h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบปี 2555 ช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ประสบอุทกภัย

            คณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบลดอัตราเงินสมทบปี 2555 ช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ประสบอุทกภัย
สำนัก งานประกันสังคม เผยมติคณะกรรมการประกันสังคมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตน ม.33 และม.39 ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์อุทกภัยในวงกว้าง โดยลดอัตราเงิน สมทบกองทุนประกันสังคมปี 2555 เตรียมเร่งยื่นเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ เพื่อออกกฎกระทรวงบังคับใช้ต่อไป
            นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทรัพย์สินต่อบ้านเรือน บริษัทห้างร้านสถานประกอบการต่างๆ และส่งผลกระทบต่อนายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมได้รับความเดือดร้อนโดยทั่วกัน ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมจึงได้มีมาตรการให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันสังคม โดยคณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติในการประชุมเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมแก่นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้ประกันตน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในปี 2555 โดยลดจากอัตราเงินสมทบที่จ่ายในปัจจุบันฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ดังนี้
           ครึ่งปีแรก (1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 3 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 2
           ครึ่งปีหลัง (1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2555) จ่ายในอัตราฝ่ายละร้อยละ 4 ลดลงจากเดิม ฝ่ายละร้อยละ 1
           ทั้ง นี้ รัฐบาลยังคงจ่ายสมทบในอัตราเดิม คือ 2.75 การลดอัตราเงินสมทบในครั้งนี้ จะช่วยแบ่งเบาภาระนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละประมาณ 16,700 ล้านบาท ในส่วนของผู้ประกันตนแบ่งเบาภาระ ได้เฉลี่ยคนละประมาณ 1,700 บาท/ปี (คำนวณจากค่าจ้างเฉลี่ยของผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39)
การลดอัตราเงินสมทบดังกล่าวผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนเดิมทุกกรณี โดยเฉพาะการรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ

ทั้ง นี้ มีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร.1506 (เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง)

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนววินิจฉัยของสรรพากร เรื่อง สวัสดิการอาหารให้พนักงานวันละ 3 มื้อ และ เรื่องค่ากาแฟ เครื่องดื่ม ใช้รับรองลูกค้า

บริษัทมีสวัสดิการด้านอาหารให้พนักงานวันละ 3 มื้อ ภาษีซื้อที่เกิดจากค่าน้ำดื่ม ค่าเครื่องดื่ม กาแฟ น้ำตาล และคอฟฟี่เมทสำหรับพนักงาน ซึ่งบริษัทจัดสรรไว้ให้พนักงานรับประทานในเวลาปฏิบัติงาน และภาษีซื้อที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในการทำอาหารให้แก่พนักงาน ได้แก่ ค่าแก๊สหุงต้ม ค่าของใช้เบ็ดเตล็ด เช่น ผงซักฟอก น้ำปลา ซอสปรุงรส เป็นต้น เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบการของบริษัทฯ และไม่ใช่ภาษีซื้ออันเกิดจากการรับรอง จึงไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้าม บริษัทสามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวไปหักได้ (กค 0802/พ21395 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2536)


ภาษีซื้ออันเกิดจากค่าเครื่องดื่ม กาแฟ น้ำตาลและคอฟฟี่เมท สำหรับรับรองลูกค้า เป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อการรับรอง จึงเข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่สามารถขอคืนภาษีหรือนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (กค 0802/พ21395 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2536)


(ที่มา : คำอธิบาบ VAT ภาษีซื้อทั้งระบบ อาจารย์อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์)

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ครั้งที่ 2-5/2554-2557 (2554

    สรุปสาระสำคัญจากการประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี ครั้งที่ 2-5/2554-2557 (2554)

