ขอนำประเด็นผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันเป็น ส่วนหนึ่งของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนาดังนี้
ปุจฉา ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิสัชนา ได้มีการกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้ ไม่ว่าบุคคลต่างๆ ดังกล่าวจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทใดในหน้าที่ตำแหน่งงานหรือกิจการที่ กำหนดนั้น
1. บุคคลตามข้อผูกพันที่ประเทศมีอยู่ตามสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ หรือทางเทคนิคระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2499)
2. เจ้าหน้าที่ หรือผู้เชี่ยวชาญ ขององค์การสหประชาชาติ หรือทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในประเทศไทยในเมื่อประเทศไทยมีข้อผูกพันให้ยกเว้น ตามอนุสัญญาหรือความตกลง (มาตรา 4(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2500)
3. บุคคลในคณะทูต บุคคลในคณะกงสุล และบุคคลที่ถือว่าอยู่ในคณะทูตตามความตกลง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติต่อกัน (มาตรา 4(2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500)
4. บุคคลตามสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลได้ทำไว้ หรือจะได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2505)
5. บุคคลที่มีสัญชาติอเมริกันซึ่งเป็นลูกจ้าง หรือพนักงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นคู่สัญญากับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการเข้ามาประกอบกิจการเกี่ยวกับการ บำรุงรักษายุทธปัจจัย และงานที่เกี่ยวข้องในราชอาณาจักรโดยเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อปฏิบัติงาน บำรุงรักษายุทธปัจจัยและงานที่เกี่ยวข้องในราชอาณาจักรของบริษัทหรือห้าง หุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นจากกฎหมายของสหรัฐอเมริกานั้น (คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 79/2515 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2515)
6. บุคคลตามที่กำหนดไว้ ในความตกลงระหว่างรัฐบาลไทย กับองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (องค์การซีเมส) เกี่ยวกับสำนักงานใหญ่ขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใน ประเทศไทย ซึ่งได้แก่
(1) ผู้อำนวยการซีเมส หรือพนักงานใด ๆ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ทำการแทนผู้อำนวยการซีเมส
(2) พนักงานระหว่างประเทศซึ่งมีชื่อส่งไป และได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ของไทยที่เหมาะสมแล้วโดยได้รับยกเว้น ภาษีจากทางตรงทั้งปวงสำหรับเงินเดือน และรายได้ซึ่งองค์การซีเมสได้จ่ายให้
(3) ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษา นอกจากพนักงานของซีเมสผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อซีเมส (ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 17 ลงวันที่ 12 มกราคม 2515)
7. กรณีสำนักงาน หรือหน่วยงาน หรือกองทุนที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะกรรมการซึ่งจัดตั้งขึ้น โดยกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกระทำกิจการตามนโยบายของทางราชการ โดยมีการเรียกเก็บเงินจากผู้ประกอบการ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของทางราชการ ถ้ามีเงินเหลือก็จะจ่ายคืนให้แก่ผู้ประกอบการ และกรรมการ หรือบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงาน หรือหน่วยงาน หรือกองทุน หรือคณะกรรมการดังกล่าว มิได้รับเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินนอกเหนือจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีดังกล่าวถือได้ว่า สำนักงาน หรือหน่วยงานหรือกองทุนที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะกรรมการดังกล่าว ทำหน้าที่แทนกระทรวง ทบวง กรม และผู้ประกอบการ จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากร (คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยอากรที่ 24/2536)
นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่มีเงินได้พึงประเมินในระหว่างปีภาษีก็เป็นผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน
ปุจฉา การเป็นผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับการเป็นผู้มีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแตกต่างกันอย่างไร
วิสัชนา ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แตกต่างจากผู้มีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังนี้
ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลหรือคณะบุคคลที่กฎหมายกำหนดยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้จากเงินได้พึงประเมินที่บุคคลโดยทั่วไปมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้นั้น ดังเช่นบุคคลดังได้กล่าวข้างต้น
ผู้มีเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หมายถึง บุคคลรวมทั้งกองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง และห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินประเภทที่กฎหมายกำหนดยกเว้นให้ไม่ต้องนำเงินได้ พึงประเมินนั้นมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งได้แก่
1. เงินได้พึงประเมินตามที่ระบุไว้ในมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร
2. เงินได้พึงประเมินตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ซึ่งออกตามความในมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร
3. เงินได้พึงประเมินตามที่กำหนดยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับต่างๆ อาทิ พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 จตุทศ มาตรา 5 ปัณรส มาตรา 5
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น