO 1
br.no 1 หรือ 00001(ห้าหลัก)
นอกจากนี้ รายงานภาษีขายจะต้องเพิ่มช่องมา 2 ช่อง ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้า/ ผู้รับบริการ
2. สถานประกอบการต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขา
รายงานภาษีซื้อจะต้องเพิ่มช่องมา 2 ช่อง ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขายสินค้า/ ผู้ให้บริการ
2. สถานประกอบการต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขา
หากไม่ดำเนินการดังกล่าว ผู้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และรายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อ จะต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ตามมาตรา 89(5)(10) และระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทตามมาตรา 90(12)(15)
ที่มา facebook.com/taxationdotcom
วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๔๙)
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๔๙)
เรื่อง กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
----------------------
เพื่อประโยชน์ในการจัด
เก็บภาษีอากร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่
25) พ.ศ. 2525
อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ดังต่อไปนี้ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๔๙)
เรื่อง กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
----------------------
ข้อ ๑ ให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงยอดเงินคงเหลือยกมา จำนวนรวมของยอดรายได้และยอดรายจ่ายที่ได้มีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างปี ภาษี และยอดเงินคงเหลือยกไป โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ข้อ ๒ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ 1 ให้ทำเป็นภาษาไทย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
ข้อ ๓ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ ๑ ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ของทุกปีภาษี
ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ซึ่งจะต้องยื่นรายการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป
ที่มา rd.go.th
วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39)
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) ลงวันที่ 26
ธันวาคม 2557 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 มีหลักการหลายประการ
ดังนี้
1) ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" ระหว่างบทนิยามคำว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" และคำว่า "ขาย" ในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
"คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกันอันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
2) ให้ยกเลิก (14) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข้เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
3) บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ นี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือ ที่พึ่งชำระก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ที่มา facebook.com/taxationdotcom
1) ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" ระหว่างบทนิยามคำว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" และคำว่า "ขาย" ในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
"คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกันอันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
2) ให้ยกเลิก (14) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข้เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
3) บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ นี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือ ที่พึ่งชำระก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ที่มา facebook.com/taxationdotcom
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)