ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้า
มาตรา 78 ภายใต้บังคับตามมาตรา 78/3 ความรับผิดในการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
-การ ขายสินค้านอกจากที่อยู่ในบังคับตาม (2)(3)(4) หรือ (5) ให้ความรับผิดทั้งหมดเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบสินค้า เว้นแต่กรณีที่ได้มีการกระทำ ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อนส่งมอบสินค้า ก็ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นเมื่อได้มีการ กระทำนั้น ๆ ด้วย
1.โอนกรรมสิทธิ์สินค้า
2.ได้รับชำระราคาสินค้า หรือ
3.ได้ออกใบกำกับภาษี
ทั้งนี้โดยให้ความรับผิดเกิดขึ้นตามส่วนของการกระทำนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
บริษัท เอสซีพีการบัญชีกรุ๊ป จำกัด รับทำบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน,และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ โทรติดต่อ 083-4923837 คุณสมนึก
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหักค่ารับรอง
ค่ารับรองหรือค่าบริการที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิได้นั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. เงื่อนไขในการรับรองหรือบริการ
1.1 ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่ว ไป เงื่อนไขข้อนี้เป็นเงื่อนไขอัตโนมัติที่ไม่ต้องพิจารณา เพราะการรับรองเป็นปกติประเพณี อันถือเป็นธรรมเนียมที่นิยมถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม หากการรับรองหรือบริการนั้น ผิดไปจากเงื่อนไขดังกล่าว เช่น รับรองเพื่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงรับรองหรือผู้ให้บริการที่ มากกว่าสิทธิหรือประโยชน์ทั่วไปที่พึงได้ ก็ย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขข้อนี้ไม่ได้
1.2 บุคคลที่ทำการรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างจะมีหน้าที่หรือมีส่วนเข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย มีการกำหนดเงื่อนไขตัวบุคคลที่จะได้รับการเลี้ยงรับรองหรือรับบริการว่า ต้องเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีการรับรองหรือบริการ แต่ก็ยังเปิดช่องไว้ให้พนักงานหรือลูกจ้างที่มีหน้าที่หรือมีส่วนโดยตรงต่อ การรับรองหรือบริการก็ให้มีส่วนเข้าร่วมในงานเลี้ยงรับรองหรือบริการนั้นได้
2. ลักษณะของค่ารับรองหรือค่าบริการ
2.1 ต้องเป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
(1) ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการเช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น
(2) ค่าใช้จ่ายในการรับรองหรือบริการดังกล่าวมีโอกาสที่จะอำนวยประโยชน์แก่ กิจการ ซึ่งไม่ผูกพันว่าจ่ายค่ารับรองหรือบริการนั้นแล้วกิจการต้องได้รับประโยชน์ โดยตรง เช่น
(ก) การรับรองหรือบริการเพื่อมิตรภาพ ไมตรีจิตอันดีงาม
(ข) การรับรองเนื่องในธุรกิจการค้า
(ค) การรับรองเพื่อแสดงความยินดีในความสำเร็จในการทำสัญญาทางธุรกิจ เป็นต้น
2.2 ในกรณีที่เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ
(1) สำหรับการรับรองหรือการบริการก่อนวันที่ 5 สิงหาคม 2542 ต้องมีจำนวนไม่เกิน 500 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ ค่าสิ่งของที่จะมอบให้บุคคลที่ได้รับการรับรองคนละไม่เกิน 500 บาท ในการรับรองแต่ละคราวนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวมิได้จำกัดจำนวนคราวที่มีการรับรอง ไม่จำกัดสิทธิของผู้ประกอบกิจการที่จะมอบสิ่งของที่มีมูลค่าเกินกว่า 500 บาทให้แก่บุคคลที่ได้รับการรับรอง เพียงแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะนำมูลค่าสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ไม่ได้เท่านั้น (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/18416 ลงวันที่ 15 กันยายน 2523)
(2) สำหรับการรับรองหรือการบริการตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไป ต้องมีจำนวนไม่เกิน 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ 2.3 กรณีที่ค่ารับรองหรือค่าบริการ ตลอดจนค่าสิ่งของที่ให้แก่ผู้ที่ได้รับการรับรองดังกล่าวมีภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อ ให้นำค่าภาษีซื้อมารวมเป็นรายจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการด้วย
3. หลักฐานและการอนุมัติ
3.1 ค่ารับรองหรือค่าบริการต้องมีใบรับ หรือหลักฐานของผู้รับ หรือหลักฐานอื่นในกรณีที่ไม่มีใบรับ อาทิ รายงานการเดินทาง ประกอบการบันทึกรายจ่าย
3.2 ค่ารับรองหรือบริการ ต้องมีการอนุมัติหรือสั่งจ่าย โดยกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดัง กล่าว ดังนั้น นอกจากการมีหลักฐานประกอบการถือเป็นรายจ่ายในการรับรองหรือบริการแล้ว ในการอนุมัติสั่งจ่ายโดยกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว จึงควรอย่างยิ่งที่จะระบุผู้ที่ได้รับการรับรองไว้ด้วย เพื่อพิสูจน์แสดงว่ามิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดย เสน่หา ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
