h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตรวจสอบบัญชี

กฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลต้องทำการปิดงบการเงิน แล้วนำส่งให้ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบบัญชีและเซ็นรับรองงบ เพื่อนำส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากร

การตรวจสอบบัญชีมีวัตถุประสงค์คือ ...

       ตรวจสอบและแสดงความเห็นว่างบการเงินนั้น ๆ มีความถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองหรือไม่ เพียงใด รวมถึงการแสดงข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้ผู้อ่านงบการเงิน ได้รับทราบข้อมูลอย่างเพียงพอ


ขอบเขตของงานบริการ

1. ตรวจสอบบัญชี-งบการเงิน ด้วยทีมงานผู้ตรวจสอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
2. รายงานข้อสังเกตสู่ผู้บริหาร เพื่อให้ทราบถึงข้อบกพร่องของระบบภายในทางบัญชีที่สำคัญ ซึ่งมักตรวจพบในระหว่างปฏิบัติงาน ตรวจสอบบัญชี
3. บริการจัดเตรียมรายละเอียดประกอบการยื่นงบการเงิน พร้อมยื่นงบส่งกระทรวงพาณิชย์ ได้แก่ สปช.3, สำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) 

   






   บริการงานตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้บริการงานตรวจสอบบัญชีที่มีคุณภาพและให้ข้อเสนอแนะในการตรวจสอบบัญชี

   ติดต่อสอบถามงานตรวจสอบบัญชีได้ที่คุณออย เบอร์ 085-2202277 

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จดทะเบียนบริษัทราคาถูก

***จดทะเบียนบริษัท 8,500 บาท (รวมค่าธรรมเนียม 6,300 บาท แล้ว)
***จดทะเบียน หจก 3,500 บาท (รวมค่าธรรมเนียม 1,350 บาทแล้ว)
***จดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้า คณะบุคคล 1,500 บาท (ราคาจดทะเบียนรวมค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว)
***จดเลิกกิจการ เริ่มต้น 11,000 บาท รวมปิดงบเลิกประกาศลงหนังสือพิมพ์และค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว
***จดเปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรรมการเข้าออก เปลี่ยนอำนาจกรรมการ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ เปลี่ยนชื่อ เพิ่มทุน ค่าบริการ เริ่มต้น 1,500 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมและประกาศลงหนังสือพิมพ์ตามกฎของกรม)
***จดเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (ภ.พ.09) 1,500 บาท
***จดบัตรผู้เสียภาษี 500 บาท จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 1,500 บาท
***ขึ้นทะเบียนประกันสังคม 1,500 บาท

บริการงานด้านบัญชีและยื่นภาษี ค่าบริการเริ่มต้นที่ 500 บาท


วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์

เมื่อบริษัทได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้ว ต่อมาบริษัทต้องการประกอบกิจการค้าเพิ่มเติมจากวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนไว้ หรือต้องการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ที่ประกอบกิจการบางอย่าง บริษัทจะต้องดำเนินการแก้ไขวัตถุประสงค์ โดยจัดประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อมีมติพิเศษให้แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. (วัตถุที่ประสงค์) แล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. มีดังนี้
1. จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมติพิเศษ โดยส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมผู้ถือหุ้นทางไปรษณีย์ตอบรับ และลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และให้ระบุวาระการประชุมเรื่องแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของบริษัท และแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. ที่ต้องการจะแก้ไขให้ครบถ้วน
การนับระยะเวลาบอกกล่าวนัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ตอบรับหรือวันที่ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุดเป็วันแรกแห่งระยะเวลา และการประชุมจะมีขึ้นได้ในวันถัดจากวันสิ้นสุดแห่งกำหนดระยะเวลานั้น
2. ในการลงมติให้แก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 3. (วัตถุประสงค์) ต้องลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
3. จัดทำคำขอจดทะเบียน โดยให้กรรมการตามอำนาจที่จดทะเบียนไว้เป็นผู้ขอจดทะเบียนแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. (วัตถุที่ประสงค์)
1. วัตถุประสงค์ตามที่ประชุมมีมติพิเศษให้แก้ไข
เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. (วัตถุที่ประสงค์)
1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
3. รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือ มติพิเศษ (แบบ บอจ.4)
4. แบบวัตถุที่ประสงค์ (แบบ ว.) จะต้องระบุวัตถุประสงค์ทั้งหมดที่มีมติพิเศษให้แก้ไขแล้ว *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
5. หนังสือบริคณห์สนธิแก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 1 ฉบับ ผนึกอากรแสตมป์ 50 บาท
6. แบบ สสช. 1 จำนวน 1 ฉบับ
7. หลักฐานการให้ความเห็นชอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ใช้เฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม)
8. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
9. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อผู้ขอจดทะเบียน*
10. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกอากรแสตมป์ด้วย)
แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถขอและซื้อได้จากหน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ Download จาก www.dbd.go.th

