เลขที่หนังสือ
|
: กค 0811/พ.13044
|
วันที่
|
: 4 กันยายน 2541
|
เรื่อง
|
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
|
ข้อกฎหมาย
|
: มาตรา 65, มาตรา 77/1(10), มาตรา 78/1(1), มาตรา 79, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ฯ
|
ข้อหารือ
|
: บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจัดจำหน่ายรถยนต์ ยี่ห้อ A. อะไหล่ และให้บริการซ่อม ผ่าน
โชว์รูมและศูนย์บริการซึ่งบริษัทฯ เป็นเจ้าของเอง และศูนย์บริการซึ่งดำเนินการโดยนิติบุคคลอื่น และ ผู้จำหน่าย (dealers)ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจถดถอย บริษัทฯ จึงได้จัดทำโครงการบัตรแลกรับบริการ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของลูกค้าในส่วนของค่าใช้จ่ายตรวจ เช็คสภาพรถตามระยะ (value plus package) โดยลูกค้าในโครงการฯ จะจ่ายเพียงประมาณ ร้อยละ 70 ของราคาปกติเท่านั้น ลูกค้าสามารถซื้อบัตรแลกรับบริการได้จากโชว์รูมและศูนย์บริการ A. ทั่วประเทศ โดยเลือกซื้อตามช่วงระยะทางที่ลูกค้าเห็นว่าเหมาะสมกับสภาพการใช้รถของตน และ ชำระเงินตามราคาที่ปรากฏในตารางพร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กับพนักงานของโชว์รูมหรือศูนย์บริการนั้น ๆ เงินที่โชว์รูมหรือศูนย์บริการนั้นรับมาก็จะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคารของบริษัทฯ บริษัทฯ ก็จะออกบัตรแลกรับ บริการพร้อมใบเสร็จรับเงินส่งไปยังโชว์รูมหรือศูนย์บริการเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าต่อไปบัตรแลกรับบริการ หนึ่งชุดจะประกอบด้วยคูปองย่อยหกฉบับแต่ละฉบับใช้แลกบริการ ตรวจเช็คเมื่อครบระยะทาง คูปองย่อย แต่ละฉบับจะปรากฏข้อความ เลขที่ ระยะตรวจเช็ค ชื่อลูกค้า รุ่น แบบ สี หมายเลขตัวถัง และ หมายเลขทะเบียนของรถ วันที่ออกบัตรแลกรับบริการ วันที่บัตรหมดอายุ (ประมาณ 4 ปี) เมื่อลูกค้านำ รถมารับบริการและแสดงบัตรรับแลกบริการ หากเป็นรถที่อยู่ในระยะประกันผลิตภัณฑ์ (warranty period) ลูกค้าไม่ต้องจ่ายค่าแรง คงจ่ายเฉพาะค่าอะไหล่เท่านั้น หากซ่อมนอกเหนือจากนี้ลูกค้าต้อง จ่ายเงินเพิ่มโดยได้รับส่วนลดร้อยละ 10 สำหรับค่าบริการและอะไหล่ โดยศูนย์จะออกใบสั่งซ่อมอีกใบ หนึ่งต่างหาก ในกรณีที่ลูกค้าซื้อบัตรแลกรับบริการจากศูนย์บริการมอบอำนาจหรือจากผู้จำหน่าย ( dealers) บริษัทฯ จะให้ค่านายหน้าร้อยละ 10 จ่ายให้เดือนละครั้ง โดยคำนวณจากใบสั่งซื้อที่ส่งมา สำหรับคูปองที่ลูกค้านำไปใช้ บริษัทฯจะจ่ายคืนให้แก่ศูนย์บริการมอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย (dealers) ตามมูลค่าของบริการและอะไหล่เต็มเดือนละครั้ง ส่วนในกรณีส่วนลดร้อยละ 10 ที่ให้แก่ ลูกค้าสำหรับค่าบริการและอะไหล่ที่เกิดจากรายการซ่อมเพิ่มเติม บริษัทฯ จะจ่ายชดเชยให้ครึ่งหนึ่งของ ส่วนลดที่เกิดขึ้น โดยศูนย์บริการเหล่านั้นจะส่งใบแจ้งหนี้พร้อมใบสั่งซ่อม ใบกำกับภาษี และ ใบเสร็จรับเงิน สำหรับรายการซ่อมดังกล่าวมาเพื่อเรียกเก็บเงินเดือนละครั้ง บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายบัตรแลกรับบริการ เป็นเงินรับล่วงหน้าทั้งจำนวน (รวม ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เมื่อใดที่ลูกค้านำคูปองในชุดบัตรแลกรับบริการมาใช้ บริษัทฯ จะดำเนินการตามวิธีรับรู้ รายได้ โดยบริษัทฯ จะออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี ณ เวลาที่ลูกค้ามารับรถและชำระค่าบริการ และอะไหล่ในราคาปกติของการตรวจเช็คระยะด้วยคูปอง หลังจากนั้น แผนกบัญชีของบริษัทฯ จะโอนเงิน รับล่วงหน้าจากการขายบัตรแลกรับบริการมาเพื่อตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีตามมูลค่าของคูปอง ส่วนลูกหนี้ที่ เหลือจะปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่าย ในส่วนของศูนย์บริการมอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย (dealers) หลังจากดำเนินกรรมวิธีในการรับรู้รายได้และออกใบกำกับภาษีเช่นเดียวกันแล้วศูนย์บริการ มอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย (dealers) จะส่งใบแจ้งหนี้มายังบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ ชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ แผนกบัญชีก็จะบันทึกรายการปรับปรุงเงินรับล่วงหน้าและปรับปรุงค่าใช้จ่าย เช่นเดียวกัน 2. เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าในการจำหน่ายชุดบัตรแลกรับบริการและเงินชดเชยส่วนลด จากการซ่อมเพิ่มเติม ให้แก่ศูนย์บริการมอบอำนาจหรือผู้จำหน่าย (dealers) ศูนย์บริการมอบอำนาจ หรือผู้จำหน่าย (dealers) นั้น ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ หรือไม่ และในส่วนของบริษัทฯ เมื่อจ่ายค่านายหน้าและเงินชดเชยดังกล่าว จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ในอัตราเท่าใด |
บริษัท เอสซีพีการบัญชีกรุ๊ป จำกัด รับทำบัญชี,ตรวจสอบบัญชี,จดทะเบียนบริษัท,จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน,และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ โทรติดต่อ 083-4923837 คุณสมนึก
วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555
ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2555
กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกประกาศ เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นงบการเงิน พ.ศ. 2555 โดยยกเลิกประกาศฯ ฉบับเดิมซึ่งลงวันที่ 19 เมษายน 2555 ปรับปรุงวิธีการแบบฟอร์ม เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และลดภาระของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และรักษาข้อมูลที่รัฐจำเป็นต้องมีเพื่อการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจของประเทศ หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงินในปีนี้สรุปได้ดังนี้
1. นิติบุคคลไทย เอกสารการยื่นงบการเงินประกอบด้ วย
- งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน 1 ชุด
- แบบนำส่งงบการเงิน (แบบใหม่) จำนวน 2 ชุด
- ในหน้างบดุลของบริษัท
ให้ระบุด้วยว่างบการเงินนั้นได้ รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นครั้งที่เท่าใด
เมื่อวันที่ เดือน และปี พ.ศ. ใด
1. นิติบุคคลไทย เอกสารการยื่นงบการเงินประกอบด้
- งบการเงินและรายงานการสอบบัญชี จำนวน 1 ชุด
- แบบนำส่งงบการเงิน (แบบใหม่) จำนวน 2 ชุด
- ในหน้างบดุลของบริษัท
ให้ระบุด้วยว่างบการเงินนั้นได้
วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555
ภาษีบำรุงท้องที่
1. ความรู้ทั่วไป 1.1 ที่ดินที่ต้องเสียภาษี
ที่ดินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ พื้นที่ดินรวมไปถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย
1.2 ที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษี
(1) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(2) ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์
(3) ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
(4) ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
(5) ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบ ศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
(6) ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
(7) ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ
(8) ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
(9) ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
(10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือ องค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
(11) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานทูต หรือสถานกงสุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
(12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนเช่น ผู้เช่าที่ดินของรัฐ
1.4 ฐานภาษีและอัตราภาษี
ฐานภาษีคือ ราคาปานกลางที่ดินที่คณะกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งได้กำหนดขึ้น ปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้ายพระราชบัญญัติ ที่ดินที่ใช้ประกอบกสิกรรมเฉพาะประเภทไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตราแต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเองให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดินให้เสียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า
ที่ดินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ พื้นที่ดินรวมไปถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาหรือที่มีน้ำด้วย
1.2 ที่ดินที่ไม่ต้องเสียภาษี
(1) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งพระราชวังอันเป็นส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
(2) ที่ดินที่เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐ หรือสาธารณะ โดยมิได้หาผลประโยชน์
(3) ที่ดินของราชการส่วนท้องถิ่นที่ใช้ในกิจการของราชการส่วนท้องถิ่นหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์
(4) ที่ดินที่ใช้เฉพาะการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ
(5) ที่ดินที่ใช้เฉพาะศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่ง ที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของวัดไม่ว่าจะใช้ประกอบ ศาสนกิจศาสนาใดศาสนาหนึ่งหรือไม่ หรือที่ศาลเจ้าโดยมิได้หาผลประโยชน์
(6) ที่ดินที่ใช้เป็นสุสานและฌาปนสถานสาธารณะ โดยมิได้รับประโยชน์ตอบแทน
(7) ที่ดินที่ใช้ในการรถไฟ การประปา การไฟฟ้า หรือการท่าเรือของรัฐ หรือที่ใช้เป็นสนามบินของรัฐ
(8) ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนที่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินอยู่แล้ว
(9) ที่ดินของเอกชนเฉพาะส่วนที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้ทางราชการจัดใช้เพื่อสาธารณประโยชน์โดยเจ้าของที่ดินมิได้ใช้หรือหาผลประโยชน์ในที่ดินเฉพาะส่วนนั้น
(10) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ หรือ องค์การระหว่างประเทศอื่น ในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้นตามอนุสัญญาหรือความตกลง
(11) ที่ดินที่เป็นที่ตั้งที่ทำการของสถานทูต หรือสถานกงสุล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน
(12) ที่ดินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของที่ดิน ซึ่งเป็นบุคคลหรือคณะบุคคลไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน หรือครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนเช่น ผู้เช่าที่ดินของรัฐ
1.4 ฐานภาษีและอัตราภาษี
ฐานภาษีคือ ราคาปานกลางที่ดินที่คณะกรรมการซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งได้กำหนดขึ้น ปกติให้เสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ท้ายพระราชบัญญัติ ที่ดินที่ใช้ประกอบกสิกรรมเฉพาะประเภทไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตราแต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเองให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ 5 บาท และที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพของที่ดินให้เสียเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า
วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1. ความรู้ทั่วไป
1.1 ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี
ประเภททรัพย์สินที่ ต้องเสียภาษีได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ กับที่ดินต่อเนื่องซึ่งใช้ปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือ จากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำ ไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
(1) โรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
(2) ที่ดินซึ่งใช้ ต่อเนื่องกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าเป็นที่ดินซึ่งใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ และที่ดินอันเป็นบริเวณต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติ ใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
1.2 ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษี
(1) พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
(2) ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
(3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการรักษา พยาบาลและในการศึกษา
(4) ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
(5) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่นอกจากคนเฝ้าใน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน
(6) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เองโดย มิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2535 ยกเว้นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นที่ต่อเนื่อง
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
ภาษีป้าย
1. ความรู้ทั่วไป
1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ป้าย ที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
1.2 ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
(1) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
(2) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า
(3) ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
(4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
(5) ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายใน อาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
(6) ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(7) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