4. จำนวนเงินค่ารับรองหรือค่าบริการตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้ดังนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้ตามจำนวนที่ จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดๆ ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของเงินทุนชำระแล้วเพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างไรจะมากกว่า ทั้งนี้ รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกินสิบล้านบาท
1. เงื่อนไขในการรับรองหรือบริการ
1.1 ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่ว ไป เงื่อนไขข้อนี้เป็นเงื่อนไขอัตโนมัติที่ไม่ต้องพิจารณา เพราะการรับรองเป็นปกติประเพณี อันถือเป็นธรรมเนียมที่นิยมถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม หากการรับรองหรือบริการนั้น ผิดไปจากเงื่อนไขดังกล่าว เช่น รับรองเพื่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงรับรองหรือผู้ให้บริการที่ มากกว่าสิทธิหรือประโยชน์ทั่วไปที่พึงได้ ก็ย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขข้อนี้ไม่ได้
1.2 บุคคลที่ทำการรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างจะมีหน้าที่หรือมีส่วนเข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย มีการกำหนดเงื่อนไขตัวบุคคลที่จะได้รับการเลี้ยงรับรองหรือรับบริการว่า ต้องเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่มีการรับรองหรือบริการ แต่ก็ยังเปิดช่องไว้ให้พนักงานหรือลูกจ้างที่มีหน้าที่หรือมีส่วนโดยตรงต่อ การรับรองหรือบริการก็ให้มีส่วนเข้าร่วมในงานเลี้ยงรับรองหรือบริการนั้นได้
2. ลักษณะของค่ารับรองหรือค่าบริการ
2.1 ต้องเป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
(1) ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการเช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น
(2) ค่าใช้จ่ายในการรับรองหรือบริการดังกล่าวมีโอกาสที่จะอำนวยประโยชน์แก่ กิจการ ซึ่งไม่ผูกพันว่าจ่ายค่ารับรองหรือบริการนั้นแล้วกิจการต้องได้รับประโยชน์ โดยตรง เช่น
(ก) การรับรองหรือบริการเพื่อมิตรภาพ ไมตรีจิตอันดีงาม
(ข) การรับรองเนื่องในธุรกิจการค้า
(ค) การรับรองเพื่อแสดงความยินดีในความสำเร็จในการทำสัญญาทางธุรกิจ เป็นต้น
2.2 ในกรณีที่เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ
(1) สำหรับการรับรองหรือการบริการก่อนวันที่ 5 สิงหาคม 2542 ต้องมีจำนวนไม่เกิน 500 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ ค่าสิ่งของที่จะมอบให้บุคคลที่ได้รับการรับรองคนละไม่เกิน 500 บาท ในการรับรองแต่ละคราวนั้น ข้อกำหนดดังกล่าวมิได้จำกัดจำนวนคราวที่มีการรับรอง ไม่จำกัดสิทธิของผู้ประกอบกิจการที่จะมอบสิ่งของที่มีมูลค่าเกินกว่า 500 บาทให้แก่บุคคลที่ได้รับการรับรอง เพียงแต่ผู้ประกอบธุรกิจจะนำมูลค่าสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้ไม่ได้เท่านั้น (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/18416 ลงวันที่ 15 กันยายน 2523)
(2) สำหรับการรับรองหรือการบริการตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไป ต้องมีจำนวนไม่เกิน 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ 2.3 กรณีที่ค่ารับรองหรือค่าบริการ ตลอดจนค่าสิ่งของที่ให้แก่ผู้ที่ได้รับการรับรองดังกล่าวมีภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อ ให้นำค่าภาษีซื้อมารวมเป็นรายจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการด้วย
3. หลักฐานและการอนุมัติ
3.1 ค่ารับรองหรือค่าบริการต้องมีใบรับ หรือหลักฐานของผู้รับ หรือหลักฐานอื่นในกรณีที่ไม่มีใบรับ อาทิ รายงานการเดินทาง ประกอบการบันทึกรายจ่าย
3.2 ค่ารับรองหรือบริการ ต้องมีการอนุมัติหรือสั่งจ่าย โดยกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดัง กล่าว ดังนั้น นอกจากการมีหลักฐานประกอบการถือเป็นรายจ่ายในการรับรองหรือบริการแล้ว ในการอนุมัติสั่งจ่ายโดยกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว จึงควรอย่างยิ่งที่จะระบุผู้ที่ได้รับการรับรองไว้ด้วย เพื่อพิสูจน์แสดงว่ามิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดย เสน่หา ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
4. จำนวนเงินค่ารับรองหรือค่าบริการตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้ดังนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้ตามจำนวนที่ จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดๆ ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของเงินทุนชำระแล้วเพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างไรจะมากกว่า ทั้งนี้ รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกินสิบล้านบาท
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)