h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

108 ประเด็นความผิด ภาษีนิติบุคคล (4)

จากคำถามที่ท่านผู้อ่าน E-mail มาปรึกษาจำนวนมากนั้นจะมีประเด็นซ้ำ ๆ กันอยู่มากก็คือเรื่องของ “สินค้าคงเหลือ” ซึ่งมีประเด็นภาษีหลากหลาย เพราะเกี่ยวข้องตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการจำหน่าย จ่ายโอน รวมถึงการตรวจนับสินค้าและการทำลายเศษซากการผลิต เป็นต้น

ซึ่งแต่ละกรณีต่างก็มีแง่มุมภาษี หลายประเภท ทั้งในเรื่องของภาษีเงินได้นิติบุคคล VAT และภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นต้น ข้อเขียนวันนี้ จึงขอเน้นไปที่ประเด็นความผิดเกี่ยวกับ “สินค้าคงเหลือ” พอสังเขปดังนี้
9. การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิต
9.1 แนวคิด/หลักการ
ในอดีตกรมสรรพากรได้เคยวางหลัก เกณฑ์การทำลายสินค้า/เศษซากการผลิตไว้ในหนังสือตอบข้อหารือ (Private letter rulings) ต่าง ๆ สรุปความได้ว่า
ก. วิธีทำลายต้องเป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
ข. ต้องมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งกรมสรรพากรอาจส่งเจ้าพนักงานฯ ไปดูหรือไม่ก็ได้
ค. ต้องเชิญผู้สอบบัญชี มาเป็นพยานในการทำลาย พร้อมให้ลงนามรับรองเอกสาร เพื่อแนบประกอบงบดุล
แต่เนื่องจากแนวปฏิบัติดังกล่าว ยังมีข้อโต้แย้งกันอยู่เสมอ ๆ จึงได้มีการออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.79/2541 เพื่อสังคายนาและวางหลักเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างละเอียด สรุปสาระสำคัญได้ดังตาราง
ประเภทธุรกิจ แนวปฏิบัติ เดิม กฎหมายใหม่ (ป. 79/2541)
กลุ่ม กลุ่ม กลุ่มอื่น
ขั้นตอน EPZ BOI เก็บซากไม่ได้ เก็บซากได้
1. มีหนังสือแจ้งสรรพากรพื้นที่ไม่น้อยกว่า 30 วัน*  ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่จำเป็น 
2. เชิญ ‘ผู้สอบบัญชี’ เป็นพยาน (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี,ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย)  (โดยให้ฝ่ายคลังสินค้า,ฝ่ายบัญชี.ฝ่ายขายและฝ่ายตรวจสอบร่วมด้วย)
3. ดำเนินการทำลายตามวิธีปฏิบัติทางบัญชีปกติ  ตามเกณฑ์ที่ EPZ กำหนด ตามเกณฑ์ที่ BOI กำหนด ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน ตรวจสอบสภาพและได้รับอนุมัติจาก ผจก. ก่อน
4. จัดทำรายงานการทำลายให้ผู้สอบบัญชีรับรองและแนบงบดุล
5. ใช้เอกสารตาม 4 ไปบันทึกบัญชีและ ตัดสต็อกของเสีย ไม่ระบุแต่เป็น หลักที่ควรปฏิบัติ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ
* เว้นแต่เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ควบคุมการทำลายเศษซากฯ ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งเจ้าหน้าที่สรรพากรมาร่วมเป็นพยาน (เป็นข้อความเพิ่มเติมโดยคำสั่ง ป.84/2542)

