h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นโยบายจัดเก็บภาษี 2555 กับการใช้ผู้สอบบัญชีและผู้สอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้สอบทานความถูกต้องในงบแทนข้าราชการสรรพากร

วันพฤหัสบดีที่ 20 ต.ค. 54 ที่ผ่านมา นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง  ได้เข้าตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมสรรพากร ณ ห้องประชุมพระอุเทน อาคารกรมสรรพากร โดยมีนายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารระดับสูง ให้การต้อนรับและรายงานภารกิจหลัก รวมทั้งชี้แจงปัญหาอุปสรรคและความท้าทายในการปฏิบัติงานของกรมสรรพากร ที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการคลังและรัฐบาล
   
หลังจากรับฟังรายงานแล้ว นายธีระชัย ได้มอบนโยบายการจัดเก็บภาษีสำหรับปีงบประมาณ 55 (ต.ค.54–ก.ย.55) พอสรุปความได้ดังนี้
   
ประการ แรก แม้จำนวนข้าราชการกรมสรรพากรจะมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น เรื่อย ๆ จึงขอให้พิจารณาใช้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรวมทั้งผู้สอบบัญชีภาษีอากรทำ หน้าที่สอบทานความถูกต้องของงบการเงินและรายการในบัญชีแทนอัตรากำลังของข้า ราชการกรมสรรพากร
    
ประการที่สอง เร่งรัดการบริหารการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นระบบที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน เป็นเครือข่าย โดยใช้ข้อมูลการซื้อขายสินค้าหรือบริการที่มีเอกสารหลักฐานตามกฎหมายที่ผู้ ประกอบการออกให้แก่กันเป็นทอด ๆ คล้ายกับห่วงโซ่นั้น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
   
ประการ ที่สาม เน้นการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับความแตกต่างของหลักเกณฑ์ทางบัญชีกับหลัก เกณฑ์ทางภาษีอากรแก่ผู้เสียภาษีอากร ให้ขยายวงออกไปให้ทั่วถึงมากที่สุด เพราะมีข้อเรียกร้องจากผู้ประกอบการถึงผลกระทบของการใช้มาตรฐานการบัญชีใหม่ ที่มีรายละเอียดแตกต่างไปจากหลักเกณฑ์ทางภาษีอากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก
   
ประการ ที่สี่ ให้กรมสรรพากรเร่งสร้างความเป็นธรรมในการบริหารการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะการกำหนดให้เสียภาษีอากรให้ถูกต้องตั้งแต่ต้นจะได้ไม่มีปัญหาภาย หลังการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
 ประการที่ห้า การจัดเก็บภาษีอากรจากตลาดตราสารหนี้ที่มีความสลับซับซ้อนมาก
   
รม ว.คลัง ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดเก็บภาษี โดยจัดเก็บภาษีได้ถึง 80% ของรายได้รัฐบาล จึงนับได้ว่ากรมสรรพากรเป็นหน่วยงานที่สำคัญของกระทรวงการคลังและรัฐบาล จึงขอให้กรมสรรพากรจัดเก็บภาษีอากรประจำปีงบประมาณ 55 ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบต่อความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ผลกระทบจากอุทกภัย ปัญหาเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปที่ยังไม่ฟื้นตัว อีกทั้งยังต้องเตรียมการเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 เป็นต้น จึงต้องกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรม ทั่วถึง และลดทอนค่าใช้จ่ายทางภาษีอากรที่ไม่จำเป็น โดยให้บริการที่ดี โดยเฉพาะความถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่ก่อนเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ”.

ข่าวจาก : เดลินิวส์ วันอังคาร ที่ 25 ตุลาคม 2554 เวลา 0:00 น ที่มา dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=470&contentID=171772

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น