(8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(9) ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนนั้น
(10) ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
(11) ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
(12) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
(13) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
(ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
(ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ป้าย ที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
1.2 ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
(1) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
(2) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า
(3) ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
(4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
(5) ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายใน อาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
(6) ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(7) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
(8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(9) ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนนั้น
(10) ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
(11) ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
(12) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
(13) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
(ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
(ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555
การจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป
มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ซึ่งใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปจะต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (มาตรา 86/4)
(1) คำว่า "ใบกำกับภาษี"
(2) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ
(3) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ
(4) ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ
(5) หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษีและหมายเลขลำดับของเล่ม (ถ้ามี)
(6) วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
(7) ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณและมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
(8) จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ
โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง
กรณีที่มีการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ
และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษี / ใบส่งของ อยู่ในฉบับเดียวกัน
โดยส่งมอบสำเนาใบกำกับภาษี / ใบส่งของให้กับผู้ซื้อพร้อมกับการส่งมอบสินค้า
ส่วนต้นฉบับของใบกำกับภาษี / ใบส่งของ
จะส่งมอบให้กับผู้ซื้อต่อเมื่อได้รับชำระราคาค่าสินค้า
กรณีนี้ถือว่ามิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องส่งมอบต้นฉบับของใบกำกับภาษี
(เอกสารฉบับแรก) ให้กับผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้า
สำเนาใบกำกับภาษี/ใบส่งของที่ผู้ซื้อได้รับ ผู้ซื้อจะนำไปใช้เป็นหลักฐานในการขอหักภาษีซื้อไม่ได้
ในทางปฏิบัติ
หากผู้ประกอบการต้องการเก็บต้นฉบับใบส่งของไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องคดี
กรณีผู้ซื้อไม่ชำระราคาค่าสินค้า
ผู้ประกอบการควรออกใบกำกับภาษีแยกต่างหากจากใบส่งของและส่งมอบต้นฉบับใบ
กำกับภาษี พร้อมทั้งสำเนาใบส่งของให้กับผู้ซื้อเมื่อมีการส่งมอบสินค้า
โดยเก็บต้นฉบับใบส่งของไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้
หรือเพื่อความสะดวก
ผู้ประกอบการอาจออกใบกำกับภาษีและใบส่งของอยู่ในเอกสารชุดเดียวกัน
โดยถือปฏิบัติตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบกำกับภาษีแบบเป็นชุด ก็ได้
2. ใบกำกับภาษีที่มีลักษณะเป็นแบบเอกสารออกเป็นชุด
ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีความประสงค์จะออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปรวม
กับเอกสารการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้
ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับในชุดเดียวกัน และใบกำกับภาษีไม่ใช่เอกสารฉบับแรก
ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
(1) ในเอกสารฉบับแรกของเอกสารชุดดังกล่าว
หรือในเอกสารฉบับอื่นที่มิใช่ฉบับแรก
แต่เป็นต้นฉบับของเอกสารฉบับอื่นใดก็ตาม ซึ่งมิใช่ฉบับที่เป็นใบกำกับภาษี
จะต้องมีข้อความว่า "ไม่ใช่ใบกำกับภาษี" ไว้ในเอกสารฉบับนั้นด้วย
(2) ในเอกสารทุกฉบับของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า "เอกสารออกเป็นชุด" ไว้ด้วย
(3) ในเอกสารฉบับที่ถือว่าเป็นสำเนาของเอกสารฉบับอื่นจะต้องมีข้อความว่า "สำเนา" ไว้ทุกฉบับ
ข้อความตาม (1) ถึง (3) ดังกล่าวข้างต้น
จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง
เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด
หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้
3. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการหลายแห่ง
และสถานประกอบการที่มิใช่สำนักงานใหญ่ได้นำใบกำกับภาษีของสถานประกอบการที่
เป็นสำนักงานใหญ่ไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มี
การขายสินค้าหรือการให้บริการ จะต้องมีข้อความว่า
"สาขาที่ออกใบกำกับคือ….." ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าว
โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ประทับด้วยตรายางเขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วย
วิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
4. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งประกอบกิจการสถานบริการน้ำมัน
ได้ขายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือได้ขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับรถ
ยนต์ ที่ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จะต้องระบุ
"เลขทะเบียนรถยนต์" ไว้ในใบกำกับภาษี โดยข้อความดังกล่าวจะตีพิมพ์
จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด
หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วย วิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้
5. กรณีของการฝากขายสินค้าตามสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้า
ซึ่งตัวการและตัวแทนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มใน
อัตราร้อยละ 10 หรือร้อยละ 0 และทำสัญญาตั้งตัวแทนเพื่อขายสินค้า
โดยตัวการได้ส่งมอบสัญญาให้แก่เจ้าพนักงานสรรพากรภายใน 15
วันนับแต่วันทำสัญญาตั้งตัวแทน เมื่อตัวแทนได้ขายสินค้าให้กับผู้ซื้อ
ตัวแทนต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในนามของตัวการ โดยตัวแทนต้องระบุชื่อ
ที่อยู่และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของตัวแทนด้วย
6. กรณีได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร
ให้ออกใบกำกับภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ
จะต้องระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไว้ในใบกำกับภาษี
โดยอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว จะต้องตีพิมพ์ จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ประทับด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด
หรือวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้ (อัตราแลกเปลี่ยน
ให้ใช้อัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย
ประกาศไว้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนของวันถัดไป ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร)
ที่มา สรรพากร
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
ตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงาน
ตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงาน ฉบับปรับปรุง
http://www.fap.or.th/subfapnews.php?id=544
มา
ด้วย สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับหนังสือหารือจำนวนมากเกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับประมาณการ หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสีย สาธารณะ (Non-Publicly AccountableEntities)เช่น จะต้องพิจารณาตั้งประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานสำหรับต้นทุนบริการ ที่ยังไม่รับรู้ก่อนการประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่เกิดขึ้นก่อนปี 2554 และต้องปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังหรือไม่ หากต้องปรับงบการเงินย้อนหลังสำหรับค่าใช้จ่ายพนักงานในอดีต (ต้นทุนบริการที่ยังไม่รับรู้ก่อนการประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ)
การปฏิบัติในช่วงการเปลี่ยน แปลง จะมีทางเลือกเพิ่มเติมนอกจากวิธีปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังหรือไม่ จะถือมูลค่าประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานที่วัดโดยใช้ วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (ProjectedUnitCreditMethod)เป็นจำนวนประมาณการผลประโยชน์ของพนักงานหลังออก จากงานที่ดีที่สุดตามย่อหน้าที่ 311โดยไม่เปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้หรือไม่ประมาณการผลประโยชน์ของพนักงานหลังออก จากงานอย่างไรจึงจะถือได้ว่าเป็นจำนวนประมาณการที่ดีที่สุด
http://www.fap.or.th/subfapnews.php?id=544
มา
ด้วย สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับหนังสือหารือจำนวนมากเกี่ยวกับวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับประมาณการ หนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสีย สาธารณะ (Non-Publicly AccountableEntities)เช่น จะต้องพิจารณาตั้งประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานสำหรับต้นทุนบริการ ที่ยังไม่รับรู้ก่อนการประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะที่เกิดขึ้นก่อนปี 2554 และต้องปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังหรือไม่ หากต้องปรับงบการเงินย้อนหลังสำหรับค่าใช้จ่ายพนักงานในอดีต (ต้นทุนบริการที่ยังไม่รับรู้ก่อนการประกาศใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน สำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ)
การปฏิบัติในช่วงการเปลี่ยน แปลง จะมีทางเลือกเพิ่มเติมนอกจากวิธีปรับปรุงงบการเงินย้อนหลังหรือไม่ จะถือมูลค่าประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานที่วัดโดยใช้ วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ (ProjectedUnitCreditMethod)เป็นจำนวนประมาณการผลประโยชน์ของพนักงานหลังออก จากงานที่ดีที่สุดตามย่อหน้าที่ 311โดยไม่เปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19เรื่อง ผลประโยชน์ของพนักงาน ในหมายเหตุประกอบงบการเงินได้หรือไม่ประมาณการผลประโยชน์ของพนักงานหลังออก จากงานอย่างไรจึงจะถือได้ว่าเป็นจำนวนประมาณการที่ดีที่สุด
วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555
การรับชำระภาษีด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
ด่วน การรับชำระภาษีด้วยบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
http://www.rd.go.th/fileadmin/download/news/New_Tax_Smart_Card.pdf
ผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร
ทั้ง 51 แห่ง สามารถเลือกชำระภาษีทุกประเภทผ่านช่องทางการชำระเงิน ดังนี้
1. Tax Smart Card - บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB)
- บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
- บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
ค่าธรรมเนียมครั้งละ 15 บาท ต่อการทำรายการ 1 ครั้ง
2. บัตรเครดิต - บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC)
ค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ของยอดภาษีที่ชำระ
- บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ไม่เสียค่าธรรมเนียม
- บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) (จะเปิดให้บริการ
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ) ไม่เสียค่าธรรมเนียม
สำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี
http://www.rd.go.th/fileadmin/download/news/New_Tax_Smart_Card.pdf
ผู้เสียภาษีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตกรุงเทพมหานคร
ทั้ง 51 แห่ง สามารถเลือกชำระภาษีทุกประเภทผ่านช่องทางการชำระเงิน ดังนี้
1. Tax Smart Card - บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB)
- บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK)
- บมจ.ธนาคารกรุงเทพ (BBL)
ค่าธรรมเนียมครั้งละ 15 บาท ต่อการทำรายการ 1 ครั้ง
2. บัตรเครดิต - บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC)
ค่าธรรมเนียมร้อยละ 1 ของยอดภาษีที่ชำระ
- บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ไม่เสียค่าธรรมเนียม
- บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) (จะเปิดให้บริการ
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ) ไม่เสียค่าธรรมเนียม
สำนักมาตรฐานการจัดเก็บภาษี
วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 213 เรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๑๓)
