การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ในทางภาษีอากรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนไว้หลายบทบัญญัติ ดังนี้ 1. กรณีภาษีเงินได้นิติบุคคล แบ่งเป็น 1.1 หลักเกณฑ์การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปใน ระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี หรือคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลา เพื่อการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ ละรอบระยะเวลาบัญชี การคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร
1.2 การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 65 ทวิ (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้
การคำนวณราคาทุนของ สินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยน ของธนาคารพาณิชย์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นติดต่ออยู่โดยไม่ ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ โดยให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ คำนวณไว้ เพราะในขณะเดียวกันก็ต้องรับรู้เจ้าหนี้ต่างประเทศด้วย
อัตราถัวเฉลี่ยที่ ธนาคารพาณิชย์ขายซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ดังกล่าว ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ได้รับสินค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการซื้อสินค้าดังนี้
(1) กรณีซื้อสินค้าด้วยราคา FOB หรือราคา C&F ซึ่งผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าหรือครอบครองสินค้า ณ ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน หรือจุดที่ส่งมอบสินค้าในต่างประเทศ
(2)กรณีซื้อสินค้า ด้วยราคา CIF ซึ่งผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าหรือครอบครองสินค้า ณ ท่าเรือหรือท่าอากาศยานหรือจุดที่ส่งมอบสินค้าในประเทศไทย
1.3 การคำนวณมูลค่าขายสินค้าหรือให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศ
กรณีการคำนวณมูลค่าขายสินค้าหรือให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศ มิได้บัญญัติไว้โดยตรงดังเช่น กรณีการคำนวณราคาทุนของสินค้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศ แต่สามารถนำบทบัญญัติตามวรรคท้ายของมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากรมาปรับใช้โดยอนุโลม เพราะในการขายสินค้าหรือให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศต้องคำนวณค่าหรือ ราคาให้เป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคาร แห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
2. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.1 สำหรับการส่งออก และการขายสินค้า หรือการให้บริการเป็นเงินตราต่างประเทศให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 79/4(1) แห่งประมวลรัษฎากร "ในกรณีได้รับเงินตราต่างประเทศจากการขายสินค้า การให้บริการและได้มีการขายเงินตราต่างประเทศที่ได้รับชำระนั้นเป็นเงินตรา ไทยในความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นให้ถือเงินตราไทยจากการขาย นั้นเป็นมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้าหรือการให้ บริการแล้วแต่กรณี เว้นแต่มิได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษี มูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นให้ถือตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ความรับผิด ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น"
2.2สำหรับการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งผ่านพิธีการทางศุลกากร ให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 79/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร "ในกรณีนำเข้าสินค้า ให้คำนวณราคา ซีไอเอฟของสินค้านำเข้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราที่ กรมศุลกากรใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร"
3.กรณีทั่วไปนอกจากที่ระบุไว้ในสองกรณีดังกล่าวข้างต้น ให้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร
การ ใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 9 ก็คือการใช้อัตราแลกเปลี่ยนในกรณีที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ หากจำเป็นต้องมีการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร มีดังต่อไปนี้ 1. ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 2. ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังต่อไปนี้เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย (1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการ ธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยใน แต่ละวัน (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน การ ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังกล่าว เมื่อได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการหนึ่งวิธีการใดแล้วต้องใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ 3. ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามข้อ 2 ในการปฏิบัติการตามลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ในกรณีดังต่อไปนี้ (1) การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร (2) การหักภาษีตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร (3) การหักภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไร ตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (4) การออกใบกำกับภาษี (TAX INVOICE) สำหรับ การายสินค้าหรือการให้บริการที่ไม่สามารถคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตรา ไทยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร (5) การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร (6) กรณีอื่นที่มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายไว้โดยเฉพาะประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนตามประกาศฉบับก่อนให้คงใช้ได้ในการคำนวณสำหรับภาษีอากร ตามระยะเวลานั้นๆ
(รายละเอียดคำสั่งทั้งหมด โปรดดูข้างล่าง)
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.132/2548 เรื่อง การคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร -------------------------- เพื่อให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในการตรวจสอบและแนะนำ เกี่ยวกับการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65 ทวิ (5) มาตรา 65 ทวิ (8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร กรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ ยกเลิกคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.71/2541 เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในการปฏิบัติการเพื่อหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การหักภาษีตามมาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร การออกใบ กำกับภาษี และการลงรายการในรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2541
ข้อ 2 กรณี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น ตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุด ท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือ ทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคาร พาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์หรือ สถาบันการเงินอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด มีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุด ท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขายของ ธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุด ท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตาม วรรคหนึ่งและวรรคสอง หมายถึง เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับ หรือมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนเงินที่กำหนด ไว้แน่นอน เช่น เงินฝากธนาคาร (Cash) ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) ลูกหนี้และตั๋วเงินรับจากการขายสินค้า (Accounts and Notes Receivable) หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Securities) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดทันทีที่ต้องการ แต่ไม่รวมถึงตราสารทุนซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวที่เป็นสกุลเงินตราต่าง ประเทศเพื่อหวังเงินปันผลในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายของต่างประเทศ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือเดียวกัน (Loan to Subsidiaries) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expense) เจ้าหนี้จากการซื้อสินค้า (Accounts Payable) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expense) เป็นต้น
