จากเหตุการณ์ภัยพิบัติอุทกภัยที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้เสียภาษีทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก กระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรได้ออกมาตรการช่วยเหลือ ผู้เสียภาษีที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวหลายประการ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนใน
การปฏิบัติเกี่ยวกับการเสียภาษี กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการในการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย ดังนี้
๑. มาตรการภาษีเพื่อจูงใจให้มีการบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
กำหนดให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยผ่านส่วนราชการ องค์การสาธารณกุศล หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นที่เป็นตัวแทนรับบริจาคเพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินไปให้ผู้ประสบอุทกภัยในระหว่างวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๔ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ สามารถนำเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนหรือค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ๑.๕ เท่า แต่ทั้งนี้กรณีบุคคลธรรมดาจะหักเป็นค่าลดหย่อนได้เฉพาะกรณีบริจาคเป็นเงินเท่านั้นและเมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนฯ แล้วส่วนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งกรณีการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินแต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะฯ แล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๒ ของกำไรสุทธิ รวมทั้งให้ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสิ่งของที่บริจาคด้วย
๒. มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ยกเว้นภาษีเงินได้ให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลผู้ประสบอุทกภัย สำหรับเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค หรือช่วยเหลือเพื่อชดเชยความเสียหายจากส่วนราชการหรือภาคเอกชน ทั้งนี้ ไม่เกินมูลค่าความเสียหายที่ได้รับ
๓. มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย
3.1 กรณีผู้ประกอบการเป็นบุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นภาษีสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบการตามประเภทเงินได้ที่ 5,6,7 และ 8 เฉพาะส่วนที่เท่ากับจำนวนค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นตามที่ได้ลงทะเบียนไว้กับหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการ
3.2 กรณีผู้ประกอบการที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหายหากไม่มีการทำประกันภัยไว้สามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ทันที แต่หากมีการทำประกันภัย และได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหาย ให้ยกเว้นภาษีสำหรับค่าสินไหมทดแทนเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาแล้ว
3.3 การขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีอากร
3.3.1 ปัจจุบันกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้มีการขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบและชำระภาษีอากรให้กับผู้เสียภาษีที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในเขตท้องที่ต่าง ๆ ดังนี้
- สำนักงานสรรพากรภาค 4 ได้แก่
(1) สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (สส.) ทุกแห่ง ในท้องที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ (สท.) พระนครศรีอยุธยา 1 สท. พระนครศรีอยุธยา 2 สท. ชัยนาท สท. สิงห์บุรี สท. อ่างทอง สท. อุทัยธานี สท. ลพบุรี สท. ปทุมธานี 1 สท. ปทุมธานี 2 สท. นนทบุรี และ สท. นครสวรรค์
(2) ท้องที่ สส. เมืองสระบุรี สส. แก่งคอย สส. บ้านหมอ สส. เสาไห้ สส. ดอนพุด สส. หนองโดน สส. เฉลิมพระเกียรติ สส. หนองแค ใน สท. สระบุรี
- สำนักงานสรรพากรภาค 6 ได้แก่ ท้องที่ สส. บางเลน ใน สท. นครปฐม 1
- สำนักงานสรรพากรภาค 7 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. เมืองสุโขทัย สส. สวรรคโลก สส. ศรีสำโรง ในสท. สุโขทัย
(2) ท้องที่ สส. เมืองนครสวรรค์ สส. ท่าตะโก สส. โกรกพระ สส. บรรพตพิสัย สส. ชุมแสง สส. ลาดยาว สส. พยุหะคีรี สส. ตาคลี สส. เก้าเลี้ยว ใน สท. นครสวรรค์
(3) ท้องที่ สส. เมืองพิษณุโลก สส. บางระกำ สส. บางกระทุ่ม สส. เนินมะปราง สส. วังทอง สส. พรหมพิราม ใน สท. พิษณุโลก
(4) ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท. พิจิตร
(5) ท้องที่ สส. เมืองตาก สส. วังเจ้า สส. บ้านตาก สส. สามเงา ใน สท. ตาก
- สำนักงานสรรพากรภาค 8 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. เมืองเชียงใหม่ 1 สส. เมืองเชียงใหม่ 2 สส. หางดง สส. สารภี สส. ฮอด สส. แม่แจ่ม ใน สท. เชียงใหม่ 1
(2) ท้องที่ สส. ฝาง สส. สันทราย ใน สท. เชียงใหม่ 2
- สำนักงานสรรพากรภาค 9 ได้แก่ ท้องที่ สส. วารินชำราบ ในสท. อุบลราชธานี
- สำนักงานสรรพากรภาค 10 ได้แก่ ท้องที่ สส. ด่านซ้าย ใน สท. เลย ทั้งนี้ ได้ขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีในแบบฯทุกประเภท เฉพาะ สท.สุโขทัย สท. นครสวรรค์ สท. พิษณุโลก สท. พิจิตร ขยายให้สำหรับเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2554 ส่วน สท. อื่น ขยายให้สำหรับเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2554 ออกไป เป็นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2554
3.3.2 สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดอื่นที่ได้รับ ผลกระทบเพิ่มเติม ให้ขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการ และชำระภาษีสำหรับเดือนกันยายน เดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน 2554 ออกไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 เช่นกัน ยกเว้นเฉพาะการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จะครบกำหนดยื่นแบบฯ ภายในเดือนกันยายน-ธันวาคม 2554 ขยายเวลาการยื่นแบบฯ