เรื่อง กำหนดวิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อม ที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
---------------------------------
http://www.rd.go.th/publish/33067.0.html
อาศัย อำนาจตามความในวรรคสอง ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดวิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามวิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(๑) ต้องเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด มูลค่าไม่เกินห้าล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและทำสัญญาจ้างปลูกสร้างอาคารแยกจากกัน
อสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(๒) การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จริง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(๓) ต้องเป็นการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่จ่ายไปในระหว่างวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายใน ช่วงเวลาดังกล่าว
(๔) ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกภายในห้าปีภาษี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว และต้องใช้สิทธิเป็นเวลาห้าปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปี
(๕) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ให้ได้รับยกเว้นภาษีทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนของกรรมสิทธิ์ ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริม ทรัพย์จริง และไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(๖) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา ให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อม ที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้เพียงแห่งเดียว
(๗) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนี้
(ก) กรณีภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้รวมกันเท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริม ทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของจำนวนเงิน ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกของสามีและภริยา จะต้องกระทำในปีภาษีเดียวกัน
(ค) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้ว ให้สามีและภริยาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่า อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพียงแห่งเดียว
(๘) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งต้องยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้ว ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างยังคงได้รับยกเว้นภาษีเงิน ได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีผู้มีเงินได้สมรสกัน ต่อมามีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของจำนวนเงิน ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(๙) ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย มาก่อน หรือไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นหลักฐาน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเองหรือคู่สมรสตาม ทะเบียนบ้าน
(๑๐) กรณีการกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน โดยผู้กู้ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเอง หรือเคยใช้สิทธิหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมาแล้ว ผู้กู้ร่วมจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในส่วนของเงินได้ที่ใช้กู้ร่วม
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ ๒๑๓)
เรื่อง กำหนดวิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อม ที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย
---------------------------------
http://www.rd.go.th/publish/33067.0.html
อาศัย อำนาจตามความในวรรคสอง ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๒๘) พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดวิธีการและเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ การซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ต้องเป็นไปตามวิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(๑) ต้องเป็นการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด มูลค่าไม่เกินห้าล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและทำสัญญาจ้างปลูกสร้างอาคารแยกจากกัน
อสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งต้องไม่เคยผ่านการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์มาก่อน ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
(๒) การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จริง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(๓) ต้องเป็นการจ่ายค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ที่จ่ายไปในระหว่างวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายใน ช่วงเวลาดังกล่าว
(๔) ผู้มีเงินได้ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกภายในห้าปีภาษี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว และต้องใช้สิทธิเป็นเวลาห้าปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปี
(๕) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ให้ได้รับยกเว้นภาษีทุกคนโดยเฉลี่ยการได้รับยกเว้นภาษีตามส่วนของกรรมสิทธิ์ ของแต่ละคน แต่รวมกันทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริม ทรัพย์จริง และไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(๖) กรณีผู้มีเงินได้มีสามีหรือภริยา ให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อม ที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้เพียงแห่งเดียว
(๗) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ ดังนี้
(ก) กรณีภริยาไม่ใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้รวมกันเท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริม ทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีภริยาใช้สิทธิแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีตามมาตรา ๕๗ เบญจ แห่งประมวลรัษฎากร ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของจำนวนเงิน ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกของสามีและภริยา จะต้องกระทำในปีภาษีเดียวกัน
(ค) กรณีสามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้ว ให้สามีและภริยาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่า อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพียงแห่งเดียว
(๘) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ และความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ได้รับยกเว้นภาษี ซึ่งต้องยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังนี้
(ก) กรณีผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้อยู่ก่อนแล้ว ให้สามีและภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ต่างฝ่ายต่างยังคงได้รับยกเว้นภาษีเงิน ได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(ข) กรณีผู้มีเงินได้สมรสกัน ต่อมามีสิทธิได้รับยกเว้นภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้กึ่งหนึ่งของจำนวนเงิน ที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่รวมกันทั้งหมดแล้วไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคาร พร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด
(๙) ผู้มีเงินได้ต้องไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย มาก่อน หรือไม่มีชื่อเป็นหรือเคยเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านที่ใช้เป็นหลักฐาน เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเองหรือคู่สมรสตาม ทะเบียนบ้าน
(๑๐) กรณีการกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน โดยผู้กู้ร่วมมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยของตนเอง หรือเคยใช้สิทธิหักลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีมาแล้ว ผู้กู้ร่วมจะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในส่วนของเงินได้ที่ใช้กู้ร่วม
วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555
คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล - สภาวิชาชีพบัญชี
คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล - สภาวิชาชีพบัญชี
รอบรั้วสภาวิชาชีพบัญชี
คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
http://www.fap.or.th/subfapnews.php?id=541
ตาม ที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเรื่อง มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 โดยเห็นชอบให้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรา ร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
เพื่อ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยก เว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไร สุทธิเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชี จากอัตราร้อยละ 30 เหลือ อัตราร้อยละ 23 สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 และร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับสองรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นที่เชื่อได้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อัตราภาษีไม่สูงไป กว่าร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ร้อยละ 30) เป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน และคณะรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลง ทุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ
การประกาศลด อัตราภาษีดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการวัดมูลค่าสินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เนื่องจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ย่อหน้าที่ 47 กำหนดให้กิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ด้วยอัตราภาษีสำหรับงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์และ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือในงวดที่กิจการคาดว่าจะจ่ายชำระ หนี้สิน โดยใช้อัตราภาษีที่มีผลบังคับใช้อยู่ หรือที่คาดได้ค่อนข้างแน่ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
สภา วิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พิจารณาในเรื่องนี้แล้ว มีความเห็นว่า อัตราภาษีที่คาดได้ค่อนข้างแน่ที่ควรนำมาใช้ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ควรเป็นอัตราร้อยละตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ กล่าวคืออัตราร้อยละ 23 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 และร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2556 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น
รอบรั้วสภาวิชาชีพบัญชี
คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
http://www.fap.or.th/subfapnews.php?id=541
ตาม ที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเรื่อง มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 โดยเห็นชอบให้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรา ร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป
เพื่อ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยก เว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไร สุทธิเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชี จากอัตราร้อยละ 30 เหลือ อัตราร้อยละ 23 สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 และร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับสองรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นที่เชื่อได้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อัตราภาษีไม่สูงไป กว่าร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ร้อยละ 30) เป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน และคณะรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลง ทุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ
การประกาศลด อัตราภาษีดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการวัดมูลค่าสินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เนื่องจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ย่อหน้าที่ 47 กำหนดให้กิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ด้วยอัตราภาษีสำหรับงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์และ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือในงวดที่กิจการคาดว่าจะจ่ายชำระ หนี้สิน โดยใช้อัตราภาษีที่มีผลบังคับใช้อยู่ หรือที่คาดได้ค่อนข้างแน่ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
สภา วิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พิจารณาในเรื่องนี้แล้ว มีความเห็นว่า อัตราภาษีที่คาดได้ค่อนข้างแน่ที่ควรนำมาใช้ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ควรเป็นอัตราร้อยละตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ กล่าวคืออัตราร้อยละ 23 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 และร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2556 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น
วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555
ฤดูนับสต็อกปลายปี เกมนี้มีระเบิด (ภาษี) ซุกอยู่!
