h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า

เลขที่หนังสือ
: กค 0811/พ.13044
วันที่
: 4 กันยายน 2541
เรื่อง
: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายบัตรแลกรับบริการล่วงหน้า
ข้อกฎหมาย
: มาตรา 65, มาตรา 77/1(10), มาตรา 78/1(1), มาตรา 79, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 ฯ
ข้อหารือ
: บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจัดจำหน่ายรถยนต์ ยี่ห้อ A. อะไหล่ และให้บริการซ่อม ผ่าน
โชว์รูมและศูนย์บริการซึ่งบริษัทฯ เป็นเจ้าของเอง และศูนย์บริการซึ่งดำเนินการโดยนิติบุคคลอื่น และ
ผู้จำหน่าย (dealers)ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจถดถอย บริษัทฯ
จึงได้จัดทำโครงการบัตรแลกรับบริการ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของลูกค้าในส่วนของค่าใช้จ่ายตรวจ
เช็คสภาพรถตามระยะ (value plus package) โดยลูกค้าในโครงการฯ จะจ่ายเพียงประมาณ
ร้อยละ 70 ของราคาปกติเท่านั้น ลูกค้าสามารถซื้อบัตรแลกรับบริการได้จากโชว์รูมและศูนย์บริการ A.
ทั่วประเทศ โดยเลือกซื้อตามช่วงระยะทางที่ลูกค้าเห็นว่าเหมาะสมกับสภาพการใช้รถของตน และ
ชำระเงินตามราคาที่ปรากฏในตารางพร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กับพนักงานของโชว์รูมหรือศูนย์บริการนั้น ๆ
เงินที่โชว์รูมหรือศูนย์บริการนั้นรับมาก็จะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคารของบริษัทฯ บริษัทฯ ก็จะออกบัตรแลกรับ
บริการพร้อมใบเสร็จรับเงินส่งไปยังโชว์รูมหรือศูนย์บริการเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าต่อไปบัตรแลกรับบริการ
หนึ่งชุดจะประกอบด้วยคูปองย่อยหกฉบับแต่ละฉบับใช้แลกบริการ ตรวจเช็คเมื่อครบระยะทาง คูปองย่อย
แต่ละฉบับจะปรากฏข้อความ เลขที่ ระยะตรวจเช็ค ชื่อลูกค้า รุ่น แบบ สี หมายเลขตัวถัง และ
หมายเลขทะเบียนของรถ วันที่ออกบัตรแลกรับบริการ วันที่บัตรหมดอายุ (ประมาณ 4 ปี) เมื่อลูกค้านำ
รถมารับบริการและแสดงบัตรรับแลกบริการ หากเป็นรถที่อยู่ในระยะประกันผลิตภัณฑ์ (warranty
period) ลูกค้าไม่ต้องจ่ายค่าแรง คงจ่ายเฉพาะค่าอะไหล่เท่านั้น หากซ่อมนอกเหนือจากนี้ลูกค้าต้อง
จ่ายเงินเพิ่มโดยได้รับส่วนลดร้อยละ 10 สำหรับค่าบริการและอะไหล่ โดยศูนย์จะออกใบสั่งซ่อมอีกใบ
หนึ่งต่างหาก ในกรณีที่ลูกค้าซื้อบัตรแลกรับบริการจากศูนย์บริการมอบอำนาจหรือจากผู้จำหน่าย (
dealers) บริษัทฯ จะให้ค่านายหน้าร้อยละ 10 จ่ายให้เดือนละครั้ง โดยคำนวณจากใบสั่งซื้อที่ส่งมา
สำหรับคูปองที่ลูกค้านำไปใช้ บริษัทฯจะจ่ายคืนให้แก่ศูนย์บริการมอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย
(dealers) ตามมูลค่าของบริการและอะไหล่เต็มเดือนละครั้ง ส่วนในกรณีส่วนลดร้อยละ 10 ที่ให้แก่
ลูกค้าสำหรับค่าบริการและอะไหล่ที่เกิดจากรายการซ่อมเพิ่มเติม บริษัทฯ จะจ่ายชดเชยให้ครึ่งหนึ่งของ
ส่วนลดที่เกิดขึ้น โดยศูนย์บริการเหล่านั้นจะส่งใบแจ้งหนี้พร้อมใบสั่งซ่อม ใบกำกับภาษี และ
ใบเสร็จรับเงิน สำหรับรายการซ่อมดังกล่าวมาเพื่อเรียกเก็บเงินเดือนละครั้ง
บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1. เงินที่ได้รับจากการจำหน่ายบัตรแลกรับบริการ เป็นเงินรับล่วงหน้าทั้งจำนวน (รวม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม) เมื่อใดที่ลูกค้านำคูปองในชุดบัตรแลกรับบริการมาใช้ บริษัทฯ จะดำเนินการตามวิธีรับรู้
รายได้ โดยบริษัทฯ จะออกใบเสร็จรับเงินและใบกำกับภาษี ณ เวลาที่ลูกค้ามารับรถและชำระค่าบริการ
และอะไหล่ในราคาปกติของการตรวจเช็คระยะด้วยคูปอง หลังจากนั้น แผนกบัญชีของบริษัทฯ จะโอนเงิน
รับล่วงหน้าจากการขายบัตรแลกรับบริการมาเพื่อตัดลูกหนี้ออกจากบัญชีตามมูลค่าของคูปอง ส่วนลูกหนี้ที่
เหลือจะปรับปรุงเป็นค่าใช้จ่าย ในส่วนของศูนย์บริการมอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย
(dealers) หลังจากดำเนินกรรมวิธีในการรับรู้รายได้และออกใบกำกับภาษีเช่นเดียวกันแล้วศูนย์บริการ
มอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย (dealers) จะส่งใบแจ้งหนี้มายังบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ
ชำระเงินตามใบแจ้งหนี้ แผนกบัญชีก็จะบันทึกรายการปรับปรุงเงินรับล่วงหน้าและปรับปรุงค่าใช้จ่าย
เช่นเดียวกัน
2. เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่านายหน้าในการจำหน่ายชุดบัตรแลกรับบริการและเงินชดเชยส่วนลด
จากการซ่อมเพิ่มเติม ให้แก่ศูนย์บริการมอบอำนาจหรือผู้จำหน่าย (dealers) ศูนย์บริการมอบอำนาจ
หรือผู้จำหน่าย (dealers) นั้น ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ หรือไม่ และในส่วนของบริษัทฯ
เมื่อจ่ายค่านายหน้าและเงินชดเชยดังกล่าว จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ ในอัตราเท่าใด
แนววินิจฉัย
: 1. กรณีตามข้อเท็จจริง เงินที่ได้จากการจำหน่ายบัตรแลกรับบริการตามโครงการตรวจ
เช็คตามระยะในราคาประหยัด โดยแพคเกจหนึ่ง ๆ จะมีระยะการให้บริการ 50,000 กิโลเมตร หรือ
เป็นระยะเวลา 2 - 4 ปี บริษัทฯ มีภาระภาษี ดังนี้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากคูปองที่บริษัทฯ ขายให้แก่ลูกค้าจะใช้แทนการชำระเงิน
สำหรับค่าบริการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ ดังนั้น รายได้ที่บริษัทฯ ได้รับจากการขายคูปองดังกล่าว จึงเป็น
รายได้จากการได้รับชำระค่าบริการล่วงหน้า บริษัทฯ ต้องนำรายได้จากการขายคูปองมารวมคำนวณเพื่อ
เสียภาษี ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร โดยใช้เกณฑ์สิทธิ ตามมาตรา 65 วรรคสอง แห่ง
ประมวลรัษฎากร กล่าวคือบริษัทฯ ต้องเฉลี่ยรายได้ที่เกิดขึ้นตามส่วนของงานที่ให้บริการแล้วเสร็จใน
แต่ละรอบระยะเวลาบัญชี มารวมเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิ ในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.30/2534 ฯ ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2534
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากคูปองที่บริษัทฯ ได้ขายให้แก่ลูกค้าดังกล่าว จะใช้แทนการ
ชำระเงินสำหรับค่าบริการในการตรวจเช็ครถยนต์ ดังนั้น เงินที่บริษัทฯ ได้รับจากการขายคูปองดังกล่าว
เข้าลักษณะเป็นเงินค่าบริการล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะใช้บริการ ซึ่งความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะ
เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้องนำ
มูลค่าทั้งหมดที่ได้รับจากการขายคูปองคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการเกิดขึ้นในขณะได้รับ
ชำระเงินดังกล่าว
2. เงินค่านายหน้าจากการจำหน่ายชุดบัตรแลกรับบริการที่ศูนย์บริการมอบอำนาจ หรือ
ผู้จำหน่าย (dealers) ได้รับ เข้าลักษณะเป็นค่าตอบแทนหรือมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับจากการให้บริการ
ตามมาตรา 77/1 (10) และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ศูนย์บริการมอบอำนาจหรือผู้จำหน่าย
(dealers) ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากบริษัทฯ เมื่อความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร และเงินชดเชยส่วนลดจากการซ่อมนอกเหนือจากคูปองที่
ลูกค้านำไปใช้ ซึ่งบริษัทฯ ได้จ่ายชดเชยให้แก่ศูนย์บริการมอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย
(dealers) เงินดังกล่าวมิใช่มูลค่าที่บริษัทฯ ได้รับจากการให้บริการ จึงไม่เป็นมูลค่าของฐานภาษีสำหรับ
การให้บริการ ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ประการใด
สำหรับกรณีบริษัทฯ ได้จ่ายเงินค่านายหน้าจากการจำหน่ายชุดบัตรแลกบริการและ
เงินชดเชยให้แก่ศูนย์บริการมอบอำนาจและศูนย์บริการของผู้จำหน่าย (dealers) บริษัทฯ ไม่มีหน้าที่
ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายแต่ประการใด
เลขตู้
: 61/27055

อ้างอิง >ข้อหารือภาษีอากร >2541 >กันยายน >0811/พ.13044 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น