ค่าธรรมเนียม
จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3. 400 บาท
ค่าหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
รับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

สถานที่จดทะเบียน
1. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนได้ที่ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ชั้น 4 ถนนนนทบุรี 1 จังหวัดนนทบุรี หรือสำนักงานพัฒนา ธุรกิจการค้าทั้ง 5 เขต *ดูรายละเอียด*
2. สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น ยื่นจดทะเบียนได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่บริษัทมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
3. ยื่นจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ตที่ www.dbd.go.th *ดูคำแนะนำการจดทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต*

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการยื่นแบบประกันสังคมและตัวอย่าง

1. กรณีมีพนักงานเข้าทำงานใหม่ จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน แบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
1.1 กรณีไม่เคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้ยื่นแบบ สปส.1-03 พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัว
ประชาชน (พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง )
1.2 กรณีเคยขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาก่อน (ไม่ว่าทางประกันสังคมจะออกบัตรรับรองสิทธิให้
แล้วหรือไม่ก็ตาม) ให้ยื่นแบบ สปส. 1-03/1 เท่านั้น
***หมายเหตุ บุคคลที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์
หลักการนำส่ง สปส.1-03 และ สปส. 1-03/1 มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. สปส. 1-03 → แนบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน → พร้อมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง
(รวมเรียกว่า 1 แผ่น)
2. สปส. 1-03/1 (รวมเรียกว่า 1 แผ่น )
3. ปะหน้าด้วย สปส.1-02 แล้วรวมจำนวนแผ่นที่นำส่งประกันสังคม
4. ส่งให้ นายจ้าง / ผู้รับมอบอำนาจ → เซ็น → พร้อมประทับตรานิติบุคคล (ถ้ามี)
2. กรณีพนักงานลาออก ให้ยื่นแบบ สปส. 6-09
3. กรณีพนักงานขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ และหรือขอแก้ไขบัตร ให้ยื่นแบบ สปส.9-02
(ขอเปลี่ยนสถานพยาบาลใหม่ประจำปีได้ในวันที่ 1 ม.ค – 31 มี.ค ของทุกปี )
4. กรณีพนักงานประสบอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง ให้ยื่นแบบ กท.16 และ กท.44
5. กรณีขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม ให้ยื่นแบบ สปส.2-01
ข้อกำหนดของประกันสังคม
- กรณีนำส่ง สปส. 1-03 และ สปส. 1-03 / 1 ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้า ทำงาน มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน
20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีนำส่ง สปส. 6-09 ให้แจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ไม่เกินวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนบริษัท

เมื่อจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ก็ให้ดำเนินการดังนี้
1. ผู้เริ่มก่อการจัดให้มีการจองซื้อหุ้นทั้งหมด
2. เมื่อมีการจองซื้อหุ้นหมดแล้ว ก็ให้ผู้เริ่มก่อการออกหนังสือนัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อประชุมจัดตั้งบริษัท การออกหนังสือนัดประชุมจะต้องห่างจากวันประชุมอย่างน้อย 7 วัน
3. จัดประชุมผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัท
3.1 องค์ประชุมจะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 2 คน นับจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของหุ้นทั้งหมด (จะมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนก็ได้)
3.2 วาระการประชุม
(1) ทำความตกลงตั้งข้อบังคับของบริษัท
(2) ให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้เริ่มก่อการได้ทำไว้ และค่าใช้จ่ายที่ผู้เริ่มก่อการต้องจ่ายในการเริ่มก่อตั้งบริษัท
(3) กำหนดจำนวนเงินซึ่งจะให้แก่ผู้เริ่มก่อการ (ถ้ามี)
(4) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุ้นบุริมสิทธิ ให้กำหนดจำนวนหุ้นบุริมสิทธิพร้อมทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิว่ามีสภาพหรือสิทธิอย่างไร
(5) ในกรณีที่บริษัทจะออกหุ้นเพื่อเป็นการตอบแทนการลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน จะต้องกำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิซึ่งออกให้เหมือนหนึ่งว่าได้ใช้เต็มค่าแล้วหรือได้ใช้แต่บางส่วนเพราะได้ใช้ค่าหุ้นด้วยอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน โดยจะต้องระบุรายละเอียดให้ชัดเจนทั้งในหนังสือนัดประชุมและมติที่ประชุมแรงงานที่จะนำมาตีราคาเป็นค่าหุ้นของบริษัทต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว
(6) การเรียกชำระค่าหุ้น
(7) เลือกตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจกรรมการ
(8) เลือกผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมทั้งกำหนดค่าสินจ้าง การตั้งผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเพื่อตรวจสอบและรับรองงบการเงินต้องแต่งตั้งบุคคลธรรมดาเท่านั้น จะแต่งตั้งสำนักงานตรวจสอบบัญชีไม่ได้”
4. ผู้เริ่มก่อการมอบหมายกิจการงานทั้งหมดให้แก่คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุม
5. คณะกรรมการเรียกเก็บค่าหุ้นจากผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น อย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
6. เมื่อเก็บค่าหุ้นได้ครบแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้วยื่นจดทะเบียนต่อนายทะเบียน