และแล้วฤดูกาลของการตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายปี (ending inventory)
ก็เวียนมาอีกครั้ง ทำให้พนักงานบริษัทต่างๆ ต้องเหน็ดเหนื่อย (อีกแล้ว)
ต้องฝืนกลั้นใจจากฝุ่น หรือกลิ่นสินค้า (จำพวกสารเคมี ฯ) เพื่อนับยอด
เคลียร์ยอด
สินค้าปลายปีกันเป็นประเพณีปีละครั้งเพื่อนำผลการตรวจนับไปบันทึกบัญชี
และแจ้งในงบดุลส่งกระทรวงพาณิชย์ และกรมสรรพากร ตามลำดับ
แน่นอนว่าปริมาณสินค้าที่สูญหาย ขาดเกินจากสมุดสต็อกย่อมมีผลกระทบต่องบการเงิน ต่อการบันทึกบัญชีและภาษีอากร โดยเฉพาะในแง่ VAT นั้นจะมีโทษปรับสูงเสียด้วย แล้วเราจะมีวิธีแก้ไขปมปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร หรือไม่? ลองติดตามดูกันไปดีกว่า….
1. ธุรกิจใด ต้องตรวจนับสต็อกบ้าง?
เนื่องจากมาตรฐานการบัญชี (ฉบับที่ 31) ของ ‘สมาคมนักบัญชีและ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย’ ได้ให้นิยาม ‘สินค้าคงเหลือ’ ว่าหมายถึง สินค้าสำเร็จรูป (finished goods) สินค้าระหว่างผลิต (work in process) และวัตถุดิบ (raw material) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ธุรกิจใดก็ตามที่มีสินค้าหรือวัตถุดิบในครอบครองล้วนต้องทำการ ตรวจนับสินค้าปลายปีทั้งสิ้น อาทิเช่น การผลิตสินค้า รับเหมาก่อสร้าง ซื้อมาขายไป การนำเข้าและส่งออก เป็นต้น
กิจการผลิตสินค้าดูจะยุ่งยากกว่า กิจการอื่นๆ เพราะต้องทำการตรวจนับทั้งวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะพบว่ายอดตามผลการตรวจนับจริง มักจะแตกต่างจากยอดตามสมุดบัญชีคุมสินค้าอยู่เนืองๆ สาเหตุเกิดได้ในทุกช่วงของการผลิต ตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบมา ซึ่งอาจมีปริมาณไม่ครบถ้วนตามใบกำกับสินค้า เนื่องจากมีการระเหิด ระเหย ชำรุด สูญหาย หรือผิดพลาดจากการชั่งตวงวัดก็เป็นได้ทั้งนั้น
ช่วงระหว่างการผลิต ก็จะเกิดปัญหาจากส่วนสูญเสียหรือเศษซากการผลิต รวมทั้งการหย่อนประสิทธิภาพในขณะผลิต หรือสินค้าเสียหายมาก เกินมาตรฐาน เป็นต้น
กิจการให้บริการ ซึ่งมองดูผิวเผินก็มักจะคิดว่าไม่ต้องทำการตรวจนับสินค้าอะไร (เพราะไม่มีตัวสินค้าให้ตรวจนับ) แต่อย่าลืมว่ากิจการเหล่านี้อาจต้องใช้วัสดุ อะไหล่ต่างๆ ในการให้บริการ เช่น อู่ซ่อมรถต้องมีสต็อกอะไหล่หลายๆ ชนิด หรือกิจการรับเหมาก่อสร้างก็ต้องใช้อิฐ หิน ดิน ทราย และเหล็ก ในการรับจ้างก่อสร้าง เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจเหล่านี้ก็จำเป็นต้องทำการตรวจนับอะไหล่ หรือวัตถุดิบต่างๆ ที่คงเหลือตอนปลายปีด้วย เพื่อการบันทึกบัญชี และคำนวณต้นทุนของงานบริการ เป็นต้น
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กับ ‘สินค้าคงเหลือ’
มาตรา 65 ทวิ (6) บัญญัติว่า “ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุน หรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่าและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคง เหลือยกมา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย”
จากบทบัญญัติข้างต้น แสดงว่ากฎหมายภาษีอากรยอมรับวิธีปฏิบัติที่ตรงกันกับกฎหมายบัญชีด้วย นั่นคือ เมื่อมีการตรวจนับสินค้าปลายงวดแล้ว จะต้องให้ผู้ตีราคาอิสระมาทำการแยกแยะและตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดออกมา แล้วถือเอาราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า (lower of cost or market value (LCM)) เป็นราคาสินค้าคงเหลือปลายปี และยกไปต้นปีถัดไป
ณ จุดนี้ จะมีปัญหาที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นแรก เมื่อปริมาณที่ตรวจนับได้ มีความแตกต่างจากยอด ตามบัญชีคุมสินค้า บริษัทต้องปรับปรุงบัญชีอย่างไร ?
หลักการมีอยู่ว่า ให้บริษัทถือยอดตามผลการตรวจนับได้เป็นยอดที่ถูกต้อง แล้วทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีเสียใหม่ ดังนี้ครับ….
แน่นอนว่าปริมาณสินค้าที่สูญหาย ขาดเกินจากสมุดสต็อกย่อมมีผลกระทบต่องบการเงิน ต่อการบันทึกบัญชีและภาษีอากร โดยเฉพาะในแง่ VAT นั้นจะมีโทษปรับสูงเสียด้วย แล้วเราจะมีวิธีแก้ไขปมปัญหาดังกล่าวได้อย่างไร หรือไม่? ลองติดตามดูกันไปดีกว่า….
1. ธุรกิจใด ต้องตรวจนับสต็อกบ้าง?
