h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดได้อย่างไร

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะทำการค้าร่วมกัน โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งผลกำไรจากการดำเนินกิจการค้านั้น การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดแบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ทำความตกลงระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญ ๆ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
1. จำนวนเงินลงทุนหรือสิงที่ผู้เป็นหุ้นสวนแตละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วยแรงงานไม่ได้) แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนดระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำมาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
2. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะประกอบกิจการ หรือที่เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้หลาย ๆ กิจการ เพื่อความคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้า จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มหรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์ แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัดและให้อำนาจกว้างขวางมากเกินไป *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
3. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
4.การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
5. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม สถานที่ที่จะใช้เป็น
ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้ชำระบัญชี เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 2 ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด
ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อที่คล้ายหรือซ้ำกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงกำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ต้องขอตรวจและจองชื่อนิติบุคคลก่อนจะจดทะเบียนจัดตั้ง
*ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
เมื่อผ่านการตรวจและตอบรับจากเจ้าหน้าที่ว่าชื่อที่จะจดทะเบียนไม่คล้ายหรือซ้ำกับชื่อขอนิติบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทำตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน *ดูหลักกณฑ์การกำหนดดวงตรา* กรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์) ในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียนให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน
ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ
1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่น ขอจดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
2. ยื่นขอจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th เพื่อให้นายทะเบียนตรวจพิจารณาคำขอจดทะเบียนก่อน และเมื่อผ่านการตรวจและตอบรับว่าคำขอจดทะเบียนถูกต้องแล้วให้ผู้ขอจดทะเบียนสั่งพิมพ์ (print out) เอกสารคำขอจดทะเบียนดังกล่าวให้ผู้เป็นหุ้นส่วนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน หลังจากนั้นก็นำไปยนื่ ขอจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทหรือส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีความรวดเร็วกว่ากรณีการยื่น ขอจดทะเบียนตาม 1. มาก เนื่องจากนายทะเบียนจะตรวจเอกสารคำขอจดทะเบียนที่นำมายื่น นั้นว่ามีข้อความถูกต้องตรงกับที่ยื่น ไว้ทางอินเทอร์เน็ตหรือไม่เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น