h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บริการ รับทำบัญชี ต่างๆ

รับทำบัญชี บริษัท จำกัด
รับทำบัญชี ห้างหุ้นส่วนจำกัด
รับทำบัญชี ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
รับทำบัญชี ห้างหุ้นส่วนสามัญ
รับทำบัญชี คณะบุคคล
รับทำบัญชี ร้านค้า
รับทำบัญชี นิติบุคคลอาคารชุด
รับทำบัญชี สมาคม
รับทำบัญชี นิติบุคคล หมู่บ้าน
รับทำบัญชี มูลนิธิ

วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การวางแผนภาษีอากรมีประโยชน์

หากผู้ประกอบการรายใด ต้องการที่จะประสบผลสำเร็จโดยได้รับผลกำไรสูงสุด แต่อยากเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดแล้ว ผู้ประกอบการนั้นจะต้องศึกษาหาความรู้ด้านภาษีให้ได้เยอะที่สุด และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงภาระทางภาษีอากร ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ เพราะหมายถึงภาระค่าใช้จ่าย ของธุรกิจที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ดังนั้นการวางแผนทางภาษีอากร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการปฏิบัติในทางภาษีอากรให้เป็นไปโดยถูกต้องและ ครบถ้วน ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อธุรกิจดังนี้
1.ช่วยให้การเสียภาษีอากรเป็นไปโดยถูกต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขทางภาษีตาม ที่กฎหมายกำหนดแต่ทั้งนี้จะต้องเป็นจำนวนที่น้อยที่สุดโดยไม่อาศัยการ หลีกเลี่ยงภาษีอากร
2. ช่วยขจัดปัญหาในการเสียภาษีของธุรกิจ
3. ประหยัดหรือลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเสียภาษี ไม่ถูกต้อง ซึ่งหมายถึง เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับทางอาญา
4. ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี แต่ละประเภทให้เต็มที่ และถูกต้อง
5.ช่วยลดขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ที่ไม่จำเป็นและไม่ได้มาตรฐานเพราะการดำเนินงานทางด้านเอกสารหลักฐานทาง ธุรกิจจะสอดคล้องกันระหว่างทางธุรกิจและภาษีอากร
6. ช่วยให้คลายความกังวลต่อการถูกเรียกตรวจสอบ
7.ช่วยเสริมสร้างระบบการควบคุม ภายในให้มีประสิทธิภาพได้เพราะในขั้นตอนของการวางแผนภาษีจะต้องศึกษาแนวทาง ปฏิบัติงานของธุรกิจให้ละเอียดถี่ถ้วนซึ่งจะช่วยให้เห็น ปัญหาที่เกิดขึ้นและแก้ไขไปในคราวเดียวกัน

หมายเหตุ การวางแผนภาษีมิใช่การหลีกเลี่ยงหรือหนีการเสียภาษีแต่เป็นดำเนินงานภายใต้ข้อกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฎหมายทางภาษี

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกแทนให้


1. ออกให้ตลอดไป
สูตรคำนวณ = จำนวนเงินได้ที่จ่าย x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย / (100 - อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย)

ตัวอย่าง จ่ายค่าบริการ จำนวน 20,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ภาษีออกให้ตลอดไปคำนวณ ดังนี้
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ตลอดไป = 20,000x3/(100-3) = 618.56 บาท
เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,000+618.56 = 20,681.56 บาท
เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,618.56x3% = 618.56 บาท
ภาษีที่ออกแทนให้ ผู้รับเงินค่าจ้างต้องถือรวมเป็นเงินได้ ดังนั้นในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ต้องกรอกเงินได้ 20,681.56 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 618.56 บาท
จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 20,618.56 - 618.568 = 20,000 บาท


2. ออกให้ครั้งเดียว สูตรคำนวณ = (จำนวนเงินได้ที่จ่าย + ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว) x อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ต้องนำภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีปกติบวกกับจำนวนเงินได้ที่จ่าย แล้วนำผลรวมมาคูณอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายอีกครั้ง จึงจะเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ออกให้ครั้งเดียว

ตัวอย่าง จ่ายค่าบริการ จำนวน 20,000 บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ภาษีออกให้ครั้งเดียวคำนวณ ดังนี้
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอัตราปกติ = 20,000x3% = 600 บาท
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายออกให้ครั้งเดียว = (20,000+600)x3% = 618 บาท
เงินได้ที่ถือเป็นฐานในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,000+600 = 20,600 บาท
เมื่อคูณอัตราภาษี 3% ก็จะได้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย = 20,600x3% = 618 บาท
ในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องกรอกเงินได้ = 20,600.00 บาท ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 618 บาท
จำนวนเงินที่ผู้ให้บริการจะได้รับจริง = 20,600 - 618 = 19,982 บาท
* กิจการออกภาษีให้ครั้งเดียว 600 บาท ส่วนอีก 18 บาท กิจการต้องหักจากผู้รับจ้าง

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย

1.ต้องเป็นการจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 1,000 บาทก็ตาม คำว่า “1,000 บาท” เป็นเงินได้ที่จ่ายยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องยึดเกณฑ์เงินสด เมื่อ ไหร่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มักจะมีข้อโต้แย้งกันเป็นประจำ การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะยึดเกณฑ์เงินสด หมายความว่า จ่ายเงินวันใดต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในวันนั้น ซึ่ง แบ่งออกเป็น
2.1 การจ่ายเงินสด หากจ่ายเงินสดวันใดต้องหักภาษี ณ วันที่จ่าย
2.2 การจ่ายเป็นเช็คหรือตั๋วเงิน หาก การจ่ายเงินเป็นเช็คหรือตั๋วเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวันที่ที่ปรากฏสั่งจ่ายบนเช็คหรือตั๋วเงิน โดยไม่สนใจว่าผู้รับเงินจะมารับเช็คหรือตั๋วเงินหรือไม่ก็ตาม
3.การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน หน้าที่ของผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหลักฐานให้กับผู้รับเงิน โดยออกให้ทันทีที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)และ (2) ผู้จ่ายเงินต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
4.การนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้แล้วหรือไม่
ที่มา : วารสารธรรมนิติ