ข้อ 3 กรณี บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับมาหรือจ่ายไปซึ่งเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง แห่งประมวล รัษฎากร ราคาตลาดตามวรรคหนึ่ง กรณีการบันทึกบัญชี ณ วันที่เกิดรายการทรัพย์สิน หรือหนี้สิน หมายถึง (1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการ ธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยใน แต่ละวัน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรือ (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย) ราคาตลาดตามวรรคหนึ่ง กรณีการได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่เป็นจริงในทางปฏิบัติจากการนำเงินสกุลบาทไปแลกเป็นเงิน สกุลต่างประเทศ หรือเกิดจากการนำเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินสกุลบาท
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัทในต่างประเทศ โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ (1/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 หรือ (1/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2548 (2) บริษัท ข จำกัด ประกอบกิจการขายเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าให้แก่บริษัทในต่างประเทศ โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ข จำกัดดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2548 บริษัท ข จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ (2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2548 หรือ (2/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2548 เนื่องจากวันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2548 เป็นวันหยุดราชการ (3) บริษัท ค จำกัด ประกอบกิจการเป็นนายหน้าตัวแทน ได้ให้บริการแก่บริษัทในต่างประเทศ โดยตกลงราคาค่าบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ค จำกัดดำเนินการออกใบแจ้งหนี้และบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 บริษัท ค จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ (3/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 หรือ (3/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 6 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร (4) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารในต่างประเทศ บริษัท ง จำกัด บันทึกบัญชีเจ้าหนี้เงินกู้ยืมในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 หรือวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้ (4/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 หรือในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 (4/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2548 และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน2548 กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ
ข้อ 4 การหัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร การหักภาษีตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร การหักภาษีจากการจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมิน การจำหน่ายเงินกำไรหรือการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายเงินกำไร หรือผู้มีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มต้องคำนวณจำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่ง โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังต่อไปนี้ เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (1) อัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย ว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็น เงินตราไทยใน แต่ละวัน (อัตราขาย) หรือ (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละ วัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการหนึ่งวิธีการใดแล้ว ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ในกรณีที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรตามวรรคหนึ่งด้วยเช็ค ให้คำนวณจำนวนภาษีที่ต้องหักและนำส่งตามวันที่ที่ลงในเช็ค และให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามวรรคหนึ่ง
ตัวอย่าง (1) บริษัท ก จำกัด จ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้ (1/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 หรือ (1/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2548 (2) บริษัท ข จำกัด จ่ายเงินปันผลให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 บริษัท ข จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้ (2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 หรือ (2/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 12 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 14 วันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร และ วันเสาร์ที่ 16 วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ (3) บริษัท ค จำกัด จ่ายเงินค่าดอกเบี้ยให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 บริษัท ค จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.54 ดังนี้ (3/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 หรือ (3/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 25 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 2548 เนื่องจากวันเสาร์ที่ 23 และวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ (4) บริษัท ง จำกัด จ่ายเงินค่าบริการเช่าพื้นที่บนเว็บไซต์ (Web Site) ให้แก่บริษัทในต่างประเทศในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เวลาประมาณ 13.00 น. บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.พ.36 ดังนี้ (4/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ (4/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขาย ถัว เฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2548 (5) บริษัท จ จำกัด จ่ายเงินเดือนให้แก่พนักงานซึ่งเป็นชาวต่างประเทศทุกวันที่ 30 ของเดือน โดยการโอนเงินเดือนของพนักงานเข้าบัญชีธนาคารของพนักงาน ซึ่งในวันที่ 30 เมษายน 2548 ตรงกับวันเสาร์ บริษัท จ จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1 ดังนี้ (5/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ 5/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ
ข้อ 5 เว้นแต่กรณีตามข้อ 6 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการและมี หน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 มาตรา 86/5 มาตรา 86/6 และมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ตกลงราคาสินค้าหรือค่าบริการเป็นหน่วยเงินตรา ต่างประเทศ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีข้อตกลงให้ออกใบแจ้งหนี้เป็นเงินบาทหรือชำระราคาสินค้าหรือค่า บริการเป็นเงินบาท ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องแสดงมูลค่าของสินค้าหรือของบริการและจำนวนภาษี มูลค่าเพิ่มเป็นหน่วยเงินตราไทยในใบกำกับภาษี โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการดังต่อไปนี้ เป็นอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ทั้งนี้ ตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 (1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการ ธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยใน แต่ละวัน (อัตราซื้อ) หรือ (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ย) การใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามวิธีการหนึ่งวิธีการใดแล้ว ต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรานั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรจึงจะเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 วรรคสอง ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับชำระราคาสินค้าและค่าบริการด้วยเช็ค ให้คำนวณมูลค่าของสินค้าหรือของบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นหน่วยเงิน ตราไทยตามวันที่ที่ลงในเช็ค และให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามวรรคหนึ่ง กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ออกใบกำกับ ภาษีเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศตามมาตรา 86/4 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนต้องระบุอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตรา ไทยตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากรไว้ในใบกำกับภาษีด้วย
ตัวอย่าง
(1) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ข จำกัด โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ส่งมอบสินค้าในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (1/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 หรือ (1/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 2548 (2) บริษัท ค จำกัด ประกอบกิจการให้บริการเป็นที่ปรึกษา ได้ให้บริการแก่บริษัท ง จำกัด โดยตกลงราคาค่าบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ค จำกัด ดำเนินการออกใบแจ้งหนี้ในวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2548 แต่บริษัท ง จำกัด ชำระราคาค่าบริการในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2548 บริษัท ค จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษีดังนี้ (2/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2548 หรือ (2/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพุธที่ 16 มีนาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 15 มีนาคม 2548 (3) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ข จำกัด โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ส่งมอบสินค้าในวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (3/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 หรือ (3/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2548 (4) บริษัท ก จำกัด ประกอบกิจการขายเม็ดพลาสติก ได้มีการขายเม็ดพลาสติกให้แก่บริษัท ข จำกัด โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด ส่งมอบสินค้าในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (4/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 หรือ (4/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 12 เมษายน 2548 เนื่องจากวันพุธที่ 13 วันพฤหัสบดีที่ 14 วันศุกร์ที่ 15 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร และวันเสาร์ที่ 16 วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2548 เป็นวันหยุดราชการ (5) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้รับชำระราคาค่าบริการในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เวลาประมาณ 11.00 น. บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (5/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ (5/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGH หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2548 (6) บริษัท ง จำกัด ประกอบกิจการโรงแรมและภัตตาคาร ได้รับชำระราคาค่าบริการในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 บริษัท ง จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (6/1) ใช้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 หรือ (6/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGH หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่าง ๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ (7) บริษัท จ จำกัด ประกอบกิจการขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ได้ขายน้ำมันให้แก่บริษัท ฉ จำกัด โดยตกลงราคาน้ำมันเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท จ จำกัด ส่งมอบน้ำมันในวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2548 เป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกบริษัท จ จำกัด ส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ธนาคารพาณิชย์จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน และเป็นเวลาก่อนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตาม อัตราอ้างอิงประจำวันในแต่ละวัน (ธนาคารพาณิชย์จะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละวัน เริ่มต้นในเวลาประมาณ 08.00 น. ของแต่ละวัน ซึ่งอาจมีการประกาศอีกหลายครั้งในแต่ละวัน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำ วันในแต่ละวันในเวลาประมาณ 08.00 น. ของแต่ละวัน) และครั้งที่สองเวลา 08.30 น. ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ธนาคารพาณิชย์ประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในแต่ละ วัน และธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำ วันในแต่ละวันแล้ว บริษัท จ จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (7/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ในวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 08.30 น. หรือ (7/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 3 พฤษภาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 08.30 น. (8) บริษัท ช จำกัด ประกอบกิจการขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ได้ขายน้ำมันให้แก่บริษัท ซ จำกัด โดยตกลงราคาน้ำมันเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ช จำกัด ส่งมอบน้ำมันในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 2548 เป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกบริษัท ช จำกัด ส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. ครั้งที่สองเวลา 09.00 น. และส่งมอบน้ำมันในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2548 เป็นจำนวน 1 ครั้ง เวลา 11.00 น. บริษัท ช จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (8/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันทั้ง 3 ครั้งดังกล่าว หรือ (8/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันทั้ง 3 ครั้งดังกล่าว เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ (9) บริษัท ฌ จำกัด ประกอบกิจการขายน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์น้ำมันได้ขายน้ำมันให้แก่บริษัท ญ จำกัด โดยตกลงราคาน้ำมันเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ฌ จำกัด ส่งมอบน้ำมันในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2548 เป็นจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรก บริษัท ฌ จำกัด ส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. ครั้งที่สองเวลา 09.00 น. บริษัท ฌ จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยน ในการออกใบกำกับภาษี ดังนี้ (9/1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศ ไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 01.00 น. และใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันเวลา 09.00 น. หรือ (9/2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งอาจจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพุธที่ 31 สิงหาคม 2548 ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2548 สำหรับการส่งมอบน้ำมันทั้งสองครั้งดังกล่าว เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ
ข้อ 6 กรณีการออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการดังต่อไปนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 5 (1) การออกใบกำกับภาษีกรณีการขายสินค้าโดยการส่งออก ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิใช้ใบกำกับสินค้าหรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ส่งออกได้ ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าใบกำกับสินค้าหรืออินวอยซ์ได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีในกรณีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่าง ประเทศได้ (2) การออกใบกำกับภาษีกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้ บริการนั้นในต่างประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิใช้ใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ซึ่งได้ออกเป็นปกติ ตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีในกรณีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่าง ประเทศได้ (3) การออกใบกำกับภาษีสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดย อากาศยาน ผู้ประกอบการมีสิทธิใช้แอร์เวย์บิลหรือเฮาส์แอร์เวย์บิลที่ผู้ขนส่งหรือตัว แทนรับขนส่งได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าแอร์เวย์บิลหรือเฮาส์แอร์เวย์บิลได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของบริการเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ได้ ข้อ 7 กรณีการลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร ของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 5 และข้อ 6 ให้ปฏิบัติดังนี้ (1) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือ ให้บริการซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 5 จะต้องลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษี สำหรับการคำนวณมูลค่าของสินค้าหรือของบริการในรายงานภาษีขายให้ถือมูลค่าของ สินค้าหรือของบริการซึ่งได้คำนวณเป็นหน่วยเงินตราไทยตามใบกำกับภาษี (2) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าซึ่ง ได้ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 6(1) จะต้องลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ชำระอากรขาออก หรือวางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก เว้นแต่กรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออก ก็ให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออกตาม กฎหมายว่าด้วยศุลกากร โดยให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในรายงานภาษีขาย ดังต่อไปนี้ (ก) ถ้าได้รับเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าในขณะที่ออกใบกำกับภาษี ตามข้อ 6(1) และได้มีการขายเงินตราต่างประเทศที่ได้รับชำระนั้นเป็นเงินตราไทยในเดือนที่ ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือเงินตราไทยจากการขายนั้นเป็นมูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือพึงได้รับ จากการขายสินค้า เว้นแต่มิได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษี มูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ให้ถือตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ คำนวณไว้ในวันทำการสุดท้ายของเดือนที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เกิดขึ้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/4(1) แห่งประมวลรัษฎากร (ข) ถ้ายังไม่ได้รับเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าในขณะที่ออกใบกำกับ ภาษีตามข้อ 6(1) ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตาม (ก) หรือ (ข) ในเดือนภาษีที่ลงรายงานแล้ว ให้ถือมูลค่าของสินค้าซึ่งได้คำนวณเป็นเงินตราไทยเพื่อการยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีของเดือนภาษีนั้น ถ้าได้รับชำระราคาค่าสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศในเดือนภาษีอื่น หรือได้มีการขายเงินตราต่างประเทศในเดือนภาษีอื่น ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในเดือน ภาษีที่ได้รับเงินตราต่างประเทศ หรือในเดือนภาษีที่มีการขายเงินตราต่างประเทศ (3) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งการให้บริการ ได้กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามข้อ 6(2) ต้องลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ออกใบแจ้งหนี้หรืออินวอยซ์ โดยให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในรายงานภาษีขายตามหลักเกณฑ์ที่ กำหนดตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร (4) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ให้บริการขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศโดยอากาศยานซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 6(3) ให้ดำเนินการเช่นเดียวกับการลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจด ทะเบียนที่ส่งออกสินค้าตาม (2)
ข้อ 8 กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ให้คำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้านำเข้าที่เป็นเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามอัตราที่กรม ศุลกากรใช้คำนวณเพื่อเรียกเก็บอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ทั้งนี้ ตามมาตรา 79/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 9 กรณี ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 5 ออกใบกำกับภาษีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยไม่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือ ไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับใบกำกับภาษีไม่มีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อใน การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องห้ามตามมาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 10 กรณี ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ออกใบกำกับภาษีและส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ สินค้าหรือผู้รับบริการไปแล้ว ต่อมาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ ว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลง ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องยกเลิกใบกำกับภาษีฉบับเดิมและออกใบกำกับภาษี ฉบับใหม่ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ เนื่องจากไม่ใช่กรณีการออกใบกำกับภาษีที่มีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดตาม มาตรา 82/5 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธิออกใบเพิ่มหนี้หรือใบลดหนี้ตามมาตรา 86/9 และมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราดังกล่าวไม่ใช่เหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นตามมาตรา 82/9 และมาตรา 82/10 แห่งประมวลรัษฎากร ผลต่างระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนถือเป็นผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมิ ใช่มูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างของ อัตราแลกเปลี่ยน
ข้อ 11 บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือหรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้เป็นอันยกเลิก
ข้อ 12 คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2548
ศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์ (นายศิโรตม์ สวัสดิ์พาณิชย์) อธิบดีกรมสรรพากร
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น