h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2558

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี มี 2 กรณี
1. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากประมาณการกำไรสุทธิ จัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลานั้นและให้คำนวณและ ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณกำไรสุทธิในรอบของระยะ เวลานั้นแต่เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีประมาณการกำไรสุทธิน้อยกว่าที่ควร ประมาณการ จึงมีการกำหนดให้ผู้เสียภาษีหากมีการแสดงประมาณกำไรขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ จะถูกลงโทษต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 หากผู้ เสียภาษีจะไม่ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ จะต้องเป็นมีเหตุอันสมควร แต่แนวปฏิบัติที่พิจารณาเหตุอันสมควรตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ป. 50/ 2537 กำหนดให้จัดทำประมาณกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่ น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ปัจจุบันกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ป. 152/2558 ลงวันที่ 10 กันยายน 2558 กำหนดเหตุอันสมควรเพิ่มเติมมาอีกกรณีหนึ่ง ดังนี้

สำหรับการจัดประมาณกำไรสุทธิไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว แต่ได้เสียภาษีครึ่งปีไว้น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว เนื่องจากได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี โดยใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555
ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2555 ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รับการลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 23 และในปี 2556-2558เหลือร้อยละ 20 หรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล SMEs มีการเพิ่มการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิแรก 100,000 บาทมาเป็น 300,000 บาท ในรอบระยะเวลาบัญชีตั้งแต่ปี 2556 หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นกำไรสุทธิไม่น้อยกว่ากำไรสุทธิของ รอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วเนื่องจากการยกเว้นหรือลดภาษี แม้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนี้จะน้อยกว่ากึ่ง หนึ่งของภาษีที่ต้องชำระในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วก็ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามคำส่งกรมสรรพากรที่ ป.152/2558 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 25 แต่ถ้าหากไม่มีการยกเว้นภาษีหรือลดอัตราภาษีก็จะต้องมีการชำระภาษีครึ่งปีใน รอบระยะเวลาบัญชีนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วตามแนว ปฎิบัติเดิม
ตัวอย่างเช่น ปี 2554 บริษัทฯประมาณกำไรสุทธิ 10,000 บาท กึ่งหนึ่งของประมาณกำไรสุทธิ คือ 5,000 บาท อัตราภาษีในปี 2554 ร้อยละ 30 บริษัทฯจึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,500 บาท ถ้าบริษัทฯประมาณกำไรสุทธิในปี 2555 ประมาณกำไรสุทธิ 11,000 บาท กึ่งหนึ่งของประมาณกำไรสุทธิ คือ 5,500 บาท อัตราภาษีในปี 2555 ร้อยละ 23 บริษัทฯจึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 1,265 บาท ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.152/ 2558 ถือว่ามีเหตุอันสมควรเนื่องจากมีการลดอัตราภาษี
2. การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีจากกำไรสุทธิของรอบระยะ เวลาหกเดือนแรกซึ่งเป็นกำไรสุทธิที่ต้องปรับปรุงให้เป็นกำไรสุทธิตามประมวล รัษฎากรจะไม่เสียเพิ่มกรณีมีกำไรสุทธิขาดเกินไปกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ

ที่มา facebook.com/taxationdotcom

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น