การยื่นจดทะเบียนจะต้องให้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและต้องยื่นจดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมจัดตั้งบริษัท ถ้าไม่จดทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจะทำให้การประชุมตั้งบริษัทเสียไป หากต่อไปต้องการจดทะเบียนตั้งบริษัทก็ต้องดำเนินการจัดประชุมผู้จองซื้อหุ้นใหม่

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. ข้อบังคับ (ถ้ามี)
2. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
3. ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
4. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ) *ดูตัวอย่างการกำหนดอำนาจกรรมการ*
5. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
6. ชื่อ ที่อยู่ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
7. ตราสำคัญ *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*
8. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่/สาขาบริษัทจะไม่จดทะเบียนตราสำคัญของบริษัทก็ได้ หากว่าอำนาจกรรมการไม่ได้กำหนดให้ต้องประทับตราสำคัญด้วย

เอกสารหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด
1. คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด (แบบ บอจ.1)
2. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
3. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
4. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (แบบ บอจ.5)
5. สำเนาหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท
6. สำเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
7. สำเนาข้อบังคับ ปิดอากร 200 บาท (ถ้ามี)
8. หนังสือบริคณห์สนธิฉบับตีพิมพ์และข้อบังคับฉบับตีพิมพ์ อย่างละ 1 ฉบับ
9. แบบ สสช.1 จำนวน 2 ฉบับ
10. หลักฐานการชำระค่าหุ้น ได้แก่
10.1 หนังสือรับรองธนาคาร หรือ
10.2 สำเนาหลักฐานแสดงการรับชำระค่าหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละราย
11. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
12. สำเนาหลักฐานแสดงสถานะของผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)*ดูหลักเกณฑ์การลงลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียน*
13. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเองก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและปิดอากรแสตมป์ด้วย)
14. กรณีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ร้อยละ 40 แต่ไม่ถึงร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน หรือกรณีมีคนต่างด้าวลงทุนในบริษัทจำกัดต่ำกว่าร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียนแต่คนต่างด้าวเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ให้ผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละราย อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
14.1 สำเนาสมุดเงินฝากธนาคาร หรือสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือนหรือ
14.2 เอกสารที่ธนาคารออกให้เพื่อรับรอง หรือแสดงฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้น หรือ
14.3 สำเนาหลักฐานที่แสดงแหล่งที่มาของเงินที่นำมาชำระค่าหุ้นแบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถขอและซื้อได้จากหน่วยงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือ
Download จาก www.dbd.go.th

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.   แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ) ทุกแห่ง

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ข่าว ปชส. 31 / 2553 เรื่อง กรมสรรพากรเตือนให้เสียภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94 ภายใน 30 กันยายน นี้

 ข่าว ปชส. 31 / 2553 เรื่อง กรมสรรพากรเตือนให้เสียภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด.94 ภายใน 30 กันยายน นี้

http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/news31_53.pdf

กรมสรรพากรแจ้งเตือนบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน การประกอบวิชาชีพอิสระ การรับเหมาก่อสร้าง และธุรกิจค้าขายต่างๆ ให้ยื่นแบบภาษีบุคคลธรรมดาครึ่งปี ภ.ง.ด. 94 ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 กันยายน 2553

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ผู้ประกันตนเตรียมเฮ เพิ่มสิทธิ ประกันสังคม อีก 6 เรื่อง

ประกันสังคมเพิ่มสิทธิประโยชน์คลอดลูก-ทำฟัน-โรคจิต-ทุพพลภาพ เผยสปส.ลงทุนครึ่งปีแรกฟันกว่า1.5หมื่นล้าน

นาย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ว่าสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนใน 6 เรื่อง ดังนี้ 1.เพิ่มค่าคลอดบุตรจากครั้งละ 12,000 บาท เป็น 13,000 บาท 2.เงินสงเคราะห์บุตรจากรายละ 350 บาท เป็น 400 บาท 3.ค่าทันตกรรมจากครั้งละไม่เกิน 250 บาท ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง หรือ 500 บาท เป็นครั้งละ 300 บาท หรือปีละไม่เกิน 600 บาท 4.สิทธิในการให้บริการใส่รากฟันเทียม 5.เพิ่มสิทธิในกรณีรักษาโรคจิต 6.เพิ่มค่ารักษากรณีทุพพลภาพจากเดือนละไม่เกิน 2,000 บาท เป็น 4,000 บาท

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

บัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี

การจัดทำบัญชี

----------เมื่อเริ่มต้นประกอบธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องพิจารณาไปพร้อม ๆ กับการวางแผนการดำเนินธุรกิจ คือ การเตรียมการในเรื่องการจัดทำบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี เพื่อจะได้จัดทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย

วันอังคารที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เรื่อง ภงด 51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

สรุป ภงด.51 ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ปีแรกที่ตั้งบริษัทไม่ต้องยื่นแบบ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วรอบบัญชีไม่เต็ม 12 เดือน เช่น เปิดบริษัทวันที่ 10 กพ. ถ้าปิดงบวันที่ 31 ธค. ก็ไม่ต้องยื่นแบบ ภงด.51 หรือถึงแม้ว่าจะปิดงบในวันที่ 31 มค.ของปีถัดไป รอบบัญชีก็ไม่เต็ม 12 เดือนอยู่ดี เว้นแต่ว่าจะปิดงบในวันที่ 9 กพ.ของปีถัดไป ซึ่งจะทำให้รอบบัญชีครบ 12 เดือนพอดี อย่างนี้ก็ต้องยื่นเสียภาษี ภงด.51 กลางปีด้วย

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานบัญชี รู้จักกับ IFRS (International Financial Reporting Standards)

กำเนิด IFRS - เพราะเรายังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่เป็นรูปแบบเดียวกันอันเป็นมาตรฐานสากลของโลก

ดัง จะเห็นได้จากการที่สหรัฐอเมริกาใช้ระบบมาตรฐานการบัญชีที่ตนเองพัฒนาขึ้นมา ที่เรียกว่า GAAP (Generally Accepted Accounting Principles) ในขณะที่ทางยุโรปใช้มาตรฐานการบัญชีที่เรียกว่า IAS (International Accounting Standard) สำหรับประเทศไทยเริ่มต้นการจัดทำบัญชีจากระบบมาตรฐานการบัญชีที่สอดคล้องกับ GAAP และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดเพื่อให้สอดคล้องกับ IAS

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาษีธุรกิจเฉพาะ มีกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่าย

ภาษีธุรกิจเฉพาะ มีกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องจ่าย

1. การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่วัด (ตามมาตรา 5 บัณรส แห่งพระราชกฤษฎีกา
ฉบับที่ 10)

2. การโอนอสังหาริมทรัพย์อันเนื่องมาจากที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด
ควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กัน (ตามมาตรา 5 โสฬส  แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 10)

3. การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นโรงงานพร้อมที่ดินของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อย้ายสถานประกอบการ
เข้าไปอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมฯ (ตามมาตรา 5 เอกวีสติ แห่งพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 10)

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ค่าปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

กำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ และมีรอบระยะเวลาบัญชีตรงกับปีปฏิทิน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2553 ถึง 31 ธันวาคม 2553 ซึ่งต้องยื่นแบบแสดงรายการภ.ง.ด. 51 และเสียภาษีเงินได้ภายในวันอังคารที่ 31 สิงหาคม นี้

5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี

ในบรรดาคำถามมากมายที่นักบัญชีมักจะถามเกี่ยวกับการเป็นผู้ทำบัญชีนั้น วันนี้เราได้รวบรวม 5 คำถามยอดฮิตของผู้ทำบัญชี มาฝากกัน
ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ทำบัญชีไม่ควรพลาด ดังนี้

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อแตกต่างระหว่าง บัญชีการเงิน และ บัญชีภาษีอากร