ได้จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555 ดังนี้
- สำนักงานสรรพากรภาค 1 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. จตุจักร ใน สท.กทม. 7
(2) ท้องที่ สส. บางเขน ใน สส.กทม. 8
(3) ท้องที่ สส.หลักสี่ ใน สท.กทม. 9
- สำนักงานสรรพากรภาค 2 ได้แก่ ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม.10 สท.กทม. 18 สท.กทม. 19 สท.กทม 21
- สำนักงานสรรพากรภาค 3 ได้แก่
(1) ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม. 25
(2) ท้องที่ สส. ทุกแห่ง ใน สท.กทม. 26
(3) สส. จอมทอง และ สส.บางขุนเทียน ใน สท.กทม. 27
(4) ท้องที่ สส. บางกอกน้อย ใน สท.กทม. 30
- สำนักงานสรรพากรภาค 6 ได้แก่ สส.ทุกแห่ง ในท้องที่ สท.นครปฐม 1 สท.นครปฐม 2 สท.สมุทรสาคร 1 สท.สมุทรสาคร 2 และ สท.สุพรรณบุรี
3.3.3 กรณีผู้ประกอบการที่มีสำนักงานใหญ่หรือสาขาอยู่ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย และมีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะรวมกัน ให้ยื่นรายการเฉพาะในส่วนของสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ไม่ได้รับผลกระทบไปก่อน ส่วนสำนักงานใหญ่หรือสาขาซึ่งอยู่ในเขตที่ได้รับผลกระทบ จะขยายเวลาให้ยื่นแบบเพิ่มเติมได้จนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2554 โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
3.3.4 กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติให้เก็บเอกสารนอกสถานประกอบการและสถานที่ที่เก็บเอกสารอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ จนไม่สามารถคำนวณภาษีได้ ให้ขยายระยะเวลาการยื่นแบบได้เช่นเดียวกัน
3.3.5 กรณีผู้ประกอบการรายใดที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้างต้น ให้ทำคำร้องชี้แจงเหตุผลเสนอผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่และสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบเพื่อส่งให้กรมสรรพากรพิจารณาต่อไป
3.3.6 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยกรมสรรพากรขอให้สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาอำนวยความสะดวกในการรับแบบต่างท้องที่ด้วย
3.4 กรณีหลักฐานเอกสารทางภาษีเสียหายหรือสูญหาย ให้ผู้เสียภาษีดำเนินการแจ้งความไว้เป็นหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานีตำรวจท้องที่ เกี่ยวกับรายละเอียดบัญชีเอกสารหลักฐานที่เสียหายหรือสูญหาย และหากมีปัญหาในทางปฏิบัติขอให้หารือกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบ
๔. มาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือด้านอื่น ๆ
4.1 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการช่วยเหลือพนักงานซึ่งได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้เป็นการทั่วไป โดยมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนหรือทุนเพื่อเป็นสวัสดิการ การให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยหรือคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าราคาตลาด ให้ถือว่ามีเหตุอันสมควร ทั้งนี้ไม่ว่าเงินที่นำมาให้พนักงานกู้ยืมจะเป็นเงินของบริษัทฯหรือกู้ยืมมาเพื่อให้กู้ยืมต่อ
4.2 กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินช่วยเหลือพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทำให้ทรัพย์สินเสียหายหากบริษัทฯ มีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนหรือทุนเพื่อเป็นสวัสดิการที่กำหนดไว้ชัดเจน บริษัทฯ สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ และพนักงานผู้ได้รับเงินช่วยเหลือจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย
4.3 กรณีบริษัทเช่าบ้านให้พนักงานอาศัยเป็นการชั่วคราวเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานในบริษัทเนื่องจากพนักงานได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย แม้บ้านพักอาศัยของพนักงานไม่ได้อยู่ในเขตอุทกภัย บริษัทสามารถหักเป็นรายจ่ายได้ และไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน
๕. การช่วยเหลือด้านอื่น ๆ ของกรมสรรพากร
5.1 กรมสรรพากรได้จัดตั้ง “ศูนย์อำ นวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกรมสรรพากร” และได้เปิดบัญชีเพื่อรับบริจาคเงินในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยเป็นบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยกรมสรรพากร ชื่อบัญชี“สรรพากรร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม”
5.2 กรมสรรพากรได้มอบหมายให้หน่วยงานสรรพากรนำสิ่งของที่ได้รับบริจาคไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยโดยตรง ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
5.3 กรมสรรพากรได้ร่วมกับกระทรวงการคลัง ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั่วไปโดยการจัดหาอาหารไปช่วยยังสถานพักพิงทุกวันที่ศูนย์ฝึกอบรมของกระทรวงการคลัง จังหวัดนนทบุรี
ที่มากรมสรรพากร
สวัสดีทุกคน ขอบคุณมากสำหรับการแนะนำบริษัทเงินกู้ Paco ฉันติดต่อเขาเพราะว่าฉันมีคะแนนเครดิตแย่ 490 และเขาก็ซ่อมมันในระยะเวลาอันสั้นด้วยอัตราที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่แย่ที่สุดของฉัน ในที่สุดฉันก็ได้เงินกู้ 25,000 เหรียญแล้ว ฉันมีความสุขมากและขอบคุณสำหรับสิ่งที่ บริษัท เงินกู้ Paco ทำเพื่อฉัน...คุณอับอายทางการเงินหรือไม่ที่คุณไม่สามารถชำระหนี้และตั๋วเงินของคุณ คุณคิดว่าจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินหรือไม่? อย่าเพิ่งรีบตอนนี้และคว้าสินเชื่อที่มีหลักประกันและค้ำประกันของคุณวันนี้ ติดต่อ Paco ทางอีเมล: pacoloancompany@gmail.com หรือ Whats-app เขาที่ +18172866412 หรือทางเว็บไซต์: https://pacoloancompany.wixsite.com/my-site-1
ตอบลบ