h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของรายการย่อในงบการเงินรูปแบบใหม่

เรื่อง คุณได้อะไรจากรายการย่อในงบการเงินรูปแบบใหม่!!!
ไฟล์แนบ ไม่มี

ประโยชน์ของรายการย่อในงบการเงินรูปแบบใหม่

ด้วยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ออกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2554 โดยได้ยกเลิกประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2552 มีผลทำให้กิจการที่มีหน้าที่จัดทำงบการเงินส่งต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 5 ประเภท (ทั้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด นิติบุคคลต่างประเทศที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้า) ที่รอบบัญชีเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป ต้องจัดทำงบการเงินตามรูปแบบใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งการออกประกาศดังกล่าวมีประโยชน์ คือ

1. อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้จัดทำงบการเงินสามารถจัดทำงบการเงินได้ตรงตามข้อ กำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินของประเทศไทยได้มีการปรับปรุงใหม่หลาย ฉบับโดยมีผลบังคับใช้ในปี 2554 เป็นต้นไป รวมถึงมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ ที่ออกใหม่ และมีผลบังคับใช้ในปี 2554 ด้วย โดยประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้าดังกล่าวได้กำหนดรูปแบบงบการเงินให้สอดคล้อง กับมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงและออกใหม่แล้ว

2. ข้อมูลในงบกำไรขาดทุนได้จัดทำให้สอดคล้องกับหลักการของแม่บทการบัญชี (Accounting Framework) มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การนำการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการมาแสดงในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เพียงงบเดียว ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถวิเคราะห์ถึงความสามารถของกิจการในการ ก่อให้เกิดและการใช้ไปของกระแสเงินสดได้ดียิ่งขึ้น

3. ข้อมูลทางการเงินในงบการเงินรูปแบบใหม่ช่วยในการนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์และ เปรียบเทียบได้ดีมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีการแก้ไขข้อผิดพลาดในงบการเงิน หรือมีการปรับงบการเงินย้อนหลัง จะมีการให้นำเสนองบแสดงฐานะการเงินสำหรับ 3 ปี ซึ่งจะช่วยในการเปรียบเทียบตัวเลขของงบการเงินหลังจากมีการแก้ไขข้อผิดพลาด และปรับงบการเงินย้อนหลัง สามารถนำมาวิเคราะห์ได้แม่นยำและเกิดประโยชน์ เหมาะกับการนำไปใช้ในการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจมากขึ้น

4. รายการย่อรูปแบบใหม่ได้จัดประเภทของรายการในสินทรัพย์และหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ละเอียดมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจรายการในงบการเงินและนำไปตัดสินใจได้ดี ยิ่งขึ้น เช่น มีการแยกอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน หรือสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย ออกจากที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ทำให้ผู้ใช้งบการเงินไม่เข้าใจผิดในสาระสำคัญของรายการ

5. รายการย่อรูปแบบใหม่ได้จัดทำคำอธิบายรายการในงบการเงินให้ชัดเจน และเข้าใจง่ายขึ้น

6. งบการเงินรูปแบบใหม่สำหรับบริษัทมหาชน มีความสอดคล้องกับรูปแบบงบการเงินของสากลมากขึ้น เพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจของบริษัทมหาชนเมื่อต้องมีการระดมทุนหรือ การกู้เงินจากต่างประเทศ โดยตลาดทุนหรือตลาดตราสารหนี้ของต่างประเทศจะสามารถนำงบการเงินของบริษัท มหาชนจากประเทศไทยมาเปรียบเทียบกับบริษัทมหาชนจากประเทศอื่นได้เลย


PR-DBD

DBD E-Newsletter
http://newsletter.dbd.go.th/view.php?id=1074

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น