ในการจัดทำบัญชีของธุรกิจนอกจากจะต้องมีความรู้ด้านบัญชีไม่ว่าจะเป็น หลักการบัญชีทั่วไป มาตรฐานการบัญชีแล้ว นักบัญชีและผู้บริหารกิจการจะต้องมีความรู้ด้านภาษีอากรอีกด้วย
ดังนั้นการจัดทำงานเกี่ยวกับบัญชีจะต้องมีแนวทาง ที่จะกำหนดในการจัดทำเพราะต้องคำนึงถึงทั้งหลักการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร ซึ่งมีอยู่บ่อยครั้งมักจะพบว่า บัญชีที่ ได้จัดทำนั้นไม่ตอบสนองกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายภาษีอากร มีข้อขัดแย้งกับที่นักบัญชีจะต้องเข้าไปแก้ไขปรับปรุงให้เป็น ที่ยอมรับและถูกต้องทั้งด้านการบัญชีและกฎหมายภาษีอากร จะเห็นได้ว่าหากนักบัญชีได้มีการจัดทำบัญชีตั้งแต่สมุดรายวันขั้นต้น สมุดขั้นปลาย งบทดลอง งบการเงิน นักบัญชีจะยึดหลักการบัญชีและมาตรฐานการบัญชี อีกนัยหนึ่งก็คือยึดหลักของบัญชีการเงิน (Financial Accounting) นักบัญชีจะต้องนำข้อมูลทางบัญชีการเงินมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับกฎหมายภาษี อากรซึ่งก็คือการบัญชีภาษีอากร (Tax Accounting) ข้อแตกต่างระหว่างบัญชีการเงินกับบัญชีภาษีอากรจึงสรุปได้ดังต่อไปนี้

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การวางแผนภาษี 5 วิธี

1. รายได้ที่ยกเว้นภาษี
มีรายได้บางประเภทที่ได้รับการ “ยกเว้นภาษีเงินได้” ซึ่งดูได้จาก ประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 42 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ที่สำคัญ ได้แก่ กำไรจากการขายหุ้นในตลาดหุ้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมีโอกาสทำกำไร จากหุ้น พอๆ กับการขาดทุน ซึ่งถ้าเขาขาดทุน ก็ไม่สามารถ นำมาเป็นค่าใช้จ่าย ในทางภาษีเช่นกัน ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน ก็เป็นเรื่องยาก ที่จะทำกำไร มีทางเลือกหนึ่ง คือ การลงทุนในกองทุน เพื่อรอรับผลได้ในรูป ของการเพิ่มราคา ของหน่วยลงทุน ซึ่งการขายหน่วยในตลาด โดยได้กำไร ก็ไม่ต้องเสียภาษี
ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ที่ออกก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2529 ก็ได้รับ การยกเว้นภาษี เช่นกัน แต่พันธบัตรเหล่านี้ ก็ครบอายุการไถ่ถอนไปหมดแล้ว ดังนั้น การหารายได้ ที่ยกเว้นภาษี จากพันธบัตรรัฐบาลจึงยาก

วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจำกัด

การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทจำกัด

กรรมการ คือบุคคลที่ผู้ถือหุ้นตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่บริหารกิจการบริษัทแทนผู้ถือ หุ้น  กรรมการของบริษัทอาจมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ตามที่ที่ประชุมหรือข้อบังคับ ของบริษัทกำหนด
การแต่งตั้งกรรมการ
1.ที่ประชุมจัดตั้งบริษัทจะเป็นผู้ลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดแรก
2.ต่อ ไปเมื่อมีการประชุมสามัญประจำปีแต่ละปีกรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งจำนวน หนึ่งในสาม (โดย 2 ปีแรกหลังตั้งบริษัท  ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น  ให้ใช้วิธีจับฉลากออก  ส่วนปีถัดไปให้กรรมการที่อยู่นานที่สุดออก) และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่ง (กรรมการที่ออกจะถูกแต่งตั้งขึ้นมาใหม่ก็ได้)
3.ในกรณีที่มีกรรมการออก จากตำแหน่งด้วยเหตุอื่นก่อนครบวาระ  เช่น  ตาย  ลาออก  ล้มละลาย  และไร้ความสามารถ  ที่ประชุมคณะกรรมการสามารถแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกได้
4.ที่ ประชุมใหญ่ถือหุ้นเท่านั้นที่จะมีอำนาจถอดถอนกรรมการออกจากตำแหน่งได้  การเปลี่ยนแปลงกรรมการทุกครั้งต้องจดทะเบียนภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงกรรมการ

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนผู้ฝึกหัดงานเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