9.2 ปัญหา
(1) หากบริษัทใดไม่ทำลาย ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเกิดประเด็นความผิดทางภาษีอย่างไรบ้าง
ขอตอบในเชิงบวกก่อนว่า กรณีบริษัทใดดำเนินการทำลายตามหลักเกณฑ์แห่ง ป.79/2541 ก็ไม่ต้องนำมูลค่าของสินค้ามารวมเป็นรายได้ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่ต้องเสีย VAT 7% (ภาษีขาย)
แต่กรณีที่มิได้ปฏิบัติตามแนวทาง ดังกล่าว ก็จะเป็นภาระของบริษัทฯ ที่ต้องพิสูจน์ ว่าตนได้ทำลายสินค้า / เศษซากการผลิต หากพิสูจน์ได้ก็ไม่ต้องถูกประเมินภาษีดังกล่าว แต่กรณีพิสูจน์ไม่ได้ก็อาจถูกเจ้าพนักงาน หยิบยกเอามาเป็นประเด็นในการประเมินภาษี พร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มได้
(2) อัตราส่วนการสูญเสีย และเศษซากการผลิตที่เหมาะสม ควรเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
เรื่องของอัตราเปอร์เซ็นต์ส่วน สูญเสีย ต้องยึดเอาจากอัตรามาตรฐานของแต่ละอุตสาหกรรม (Industrial Average Ratio) เป็นเกณฑ์ ซึ่งบางอุตสาหกรรม อาจมีการรวบรวมสถิติข้อมูล ไว้ที่สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือสมาคมการค้า/สมาคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาในแต่ละบริษัทก็อาจมีอัตราส่วนการสูญเสียสูง/ต่ำกว่ามาตรฐานปกติ ได้ อันเนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตที่แตกต่างกัน ดังนั้น ในการตรวจสอบภาษีของเจ้าพนักงานฯ จึงต้องใช้ดุลยพินิจวิเคราะห์เหตุการณ์ในแต่ละกรณี ๆ ไป ซึ่งหากไม่พบสิ่งบอกเหตุที่บ่งชี้ถึงการฉ้อฉล ก็ต้องยอมรับอัตราส่วนการสูญเสียตามบัญชีของบริษัท
9.3 วิธีแก้ไข
หากบริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการของ ป.79/2541 อย่างครบถ้วน ก็ย่อมไม่มีประเด็นปัญหาใด ๆ กับเจ้าพนักงาน สำหรับในเรื่องของอัตราส่วนการสูญเสียนั้น บริษัทควรแก้ปัญหาโดยวางระบบควบคุมภายในและระบบบัญชีเอกสารหลักฐาน (เช่น Production Report) ให้ครบถ้วนสามารถสอบยันความถูกต้องได้ ก็ย่อมไร้ปัญหาภาษีอย่างแน่นอน
10. สินค้าสูญหาย/ถูกทำลาย
10.1 แนวคิด/หลักการ
กรณีสินค้าสูญหาย/ถูกทำลาย อาจแยกพิจารณาได้ เป็น 2 กรณี คือ
ก. กรณีสินค้าถูกขโมย/ภัยธรรมชาติ ให้ใช้หลักฐานการแจ้งความเป็น Supporting Document ในการถือเป็นรายจ่ายของกิจการ ซึ่งกรณีดังกล่าว จะไม่ถือเป็นการจำหน่ายจ่ายโอนสินค้า จึงไม่ต้องถือเป็นรายได้ (ภาษีเงินได้นิติบุคคล) และไม่ต้องเสียภาษีขาย (VAT 7%)
ข. กรณีสินค้าขาด/เกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ซึ่งเกิดจากการตรวจนับสินค้า (Stock) ซึ่งปกติจะนับกันอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ณ วันสิ้นปี (31 ธันวาคม แต่ในทางปฏิบัติจริง อาจตรวจนับก่อนหรือหลังวันสิ้นปี แล้วกระทบยอดมาหาผลลัพธ์ ณ วันสิ้นปี)
กรณีสินค้าเกิน จากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ จะต้องระวางโทษปรับอาญา 2,000 บาท (ม.90(14)) ต่อครั้งที่ถูกตรวจปฏิบัติการ
กรณีสินค้าขาด จากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- ต้องรับผิดเสียภาษีขาย (VAT 7%) จากราคาตลาดของสินค้าที่ขาด
- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89 (10))
ผลการตรวจนับ บทลงโทษ สินค้า/วัตถุดิบที่ตรวจนับได้
ขาดจากรายงานฯ เกินจากรายงานฯ
ต้องเสียภาษีขาย (ม.77/1 (8) (จ))
เบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89 (10)) 
ถูกปรับอาญา 2,000 บาท (ม.90 (14) (15))
- โทษปรับอาญา 2,000 บาท ต่อครั้งที่เข้าตรวจ (ม.90 (15))
10.2 ปัญหา
(1) มาตรา 87 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ผู้ประกอบการ VAT ต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นรายสถานประกอบการ เช่น กรณีสำนักงานใหญ่สั่งซื้อ ส่วนโกดังมีหน้าที่ลงรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นต้น
หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะแตกต่างจาก ประเพณีปฏิบัติทางบัญชี ซึ่งมักทำบัญชีรวมศูนย์ ณ สำนักงานใหญ่ ดังนั้น กรณีข้างต้นหากลงรายงานผิดพลาด แต่ละสาขาจะต้องรับผิด ทั้งทางแพ่งและอาญา
(2) กรณีของร้านค้าปลีก (เช่น 7-Eleven) ซึ่งมีสินค้ามากชนิด จึงอาจมีสินค้าสูญหายได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องทำการตรวจนับบ่อยขึ้น เพื่อให้เกิดการควบคุมภายในที่ดี
เมื่อตรวจนับบ่อยครั้ง ก็มักจะพบว่ามีปัญหาสินค้าขาดหาย/เกินจากสต็อกบ่อย เช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ต้องถูกลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญา อันเนื่องจากสินค้าขาด/เกิน
10.3 วิธีแก้ไข
(1) คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542 ข้อ 11 วางหลักเกณฑ์ผ่อนปรน กรณีมิได้จัดเก็บรายงานต่าง ๆ ไว้ ณ สถานประกอบการ เจ้าพนักงานฯ จะอนุโลมให้บริษัทนำรายงานดังกล่าวมาแสดงได้ภายใน 7 วัน
(2) กรณีสินค้าสูญหาย จะต้องแก้ไขโดยเพิ่มระบบควบคุมภายใน เช่น เพิ่มบุคลากร เพิ่มขั้นตอนเบิกจ่ายสินค้า เป็นต้น ซึ่งจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง รายจ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วย ยอดเงินค่าปรับทางภาษี เป็นสำคัญ
อนึ่ง กรณีมีการตรวจนับสินค้าบ่อย ๆ จะส่งผลเกิดความผิดอันเนื่องจาก สต็อก ขาด/เกิน อยู่บ่อย ๆ ซึ่งโดยหลักการจะต้องเสียเบี้ยปรับ/ค่าปรับอาญา ดังนั้นในทางปฏิบัติ จึงควรตรวจนับอย่างเป็นทางการ เพียงปีละครั้งเดียวก็พอ 

เรื่อง : อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์ 
bangkokbizweek

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น