เนื่องจากมาตรฐานการบัญชี (ฉบับที่ 31) ของ ‘สมาคมนักบัญชีและ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย’ ได้ให้นิยาม ‘สินค้าคงเหลือ’ ว่าหมายถึง สินค้าสำเร็จรูป (finished goods) สินค้าระหว่างผลิต (work in process) และวัตถุดิบ (raw material) ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ธุรกิจใดก็ตามที่มีสินค้าหรือวัตถุดิบในครอบครองล้วนต้องทำการ ตรวจนับสินค้าปลายปีทั้งสิ้น อาทิเช่น การผลิตสินค้า รับเหมาก่อสร้าง ซื้อมาขายไป การนำเข้าและส่งออก เป็นต้น
กิจการผลิตสินค้าดูจะยุ่งยากกว่า กิจการอื่นๆ เพราะต้องทำการตรวจนับทั้งวัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งในทางปฏิบัติมักจะพบว่ายอดตามผลการตรวจนับจริง มักจะแตกต่างจากยอดตามสมุดบัญชีคุมสินค้าอยู่เนืองๆ สาเหตุเกิดได้ในทุกช่วงของการผลิต ตั้งแต่การซื้อวัตถุดิบมา ซึ่งอาจมีปริมาณไม่ครบถ้วนตามใบกำกับสินค้า เนื่องจากมีการระเหิด ระเหย ชำรุด สูญหาย หรือผิดพลาดจากการชั่งตวงวัดก็เป็นได้ทั้งนั้น
ช่วงระหว่างการผลิต ก็จะเกิดปัญหาจากส่วนสูญเสียหรือเศษซากการผลิต รวมทั้งการหย่อนประสิทธิภาพในขณะผลิต หรือสินค้าเสียหายมาก เกินมาตรฐาน เป็นต้น
กิจการให้บริการ ซึ่งมองดูผิวเผินก็มักจะคิดว่าไม่ต้องทำการตรวจนับสินค้าอะไร (เพราะไม่มีตัวสินค้าให้ตรวจนับ) แต่อย่าลืมว่ากิจการเหล่านี้อาจต้องใช้วัสดุ อะไหล่ต่างๆ ในการให้บริการ เช่น อู่ซ่อมรถต้องมีสต็อกอะไหล่หลายๆ ชนิด หรือกิจการรับเหมาก่อสร้างก็ต้องใช้อิฐ หิน ดิน ทราย และเหล็ก ในการรับจ้างก่อสร้าง เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจเหล่านี้ก็จำเป็นต้องทำการตรวจนับอะไหล่ หรือวัตถุดิบต่างๆ ที่คงเหลือตอนปลายปีด้วย เพื่อการบันทึกบัญชี และคำนวณต้นทุนของงานบริการ เป็นต้น
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กับ ‘สินค้าคงเหลือ’
มาตรา 65 ทวิ (6) บัญญัติว่า “ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุน หรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่าและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคง เหลือยกมา สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย”
จากบทบัญญัติข้างต้น แสดงว่ากฎหมายภาษีอากรยอมรับวิธีปฏิบัติที่ตรงกันกับกฎหมายบัญชีด้วย นั่นคือ เมื่อมีการตรวจนับสินค้าปลายงวดแล้ว จะต้องให้ผู้ตีราคาอิสระมาทำการแยกแยะและตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดออกมา แล้วถือเอาราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ำกว่า (lower of cost or market value (LCM)) เป็นราคาสินค้าคงเหลือปลายปี และยกไปต้นปีถัดไป
ณ จุดนี้ จะมีปัญหาที่ต้องพิจารณาอยู่ 2 ประเด็น คือ
ประเด็นแรก เมื่อปริมาณที่ตรวจนับได้ มีความแตกต่างจากยอด ตามบัญชีคุมสินค้า บริษัทต้องปรับปรุงบัญชีอย่างไร ?
หลักการมีอยู่ว่า ให้บริษัทถือยอดตามผลการตรวจนับได้เป็นยอดที่ถูกต้อง แล้วทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีเสียใหม่ ดังนี้ครับ….
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4)
จากคำถามที่ท่านผู้อ่าน E-mail
มาปรึกษาจำนวนมากนั้นจะมีประเด็นซ้ำ ๆ กันอยู่มากก็คือเรื่องของ
“สินค้าคงเหลือ” ซึ่งมีประเด็นภาษีหลากหลาย
เพราะเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการจำหน่าย จ่ายโอน
รวมถึงการตรวจนับสินค้าและการทำลายเศษซากการผลิต เป็นต้น
ซึ่งแต่ละกรณีต่างก็มีแง่มุมภาษี หลายประเภท ทั้งในเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น ข้อเขียนวันนี้ จึงขอเน้นไปที่ประเด็นความผิดเกี่ยวกับ “สินค้าคงเหลือ” พอสังเขปดังนี้
9. การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิต
9.1 แนวคิด/หลักการ
ในอดีตกรมสรรพากรได้เคยวางหลัก เกณฑ์การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิตไว้ในหนังสือตอบข้อหารือ (Private letter rulings) ต่าง ๆ สรุปความได้ว่า
ก. วิธีทำลายต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
ข. ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งกรมสรรพากรอาจส่งเจ้าพนักงานฯ ไปดูหรือไม่ก็ได้
ค. ต้องเชิญผู้สอบบัญชี มาเป็นพยานในการทำลาย พร้อมให้ลงนามรับรองเอกสาร เพื่อแนบประกอบงบดุล
แต่เนื่องจากแนวปฏิบัติดังกล่าว ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอ ๆ จึงได้มีการออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 เพื่อสังคายนาและวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างละเอียด สรุปสาระสำคัญได้ดังตาราง
ประเภทธุรกิจ แนวปฏิบัติ เดิม กฎหมายใหม่ (ป. 79/2541)
กลุ่ม กลุ่ม กลุ่มอื่น
ขั้นตอน EPZ BOI เก็บซากไม่ได้ เก็บซากได้
1. มีหนังสือแจ้งสรรพากรพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 วัน* ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่จำเป็น
2. เชิญ ‘ผู้สอบบัญชี’ เป็นพยาน (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี,ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย) (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี.ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย)
3. ดำเนินการทำลายตามวิธีปฏิบัติทางบัญชีปกติ ตามเกณฑ์ที่ EPZ กำหนด ตามเกณฑ์ที่ BOI กำหนด ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน
4. จัดทำรายงานการทำลายให้ผู้สอบบัญชีรับรองและแนบงบดุล
5. ใช้เอกสารตาม 4 ไปบันทึกบัญชีและ ตัดสต็อกของเสีย ไม่ระบุแต่เป็น หลักที่ควรปฏิบัติ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ
* เว้นแต่เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ควบคุมการทำลายเศษซากฯ ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สรรพากรมาร่วมเป็นพยาน (เป็นข้อความเพิ่มเติมโดยคำสั่ง ป.84/2542)
ซึ่งแต่ละกรณีต่างก็มีแง่มุมภาษี หลายประเภท ทั้งในเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น ข้อเขียนวันนี้ จึงขอเน้นไปที่ประเด็นความผิดเกี่ยวกับ “สินค้าคงเหลือ” พอสังเขปดังนี้
9. การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิต
9.1 แนวคิด/หลักการ
ในอดีตกรมสรรพากรได้เคยวางหลัก เกณฑ์การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิตไว้ในหนังสือตอบข้อหารือ (Private letter rulings) ต่าง ๆ สรุปความได้ว่า
ก. วิธีทำลายต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
ข. ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งกรมสรรพากรอาจส่งเจ้าพนักงานฯ ไปดูหรือไม่ก็ได้
ค. ต้องเชิญผู้สอบบัญชี มาเป็นพยานในการทำลาย พร้อมให้ลงนามรับรองเอกสาร เพื่อแนบประกอบงบดุล
แต่เนื่องจากแนวปฏิบัติดังกล่าว ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอ ๆ จึงได้มีการออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 เพื่อสังคายนาและวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างละเอียด สรุปสาระสำคัญได้ดังตาราง
ประเภทธุรกิจ แนวปฏิบัติ เดิม กฎหมายใหม่ (ป. 79/2541)
กลุ่ม กลุ่ม กลุ่มอื่น
ขั้นตอน EPZ BOI เก็บซากไม่ได้ เก็บซากได้
1. มีหนังสือแจ้งสรรพากรพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 วัน* ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่จำเป็น
2. เชิญ ‘ผู้สอบบัญชี’ เป็นพยาน (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี,ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย) (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี.ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย)
3. ดำเนินการทำลายตามวิธีปฏิบัติทางบัญชีปกติ ตามเกณฑ์ที่ EPZ กำหนด ตามเกณฑ์ที่ BOI กำหนด ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน
4. จัดทำรายงานการทำลายให้ผู้สอบบัญชีรับรองและแนบงบดุล
5. ใช้เอกสารตาม 4 ไปบันทึกบัญชีและ ตัดสต็อกของเสีย ไม่ระบุแต่เป็น หลักที่ควรปฏิบัติ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ
* เว้นแต่เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ควบคุมการทำลายเศษซากฯ ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สรรพากรมาร่วมเป็นพยาน (เป็นข้อความเพิ่มเติมโดยคำสั่ง ป.84/2542)
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555
เลขผู้เสียภาษีอากรเปลี่ยนไปใช้เลขบัตรประชาชน / เลขจดทะเบียนนิติบุคคล 13 หลัก
รายละเอียดข่าวใน Facebook
กรมสรรพากร ( Revenue Department )
กรมสรรพากรจะประกาศใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ในแบบแสดงรายการภาษี
และแบบคำขอต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555
เป็นต้นไปโดยแบ่งเป็น 3 กรณีดังนี้
1. กรณีบุคคลธรรมดาไทย
ให้ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนที่กรมการปกครองออกให้
2. กรณีนิติบุคคล
ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุกิจการค้าออกให้
3. กรณีอื่น ๆ นอกเหนือ ข้อ 1 และ 2
ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักที่กรมสรรพากรออกให้
ที่มา Facebook กรมสรรพากร ( Revenue Department )
กรมสรรพากร ( Revenue Department )
กรมสรรพากรจะประกาศใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ในแบบแสดงรายการภาษี
และแบบคำขอต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555
เป็นต้นไปโดยแบ่งเป็น 3 กรณีดังนี้
1. กรณีบุคคลธรรมดาไทย
ให้ใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชนที่กรมการปกครองออกให้
2. กรณีนิติบุคคล
ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุกิจการค้าออกให้
3. กรณีอื่น ๆ นอกเหนือ ข้อ 1 และ 2
ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักที่กรมสรรพากรออกให้
ที่มา Facebook กรมสรรพากร ( Revenue Department )
วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (3)
ภายหลังยื่นแบบ ภ.ง.ด.50 แล้ว บริษัทต่าง ๆ อาจหายใจยังไม่ทั่วท้อง ด้วยจิตรำพึง “เรายื่นแบบชำระภาษี ต่ำไปหรือเปล่าหนอ”
ในระหว่างที่รอลุ้นระทึกอยู่นี้ มินิซีรีส์ชุดนี้จะทยอยเฉลยประเด็นความผิดที่มักตรวจพบ เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่าน (บริษัท) นำไปใช้วางแผน การลงบัญชีและเสียภาษีของปี 2551 ให้ถูกต้อง และประหยัด (ภาษีหรือลดปัญหาการถูกเบี้ยปรับ!) ต่อไป
สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ เนื้อหาตอน 1 - 2 กรุณา Click ไปที่ www.taxbiz.co.th นะครับ
6. ระบบการค้าระหว่างบริษัทในเครือ
6.1 แนวคิด/หลักการ
ในทางธุรกิจ การจัดตั้งบริษัทในเครือเดียวกันหลายบริษัท โดยอาจแยกตามประเภทธุรกิจ แยกตามพื้นที่แยกตามประเภทสินค้า ฯลฯ ถือเป็นเรื่องปกติในวงการค้า ซึ่งเป็นด้วยหลายเหตุผล เช่น มีผู้ถือหุ้น/ผู้ร่วมทุน (Strategic Partners) ที่ชำนาญในบางแขนง บางสินค้า จึงจำเป็นต้องแยกหน่วยธุรกิจออกไป เป็น Profit center นอกจากนั้นการแยกเป็นหลายบริษัท จะมีข้อบวกคือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการบริหารงานอย่างใกล้ชิด เป็นต้น
แต่ในแง่มุมภาษี กรณีที่มีการแยกเป็นบริษัทในเครือจำนวนมากและมีรายการค้าระหว่างกัน ทำให้เกิดประเด็นภาษีต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ราคาซื้อขายต้องเป็นตามราคาตลาด และปัญหา Transfer Pricing เป็นต้น ซึ่งมักเกิดข้อโต้แย้งและหาข้อยุติได้ยากกับเจ้าพนักงานสรรพากร
6.2 ปัญหา
(1) การให้ความช่วยเหลือต่อกัน ทั้งในแง่ของพนักงาน เงินกู้ยืม การยืมสินค้า เป็นต้น จะต้องมีการคำนวณราคาค่าสินค้า/ค่าบริการหรือค่าตอบแทนระหว่างกันตามราคา ตลาด เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (มาตรา 65 ทวิ (4))
หรือกรณีมีการคิดราคา/ค่าตอบแทน ระหว่างกันในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็เป็นประเด็นที่ต้องชี้แจงกับเจ้าพนักงานให้เกิดข้อยุติเช่นกัน
(2) หากเจ้าพนักงานฯ ตั้งประเด็นว่าเป็นนิติกรรมอำพราง (คือไม่มีระบบการค้าเกิดขึ้นอย่างแท้จริง) กรณีนี้ก็จะทำให้บริษัทผู้ซื้อต้อง ถูกตัดเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร (รายจ่ายที่กำหนดขึ้นโดยไม่มีการจ่ายจริง) และต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน
(3) กรณีมีธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศกับบริษัทในเครือมักเกิดประเด็นโต้แย้งจาก เจ้าพนักงาน เกี่ยวกับการตั้งราคาโอน Transfer Pricing ซึ่งกรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ใน คำสั่งที่ ป.113/2545
ในระหว่างที่รอลุ้นระทึกอยู่นี้ มินิซีรีส์ชุดนี้จะทยอยเฉลยประเด็นความผิดที่มักตรวจพบ เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านผู้อ่าน (บริษัท) นำไปใช้วางแผน การลงบัญชีและเสียภาษีของปี 2551 ให้ถูกต้อง และประหยัด (ภาษีหรือลดปัญหาการถูกเบี้ยปรับ!) ต่อไป
สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจ เนื้อหาตอน 1 - 2 กรุณา Click ไปที่ www.taxbiz.co.th นะครับ
6. ระบบการค้าระหว่างบริษัทในเครือ
6.1 แนวคิด/หลักการ
ในทางธุรกิจ การจัดตั้งบริษัทในเครือเดียวกันหลายบริษัท โดยอาจแยกตามประเภทธุรกิจ แยกตามพื้นที่แยกตามประเภทสินค้า ฯลฯ ถือเป็นเรื่องปกติในวงการค้า ซึ่งเป็นด้วยหลายเหตุผล เช่น มีผู้ถือหุ้น/ผู้ร่วมทุน (Strategic Partners) ที่ชำนาญในบางแขนง บางสินค้า จึงจำเป็นต้องแยกหน่วยธุรกิจออกไป เป็น Profit center นอกจากนั้นการแยกเป็นหลายบริษัท จะมีข้อบวกคือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการบริหารงานอย่างใกล้ชิด เป็นต้น
แต่ในแง่มุมภาษี กรณีที่มีการแยกเป็นบริษัทในเครือจำนวนมากและมีรายการค้าระหว่างกัน ทำให้เกิดประเด็นภาษีต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ราคาซื้อขายต้องเป็นตามราคาตลาด และปัญหา Transfer Pricing เป็นต้น ซึ่งมักเกิดข้อโต้แย้งและหาข้อยุติได้ยากกับเจ้าพนักงานสรรพากร
6.2 ปัญหา
(1) การให้ความช่วยเหลือต่อกัน ทั้งในแง่ของพนักงาน เงินกู้ยืม การยืมสินค้า เป็นต้น จะต้องมีการคำนวณราคาค่าสินค้า/ค่าบริการหรือค่าตอบแทนระหว่างกันตามราคา ตลาด เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (มาตรา 65 ทวิ (4))
หรือกรณีมีการคิดราคา/ค่าตอบแทน ระหว่างกันในราคาต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ก็เป็นประเด็นที่ต้องชี้แจงกับเจ้าพนักงานให้เกิดข้อยุติเช่นกัน
