h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย

การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย article
ในทางภาษีอากรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนไว้หลายบทบัญญัติ ดังนี้
1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล แบ่งเป็น
     1.1 หลักเกณฑ์การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปใน ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี หรือคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลา เพื่อการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ ละรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร
     1.2 การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 65 ทวิ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554

การหักค่าลดหย่อน,อัตราภาษีเงินได้

ตารางสรุปรายการค่าลดหย่อนเพื่อการคำนวณภาษีเงินได้กลางปีและประจำปี
รายการค่าลดหย่อน
ภาษึเงินได้กลางปี
 
ภาษีเงินได้ประจำปี
 
ห้างหุ้นส่วนสามัญ
 
1.ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล
   1.1 ส่วนตัวผู้มีเงินได้
   1.2 คู่สมรส
   1.3 บุตรที่ไม่ได้ศึกษา หรือ
      ศึกษาในต่างประเทศ
   1.4 บุตรที่ศึกษาในไทย
   1.5 บิดา มารดา หรือ บิดา
          มารดาคู่สมรส
   1.6 ผู้มีอายุตั้งแต่65 ปีขึ้นไป
   1.7 เลี้ยงดูผู้พิการที่เป็นบิดา
         มารดา บุตร หรือ บุตร
         บุญธรรมของผู้มีเงินได้
       หรือคู่สมรส (กฎหมาย
       อยู่ระหว่างตรวจร่างฯ)


15,000 บาท
15,000 บาท
คนละ 7,500 บาท
(ไม่ว่าจะมีการแบ่งค่าลดหย่อนบุตร
ในการคำนวนภาษีประจำปีหรือไม่)
คนละ 8,500 บาท
คนละ 15,000 บาท
190,000 บาท
15,000 บาทต่อผู้พิการ 1 คน





30,000 บาท
30,000 บาท
คนละ 15,000 บาท

คนละ 17,000 บาท
คนละ 30,000 บาท
190,000 บาท
30,000บาท ต่อผู้พิการ1คน




หักค่าลดหย่อนสำหรับผู้เป็น
หุ้นส่วนต่ละคนที่อยู่ใน
ประเทศไทย แต่รวมกัน
ไม่เกิน 60,000 บาท สำหรับ
เงินได้กลางปีไม่เกิน
 30,000 บาท
ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน




2. ค่าลดหย่อนเบี้ยประกัน
2.1 เบี้ยประกันชีวิต
2.1.1. สำหรับผู้มีเงินได้
2.1.2. คู่สมรส
                       -มีเงินได้
                       -ไม่มีเงินได้
2.2 เบี้ยประกันสุขภาพ
     สำหรับพ่อแม่
2.2.1 สำหรับผู้มีเงินได้
2.2.2 คู่สมรส
                  -  มีเงินได้
                 -ไม่มีเงินได้



เท่าที่จ่ายจริง ระหว่าง มค.- มิย.
แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
เท่าที่จ่ายจริงระหว่าง มค.- มิย.
แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
เท่าที่จ่ายจริงระหว่าง มค. - มิย.
แต่ไม่เกิน 5,000 บาท

เท่าที่จ่ายจริงระหว่าง มค.- มิย.
แต่ไม่เกิน 7,500 บาท
เท่าที่จ่ายจริงระหว่าง มค.- มิย.
แต่ไม่เกิน 7,500 บาท
ไม่มีสทธิหักค่าลดหย่อน
(ดูกฎกระทรวง ฉบับัที่ 126 ข้อ 2 (76)

เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน
100,000 บาท
เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
100,000 บาท
เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
10,000 บาท

เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
15,000 บาท
เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
15,000 บาท
ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน



ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน

ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน


ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน

ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน



3. ค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่าย
    เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
   3.1 สำหรับผู้มีเงินได้

        3.2  คู่สมรส


หักไม่ได้เพราะเป็นค่าลดหย่อนสำหรับ
เงินได้ตาม ม.40 (1) ซึ่งคำนวน
ภาษีเงินได้ประจำปีเท่านั้น
เช่นเดียวกับผู้มีเงินได้


เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
10,000 บาท
(ยกเว้นเงินได้อีกไม่เกิน
490,000 บาท )
เช่นเดียวกับผู้มีงินได้


ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน



4. ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน
     รวมเพื่อการเลี้ยงชีพ



เท่าที่จ่ายจริงระหว่าง มค.- มิย.
เมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกองทุน กบข.แล้วไม่เกิน
500,000 บาท
 
เท่าที่จ่ายจริงเมื่อรวมกับ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือ กองทุน กบข.แล้ว
ไม่เกิน 500,000 บาท
 
ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน


5. ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
   เพื่อการมีที่อยู่อาศัย
   5.1  ผู้มีเงินได้กู้ยืมคนเดียว
   5.2  ผู้มีเงินได้หลายคน
         ร่วมกันกู้ยืม