สรุปสาระสำคัญจากการประชุมได้ดังนี้

1) การจัดทำและนำเสนองบการเงินระหว่างกาลของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ เพื่อเป็นการบรรเทาภาระในการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินระหว่างกาลของกิจการ ที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีมีความเห็นว่าควรมีการออกประกาศสภาฯ เกี่ยวกับการจัดทำและนำเสนองบการเงินระหว่างกาลของกิจการที่ไม่มีส่วนได้ เสียสาธารณะโดยให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 34 เรื่อง งบการเงินระหว่างกาล ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอรายการและการเปิดเผยข้อมูลได้ โดยไม่ถือว่าขัดกับข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่ มีส่วนได้เสียสาธารณะ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณียื่นแบบ ภงด.90 ภงด.91 เกินกำหนดเวลา
  • ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  • เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้นิติบุคคล
กรณียื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา
  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท
  • เงินเพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
กรณียื่นแบบ ภงด.50 เกินกำหนดเวลา
  • ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท
  • เงินเพิ่มอีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าที่กระทรวงพาณิชย์
การยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน ค่าปรับจะมีอยู่ 2 ส่วนนะครับคือ ในส่วนของกรมสรรพากร กับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ลองมาดูในส่วนของกรมสรรพากรกันก่อน คุณต้องเสียค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่เกิน 2,000 บาท เค้าใช้คำว่าไม่เกิน 2,000 บาทนะครับ แต่แนวปฏิบัติของสรรพากรจะเรียกเก็บค่าปรับ 1,000 บาท สำหรับแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเกิน 7 วัน ค่าปรับจะอยู่ที่ 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ถ้าคุณไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ผมแนบตารางค่าปรับมาให้ (ดููตารางค่าปรับด้านล่าง) การจ่ายค่าปรับให้ดูในเรื่องของระยะเวลา ถ้าคุณยื่นล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับจะอยู่ที่ 1,200 บาท โดยจ่ายค่าปรับในนามบริษัท 600 บาท และจ่ายค่าปรับในนามกรรมการอีก 600 บาท

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญา



เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30
  • ยื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
  • ยื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท
2. เงินเพิ่ม
  • คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)
  • กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม
3. เบี้ยปรับ การเสียค่าเบี้ยปรับแบ่งได้ 2 กรณี คือกรณียิ่นแบบเพิ่มเติม (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อน
ถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) กับ กรณีไม่เคยยื่นแบบ (อาจจะลืมยื่นหรือมีเงินไม่พอจ่ายก็เลยไม่ยื่น)
3.1 กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% - 20%
  • ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%
  • ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%
  • ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%
  • ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาใบกำกับภาษีที่พบบ่อย

ปัญหาที่มักจะพบกันอยู่บ่อยๆ คือ "ใบกำกับภาษี" ที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการต้องออกให้กับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่ใช้เป็นหลักฐานในการขอภาษีซื้อ คืน ของผู้จ่ายเงินที่ซื้อสินค้า บริการนั้นๆ ซึ่งผู้ขายจะต้องทำใบกำกับภาษีเต็มรูปตามแบบประมวลรัษฎากร โดยส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ และเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษี เพื่อการลงรายงานภาษีขาย ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ใบกำกับภาษีเต็มรูป ตามประมวลรัษฎากร อย่างน้อยต้อมมีรายการดังต่อไปนี้
  1. คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษี
    ชื่อ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ,ชื่อ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, ที่อยู่ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนฯไว้ กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วน แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว
  3. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อ คือชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ชื่อการของสถานประกอบการ ตามที่ได้จดทะเบียนฯไว้ กรณีบุคคลธรรมดาให้รวมถึงนามสกุลด้วย กรณีระบุชื่อผู้ซื้อไม่ครบถ้วน โดยมีเครื่องหมาย ไปยาลน้อย (ฯ) ละคำที่ประกอบคำหน้า แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบ การรายอื่น เช่น "การสื่อสารแห่งประเทศไทย" เขียนว่า "การสื่อสารฯ" ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว กรณีระบุชื่อผู้ชื่อ โดยตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบ การรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว
  4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่น (ถ้ามี)
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีด้วย ให้กระทำโดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็น สินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  6. มูลค่าของสินค้า หรือบริการที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากค่าสินค้าหรือบริการให้ชัดแจ้ง กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าภาษีมูลค่า เพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ คูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วย 100 อันเนื่องมาจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีตามจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าสินค้า หรือบริการ คูณด้วย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หารด้วย 100
  7. วันเดือนปี ที่ออกใบกำกับภาษี ใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้และให้พุทธศักราช หรือ คริสต์ศักราช ก็ได้
ที่มา suretax

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การส่งรายงานการประชุมใหญ่ งบดุลกิจการองค์การกุศล

   การส่งรายงานการประชุมใหญ่ งบดุลและบัญชีรายได้รายจ่ายพร้อมทั้งรายงานการดำเนินงานของกิจการ สำหรับองค์การกุศลสาธารณะ

rd.go.th/publish/18650.0.html

มูลนิธิ องค์การ สถานพยาบาล หรือสถานศึกษา ที่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์การกุศลสาธารณะไปแล้ว เว้นแต่สภากาชาดไทย วัดวาอาราม และสถานพยาบาล หรือสถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 และข้อ 10 ของ “ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาประกาศกำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากรฯ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535” ดังต่อไปนี้

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นโยบายจัดเก็บภาษี 2555 กับการใช้ผู้สอบบัญชีและผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้สอบทานความถูกต้องในงบแทนข้าราชการสรรพากร

วันพฤหัสบดีที่ 20 ต.ค. 54 ที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง  ได้เข้าตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสรรพากร ณ ห้องประชุมพระอุเทน อาคารกรมสรรพากร โดยมีนายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ให้การต้อนรับและรายงานภารกิจหลัก รวมทั้งชี้แจงปัญหาอุปสรรคและความท้าทายในการปฏิบัติงานของกรมสรรพากร ที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลังและรัฐบาล
   
หลังจากรับฟังรายงานแล้ว นายธีระชัย ได้มอบนโยบายการจัดเก็บภาษีสำหรับปีงบประมาณ 55 (ต.ค.54–ก.ย.55) พอสรุปความได้ดังนี้
   
ประการ แรก แม้จำนวนข้าราชการกรมสรรพากรจะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ จึงขอให้พิจารณาใช้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรวมทั้งผู้สอบบัญชีภาษีอากรทำ หน้าที่สอบทานความถูกต้องของงบการเงินและรายการในบัญชีแทนอัตรากำลังของข้า ราชการกรมสรรพากร

คำชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย

จากเหตุการณ์ภัยพิบัติอุทกภัยที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้เสียภาษีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรได้ออกมาตรการช่วยเหลือ ผู้เสียภาษีที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวหลายประการ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนใน
การปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษี กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย ดังนี้

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดได้อย่างไร

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทำการค้าร่วมกัน โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการค้านั้น การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
1. จำนวนเงินลงทุนหรือสิงที่ผู้เป็นหุ้นสวนแตละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้) แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
2. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะประกอบกิจการ หรือที่เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้หลาย ๆ กิจการ เพื่อความคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้า จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มหรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์ แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัดและให้อำนาจกว้างขวางมากเกินไป *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
3. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
4.การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
5. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม สถานที่ที่จะใช้เป็น
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้ชำระบัญชี เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด
ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อที่คล้ายหรือซ้ำกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ต้องขอตรวจและจองชื่อนิติบุคคลก่อนจะจดทะเบียนจัดตั้ง
*ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
เมื่อผ่านการตรวจและตอบรับจากเจ้าหน้าที่ว่าชื่อที่จะจดทะเบียนไม่คล้ายหรือซ้ำกับชื่อขอนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทำตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน *ดูหลักกณฑ์การกำหนดดวงตรา* กรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่น ขอจดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2. ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคำขอจดทะเบียนก่อน และเมื่อผ่านการตรวจและตอบรับว่าคำขอจดทะเบียนถูกต้องแล้วให้ผู้ขอจดทะเบียนสั่งพิมพ์ (print out) เอกสารคำขอจดทะเบียนดังกล่าวให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน หลังจากนั้นก็นำไปยนื่ ขอจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีความรวดเร็วกว่ากรณีการยื่น ขอจดทะเบียนตาม 1. มาก เนื่องจากนายทะเบียนจะตรวจเอกสารคำขอจดทะเบียนที่นำมายื่น นั้นว่ามีข้อความถูกต้องตรงกับที่ยื่น ไว้ทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่เท่านั้น

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การวางแผนภาษีของอพาร์ตเม้นท์ ห้องเช่า

