h1.post-title{ font-size:20px;}

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับรางวัลส่วนลดจากการส่งเสริมการขาย (2)

ขอนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ

เนื่องจากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 มาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายในลักษณะเป็นสิ่งของ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในวันที่ที่มีการส่งมอบสิ่งของ โดยคำนวณมูลค่าของสิ่งของตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ส่งมอบของนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ปัญหาภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขาย (1)

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ

ขอนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 มาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายกำหนดไว้อย่างไร

วิสัชนา การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขพอสรุปได้ดังนี้

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่ง

ขอนำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรสแห่งประมวลรัษฎากสำหรับค่าขนส่งที่ไม่ใช่ค่โดยสารสาธารณะมาปุจฉา

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่งที่ไม่ใช่ค่าโดยสารจากการ ขนส่งสาธารณะอย่างไร

วิสัชนา หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่งที่ไม่ใช่ค่าโดยสารจากการ ขนส่งสาธารณะมีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บริการงานจดทะเบียน ทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี

บริการงานจดทะเบียน

***จดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด คณะบุคคล

***จดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้า

***จดเลิกกิจการ รวมปิดงบเลิก ประกาศลงหนังสือพิมพ์

***จดเปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรรมการเข้าออก เปลี่ยนอำนาจกรรมการ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ เปลี่ยนชื่อเพิ่มทุน

***จดเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (ภ.พ.09)

รับทำบัญชี (Bookkeeping)


รับทำบัญชี (Bookkeeping)
1. ต้องจัดให้มี "ผู้ทำบัญชี" ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามพรบ.บัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทละ 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล ทั้งนี้อาจเป็นพนักงานของนิติบุคคล ผู้รับทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำบัญชีก็ได้
2. จัดทำบัญชีตามกฏหมาย นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำได้แก่
2.1 บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป
2.2 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
2.3 บัญชีสินค้า
2.4 บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
3. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี ให้แก่ "ผู้ทำบัญชี" ให้ครบถ้วนถูกต้อง
4. จัดให้มีการปิดบัญชี ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
5. จัดทำงบการเงิน อย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อ ตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินต้อง มีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงาน พัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน (สำหรับห้างหุ้นส่วนต้องจัด ทำงบการเงินยื่นภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี) ทั้งนี้รวมถึง บริษัท และห้างหุ้นส่วนที่แม้ว่า จะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวาง โทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี