h1.post-title{ font-size:20px;}

วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่าย

ผู้ ประกอบการที่มีการจดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ในแต่ละเดือนภาษีผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการนำภาษีขายหักออกจากภาษีซื้อ หากภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และหากภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อผู้ประกอบการมีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือ นำไปเครดิตภาษีขายเดือนถัดไปได้

ภาษีขาย หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจาก ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการที่กิจการมีหน้าที่นำส่งกรมสรรพากร ในขณะที่ภาษีซื้อหมายถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนถูกผู้ ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บ ซึ่งเกิดจากการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่กิจการมีสิทธิขอคืนหรือนำไปเครดิตภาษีขายได้

การขอภาษีซื้อคืน หรือนำไปเครดิตภาษีขายนั้นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องระมัด ระวังว่า ภาษีซื้อที่เกิดจากการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นั้นไม่มีสิทธินำมาขอคืนหรือเครดิตภาษีขายได้ทุกประเภท เนื่องจากในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้กำหนดให้ภาษีซื้อบางชนิดผู้ประกอบการไม่ มีสิทธิขอคืนแต่นำไปถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้

ยก ตัวอย่างเช่น หากผู้ประกอบการจ่ายค่าใช้จ่ายไป 100 บาท ถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7 บาท รวมเป็นเงิน 107 บาท หากภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีซื้อ 7 บาทนั้นเข้าหลักเกณฑ์ห้ามขอคืนแต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ ภาษีซื้อ 7 บาทต้องนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่มีสิทธินำไปขอคืนภาษี มูลค่าเพิ่ม ปัญหาอยู่ประเด็นที่ว่า มีภาษีซื้ออะไรบ้างที่ประมวลรัษฎากรห้ามขอคืน แต่ยอมให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ยกตัวอย่างเช่น

(1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต มิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว

(2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ

(3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่า เพิ่ม

(4) ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด

(5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งรายการมิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

(6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งรายการมิได้จัดทำขึ้นตามวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

(7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวน หลายฉบับ และใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า "เอกสารออกเป็นชุด" ปรากฏอยู่ด้วย

(8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

(9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนนำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าว ใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด

(10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดี กรมสรรพากรกำหนด

(11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่มิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง มิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง

(12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูปซึ่งรายการมิได้ตีพิมพ์ขึ้นหรือมิได้จัดทำ ขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้ง ฉบับ มิให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็น บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัด ตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด

ปัญหา ของภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องระมัดระวัง นอกจากบางชนิดขอคืนได้ แต่ยังมีภาษีซื้อบางชนิดที่กฎหมายห้ามขอคืน แต่ยอมให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ และยังมีอีกชนิดหนึ่งที่กฎหมายห้ามขอคืนและห้ามนำไปเป็นค่าใช้จ่าย หากแยกแยะชนิดของภาษีซื้อผิดพลาดจะมีผลทำให้ผู้ประกอบการอาจถูกเบี้ยปรับและ เงินเพิ่มได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น