(2) หากเจ้าพนักงานฯ ตั้งประเด็นว่าเป็นนิติกรรมอำพราง (คือไม่มีระบบการค้าเกิดขึ้นอย่างแท้จริง) กรณีนี้ก็จะทำให้บริษัทผู้ซื้อต้อง ถูกตัดเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากร (รายจ่ายที่กำหนดขึ้นโดยไม่มีการจ่ายจริง) และต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า พร้อมเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน
(3) กรณีมีธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศกับบริษัทในเครือมักเกิดประเด็นโต้แย้งจาก เจ้าพนักงาน เกี่ยวกับการตั้งราคาโอน Transfer Pricing ซึ่งกรมสรรพากรได้วางแนวปฏิบัติไว้ใน คำสั่งที่ ป.113/2545
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (2)
บรรยากาศการยื่นแบบ ภ.ง.ด. รอบปีนี้
ดูเงียบเหงา ทั้งผู้ยื่น (บริษัท /หจก.) และผู้รับยื่น (กรมสรรพากร)
ซึ่งคงเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยลบต่างๆ ทั้งกรณีน้ำมันแพง ข้าวสารหาย
(กักตุน) ธัญญาหารลด (ภัยธรรมชาติ) และประเด็นทางการเมือง
ส่วนตลาดหลักทรัพย์เอง ซึ่งปิดงบไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยมีผลประกอบการโดยรวมยังดีอยู่ จึงพอใจชื้นได้ว่าปีนี้สรรพากร ยังคงเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย เพราะปลาตัวใหญ่ยังออกไข่ได้ดีจะมีก็แต่ SMEs ส่วนใหญ่ ที่สู้กระแสคลื่นโลกาภิวัตน์ไม่ได้ จึงอาจออกไข่ได้มาใบเล็กๆ ฯลฯ
ข้อเขียนวันนี้ จะเสนอประเด็นความผิดภาษีนิติบุคคล ต่อจากตอน 1 (สัปดาห์ก่อน) ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถค้นดูข้อมูลได้ที่ www.taxbiz.co.th เช่นเดิมครับ
4. รายจ่ายไม่มีบิล
4.1 แนวคิด/หลักการ
รายจ่ายทุกกรณีที่เกิดขึ้นย่อมสามารถ นำหักเป็นรายจ่าย เพื่อการรัษฎากรได้ เว้นแต่จะเข้าต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (1) - (20) กล่าวสำหรับรายจ่ายที่ไม่มีบิล หากพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายจริง เกี่ยวข้องกับกิจการ ก็ย่อมสามารถนำมาหักเป็นรายจ่าย เพื่อการรัษฎากรได้ทั้งสิ้น ไม่ว่ารายจ่ายดังกล่าวจะผิดหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือไม่ก็ตาม เช่น เงินใต้โต๊ะ เป็นต้น
4.2 ปัญหา
มีธุรกิจหลายประเภทที่มักซื้อขายกัน โดยไม่ออกใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน เช่น กิจการร้านขายอาหาร/ภัตตาคาร กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ กิจการค้าอะไหล่ยนต์ เป็นต้น
กรณีนี้จึงทำให้ ทั้ง 3 ฝ่ายมีประเด็นปัญหาตามมา กล่าวคือ
ผู้ขาย ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือร้านค้าย่อย ฯลฯ ที่เคยชินกับการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย (ซึ่งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร) ซึ่งโดยมากเป็นพ่อค้าในต่างจังหวัด ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงไม่นิยมทำบัญชี/ไม่ออกบิล
ผู้ซื้อ มี 2 กลุ่ม คือ ร้านค้าย่อยกับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งในกรณีของผู้ซื้อที่เป็นร้านค้าย่อยกับร้านค้าย่อย ได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเป็นปกติธุระที่จะไม่ออกบิลซื้อขายระหว่างกัน อยู่แล้วเพราะส่วนใหญ่ มักเสียภาษีแบบเหมาจ่าย (ตามแต่จะตกลงกับเจ้าพนักงานในแต่ละท้องที่) แต่สำหรับกรณีของบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งทำบัญชีชุดเดียว จะเกิดปัญหาจากการไม่มีใบสำคัญคู่จ่ายมาลงบัญชี กฎหมายภาษีถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามฯ (รายจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้) ตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร
กรมสรรพากร ได้แก้ปัญหาโดยใช้มาตรการปราบปราม เช่น การออกตรวจปฏิบัติการ/การออกหนังสือเชิญพบการออกหมายเรียก และออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อป้องกัน อุดช่องโหว่ของการหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ กรณีนี้จึงก่อ Compliance Costs (ต้นทุนปฏิบัติตามกฎหมายภาษี) ที่สูงต่อผู้ประกอบการทุกระดับ
ส่วนตลาดหลักทรัพย์เอง ซึ่งปิดงบไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยมีผลประกอบการโดยรวมยังดีอยู่ จึงพอใจชื้นได้ว่าปีนี้สรรพากร ยังคงเก็บภาษีได้ตามเป้าหมาย เพราะปลาตัวใหญ่ยังออกไข่ได้ดีจะมีก็แต่ SMEs ส่วนใหญ่ ที่สู้กระแสคลื่นโลกาภิวัตน์ไม่ได้ จึงอาจออกไข่ได้มาใบเล็กๆ ฯลฯ
ข้อเขียนวันนี้ จะเสนอประเด็นความผิดภาษีนิติบุคคล ต่อจากตอน 1 (สัปดาห์ก่อน) ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถค้นดูข้อมูลได้ที่ www.taxbiz.co.th เช่นเดิมครับ
4. รายจ่ายไม่มีบิล
4.1 แนวคิด/หลักการ
รายจ่ายทุกกรณีที่เกิดขึ้นย่อมสามารถ นำหักเป็นรายจ่าย เพื่อการรัษฎากรได้ เว้นแต่จะเข้าต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (1) - (20) กล่าวสำหรับรายจ่ายที่ไม่มีบิล หากพิสูจน์ได้ว่ามีการจ่ายจริง เกี่ยวข้องกับกิจการ ก็ย่อมสามารถนำมาหักเป็นรายจ่าย เพื่อการรัษฎากรได้ทั้งสิ้น ไม่ว่ารายจ่ายดังกล่าวจะผิดหลักเกณฑ์ของกฎหมายอื่นหรือไม่ก็ตาม เช่น เงินใต้โต๊ะ เป็นต้น
4.2 ปัญหา
มีธุรกิจหลายประเภทที่มักซื้อขายกัน โดยไม่ออกใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน เช่น กิจการร้านขายอาหาร/ภัตตาคาร กิจการค้าวัสดุก่อสร้าง กิจการค้าอัญมณีและเครื่องประดับ กิจการค้าอะไหล่ยนต์ เป็นต้น
กรณีนี้จึงทำให้ ทั้ง 3 ฝ่ายมีประเด็นปัญหาตามมา กล่าวคือ
ผู้ขาย ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือร้านค้าย่อย ฯลฯ ที่เคยชินกับการเสียภาษีแบบเหมาจ่าย (ซึ่งไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร) ซึ่งโดยมากเป็นพ่อค้าในต่างจังหวัด ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงไม่นิยมทำบัญชี/ไม่ออกบิล
ผู้ซื้อ มี 2 กลุ่ม คือ ร้านค้าย่อยกับบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งในกรณีของผู้ซื้อที่เป็นร้านค้าย่อยกับร้านค้าย่อย ได้ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติเป็นปกติธุระที่จะไม่ออกบิลซื้อขายระหว่างกัน อยู่แล้วเพราะส่วนใหญ่ มักเสียภาษีแบบเหมาจ่าย (ตามแต่จะตกลงกับเจ้าพนักงานในแต่ละท้องที่) แต่สำหรับกรณีของบริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งทำบัญชีชุดเดียว จะเกิดปัญหาจากการไม่มีใบสำคัญคู่จ่ายมาลงบัญชี กฎหมายภาษีถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามฯ (รายจ่ายที่พิสูจน์ผู้รับไม่ได้) ตามมาตรา 65 ตรี (18) แห่งประมวลรัษฎากร
กรมสรรพากร ได้แก้ปัญหาโดยใช้มาตรการปราบปราม เช่น การออกตรวจปฏิบัติการ/การออกหนังสือเชิญพบการออกหมายเรียก และออกระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อป้องกัน อุดช่องโหว่ของการหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ กรณีนี้จึงก่อ Compliance Costs (ต้นทุนปฏิบัติตามกฎหมายภาษี) ที่สูงต่อผู้ประกอบการทุกระดับ
วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555
108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (1)
เพื่อสนองตอบต่อสารพัดคำถามจากท่าน
ผู้อ่าน ซึ่งหลั่งไหลเข้ามาสอบถาม สารพัดประเด็น/ปัญหาการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50
ซึ่งกำหนด deadline ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 นี้แล้ว!
