h1.post-title{ font-size:20px;}

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (1)


ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 530) พ.ศ. 2554 ได้มีการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลทั่วไป เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี และสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จึงขอนำมาทบทวนเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา มีข้อกำหนดเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นการทั่วไปอย่างไร
วิสัชนา เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและจูงใจการลงทุนใน ด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนจากต่างประเทศ อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนให้มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้น ส่วนนิติบุคคลที่สอดคล้องกัน
1. สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้จัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน
(1) ร้อยละ 23 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2555 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค.2555
(2) ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ม.ค.2556 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธ.ค.2557
ปุจฉา การกำหนดให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเพียง 3 รอบระยะเวลาบัญชีมีเหตุผลอย่างไร
วิสัชนา ในความเป็นจริงต้องการลดอัตราลงเหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ แต่เนื่องจากการแก้ไขบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรเป็นการถาวร ต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาที่พอสมควร ดังนั้น ในกรณีเร่งด่วน จำเป็นต้องใช้กลไกตามมาตรา 3 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งให้อำนาจแก่รัฐบาลที่จะตราพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร จึงได้มีการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ณ บัดนี้ เชื่อว่ารัฐบาลคงจะไม่สามารถตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ได้ทันภายในปี 2557 อย่างแน่นอนช่วงเวลา 3 ปี เครื่องมือที่ใช้ขยายเวลาการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยการตราพระราช กฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร ก็ยังคงสามารถกระทำต่อไปได้อีก
ปุจฉา การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิดังกล่าว สอดคล้องกับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่อย่างไร
วิสัชนา ในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เวียดนาม และมาเลเซีย จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 25% ของกำไรสุทธิ ส่วนสิงคโปร์ จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา 17% ของกำไรสุทธิ เท่านั้น
นอกจากนี้ ทั้งสามประเทศยังจัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเพียงระดับเดียว คือภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ไม่เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการจ่ายเงินปันผล ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทยของเราที่จัดเก็บภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเป็นสอง ระดับ คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และเมื่อมีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งของกำไรก็จะจัดเก็บภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาจากผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน โดยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย อีก 10% ของเงินปันผลหรือเงินแบ่งของกำไร

bangkokbiznews.com โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น