(ต้องดูเงื่อนไขของกฎกระทรวง
ฉบับที่ 226/2543 ลง ร.จ 13 ต.ค 43)
เท่าที่จ่ายจริงระหว่าง มค.- มิย.
แต่ไม่เกิน  50,000 บาท
คนละครึ่งหนึ่งของส่วนเฉลี่ยดอกเบี้ย
ตามจำนวนผู้กู้ที่จ่ายจริงระหว่าง มค.
ถึง มิย. แต่ไม่เกิน  50,000 บาท
 
เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
100,000 บาท
คนละตามส่วนเฉลี่ยดอก
เบี้ยตามจำนวนผู้กู้แต่รวม
กันไม่เกิน  100,000 บาท


ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน



6. ค่าลดหย่อนเงินสมทบที่จ่าย
   เข้ากองทุนประกันสังคม
   6.1 สำหรับผู้มีเงินได้

   6.2 คู่สมรส





หักไม่ได้เพราะเป็นค่าลดหย่อนสำหรับ
เงินได้ตาม ม.40(1) ซึ่งคำนวนภาษี
เงินได้ประจำปีเท่านั้น
เช่นเดียวกับผู้มีเงินได้


เท่าที่จ่ายจริง

เช่นเดียวกับผู้มีงินได้


ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน


7. ค่าลดหย่อนเงินบริจาค




ที่จ่ายจริง ระหว่าง มค.- มิย. แต่ไม่เกิน
10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
และค่าลดหย่อนรายการอื่นแล้ว

เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
 10% ของเงินได้หลังจาก
หักค่าใช้จ่ายและค่าลด
หย่อนรายการอื่นแล้ว
 
เหมือนกับบุคคลธรรมดา


8.ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน
   รวมหุ้นระยะยาว


ที่จ่ายจริง ระหว่าง มค.- มิย.แต่ไม่เกิน
500,000 บาท

เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
 15% ของเงินได้และ
500,000 บาท
 
ไม่มีสิทธิหักค่าลดหย่อน


9.รายจ่ายสนับสนุนโครงการ
   การศึกษาที่กระทรวงศึกษา-
   ธิการ ให้ความเห็นชอบ


หักได้ 2 เท่า ของจำนวนที่จ่ายจริง
ระหว่าง มค.- มิ.ย.แต่ไม่เกินร้อยละ
10ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่า
ลดหย่อน
 
หักได้2เท่าแต่ไม่เกินร้อย
ละ 10 ของเงินได้หลังหัก
ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน

-
10.รายจ่ายเพื่อสนับสนุน
     การกีฬา


หักได้ 1.5 เท่า ของที่จ่ายจริง ระหว่าง
ม.ค - มิ.ย แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 2
ของเงินได้สุทธิ
 
หักได้ 1.5 เท่าของที่จ่าย
จริงแต่ต้องไม่เกินร้อย
ละ 2 ของเงินได้สุทธิ
 
-

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50 โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์

ชี้ช่องประหยัดเงิน (ภาษี) ภ.ง.ด.50  โดยอาจารย์ อมรศักดิ์ พงศ์พศุตม์
ได้อ่านหนังสือ : Tax & Business Magazine ซึ่งเขียนโดย อาจารย์ อมรศักดิ์  พงศ์พศุตม์ ซึ่งเห็นว่ามีประโยชน์จึงได้นำมาฝากทุกท่านเกี่ยวกับภาษีอากร ท่านผู้พิพากษา Learned Hand แห่งศาลอุทธรณ์ของสหรัฐอเมริกา (United States Court of Appeals) ได้กล่าวไว้ในฎีกาภาษีของอเมริกาว่า “Any one may so arrange his affairs that his taxes shall be as low as possible; he is not bound to chose the pattern which will best pay the Treasury…”ซึ่งถอดความได้ว่าปวง ประชาผู้เสียภาษีทุกผู้ทุกนาม ย่อมมีสิทธิ์เลือกวิธียื่นแบบชำระภาษีต่ำที่สุดที่ตนพึงต้องชำระได้ โดยไม่จำต้องเลือกเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีสูงสุดแด่ท้องพระคลังแต่อย่างใด…”วลี อมตะดังกล่าวสะท้อนปรัชญาของการวางแผนภาษีว่าเป็นสิทธิ และความชอบธรรมของผู้เสียภาษี ทั้งหลายในโลกนี้ที่พึงเลือก หรือเสาะหากลยุทธ์ภาษีใดๆ ให้ตนประหยัดได้ข้อเขียนในวันนี้จะชี้ช่อง/ชี้แนะถึงกลยุทธ์/เทคนิค/วิธีการต่างๆ แด่ท่านผู้อ่านตามสมควร เพื่อช่วยผ่อนร้อน (รุ่มจากการต้องควักจ่ายเงินภาษีก้อนโต) ผ่อนเครียดและผ่อนคลายจากบรรยากาศที่อึมครึมต่อเนื่องมายาวนาน เสียเวลาหยุดอ่านซักนิด! เพื่อพิชิตสรรพากรอย่างถูกกฎหมาย และชอบด้วยคุณธรรม ดังนี้ครับ