ลำดับที่ 1
แจ้งการฝึกหัดงานสอบบัญชี ก่อนเริ่มฝึกหัดงาน ต่อสภาวิชาชีพบัญชี โดยใช้ แบบ ผส.1
หลักฐาน/เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอ
  1. สำเนาปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร พร้อม ต้นฉบับแสดงต่อเจ้าหน้าที่
  2. สำเนาพร้อมต้นฉบับใบรับรอง ผลการศึกษาตลอด หลักสูตร (Transcript) กรณีฝึกหัดงานระหว่างการ ศึกษา ให้ใช้ให้หนังสือรับรองของสถาบันการศึกษา ที่แสดงว่าได้สอบผ่านวิชาการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพ บัญชีกำหนดไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบ บัญชี ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งรวมทุกวิชาแล้ว ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
  3. สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาหนังสืออื่นใด ของทางราชการ ซึ่งใช้ในการแสดงตนได้
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปพรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 เป็นกฎหมายใหม่ที่ประกาศใช้ทดแทนพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ. 2505 มีทั้งหมด 78 มาตรา จัดแบ่งเป็น 9 หมวดและบทเฉพาะกาล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. คำนิยามของ “วิชาชีพบัญชี”
“วิชาชีพบัญชี” หมายถึง วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี ทั้งนี้ ในภายหน้าหากเห็นว่ามีบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านใดที่มีความสำคัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อาจออกกฎกระทรวงกำหนดบริการเกี่ยวกับการบัญชี ด้านนั้นเพิ่มเติมขึ้นในคำนิยามวิชาชีพบัญชีก็ได้ เช่น การตรวจสอบภายใน เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เสริมกลยุทธ์ธุรกิจ SMEs ด้วย"บัญชี"

บ่อยครั้งที่ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ผิดหวังกับ “บัญชี” เพราะตัวเลขจากงบการเงิน ที่ ได้มาตลอดปีแสดงผลงานที่ดี มีกำไร แต่พอผู้สอบบัญชีตรวจสอบประจำปีกลับต้องผิดหวัง เพราะตัวเลขในงบการเงินต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่เนื่องจากไม่เป็นไปตาม มาตรฐานการบัญชี ที่ ถูกต้อง ผลการดำเนินงานพลิกกลับจากกำไรเป็นขาดทุน ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลหลายประการ เช่น นักบัญชีของกิจการไม่รู้หรือไม่เข้าใจในมาตรฐานการบัญชีหรือเปล่า ถ้าใช่ก็คงต้องแก้ไขที่ตัวนักบัญชีเพราะเป็นอาชีพและความรับผิดชอบเบื้องต้น ที่ต้องทำบัญชีให้ถูกต้อง ไม่ควรใช้มาตรฐานการบัญชีผิดทำให้ผู้บริหารเข้าใจสถานการณ์ผิดคลาดเคลื่อนไป ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก แต่ถ้าไม่ใช่ความผิดของนักบัญชี หากเป็นเพราะผู้บริหารไม่ยอมปฏิบัติตาม เนื่องจากไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องที่คุยกับผู้สอบบัญชีไม่ได้หรือผู้บริหารไม่ ยอมรับในมาตรฐานการบัญชี ก็จำเป็นต้องปรับความเข้าใจกับผู้บริหารใหม่ให้ทราบถึงข้อกำหนดของกฎหมาย เกี่ยวกับการจัดทำบัญชี มาตรฐานการบัญชีในปัจจุบันมีความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายบัญชีมาก ตัวเลขในงบการเงินจึงต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีเสมอ ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการที่ผู้บริหารได้ดำเนินมาในรอบปีบัญชี หนึ่งจะต้องถือตามเกณฑ์นี้ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผลการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของผู้บริหารจะปรากฏออกมาในรูปของบัญชี และงบการเงินตามกติกาที่เรียกว่า มาตรฐานการบัญชีนั่นเอง

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี

สำนักงานบัญชี เปิดบริการรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี โดยรับทำบัญชีมายาวนานและต่อเนื่อง ซึ่งทางสำนักงานบัญชี มีบุคลากรที่มีคุณภาพในการรับทำบัญชี ในการรับทำบัญชี สำนักงานบัญชีได้ทำตามความต้องการให้รับทำบัญชีของผู้ประกอบการที่มีอุปการะคุณ และสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นสำนักงานบัญชี โดยรับทำบัญชีตามพรบ.การบัญชี และรับทำบัญชีโดยระบบบัญชีสำเร็จรูป ที่กรมสรรพากรยอมรับ ทางผู้บริหารเล็งเห็นถึงความต้องการใช้ที่ผู้ใช้บริการสำนักงานบัญชีอย่างเต็มรูปแบบ และทางสำนักงานบัญชีได้ปรับปรุงพัฒนาระบบรับทำบัญชีมาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยได้มีการพัฒนาความรู้อบรมหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อนำมาใช้ในการรับทำบัญชี

สำนัำกงานบัญชี ยินดีให้บริการรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ประกอบการที่ต้องการและดำเนินกิจการรับทำบัญชี สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี อย่าง ต่อเนื่อง พัฒนาความรู้ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับกิจการ ทุกประเภท พร้อมทั้งทีมงานที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องรับงานบัญชี และรับทำบัญชี มาโดยตลอด พร้อมทั้งทีมงานทางด้านบัญชีคอมพิวเตอร์พัฒนาระบบงานและระบบการรับทำบัญชี ตรวจสอบบัญชีที่ใช้เฉพาะงานใน สำนักงานบัญชี เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการบันทึกบัญชี โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการตรวจทาน ทำให้สำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุด

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีจ่ายเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หรือ (2)


ขอนำประเด็นการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ตามมาตรา 40 (1) และ (2) ที่มิใช่เงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียว
เพราะเหตุออกจากงาน เป็นไปตามมาตรา 50 (1) วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ซึ่งอาจสรุปหลักเกณฑ์การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีดังกล่าวได้ดังนี้

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงินและความหมาย

คำชี้แจงกรมทะเบียนการค้า
เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน
-----------------------
เนื่องจากกรมทะเบียนการค้า ได้ออกประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดรายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน พ.ศ. 2544 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ออกตามความในมาตรา 11วรรคสาม ของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 กำหนดให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องมีรายการย่อ ดังนี้
  • ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 1
  • บริษัทจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 2
  • บริษัทมหาชนจำกัด ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 3
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 4
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องมีรายการย่อตามที่กำหนดในแบบ 5
เพื่อให้การจัดทำงบการเงินเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน กรมทะเบียนการค้า จึงขอชี้แจงดังต่อไปนี้

รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน

1 - 1
แบบ 1
งบการเงิน
ของ
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
--------------------
งบดุล
สินทรัพย์                                                                   หน่วย : บาท
25 X 1
1. สินทรัพย์หมุนเวียน
1.1 เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน
1.2 เงินลงทุนชั่วคราว
1.3 ลูกหนี้การค้า - สุทธิ
1.4 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
1.5 เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น
1.6 สินค้าคงเหลือ
1.7 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน

ศัพท์บัญชี อังกฤษ-ไทย

absorbed cost ต้นทุนคิดเข้างาน
absorbed overhead ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างาน
bsorption costing บัญชีต้นทุนรวม

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทุนจดทะเบียนที่ดีต้องมีการวางแผน

ทุนจดทะเบียนที่ดีต้องมีการวางแผน

โดยปกติกลุ่มบุคคลที่รวมตัวกัน ขึ้นมาเพื่อประกอบธุรกิจและต้องการจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดนั้น ย่อมต้องกำหนดทุนของบริษัทขึ้นมาตั้งแต่ตอนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทกับ กระทรวงพาณิชย์ หากแต่ท่านทราบหรือเข้าใจคำว่า “ทุนจดทะเบียน”และ “ทุนเรียกชำระ” หรือไม่ว่ามีความแตกต่างกันเพียงใด และจะมีผลกระทบกับบริษัทของท่านอย่างไรหากขาดการวางแผนที่ดี

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ครม.คงภาษีมูลค่าเพิ่ม7%ต่ออีก2ปี

รมว.คลัง เผย ครม. มีมติให้คงภาษีมูลเพิ่ม 7 % ต่ออีก 2 ปี  ช่วยผู้ประกอบการให้ต้นทุนคงที่
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า   ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติ ตามที่ ก.คลังเสนอให้ ยืดระยะเวลา การคงภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7 % ต่อไป เป็นเวลา อีก 2 ปี หลังจากจะหมดเวลาลงในช่วงเดือนกันยายน สาเหตุที่ต้องยืดระยะเวลาออกไป เนื่องจากเห็นว่าขณะนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ อยู่ในระหว่างการฟื้นตัว จึงต้องการให้ผู้ประกอบการ ธุรกิจ มีต้นทุนคงที่และสามารถประเมินสถานการณ์ในระยะยาวได้

แหล่งข้อมูล หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (3)

ขอนำประเด็นผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอันเป็น ส่วนหนึ่งของผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนาดังนี้
ปุจฉา ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วิสัชนา ได้มีการกำหนดยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลต่างๆ ดังต่อไปนี้ ไม่ว่าบุคคลต่างๆ ดังกล่าวจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทใดในหน้าที่ตำแหน่งงานหรือกิจการที่ กำหนดนั้น

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (2)

กรณีผู้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถึงแก่ความตายระหว่างภาษี และกองมรดกยังไม่ได้แบ่ง ต้องทำอย่างไร

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (1)

