h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษีมรดก

ภาษี มรดกได้ผ่านสภานิติบัญญัติวาระ 3 โดยออกเป็นพระราชบัญญัติมีทั้งหมด 38 มาตรา และมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรโดยปรับปรุงการยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการเจ้ามรดกให้ทรัพย์สินผู้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย มีข้อกฎหมายสรุปได้ดังนี้
1) ภาษีมรดกให้มีผลบังคับภายใน 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) ภาษีมรดกไม่ใช้บังคับกรณีดังต่อไปนี้
2.1 มรดกที่เจ้ามรดกตายก่อนจะมีผลบังคับ
2.2 มรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดก
2.3 บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้ มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
2.4 หน่วยงานของรัฐบาลและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
2.5 บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผุกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสห ประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฎิ บัติต่อกันกับนานาประเทศ
3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากการรับมรดก
3.1 บุคคลที่สัญชาติไทย
3.2 บุคคลธรรมดามิได้มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
3.3 บุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย
บุคคล (3.1) (3.2) เสียภาษีมรดกจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทย
ส่วนบุคคล (3.3) เสียภาษีมรดกเฉพาะทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

4) กรณีผู้รับมรดกที่เป็นนิติบุคคลก็ต้องเสียภาษีมรดกหากถือเป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
► นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยหรือตั้งตามกฎหมายไทย
► มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วในขณะมีสิทธิได้รับมรดก
► ผู้มีสัญชาติไทยเป็นเป็นมีอำนาจบริหารกิจการเกินกึ่งหนึ่งของคณะบุคคลซึ่งมีอำนาจบริหารกิจการทั้งหมด
5) ผู้ได้มรดกจากเจ้ามรดกแต่ละรายไม่ว่าจะรับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้าแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าเกิน 100 ล้าน ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้าน แต่หักตราสารหนี้ก่อนได้
6) ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีการรับมรดก
6.1 อสังหาริมทรัพย์ โดยถือราคาประเมินเป็นมูลค่าในการเสียภาษี
6.2 หลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้ถือเอาราคาของ หลักทรัพย์ในเวลาสิ้นสุดเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ในวันที่ได้รับมรดก
6.3 เงินฝากหรือเงินอื่นใดที่มีลักษณะอย่างเดียวกันที่เจ้ามรดกมีสิทธเรียกถอน คืนหรือสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินหรือบุคคลที่ได้รับเงินนั้นไว้
6.4 ยานพาหนะที่มีหลักฐานทางทะเบียน
6.5 ทรัพย์สินทางการเงินที่กำหนดเพิ่มขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกา
7) อัตราภาษีมรดก
►ร้อยละ 10 ของมูลค่ามรดกที่ต้องเสีย
►ร้อยละ 5 ของมูลค่ามรดก ถ้าผู้เสียภาษีมรดกเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดาน
8) ผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดกที่เน้นเหตุให้มีหน้าที่เสียภาษีมรดก แต่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมรดกจะผ่อนชำระภาษีภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มแต่ผ่อนชำระภาษีภายใน 5 ปี ส่วนเกินสองปีอาจเสียเงินเพิ่มบางส่วน
9) แก้ไขประมวลรัษฎากร สำหรับปรับปรุงการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
9.1 เงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่า ตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น
9.2 เงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะหรือจากการให้โดยเสน่หาจากบุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น
9.3 เงินได้ที่รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หา เนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ทั้งนี้ จากบุคคลซึ่งมิใช่บุพการี ผู้สืบสันดานหรือคู่สมรส เฉพาะเงินได้ในส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาทตลอดปีภาษีนั้น
9.4 เงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาที่ผู้ให้แสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความ ประสงค์ให้ใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อ 9.1 ถึง 9.3 ถ้าผู้มีเงินได้จะเลือกเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของเงินได้ส่วนที่เกินยี่สิบล้านผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีตอน ยื่นแบบแสดงรายการอีก
ดังนั้น หากพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดกมีการลงราชกิจจานุเบกษาในต้นเดือนกรกฎาคม 2558 กฎหมายภาษีการรับมรดกและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการให้จะมีผลบังคับประมาณ ต้นปี 2559

ที่มา facebook.com/taxationdotcom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น