1. เงินสะสมที่
สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนสามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้
โดยหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท
สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้าง และไม่เกิน
490,000 บาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมกับเงินได้ที่เสียภาษี
เงินสมทบที่
นายจ้างจ่ายเข้ากองทุน
ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีตามจำนวนที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างของลูกจ้างแต่ละราย
2. ผลประโยชน์จากการลงทุนของกองทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ได้รับยกเว้นภาษี
3.
เงินที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อสิ้นสุดสมาชิกภาพ
ส่วนที่เป็นเงินสะสมได้รับยกเว้นภาษี สำหรับเงินสมทบ ผลประโยชน์เงินสะสม
และผลประโยชน์เงินสมทบ
ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามเงื่อนไขดังนี้
3.1 กรณีลาออกจากงานก่อนเกษียณอายุก. หากเป็นเงินที่จ่ายให้เนื่องจากออกจากงานโดยมีระยะเวลาทำงานน้อยกว่า 5 ปี ต้องนำเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปคำนวณภาษี รวมกับเงินได้ประเภทอื่น
ข. หากเป็นเงินที่จ่ายให้เนื่องจากออกจากงานที่มีระยะเวลาทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป สามารถเลือกเสียภาษีโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่น โดยมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาทคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน เหลือเท่าใดให้หักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ ทั้งนี้ จำนวนวันทำงานตั้งแต่ 183 วันขึ้นไป นับเป็น 1 ปี น้อยกว่า 183 ให้ปัดทิ้ง
3.2 กรณีออกจากงาน เพราะ
ก. ตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข. กรณีอื่นที่ไม่ใช่ ก แต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกำหนดเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ใน 2 กรณีข้างต้นไว้ มีดังนี้
ก. กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ หรือเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(1) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะทุพพลภาพ ต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3) กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ต้องเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ในเวลาที่ออก จากงาน โดยการเกษียณอายุตามข้อบังคับนั้นลูกจ้างต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้
(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
(ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจำนวนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว การเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ
ข. ลูกจ้างออกจากงานกรณีอื่นแต่ได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกอง ทุนสำรองเลี้ยงชีพ และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ หรือครบกำหนดเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(1) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นทุพพลภาพ ต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3) กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นครบกำหนดเวลาเกษียณอายุ ตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ต้องเป็นการรับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นครบกำหนดเวลาเกษียณ อายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีอยู่ในเวลาที่ลูกจ้างผู้นั้น ออกจากงาน โดยการเกษียณอายุตามข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นลูกจ้างต้องมีอายุ ไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้
(ก) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
(ข) กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการ โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจำนวนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้า ราชการไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว การเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุน สำรองเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข) ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้นับอายุการ เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้ การรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ
ผมกำลังอายุ55ปี 17 พ.ค.นี้ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็เกิน10ปี อายุงานก็เกิน 5 ปี ผมออกจากงานมา 8 เดือนแล้วแต่คงสภาพกองทุนไว้ ต้องเสียภาษีหรือไม่หากจะออกจากกองทุนเมื่อครบอายุ55ปี
ตอบลบหากต่อมาผมกลับมาทำงานอีกครั้งและต้องเปิดกองทุนใหม่จะได้หรือไม่ และต้องเสียภาษีย้อนหลังหรือไม่