กำเนิด IFRS - เพราะเรายังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นรูปแบบเดียวกันอันเป็นมาตรฐานสากลของโลก
ดัง จะเห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ที่เรียกว่า GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ในขณะที่ทางยุโรปใช้มาตรฐานการบัญชีที่เรียกว่า IAS (International Accounting Standard) สำหรับประเทศไทยเริ่มต้นการจัดทำบัญชีจากระบบมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับ GAAP และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเพื่อให้สอดคล้องกับ IASเพื่อ ให้มาตรฐานทุกอย่างรวมกันเป็นมาตรฐานเดียวทั่วโลก ดังนั้น IASB (International Accounting Standard Board) หรือคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีสากล จึงได้มีความพยายามที่จะกำหนดมาตรฐานการบัญชีให้เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อใช้ เป็นหลักสากลทั่วโลก (International Financial Reporting Standards: IFRS) โดยพัฒนาและออกกฎระเบียบการลงบันทึกบัญชีใหม่เพื่อให้โลกมีภาษาบัญชีเดียว กันทั่วโลก สำหรับประเทศที่ได้ประกาศตัวพร้อมที่จะรับ IFRS มาใช้ในการลงบัญชี ได้แก่ สหภาพยุโรป ซึ่งกำหนดว่าทุกบริษัทต้องทำงบการเงินให้เป็นไปตาม IFRS ภายในปี 2005 ส่วนประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์นั้น ได้กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทที่จำหน่ายหลักทรัพย์ ในตลาดเงินตลาดทุน ต้องทำบัญชีงบการเงิน ณ สิ้นปี 2005 ให้เป็นไปตามมาตรฐาน IFRS ทุกข้อ
ประโยชน์ของ IFRS หรือการมีมาตรฐานการบัญชีแบบเดียวกันทั่วโลก
- จะ ทำให้ข้อมูลงบการเงินมีความชัดเจน โปร่งใสมากขึ้น ทำให้การวิเคราะห์ ประเมิน และเปรียบเทียบฐานะการเงินของบริษัทเป็นไปอย่างถูกต้อง สะดวกยิ่งขึ้น อีกทั้งยังทำให้บริษัท มีโอกาสและสามารถระดมทุนข้ามประเทศ (Cross-border listing and fund raising) ได้ง่ายขึ้น
- มีต้นทุนที่ต่ำลง (Lower COst)
- ผู้ ถือหุ้นและผู้กำกับดูแลได้รับข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้อง ซึ่งการที่ทั่วโลกมี Global Accounting / Accountability Framework จะทำให้การไหลเข้าออกของเงินทุนระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
ปัญหาและอุปสรรคของการปฏิบัติตามระบบมาตรฐานการ IFRS และผลกระทบที่จะเกิดกับประเทศไทย
- อาจเพิ่มความยุ่งยากสลับซับซ้อนในการลงบัญชีตามมาตรฐานสากลใหม่
- ภาษาในการจัดทำคู่มือตามมาตรฐานการลงบัญชีใหม่ให้เข้าใจตรงกันทั่วโลกอาจมีความยุ่งนากในการจัดทำ
- ปัญหาที่จะเกิดกับบริษัทขนาดกลางและย่อม (SMEs) ในการจัดลงบัญชีใหม่ซึ่งยังไม่มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรทางการเงิน
- มาตรฐาน IFRS ในบางข้อยังก่อให้เกิดปัญหาความยุ่งยากในการปฏิบัติ และไม่เหมาะสมกับกรอบกฎหมายไทย เช่น การตีราคาสินทรัพย์ที่รอการขาย Fair Value Option การลงบัญชีและทำงบการเงินในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูง การตั้งสำรอง Provisioning ตลอดจนความขัดแย้งในบางกรณีกับกฎเกณฑ์ด้านการกำกับดูแล (Prudential Requirement) และเกณฑ์ Basel II
- ประกาศรับ IFRS เพื่อนำไปปฏิบัติเป็นมาตรฐานการบัญชี(Adoption approach)
- พัฒนา มาตรฐานการบัญชีของไทยให้มีรายละเอียดที่ครอบคลุม ลดความแตกต่างและทำให้สอดคล้องกับมาตรฐาน IFRS (Convergence approach) อย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นลำดับและต่อเนื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น