1.ต้องเป็นการจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป การจ่ายเงินได้พึงประเมินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องมีจำนวนตามสัญญารายหนึ่งๆ มีจำนวนเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่งๆ ไม่ถึง 1,000 บาทก็ตาม คำว่า “1,000 บาท” เป็นเงินได้ที่จ่ายยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องยึดเกณฑ์เงินสด เมื่อ ไหร่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายที่มักจะมีข้อโต้แย้งกันเป็นประจำ การหักภาษี ณ ที่จ่าย จะยึดเกณฑ์เงินสด หมายความว่า จ่ายเงินวันใดต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายในวันนั้น ซึ่ง แบ่งออกเป็น
2.1 การจ่ายเงินสด หากจ่ายเงินสดวันใดต้องหักภาษี ณ วันที่จ่าย
2.2 การจ่ายเป็นเช็คหรือตั๋วเงิน หาก การจ่ายเงินเป็นเช็คหรือตั๋วเงินจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามวันที่ที่ปรากฏสั่งจ่ายบนเช็คหรือตั๋วเงิน โดยไม่สนใจว่าผู้รับเงินจะมารับเช็คหรือตั๋วเงินหรือไม่ก็ตาม
3.การออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เมื่อมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากผู้รับเงิน หน้าที่ของผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นหลักฐานให้กับผู้รับเงิน โดยออกให้ทันทีที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1)และ (2) ผู้จ่ายเงินต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป
4.การนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักตามแบบที่อธิบดีกำหนด ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่นั้นภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าจะหักภาษีไว้แล้วหรือไม่
ที่มา : วารสารธรรมนิติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น