h1.post-title{ font-size:20px;}

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษีเงินปันผล

ตาม ข้อเท็จจริงมีว่า ได้มีผู้เสียภาษีท่านหนึ่ง สมมุติ ชื่อ “นาย พ” ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90 สำหรับปีภาษี 2550 ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ขอคืนภาษีเป็นเงินจำนวน 323,712.42 บาท มีรายละเอียด ดังนี้

นาย พ มีเงินได้พึงประเมินประเภทต่าง ๆ คือ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินเดือน กับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภทเงินปันผลจากบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศไทยแห่งหนึ่ง



ต่อ มาเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้จากนาย พ. จำนวน 1,375,077.96 บาท เนื่องจากเงินได้ที่ได้รับจากบริษัทจำกัดดังกล่าว มิใช่เงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินปันผลตามมาตรา 40 (4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร อันเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการเลิกกิจการ ซึ่งนาย พ. ได้นำเงินไปชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน พร้อมยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับปีภาษี 2550 เพิ่มเติม แสดงเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่นำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษี เป็นภาษีที่ต้องชำระ 9,609.93 บาท และนำภาษีที่ชำระตามหนังสือแจ้งการประเมินจำนวน 1,375,077.96 บาท มาเครดิตภาษีทำให้มีภาษีที่ชำระไว้เกิน ซึ่งการยื่นแบบและทำการปรับปรุงการคำนวณภาษี โดยไม่นำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษี ผู้เสียภาษีมีสิทธิกระทำได้ ตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 21/2533 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินปันผลหรือเงินส่วน แบ่งของกำไรที่ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตาม กฎหมายไทยและไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ลงวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2533

มีปัญหาว่า นาย พ. สมควรได้รับคืนเงินภาษี 1,365,468.03 บาท ตามที่ร้องขอ หรือไม่อย่างไร

เกี่ยวกับเรื่องนี้ กรมสรรพากรได้มีคำแนววินิจฉัย ตามหนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0702/6827 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ว่า

กรณีนาย พ. นำเงินได้พึงประเมินที่ได้รับจากบริษัท อ. จำนวน 6,287,700 บาท ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยใช้สิทธิเครดิตภาษีตามมาตรา 47 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าว นาย พ. ไม่มีสิทธินำมาเครดิตภาษี เจ้าพนักงานประเมินจึงทำการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเรียกเก็บไปยัง นาย พ. ซึ่งนาย พ. ได้นำเงินไปชำระภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมิน จึงถือได้ว่า นาย พ. ได้ใช้สิทธิเลือกนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาแล้ว ดังนั้น เมื่อนาย พ. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 สำหรับ ปีภาษี 2550 เพิ่มเติม แสดงเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่นำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษี จึงไม่อาจกระทำได้ และไม่มีสิทธินำเงินภาษีที่ชำระตามการประเมินมาเครดิตภาษี

ปัญหา ข้อนี้ค่อนข้างคลาสสิก เพราะเงินกำไรสะสมหากจ่ายก่อนเลิกกิจการถือเป็นเงินปันผล แต่ถ้าจ่ายหลังจากเลิกกิจการถือเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการเลิกกิจการไม่มี สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 48 (3) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเสียสิทธิดังเช่นราย นาย พ. ดังกล่าว จึงขอให้พิจารณาให้ดีก่อนเลิกกิจการครับ


ที่มา : คอลัมภ์มุมภาษี  นสพ.เดลินิวส์  วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม 2555 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น