ผู้เขียนจึงขอรวบยอด จาระไน 108 ประเด็นความผิด ‘ภาษีเงินได้นิติบุคคล’
เพื่อเป็น guidelines เตือนใจมิให้เกิดข้อผิดพลาดซ้ำสอง
ให้ต้องชอกช้ำใจอีกครั้ง
1. การรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ
1.1 แนวคิดและหลักการ
เกณฑ์สิทธิตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษี ก็คือ เกณฑ์คงค้าง (accrual basis) ตามหลักการบัญชีนั่นเอง แต่เนื่องจากบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร (ม.65) เขียนไว้ไม่ชัดเจน ไม่ระบุความหมายของคำว่า ‘เกณฑ์สิทธิ’ ดังนั้นจึงมักเกิดการตีความกันไปต่างๆ นานา
เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเข้าช่วยงานของ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีฯ (สบช.) ในตำแหน่ง ‘ประธานคณะกรรมการบัญชีภาษีอากร’ ได้เข้าร่วมพิจารณากับคณะทำงานปรับปรุงคำสั่ง ทป.1/2528 (หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้รายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ) ของกรมสรรพากรในช่วงปี 2548 ได้ตกลงยุติให้แก้ไขกฎหมายโดยระบุให้ชัดเจนว่าให้รับรู้รายได้เพื่อการ รัษฎากรโดย ‘เกณฑ์สิทธิ-ตามหลักการบัญชี’
1.2 ปัญหา
ผลจากการที่กรมสรรพากรมิได้กำหนดหลัก เกณฑ์การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี (ซึ่งเป็น international concept ที่วัดผลประกอบการได้อย่างเที่ยงธรรม) ทำให้ประมวลรัษฎากรขาด ‘หลักการ (concept)’ ในการรับรู้รายได้ ทำให้เกิดปัญหาตีความ/วินิจฉัยกรณีการรับรู้รายได้ของแต่ละกิจการไปต่างๆ นานา จนไร้ข้อยุติตามมาตรฐานสากล จึงเกิดคำถามต่าง ๆ ตามมามากมายในแต่ละจุดย่อย ๆ ของการคำนวณรายได้ ตัวอย่างเช่น
- กิจการรับเหมาก่อสร้าง กรณีที่ไม่สามารถประมาณการผลสำเร็จของงานได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้กิจการรับรู้รายได้เพียงไม่เกินต้นทุนการก่อ สร้างที่เกิดขึ้นนั้น การปฏิบัติทางภาษีจะเป็นเช่นไร
- กิจการฝากขาย (consignment) จะต้องรับรู้รายได้เพื่อการรัษฎากรทันทีที่มีการฝากขาย เว้นแต่มีการทำสัญญาตั้งตัวแทนฝากขาย กรณีจึงจะสามารถรับรู้รายได้ตามหลักการบัญชี (คือเมื่อตัวแทน (consignee) ส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้า)
ส่วนในแง่ VAT การที่จะสามารถออกใบกำกับภาษีเมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าแก่ตัวการ กรณีจะต้องเข้าองค์ประกอบครบตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประกาศ VAT#8 กล่าวคือ ตัวแทนจะต้องออกใบกำกับแบบเต็มรูปแทนตัวการ และตัวแทนต้องทำ stock สินค้ารับฝากขายแยกต่างหากจากสินค้าปกติของตนเองด้วย เป็นต้น
กรณีดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องวางแนวทางปฏิบัติและระบบเอกสารอย่างไรจึงจะลงตัวทั้งทางด้านบัญชี/ภาษีนิติบุคคล/และ VAT
- กิจการบริการ จะต้องรับรู้รายได้/รายจ่ายตาม matching principle อย่างไรเพื่อการรัษฎากร เพราะตามมาตรฐานการบัญชี มักมิได้มีการคำนวณต้นทุนการให้บริการ (ระยะสั้น) ตามหลักการจับคู่รายได้รายจ่าย
1. การรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ
1.1 แนวคิดและหลักการ
เกณฑ์สิทธิตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภาษี ก็คือ เกณฑ์คงค้าง (accrual basis) ตามหลักการบัญชีนั่นเอง แต่เนื่องจากบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร (ม.65) เขียนไว้ไม่ชัดเจน ไม่ระบุความหมายของคำว่า ‘เกณฑ์สิทธิ’ ดังนั้นจึงมักเกิดการตีความกันไปต่างๆ นานา
เมื่อครั้งที่ผู้เขียนเข้าช่วยงานของ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีฯ (สบช.) ในตำแหน่ง ‘ประธานคณะกรรมการบัญชีภาษีอากร’ ได้เข้าร่วมพิจารณากับคณะทำงานปรับปรุงคำสั่ง ทป.1/2528 (หลักเกณฑ์การรับรู้รายได้รายจ่ายตามเกณฑ์สิทธิ) ของกรมสรรพากรในช่วงปี 2548 ได้ตกลงยุติให้แก้ไขกฎหมายโดยระบุให้ชัดเจนว่าให้รับรู้รายได้เพื่อการ รัษฎากรโดย ‘เกณฑ์สิทธิ-ตามหลักการบัญชี’
1.2 ปัญหา
ผลจากการที่กรมสรรพากรมิได้กำหนดหลัก เกณฑ์การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี (ซึ่งเป็น international concept ที่วัดผลประกอบการได้อย่างเที่ยงธรรม) ทำให้ประมวลรัษฎากรขาด ‘หลักการ (concept)’ ในการรับรู้รายได้ ทำให้เกิดปัญหาตีความ/วินิจฉัยกรณีการรับรู้รายได้ของแต่ละกิจการไปต่างๆ นานา จนไร้ข้อยุติตามมาตรฐานสากล จึงเกิดคำถามต่าง ๆ ตามมามากมายในแต่ละจุดย่อย ๆ ของการคำนวณรายได้ ตัวอย่างเช่น
- กิจการรับเหมาก่อสร้าง กรณีที่ไม่สามารถประมาณการผลสำเร็จของงานได้อย่างสมเหตุสมผล ซึ่งมาตรฐานการบัญชีกำหนดให้กิจการรับรู้รายได้เพียงไม่เกินต้นทุนการก่อ สร้างที่เกิดขึ้นนั้น การปฏิบัติทางภาษีจะเป็นเช่นไร
- กิจการฝากขาย (consignment) จะต้องรับรู้รายได้เพื่อการรัษฎากรทันทีที่มีการฝากขาย เว้นแต่มีการทำสัญญาตั้งตัวแทนฝากขาย กรณีจึงจะสามารถรับรู้รายได้ตามหลักการบัญชี (คือเมื่อตัวแทน (consignee) ส่งมอบสินค้าแก่ลูกค้า)
ส่วนในแง่ VAT การที่จะสามารถออกใบกำกับภาษีเมื่อตัวแทนส่งมอบสินค้าแก่ตัวการ กรณีจะต้องเข้าองค์ประกอบครบตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในประกาศ VAT#8 กล่าวคือ ตัวแทนจะต้องออกใบกำกับแบบเต็มรูปแทนตัวการ และตัวแทนต้องทำ stock สินค้ารับฝากขายแยกต่างหากจากสินค้าปกติของตนเองด้วย เป็นต้น
กรณีดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องวางแนวทางปฏิบัติและระบบเอกสารอย่างไรจึงจะลงตัวทั้งทางด้านบัญชี/ภาษีนิติบุคคล/และ VAT
- กิจการบริการ จะต้องรับรู้รายได้/รายจ่ายตาม matching principle อย่างไรเพื่อการรัษฎากร เพราะตามมาตรฐานการบัญชี มักมิได้มีการคำนวณต้นทุนการให้บริการ (ระยะสั้น) ตามหลักการจับคู่รายได้รายจ่าย
วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555
ภาษีเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีการให้บริการซ่อมรถยนต์
เลขที่หนังสือ
|
: กค 0811/7660
|
วันที่
|
: 2 สิงหาคม 2544
|
เรื่อง
|
: ภาษีเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่าย กรณีการให้บริการซ่อมรถยนต์
|
ข้อกฎหมาย
|
: มาตรา 40
|
ข้อหารือ
|
: บริษัทฯ ประกอบธุรกิจผลิตสินค้าเพื่อขาย และมีพนักงานขายของบริษัทฯ เอง
บริษัทฯ มีปัญหาเรื่องการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้ 1. กรณีค่าซ่อมรถ พนักงานขายของบริษัทฯ ได้นำรถยนต์ของบริษัทฯ เข้าซ่อมที่ ต่างจังหวัด ตามศูนย์บริการของอีซูซุและโตโยต้า เมื่อซ่อมแล้วทางศูนย์บริการออกบิลค่าซ่อมและ ค่าอะไหล่แยก ออกจากกันแต่เป็นชื่อบริษัทเดียวกัน บริษัทฯ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากบิลยอดไหน อย่างไร 2. จากกรณีข้อ 1 ถ้าศูนย์บริการคิดแต่ค่าอะไหล่อย่างเดียว ไม่มีค่าแรง จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย อย่างไร |
แนววินิจฉัย
|
: 1. การที่บริษัทฯ ได้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่ศูนย์บริการ O และ G ในต่างจังหวัด เมื่อซ่อมแล้ว
ศูนย์บริการได้ออกบิลค่าแรงและค่าอะไหล่แยกออกจากกัน แต่เป็นชื่อบริษัทเดียวกัน กรณีนี้ถือได้ว่า ศูนย์บริการผู้รับจ้างประกอบกิจการรับจ้างซ่อมรถยนต์ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นการรับจ้างทำของ เมื่อ ศูนย์บริการฯ เป็นผู้จัดหาอะไหล่เพื่อใช้สำหรับการซ่อมรถยนต์เอง รายรับของศูนย์บริการฯ จึงต้อง รวมทั้งค่าแรงและค่าอะไหล่ เมื่อบริษัทฯ จ่ายเงินค่าบริการซ่อมรถยนต์ให้แก่ศูนย์บริการฯ บริษัทฯ จึงมี หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของยอดเงินที่จ่ายทั้งที่เป็นค่าแรงและค่าอะไหล่ ทั้งนี้ ตามข้อ 8(2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ.2528 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.19/2530 ฯ ลงวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2530 2. กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ถ้าศูนย์บริการฯ เรียกเก็บค่าอะไหล่อย่างเดียว โดยไม่มี การเรียกเก็บค่าแรงด้วย บริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 3.0 ของ ยอดเงินที่จ่ายทั้งหมด ทั้งนี้ ตามข้อ 8(2) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 |
เลขตู้
|
: 64/30743
|
วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555
ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล รอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลัง 1 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๐)
พ.ศ. ๒๕๕๔
--------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราภาษีเงินได้ และปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๐)
พ.ศ. ๒๕๕๔
--------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราภาษีเงินได้ และปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ บุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท บัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)