h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

พื้นที่ให้บริการสำนักงานบัญชี

สำนักงานบัญชีให้บริการพื้นที่ กรุงเทพ ทุ่งครุ สีลม พระราม2 สุขสวัสดิ์ ราษบูรณะ ประชาอุทิศ จอมทอง ลาดพร้าว พุทธบูชา บางกระปิ รามคำแหง มีนบุรี รามอินทรา ร่มเกล้า ลาดกระบัง อ่อนนุช พระราม3 พระราม4 พระราม9 รัชดาภิเษก ดินแดง ประดิษฐ์มนูธรรม สุขุมวิท เพชรบุรีตัดใหม่ ตากสิน ปิ่นเกล้า บรรทัดทอง บางนา ตราด พหลโยธิน พัฒนาการ ศรีนครินทร์ วิทยุ วัชรพล สายไหม วิภาวดีรังสิต วงแหวน สุรวงศ์ งามวงศ์วาน นวมินทร์ จรัญสนิทวงศ์ อิสรภาพ  พุทธมณฑล บางบอน บางแค บางขุนเทียน เพชรเกษม ปากเกร็ด ติวานนท์ รัตนาธิเบศร์ นนทบุรี รังสิต ลำลูกกา ปทุมธานี พระประแดง ปู่เจ้าสมิงพราย สมุทรปราการ มหาชัย สมุทรสาคร

วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนมาตรา 68 ทวิ

   ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนมาตรา 68 ทวิ ใช้ งบแสดงฐานะการเงิน แทน งบดุล

http://www.rd.go.th/publish/30932.0.html

ประกาศกรมสรรพากร
เรื่อง การจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนตามมาตรา ๖๘ ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------

ตามที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๔ ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๒ และกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ ต้องจัดทำงบการเงินตามรูปแบบของแต่ละประเภท โดยให้ถือปฏิบัติสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ดังนี้

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2554

ตารางสรุปการหักลดหย่อนและยกเว้นภาษีเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับปีภาษี 2554
space
รายการหักลดหย่อน / ยกเว้นภาษี
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปีภาษี 
(ภ.ง.ด.90 / 91)
1.  ลดหย่อนส่วนบุคคล
     1.1  ผู้มีเงินได้ 

30,000 บาท 
* คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล 60,000 บาท
(หากหุ้นส่วนฯ อยู่ในประเทศไทยเพียงคนเดียวหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท)
     1.2  คู่สมรส (ที่ไม่มีเงินได้) 
30,000 บาท 
     1.3  บุตรที่ศึกษาในประเทศ 
คนละ  17,000 บาท 
     1.4  บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาในต่างประเทศ 
คนละ  15,000 บาท 
     1.5  ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของผู้มีเงินได้ 
            ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา มารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
                 ทั้งนี้  บิดามารดามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และไม่มีเงินได้
พึงประเมินเกิน
30,000 บาทในปีภาษี
คนละ  30,000 บาท
     1.6  ค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 
                 ทั้งนี้  คนพิการหรือคนทุพพลภาพต้องไม่มีเงินได้
พึงประเมินเกิน
30,000 บาทในปีภาษี
คนละ  60,000 บาท   
2.  ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับเบี้ยประกันชีวิต
        2.1  ผู้มีเงินได้
 
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท  (หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท   ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)
 หากเบี้ยประกันภัยที่จ่าย เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
   ที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ให้ยกเว้นอีกร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน  หรือค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
       2.2  คู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
หักลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
3.  ยกเว้นเบี้ยประกันสุขภาพ บิดา มารดา ของผู้มีเงินได้ และบิดา   
     มารดาของคู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
4.  ลดหย่อนและยกเว้นเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 
(หัก ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 490,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง)
5.  ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
     เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
     เพื่อการเลี้ยงชีพ  ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
     หลักทรัพย์ พ.ศ.2535
ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน  และไม่เกิน 500,000 บาท  เมื่อรวมกับ
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน 
 
