h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษีมรดก

ภาษี มรดกได้ผ่านสภานิติบัญญัติวาระ 3 โดยออกเป็นพระราชบัญญัติมีทั้งหมด 38 มาตรา และมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรโดยปรับปรุงการยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการเจ้ามรดกให้ทรัพย์สินผู้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย มีข้อกฎหมายสรุปได้ดังนี้
1) ภาษีมรดกให้มีผลบังคับภายใน 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) ภาษีมรดกไม่ใช้บังคับกรณีดังต่อไปนี้
2.1 มรดกที่เจ้ามรดกตายก่อนจะมีผลบังคับ
2.2 มรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดก
2.3 บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้ มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
2.4 หน่วยงานของรัฐบาลและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
2.5 บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผุกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสห ประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฎิ บัติต่อกันกับนานาประเทศ
3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากการรับมรดก
3.1 บุคคลที่สัญชาติไทย
3.2 บุคคลธรรมดามิได้มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
3.3 บุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย
บุคคล (3.1) (3.2) เสียภาษีมรดกจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทย
ส่วนบุคคล (3.3) เสียภาษีมรดกเฉพาะทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายรับจากการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 585) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายรับจากการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book) มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2558
เงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวเช่นเดียวกับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน แต่จะต่างกันในประเด็นการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียนมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่การ ให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book) ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายขอใช้สิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
นอกจากนี้ การขายหนังสือพิมพ์ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้การโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ในขณะที่การให้บริการหนังสือพิมพ์และโฆษณาหนังสือพิมพ์ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book) อาจจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้แต่ต้องให้กรมสรรพากรตีความต่อไป

ที่มา facebook.com/taxationdotcom