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประกอบด้วยผู้มีเงินได้ ที่เป็นบุคคลธรรมดารวมทั้งผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษีและกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีเงื่อนไขใดบ้างลองทำความเข้าใจกันดูครับ
ขอนำประเด็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามาทบทวนทำความเข้าใจใหม่ทั้งหมดในรูปแบบปุจฉา - วิสัชนา โดยจะไล่เรียงเป็นลำดับไปตั้งแต่หลักการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผู้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และวิธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้ครับ
ปุจฉา หลักการทั่วไปเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากำหนดไว้อย่างไร
วิสัชนา มีหลักการทั่วไปในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาดังต่อไปนี้

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (20)

ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากรมาปุจฉา-วิสัชนาประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงิน ได้หัก ณ ที่จ่าย
ขอนำประเด็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร มาปุจฉา - วิสัชนา เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานทางด้านภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกันวินาศภัย อย่างไร
วิสัชนา การจ่ายเงินได้ที่เป็นสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าเบี้ยประกัน วินาศภัย ให้แก่ผู้มีเงินได้ที่ผู้จ่ายเงินได้ต้องคำนวณหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งมีหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขดังต่อไปนี้

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัญหาภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับรางวัลส่วนลดจากการส่งเสริมการขาย (2)

ขอนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ

เนื่องจากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 มาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้

ปุจฉา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายในลักษณะเป็นสิ่งของ ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายอย่างไร

วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในวันที่ที่มีการส่งมอบสิ่งของ โดยคำนวณมูลค่าของสิ่งของตามราคาหรือค่าอันพึงมีในวันที่ส่งมอบของนั้น ตามมาตรา 9 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ปัญหาภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลดจากการส่งเสริมการขาย (1)

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ

ขอนำแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย กรณีการจ่ายรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขาย คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 118/2545 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2545 เพื่อให้การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528 มาเป็นประเด็น ปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

ปุจฉา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายกำหนดไว้อย่างไร

วิสัชนา การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับรางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขพอสรุปได้ดังนี้

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่ง

ขอนำการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรสแห่งประมวลรัษฎากสำหรับค่าขนส่งที่ไม่ใช่ค่โดยสารสาธารณะมาปุจฉา

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่งที่ไม่ใช่ค่าโดยสารจากการ ขนส่งสาธารณะอย่างไร

วิสัชนา หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับค่าขนส่งที่ไม่ใช่ค่าโดยสารจากการ ขนส่งสาธารณะมีดังนี้

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บริการงานจดทะเบียน ทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี

บริการงานจดทะเบียน

***จดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด คณะบุคคล

***จดทะเบียนพาณิชย์ ร้านค้า

***จดเลิกกิจการ รวมปิดงบเลิก ประกาศลงหนังสือพิมพ์

***จดเปลี่ยนแปลงที่อยู่ กรรมการเข้าออก เปลี่ยนอำนาจกรรมการ เปลี่ยนวัตถุประสงค์ เปลี่ยนชื่อเพิ่มทุน

***จดเปลี่ยนแปลงภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร (ภ.พ.09)

รับทำบัญชี (Bookkeeping)


รับทำบัญชี (Bookkeeping)
1. ต้องจัดให้มี "ผู้ทำบัญชี" ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามพรบ.บัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทละ 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล ทั้งนี้อาจเป็นพนักงานของนิติบุคคล ผู้รับทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำบัญชีก็ได้
2. จัดทำบัญชีตามกฏหมาย นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำได้แก่
2.1 บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป
2.2 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
2.3 บัญชีสินค้า
2.4 บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
3. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี ให้แก่ "ผู้ทำบัญชี" ให้ครบถ้วนถูกต้อง
4. จัดให้มีการปิดบัญชี ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
5. จัดทำงบการเงิน อย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อ ตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินต้อง มีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงาน พัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน (สำหรับห้างหุ้นส่วนต้องจัด ทำงบการเงินยื่นภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี) ทั้งนี้รวมถึง บริษัท และห้างหุ้นส่วนที่แม้ว่า จะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวาง โทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

sitemap.xml





http://scpaccounting.blogspot.com/
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
1.00


http://scpaccounting.blogspot.com/p/blog-page_8336.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/p/blog-page_6440.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/p/blog-page_6938.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/p/blog-page_3306.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/p/blog-page_1773.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/07/blog-post_4699.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/07/51.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/40-1-2.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/blog-post_1887.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/blog-post_6719.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/blog-post_07.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/blog-post_05.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2019_07_01_archive.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2015_07_01_archive.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010_08_01_archive.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/72.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/3.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/2.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/1.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/blog-post.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/08/3-20.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010_07_01_archive.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/07/2.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/07/1.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/07/blog-post_31.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/07/blog-post.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80


http://scpaccounting.blogspot.com/2010/07/bookkeeping.html
2010-08-09T18:26:19+00:00
daily
0.80