อพาร์ตเม้นท์และห้องเช่าถือเป็นกิจการที่ค่อนข้างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค
ของน้ำมันแพง การจราจรติดขัด และมีระบบขนส่งมวลชนสมัยใหม่ คือ รถไฟฟ้า BTS และ
รถไฟฟ้าใต้ดิน ทำให้ชีวิตและการทำงานของคนกรุงเทพฯ เปลี่ยนไป ผู้ที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร
ไม่อยากอยู่ชานเมือง เพราะนอกจากจะเสียเวลาในการเดินทางวันละ 1-2 ชั่วโมง แล้ว ค่าน้ำมัน
และความเหนื่อยล้าจากจราจรติดขัด เป็นภาระและบั่นทอนความสามารถในการทำงานด้วย
ขอให้ระลึกว่าคนไม่ว่ารวยหรือจน วันหนึ่งก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน ถ้าวันหนึ่งต้องใช้เวลาเดินทาง
ไปกลับจากที่ทำงาน 2 ชั่วโมง เขาเหลือเวลาเพียง 22 ชั่วโมงต่อวัน ต่างกับคนที่เดินทาง
เพียง 15 นาที เขามีเวลา 23.5 ชั่วโมง

           
   ด้วยเหตุนี้ ที่ใดที่ใกล้โรงเรียน โรงงาน แหล่งชุมชน จึงมีอพาร์ตเม้นท์ และห้องเช่าเกิดขึ้นราวกับ
เป็นดอกเห็ด ซึ่งจริง ๆ แล้วธุรกิจนี้สร้างผลกำไรให้แก่เจ้าของไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะนอกจากคุณ
จะได้รับค่าเช่าจากห้องเช่าแล้ว ยังสามารถเก็บค่าบริการที่เกี่ยวข้องหรือเปิดร้านสะดวกซื้อใน
อพาร์ตเม้นท์เป็นการหารายได้เพิ่มเติม
ยิ่งไปกว่านั้น เนื่องจากต้นทุนการก่อสร้างเพิ่มขึ้น ค่าวัสดุ
แพงขึ้น นอกจากอพาร์ตเม้นท์ต่าง ๆ ที่ปล่อยเช่าสร้างรายได้ประมาณ 6-10% แล้ว เจ้าของยังได้กำไรจากการเพิ่มค่าของอาคารที่ให้เช่า เนื่องจากจะต้องไปสร้างอาคารใหม่จะไม่ได้ราคาเดิมอีก
ต่อไป เหมือนกับคุณผ่อนบ้านมาอยู่เอง นอกจากคุณจะได้อยู่ฟรีแล้ว ยิ่งอยู่นานไปราคาบ้านก็
สูงขึ้น เพราะบ้านเป็นสมบัติที่ยิ่งใช้ราคายิ่งแพง

ผู้ที่วางแผนจะทำอพาร์ตเม้นท์ห้องเช่าต้องดำเนินการในด้านภาษีดังนี้

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์

คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 90/2542
เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 81(1)(ต) การโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
---------------------------------------------
เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 81(1)(ต) การโอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ

หลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
1. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบให้ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้เริ่มก่อการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ หรือผู้ชำระบัญชี ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง
2. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน ให้ลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนพร้อมแสดงบัตรประจำตัวต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบ ในกรณีที่ไม่อาจลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียนได้ ไม่ว่าด้วยประการใดๆ ให้ผู้ขอจดทะเบียนลงลายมือชื่อด้วยตนเองต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้
2.1 กรณีลงลายมือชื่อในราชอาณาจักร
(1) พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งประจำอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอ
จดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่ *โปรดคลิก*
(2) สามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา หรือ
(3) บุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด ได้แก่
- ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ตรวจสอบบัญชี
- กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัดซึ่งสามารถรับรองลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดที่หอการค้าตั้งอยู่ ตามประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง *ดูรายชื่อกรรมการหรือเจ้าหน้าที่หอการค้าหรือหอการค้าจังหวัด ได้ที่หัวข้อ “กฎหมายและระเบียบฯ/ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์/ประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง”*
2.2 กรณีลงลายมือชื่อในต่างประเทศ
(1) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้า
สำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว
(2) บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น หรือ
(3) บุคคลที่ควรเชื่อถือได้สองคนมาลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้านายทะเบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง
3. สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ ต้องแสดงหลักฐานดังต่อไปนี้
(1) สำเนาบัตรประจำตัวที่แสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ เช่น บัตรประจำตัวพนักงานของรัฐ บัตรประจำตัวสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา สำเนาบัตรสภาทนายความ
เป็นต้น
(2) กรณีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรับรองลายมือชื่อ ให้แนบหลักฐานดังต่อไปนี้
- กรณีที่ผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพ.ร.บ. ผู้สอบบัญชี
พ.ศ.2505 ให้แนบหลักฐานสำเนาใบอนุญาตคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาสอบบัญชี ซึ่งยังไม่หมดอายุ 
- ผู้สอบบัญชีซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี
พ.ศ. 2547 ให้แนบหลักฐานสำเนาใบอนุญาตของสภาวิชาชีพบัญชี และสำเนาหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี
ตรวจสอบบัญชี
(3) กรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัด ให้แนบ สำเนาบัตรที่แสดงสถานะว่าเป็นกรรมการหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัด หรือสำเนาบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่หอการค้าไทยหรือหรือการค้าจังหวัด
ในกรณีที่ไม่มีบัตรประจำตัวดังกล่าวข้างต้น ให้แนบหนังสือรับรองที่ออกโดยประธานหอการค้าซึ่งได้รับรองว่าบุคคลผู้รับรองลายมือชื่อเป็นกรรมการหรือเจ้าหน้าที่ของหอการค้าไทยหรือหอการค้าจังหวัดนั้น
“สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ จะให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนหรือผู้รับรองลายมือชื่อเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องก็ได้”
4. บัตรประจำตัวที่ผู้มาติดต่อราชการต้องแสดงต่อนายทะเบียน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุหรือเอกสารอื่นที่ใช้แทนเอกสารดังกล่าวได้ตามกฎหมาย
เอกสารอื่นที่ใช้แทนบัตรประจำตัว หมายถึง เอกสารที่รับรองความเป็นตัวตน
ของผู้ถือเอกสารนั้น ๆ ไม่ใช่บัตรอนุญาต หรือเอกสารที่ใช้สำหรับติดต่อหน่วยงานต่างๆ เช่น ใบอนุญาตขับรถ ไม่ถือว่าเป็นเอกสารที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนและบริษัท

1. วัตถุที่ประสงค์ของห้างหุ้นส่วนบริษัทจะต้องไม่มีลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อรัฐประศาสโนบาย
1.2 ใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนแน่นอน
1.3 ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
1.4 ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.5 กิจการจัดหางาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวจากกรมการจัดหางาน
1.6 กิจการนายหน้า ตัวแทน และตัวแทนค้าต่างในธุรกิจต่างๆ เว้นแต่จะได้ระบุว่ายกเว้นกิจการประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
1.7 กิจการเกี่ยวกับการรับจำนองทรัพย์สิน เว้นแต่จะได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า “โดยมิได้รับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนและใช้ประโยชน์จากเงินนั้น”
1.8 กิจการนายหน้าประกันภัย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
1.9 กิจการแชร์
1.10 กิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า (คอมโมดิตี้) เว้นแต่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.11 กิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจตลาดแบบตรงการศึกษา โรงเรียน สถาบันการศึกษา เว้นแต่จะได้ระบุข้อความว่า “เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว”

2. แบบวัตถุประสงค์สำเร็จรูปที่กรมฯ ได้จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ขอจดทะเบียนมี 5 แบบ คือ
(1) แบบ ว.1 การประกอบพาณิชยกรรม *ดูตัวอย่าง*
(2) แบบ ว.2 การประกอบธุรกิจบริการ *ดูตัวอย่าง*
(3) แบบ ว.3 การประกอบอุตสาหกรรมและหัตถกรรม *ดูตัวอย่าง*
(4) แบบ ว.4 การประกอบเกษตรกรรม *ดูตัวอย่าง*
(5) แบบ ว.5 การประกอบธุรกิจสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค *ดูตัวอย่าง*

3. การใช้แบบวัตถุที่ประสงค์สำเร็จรูปแนบคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนสามารถเลือกใช้ได้เฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อความในแบบวัตถุที่ประสงค์สำเร็จรูปไม่ได้

4. ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนมีความประสงค์จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมวัตถุประสงค์จากที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์สำเร็จรูป ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องจัดทำวัตถุที่ประสงค์ขึ้นใหม่โดยใช้แบบ ว. สีขาว จดทะเบียนบริษัท