6.  ยกเว้นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว  (LTF)
     เงินได้ตามจำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม
     หุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
     หลักทรัพย์ พ.ศ.2535
ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และไม่เกิน 500,000 บาท
7.  ยกเว้นเงินสะสม กบข.
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 
8.  ยกเว้นเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 
9.  ยกเว้นเงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง
     แรงงาน (ไม่รวมค่าชดเชยเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือสิ้นสุด
     สัญญาจ้าง)
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 300,000 บาท  ของค่าจ้างหรือเงินเดือนของการทำงาน 300 วันสุดท้าย
10.  ลดหย่อนและยกเว้น สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย
        10.1  ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท 
(หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10
,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่เกิน 90,000 บาท)
        10.2  ผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท ตามส่วนเฉลี่ยดอกเบี้ยของจำนวนผู้กู้
11. ลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน  9,000 บาท ตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม
* กรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน  9,000 บาท
12.  ลดหย่อนและยกเว้นเงินบริจาค
        12.1  ยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา
    

2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ร้อยละ 10 
ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
        12.2 ยกเว้นค่าใช้จ่ายและเงินบริจาค ดังนี้
·  ยกเว้นค่าใช้จ่ายการจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน
·  ยกเว้นค่าใช้จ่ายในการจัดให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์
·  ยกเว้นเงินบริจาคให้แก่กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งขึ้น
·  ยก เว้นค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็ก เล็กหรือสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
2 เท่าของจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับยกเว้นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่นก่อนหักลดหย่อนเงินบริจาค
(พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 515)  (ฉบับที่ 519)  (ฉบับที่ 520) และ
(ฉบับที่ 526) พ.ศ.
2554)
        12.3  ลดหย่อนเงินบริจาคทั่วไป 
ตามจำนวนที่จ่ายจริง ในเดือน ม.ค. ถึง ธ.ค. แต่
ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอย่างอื่น
        12.4  ลดหย่อนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
1.5 เท่าของจำนวนที่บริจาคจริงในเดือน ก.ย. ถึง ธ.ค. 2554  แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคทั่วไป ต้องไม่เกินร้อยละ10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและ
ค่าลดหย่อนอย่างอื่น
13.   ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในไทย และมีอายุ
  ไม่ต่ำกว่า 65 ปี บริบูรณ์
ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
14.  ยกเว้นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นคนพิการอยู่ในไทย และ
   มีอายุไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์
ยกเว้นตามจำนวนเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 190,000 บาท
15.  ยกเว้นเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ
ตาม จำนวนที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ฯ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตน ซึ่งได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในระหว่างวันที่ 21 ก.ย. 2554 ถึง 31 ธ.ค. 2555  เป็นจำนวนไม่เกินภาษีเงินได้ ที่คำนวณจากเงินได้สุทธิหรือที่ต้องชำระก่อนการหักภาษี ณ ที่จ่ายและเครดิตภาษี แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ไม่เกิน 500,000 บาท  ทั้งนี้ ต้องใช้สิทธิดังกล่าวเป็นเวลา 5 ปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิเป็นจำนวนเท่าๆกัน ในแต่ละปีภาษี
16.  ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก 
   อุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่

   25 ก.ค. 2554 
31 ธ.ค. 2554
* อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย
ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมบ้าน แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท  สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555
17.  ยกเว้นเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบ
   จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในระหว่างวันที่

   25 ก.ค. 2554 31 ธ.ค. 2554
* อยู่ระหว่างตราเป็นกฎหมาย
ตามจำนวนที่จ่ายจริงเป็นค่าซ่อมแซมรถยนต์ แต่รวมกันต้องไม่เกิน 30,000 บาท  สำหรับการใช้สิทธิในปีภาษี 2554 และปีภาษี 2555


 ที่มา กรมสรรพากร



RD Call  Center 1161
บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี

ยื่น ภ.ง.ด. 94 / ภ.ง.ด. 90 จะเลือกหักเหมาหรือหักจริง

การยื่นเสียภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 /ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(2)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายระบุให้เงินได้บางประเภทหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา
เงินได้บางประเภทกฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายจริง เงินได้บางประเภทกฎหมายให้เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา
หรือหักจริงก็ได้ หรือเงินได้บางประเภทกฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใดๆ เลย


สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)หรือ 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน แพทย์ที่เปิดคลินิก วิชาชีพกฎหมาย รับทำบัญชี กิจการซื้อมาขายไป ผู้ประกอบ
กิจการขนส่ง ผู้ประกอบกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นต้น
ผู้มีเงินได้พึงประเมินสามารถ
เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา หรือหักค่าใช้จ่ายจริงก็ได้
แต่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)บางรายการที่กฎหมายไม่ได้ระบุให้เลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาไว้ในพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 11จะต้องหักค่าใช้จ่ายตามจริงเท่านั้น เช่น การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มุ่งค้าหากำไร เป็นต้น
 อย่างไรก็ดี การเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา หรือเลือกหักตามจริง ต่างก็มีดีแตกต่างกันไป สรุปได้ดังนี้
การหักค่าใช้จ่ายเหมา กฎหมายจะกำหนดให้หักคิดเป็นร้อยละของเงินได้พึงประเมินในอัตราที่ตายตัว ผู้มีเงินได้ไม่ต้องมีหลักฐานเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายในการหาเงินได้นั้นแต่ประการใด ซึ่งเป็นทางเลือกของธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถหาเอกสารหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายได้ อีกทั้งผู้ประกอบการก็ไม่ต้องพะวงกับการจัดทำเอกสารหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่าย ไม่จำเป็นต้องจ้างบุคคลอื่นมาจัดทำบัญชี สามารถลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้บ้าง

ตัวอย่างของกิจการที่สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ เช่น การให้เช่าบ้าน หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 30, กิจการซื้อมาขายไป หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 80, กิจการขนส่ง หักค่าใช้จ่ายเหมาได้ร้อยละ 80 เป็นต้น

ข้อดีของการหักค่าใช้จ่ายเหมาก็คือ หลักฐานเอกสารค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่ต้องจัดทำหรือไม่จำ
เป็นต้องมี จึงเป็นที่นิยมใช้มากสำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีระบบการจัดทำบัญชีที่ไม่ดี หรือไม่สามารถหาเอกสารหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายได้


การหักค่าใช้จ่ายจริง กฎหมายให้นำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในการประกอบกิจการ และไม่เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามกฎหมายมาหักเป็นรายจ่าย โดยใช้หลักเกณฑ์การหักรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรมาบังคับใช้โดยอนุโลม พูดง่ายๆ ว่า ต้องมีหลักฐานใบเสร็จรับเงินของค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไป และต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่ห้ามนำมาหักเป็นรายจ่าย ข้อดีของการหักค่าใช้จ่ายจริงก็คือ สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจมีค่าใช้จ่ายแท้จริงเป็นอย่างไร

การเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมา หรือหักค่าใช้จ่ายจริง สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5)หรือ 40(8)แห่งประมวลรัษฎากร ท่านสามารถศึกษาหาความรู้ได้จากพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมินฉบับที่ 11 พ.ศ. 2502

ประโยชน์ในการเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาหรือหักจริงจะมีมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับท่านแล้วล่ะต้องลองเปรียบเทียบกันว่าจะหักแบบใด แต่อย่าลืมว่าการหักค่าใช้จ่ายจริง จะต้องมีหลักฐานประกอบการหักค่าใช้จ่ายเช่นเดียวกับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หากยื่นแบบเสียภาษีและเลือกหักค่าใช้จ่ายจริงแล้ว เมื่อถูกตรวจพบว่าเอกสารหลักฐานค่าใช้จ่ายจริงมีน้อยกว่ากรณีเลือกหักเหมา จะกลับใจขอหักค่าใช้จ่ายเหมาในปีภาษีที่ยื่นแบบก็ไม่ได้แล้ว แต่ในปีภาษีถัดไป ท่านจะเลือกหักค่าใช้จ่ายเหมาก็ได้ เป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีสามารถทำได้ ไม่มีกฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด
กฎหมายภาษีสรรพากรเปิดทางไว้ให้แล้ว เลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีใด แล้วแต่สะดวกครับ

ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของรายการย่อในงบการเงินรูปแบบใหม่

เรื่อง คุณได้อะไรจากรายการย่อในงบการเงินรูปแบบใหม่!!!
ไฟล์แนบ ไม่มี

ประโยชน์ของรายการย่อในงบการเงินรูปแบบใหม่

ด้วยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 โดยได้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552 มีผลทำให้กิจการที่มีหน้าที่จัดทำงบการเงินส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 5 ประเภท (ทั้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้า) ที่รอบบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ต้องจัดทำงบการเงินตามรูปแบบใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวมีประโยชน์ คือ

