h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มี 2 กรณี
1. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากประมาณการกำไรสุทธิ จัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลานั้นและให้คำนวณและ ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณกำไรสุทธิในรอบของระยะ เวลานั้นแต่เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีประมาณการกำไรสุทธิน้อยกว่าที่ควร ประมาณการ จึงมีการกำหนดให้ผู้เสียภาษีหากมีการแสดงประมาณกำไรขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ จะถูกลงโทษต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 หากผู้ เสียภาษีจะไม่ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ จะต้องเป็นมีเหตุอันสมควร แต่แนวปฏิบัติที่พิจารณาเหตุอันสมควรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป. 50/ 2537 กำหนดให้จัดทำประมาณกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ปัจจุบันกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ป. 152/2558 ลงวันที่ 10 กันยายน 2558 กำหนดเหตุอันสมควรเพิ่มเติมมาอีกกรณีหนึ่ง ดังนี้

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภาษีโรงเรียนกวดวิชา

ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 กำหนดโรงเรียนเอกชนเป็น 2 ระบบ
1. โรงเรียนในระบบหมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยกำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การจัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน เช่น โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนเซนต์ฯต่างๆ โรงเรียนนานาชาติ เป็นต้น
2. โรงเรียนนอกระบบหมายความว่า โรงเรียนที่จัดการศึกษาโดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา เช่น โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนสอนภาษา โรงเรียนสอนดนตรี โรงเรียนวิชาชีพ รวมถึงศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาตีกา) และสถาบันศึกษาปอเนาะ
กฎหมายภาษีเงินได้ของโรงเรียนเอกชนที่มีการแก้ไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 588-590) และกฎกระทรวง ฉบับที่ 307ซึ่งมีการลงราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 โดยสรุปสาระสำคัญตามกฎหมายใหม่ได้ดังต่อไปนี้

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ภาษีมรดก

ภาษี มรดกได้ผ่านสภานิติบัญญัติวาระ 3 โดยออกเป็นพระราชบัญญัติมีทั้งหมด 38 มาตรา และมีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรโดยปรับปรุงการยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการเจ้ามรดกให้ทรัพย์สินผู้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย มีข้อกฎหมายสรุปได้ดังนี้
1) ภาษีมรดกให้มีผลบังคับภายใน 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) ภาษีมรดกไม่ใช้บังคับกรณีดังต่อไปนี้
2.1 มรดกที่เจ้ามรดกตายก่อนจะมีผลบังคับ
2.2 มรดกที่คู่สมรสของเจ้ามรดกได้รับจากเจ้ามรดก
2.3 บุคคลผู้ได้รับมรดกที่เจ้ามรดกแสดงเจตนาหรือเห็นได้ว่ามีความประสงค์ให้ใช้ มรดกนั้นเพื่อประโยชน์ในกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
2.4 หน่วยงานของรัฐบาลและนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อกิจการศาสนา กิจการศึกษาหรือกิจการสาธารณประโยชน์
2.5 บุคคลหรือองค์การระหว่างประเทศตามข้อผุกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสห ประชาชาติหรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือตามสัญญาหรือตามหลักถ้อยทีถ้อยปฎิ บัติต่อกันกับนานาประเทศ
3) ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากการรับมรดก
3.1 บุคคลที่สัญชาติไทย
3.2 บุคคลธรรมดามิได้มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
3.3 บุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย
บุคคล (3.1) (3.2) เสียภาษีมรดกจากทรัพย์สินทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและนอกประเทศไทย
ส่วนบุคคล (3.3) เสียภาษีมรดกเฉพาะทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายรับจากการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน

พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 585) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายรับจากการให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book) มีผลตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2558
เงื่อนไขการได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวเช่นเดียวกับการยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน แต่จะต่างกันในประเด็นการขายหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียนมีสิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่การ ให้บริการหนังสือพิมพ์ นิตยสารหรือตำราเรียน ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book) ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายขอใช้สิทธิแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้
นอกจากนี้ การขายหนังสือพิมพ์ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้การโฆษณาในหนังสือพิมพ์ ในขณะที่การให้บริการหนังสือพิมพ์และโฆษณาหนังสือพิมพ์ในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (e-book) อาจจะได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้แต่ต้องให้กรมสรรพากรตีความต่อไป

ที่มา facebook.com/taxationdotcom

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ภาษีน่ารู้ : ภาระภาษีกรณีนิติบุคคลจ่ายค่าโฆษณาใน Search engineให้กับบริษัทในต่างประเทศ มีภาระทางด้านภาษีใดบ้าง?

เรื่องนี้เป็นเรื่องน่ารู้อีกหนึ่งเรื่องน่ะครับ สำหรับการที่นิติบุคคลทำโฆษณาบน Search engine ต่างๆ เช่น Google เป็นต้น หรือที่เรารู้จักกันในนามของ Google adword นั่นเอง ซึ่งนิติบุคคลที่ทำโฆษณากับ Search engine นั้นจะเสียค่าโฆษณาตามจำนวนคลิ๊กที่มีผู้สนใจเข้ามาคลิ๊กดูเนื้อหาใน website ซึ่งประเด็นมีอยู่ว่าการทำธุรกรรมเช่นนี้นั้นมีประเด็นทางภาษีอย่าง ไรบ้าง?
ประเด็นที่ 1 : ภาษีเงินได้นิติบุคคล
รายจ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของบริษัท ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี(13) แห่งประมวลรัษฏากร
ประเด็นที่ 2 : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
การให้บริการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อบริษัทจ่ายเงินได้ให้กับนิติบุคคลตามกฏหมายต่างประเทศจึงไม่มีหน้าที่ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 นั้นระบุไว้ดังนี้ "บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้ "
ประเด็นที่ 3 : ภาษีมูลค่าเพิ่ม
การให้บริการดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นการให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร (เป็นการนำเข้าบริการ) จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทผู้จ่ายเงินมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบ ภ.พ.36 ในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร

Credit : CPD Tutor Team

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประกาศอธิบดีเกี่ยวกับอากรแสตมป์ฯ ฉบับที่ 54

ประกาศอธิบดีเกี่ยวกับอากรแสตมป์ฯ ฉบับที่ 54 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2557 แก้ไขเพิ่มเติมประกาศอธิบดีสรรพากรฯ ฉบับที่ 37 กำหนดให้ชำระอากรเป็นตัวเงินเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
(1) สัญญาเช่าที่ดินโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอื่นหรือแพสำหรับค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ซึ่งเดิมกำหนดให้เฉพาะสัญญาที่ทำกับรัฐบาล องค์การรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เช่าและสัญญาเช่าอสังหาฯที่ ต้องจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน เจ้าหน้าที่ ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดินตามลักษณะแห่งตราสาร 1 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
(2) สัญญารับจ้างทำของที่มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไป ซึ่งเดิมกำหนดให้เฉพาะสัญญารับจ้างทำของที่ทำกับรัฐบาล องค์การรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาลหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ว่าจ้างและมีสินจ้างตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไปตามลักษณะแห่งตราสาร 4 แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์
โดยประกาศอธิบดีฉบับนี้ให้มีผลภายใน 60 วันนับตั้งแต่ลงราชกิจจา (วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558)
ดังนั้น หลัง 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 สัญญาเช่าที่ดินโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอื่นหรือแพที่มีค่าเช่าตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไปและสัญญารับจ้างทำของที่มีสินจ้างตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไปจะต้องชำระอากรเป็นตัวเงิน จะซื้ออากรแสตมป์มาติดไม่ได้
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ rd.go.th/publish/54509.0.html ครับ


ที่มา facebook.com/taxationdotcom 

วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

ขยายเวลาการยื่นแบบผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตถึง 31 มกราคม 2560

ตามที่กระทรวงการคลังขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี และการนำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตออกไปอีก 8 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งจะสิ้นสุด โครงการในวันที่ 31 มกราคม 2558 ล่าสุดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากรขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบการชำระกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดง รายการดังกล่าวออกไปถึง 31 มกราคม 2560
(คำชี้แจงกรมสรรพากรการขยายกำหนดเวลากำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตฉบับที่ 3 ลงวันที่ 14 มกราคม 2558)






ที่มา facebook.com/taxationdotcom

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

ข้อความที่ต้องระบุเพิ่มในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ รายงานภาษีซื้อและภาษีขาย

ตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ จะต้องระบุข้อความเพิ่มเติม ดังนี้
1. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี(ตั้งแต่ปี2558ต้องระบุสำนักงาน ใหญ่หรือสาขาที่)
2. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ(ตั้งแต่ปี2558ต้องระบุเลขประจำตัวผู้ เสียภาษีซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนและสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่)
การระบุข้อความดังกล่าวจะต้องดำเนินการ ดังนี้

- ตีพิมพ์,จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์,ประทับด้วยตรายาง, เขียนด้วยหมึก,พิมพ์ดีดหรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนอง เดียวกัน
- สำนักงานใหญ่ สนญ >> HO,HQหรือ 00000 (ห้าหลัก)
- สาขาที่... สาขาที่ 1 >> สาขาที่01,BRANCH NO 1
br.no 1 หรือ 00001(ห้าหลัก)
นอกจากนี้ รายงานภาษีขายจะต้องเพิ่มช่องมา 2 ช่อง ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อสินค้า/ ผู้รับบริการ
2. สถานประกอบการต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขา
รายงานภาษีซื้อจะต้องเพิ่มช่องมา 2 ช่อง ได้แก่
1. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขายสินค้า/ ผู้ให้บริการ
2. สถานประกอบการต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขา
หากไม่ดำเนินการดังกล่าว ผู้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ และรายงานภาษีขายและรายงานภาษีซื้อ จะต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ตามมาตรา 89(5)(10) และระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาทตามมาตรา 90(12)(15)

ที่มา facebook.com/taxationdotcom

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๔๙)

                                                              ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
                                                           เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๔๙)
เรื่อง กำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย
----------------------
                     เพื่อประโยชน์ในการจัด เก็บภาษีอากร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ดังต่อไปนี้
                     ข้อ ๑ ให้ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล จัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงยอดเงินคงเหลือยกมา จำนวนรวมของยอดรายได้และยอดรายจ่ายที่ได้มีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างปี ภาษี และยอดเงินคงเหลือยกไป โดยต้องมีรายการและข้อความอย่างน้อยตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
                     ข้อ ๒ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ 1 ให้ทำเป็นภาษาไทย ถ้าทำเป็นภาษาต่างประเทศให้มีภาษาไทยกำกับ
                     ข้อ ๓ การจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ตามข้อ ๑ ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ของทุกปีภาษี
                     ข้อ ๔ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการยื่นแบบ ภ.ง.ด. ๙๐ หรือ ภ.ง.ด. ๙๑ ซึ่งจะต้องยื่นรายการตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นต้นไป

ที่มา rd.go.th

วันอาทิตย์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39)

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 39) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2557 มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 มีหลักการหลายประการ ดังนี้
1) ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า "คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" ระหว่างบทนิยามคำว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" และคำว่า "ขาย" ในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
"คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" หมายความว่า บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทำการร่วมกันอันมิใช่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ
2) ให้ยกเลิก (14) ของมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไข้เพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
3) บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ นี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือ ที่พึ่งชำระก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ที่มา facebook.com/taxationdotcom