h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2555

คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล - สภาวิชาชีพบัญชี

คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล - สภาวิชาชีพบัญชี

รอบรั้วสภาวิชาชีพบัญชี

คำชี้แจงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

http://www.fap.or.th/subfapnews.php?id=541

ตาม ที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเรื่อง มาตรการภาษีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 โดยเห็นชอบให้ปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากอัตรา ร้อยละ 30 ลงเหลือร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2555 และร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

เพื่อ ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยก เว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไร สุทธิเป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชี จากอัตราร้อยละ 30 เหลือ อัตราร้อยละ 23 สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2555 และร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิสำหรับสองรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นที่เชื่อได้ว่ารัฐบาลจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อัตราภาษีไม่สูงไป กว่าร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2558 เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้เนื่องจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (ร้อยละ 30) เป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศในอาเซียน และคณะรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลง ทุนในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ

การประกาศลด อัตราภาษีดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อการวัดมูลค่าสินทรัพย์ภาษีเงินได้ รอการตัดบัญชี และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี เนื่องจากมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 เรื่อง ภาษีเงินได้ ย่อหน้าที่ 47 กำหนดให้กิจการวัดมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ด้วยอัตราภาษีสำหรับงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์และ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีในงวดที่กิจการคาดว่าจะได้รับประโยชน์จาก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีหรือในงวดที่กิจการคาดว่าจะจ่ายชำระ หนี้สิน โดยใช้อัตราภาษีที่มีผลบังคับใช้อยู่ หรือที่คาดได้ค่อนข้างแน่ว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นรอบระยะเวลารายงาน

สภา วิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พิจารณาในเรื่องนี้แล้ว มีความเห็นว่า อัตราภาษีที่คาดได้ค่อนข้างแน่ที่ควรนำมาใช้ในการวัดมูลค่าของสินทรัพย์และ หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ควรเป็นอัตราร้อยละตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ กล่าวคืออัตราร้อยละ 23 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2555 และร้อยละ 20 สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 2556 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น