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายซ่อมบ้านและรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม

 การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายซ่อมบ้านและรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/images/image_news/news16_2555.pdf

เลขที่ข่าว ปชส. 16/2555
วันที่แถลงข่าว 3 กุมภาพันธ์ 2555
เรื่อง การใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายซ่อมบ้านและรถยนต์ที่ถูกน้ำท่วม
..................................................................................................................................................................................................
ตามที่กรมสรรพากรได้ออกมาตรการภาษี เพื่อให้บุคคลที่ได้จ่ายเงินค่าซ่อม ที่อยู่อาศัยและหรือรถยนต์ ที่เสียหายอันเนื่องมาจากเหตุอุทกภัยให้สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าว มาหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ปีภาษี 2554 อย่างไรก็ดี แบบแสดงรายการภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2554 ไม่ปรากฏช่องสำหรับกรอกรายละเอียดของการหักค่าลดหย่อนทั้ง 2 กรณี ทำให้ผู้เสียภาษีที่จะใช้สิทธิดังกล่าวเกิดความสับสน นั้นกรมสรรพากร ขอเรียนว่า ผู้เสียภาษีที่อาศัยอยู่ในท้องที่ ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และได้จ่ายเงินค่าซ่อมที่อยู่อาศัยและหรือรถยนต์ ในระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ผู้เสียภาษีสามารถนำรายจ่ายค่าซ่อมที่เกิดขึ้นนั้น มาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้ปีภาษี 2554 ได้ โดยกรณีซ่อมที่อยู่อาศัย หักได้ไม่เกิน100,000 บาท และกรณีซ่อมรถยนต์หักได้ไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้ ให้ผู้เสียภาษีกรอกรายละเอียดลงในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 “ข้อ 12. อื่นๆ” ของ “รายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่าย”
ตัวอย่าง
• นายสมชาย อาศัยอยู่ในท้องที่ ที่ทางราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ ที่ประสบอุทกภัยโดยในเดือนธันวาคม 2554 ได้จ่ายเงินค่าซ่อมที่อยู่อาศัย จำนวน 100,000 บาท และได้จ่ายค่าซ่อมรถยนต์ จำนวน 30,000 บาท
• ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2554 ของนายสมชายนั้น ให้นำจำนวนเงินรวม 130,000 บาท มากรอกลงในช่องค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ข้อ 12 ของรายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่าย)
ดร.สาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “สาเหตุที่แบบแสดงรายการไม่มีช่องสำหรับรายการค่าซ่อมที่อยู่อาศัยและรถยนต์นั้น ก็เนื่องจากว่า แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ได้จัดทำ แล้ว
เสร็จ ก่อนที่จะมีมาตรการดังกล่าวนี้”
................................................................
กรมสรรพากร เต็มที่ เต็มใจ ให้ประชาชน
ส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมสรรพากร

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สิทธิประโยชน์จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 เงินที่ส่งเข้าหรือจ่ายออกจากกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ รวมทั้งผลประโยชน์จากการลงทุนของกองทุน จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบ EEE (Exempted, Exempted, Exempted) โดยมีรายละเอียดดังนี้
            1.  เงินสะสมที่ สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนสามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้  โดยหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน 490,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่เสียภาษี
                เงินสมทบที่ นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย
            2. ผลประโยชน์จากการลงทุนของกองทุน เช่น  ดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์  ได้รับยกเว้นภาษี
            3. เงินที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส่วนที่เป็นเงินสะสมได้รับยกเว้นภาษี สำหรับเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม และผลประโยชน์เงินสมทบ
ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไขดังนี้
                3.1 กรณีลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุ
            ก. หากเป็นเงินที่จ่ายให้เนื่องจากออกจากงานโดยมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ต้องนำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปคำนวณภาษี รวมกับเงินได้ประเภทอื่น
            ข. หากเป็นเงินที่จ่ายให้เนื่องจากออกจากงานที่มีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป สามารถเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่น โดยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาทคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ทั้งนี้ จำนวนวันทำงานตั้งแต่ 183 วันขึ้นไป นับเป็น 1 ปี น้อยกว่า 183 ให้ปัดทิ้ง