พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๐)
พ.ศ. ๒๕๕๔
--------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่ ๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราภาษีเงินได้
และปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บางกรณี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓
(๑) แห่งประมวลรัษฎากร
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่
๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖
อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของ
บุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบท
บัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๐) พ.ศ. ๒๕๕๔”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการ
ลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย
หรือโอนสินค้า โดยมีหรือไม่มีประโยชน์หรือค่าตอบแทน
และให้หมายความรวมถึงสัญญาให้เช่าซื้อสินค้า
สัญญาซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อมีการ
ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อแล้ว และการส่งสินค้าออกนอกราชอาณาจักร
“สินค้า” หมายความว่า ทรัพย์สินที่มี
*** และไม่มี *** ที่อาจมีราคาและถือเอาได้ ที่มีไว้เพื่อขายเท่านั้น
“บริการ” หมายความว่า การกระทำใด ๆ อันอาจหาประโยชน์อันมีมูลค่าซึ่งมิใช่เป็นการขายสินค้า
มาตรา ๕ ใ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ
(๒) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
แห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร
และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(๑)
ร้อยละยี่สิบสามของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๕
(๒)
ร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับสองรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๕๖
มาตรา ๖
ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (๒)
สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด ๓
ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ ทั้งนี้
เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำ
ระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการ
ขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท
(๑)
กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท แต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
ให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละสิบห้าของกำไรสุทธิ
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เป็นต้นไป
(๒) กำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งล้านบาท ให้คงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้
(ก)
ร้อยละยี่สิบสามของกำไรสุทธิ
สำหรับหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
(ข) ร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิ
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีถัดมาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖
เป็นต้นไป
มาตรา ๗
ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามส่วน ๓ หมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร
ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของ
รอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาทและมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้
บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาทสำหรับกำไรสุทธิ
ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าว
เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแรกสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม
ในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๘
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้
ตามมาตรา ๖ และการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๗
ต้องไม่มีทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีใดเกินห้าล้านบาท
และต้องไม่มีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีใดเกิน
สามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๙
ให้ยกเลิก (๒) ของมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๕
มาใช้บังคับแก่บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมาย
ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
เป็นต้นไป
บทบัญญัติใน (๒) ของมาตรา ๓
แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร
(ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปแก่บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนในตลาดหลัก
ทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
มาตรา ๑๐
บทบัญญัติในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยก
เว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๑) พ.ศ. ๒๕๕๑
ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะแก่การลดอัตราภาษีเงินได้และการยกเว้นภาษีเงิน
ได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่ม
ก่อนวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
มาตรา ๑๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมาย
เหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควร
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคล เป็นระยะเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชี
จากอัตราร้อยละสามสิบเหลืออัตราร้อยละยี่สิบสามและร้อยละยี่สิบ ตามลำดับ
เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
และสมควรปรับปรุงการลดอัตราและยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ
ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
รวมทั้งปรับปรุงการลดอัตราภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิของบริษัทที่นำหลัก
ทรัพย์มา
จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออก
ตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐
เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลงทุนใน
ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ
อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
ตลอดจนให้มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น
ส่วนนิติบุคคลที่สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
(ร.จ. ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๙๓ ก ราชกิจจานุเบกษา วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔)
Last update : Thursday, December 29, 2011
Navigator :
อ้างอิง >กฎหมายออกใหม่ >2554 >ธันวาคม >พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 530/2554
rd.go.th/publish/28267.0.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น