h1.post-title{ font-size:20px;}

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กรณีลดทุนบริษัท บริษัทต้องทำอย่างไร

บริษัท มาร์ค ประกอบกิจการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2538 ทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท (ชำระเต็มมูลค่าแล้ว) ต่อมา 23 พ.ย. 2553 บริษัทฯ จดทะเบียนลดทุนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เหลือ 5 ล้านบาท โดยข้อมูลตามงบการเงิน กำไรสะสมยกมาจากปี 2552 มี 1แสนบาท กำไรของปี 53 มี 250,000 บาท รวมกำไรสะสมยังไม่ได้แบ่งในงบแสดงฐานะการเงินทั้งสิ้น (ตั้งแต่ก่อตั้งถึงปี 2553) จำนวน 1 ล้านบาท
อยากเรียนถามว่า กรณีลดทุนบริษัท บริษัทต้องทำอย่างไรกับเงินที่ลดทุน ตามมาตรา 40 (4)(ง) นี้บ้าง คะ บริษัทฯ ต้องทำเสมือนแบ่งกำไรสะสม ตามส่วนของผู้ถือหุ้นหรือไม่ แล้วหักภาษี ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งสรรพากร 10% หรือไม่ แล้ว ถ้าแบ่ง ต้องแบ่งเท่าไร แบ่ง ณ วันที่ลดทุนคือ 23 พย. 2553 หรือไม่ (มีกำไร ตามงบ 1 ล้าน แบ่ง 1 ล้านเลยหรือไม่)
แต่ถ้าแบ่ง ในปี 2553 กำไรสะสมนี้พันยอดมาถึงปี 2555 แล้ว จะต้องมีการปรับปรุงย้อนหลังหรือไม่"


ตามหนังสือตอบข้อหารือของกรมสรรพากรเลขที่ กค 0702/3969 ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2552 เรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการลดทุน ได้วางแนวทางปฏิบัติกรณีการลดทุนตามมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวล รัษฎากร ไว้ว่า "การจ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกันนั้น เงินลดทุนที่ผู้ถือหุ้นได้รับดังกล่าว จะต้องเป็นการคืนทุนซึ่งเป็นกำไรสะสมตามงบดุล" ดังนี้
ข้อหารือ :
1. นาย พ. ประกอบกิจการขายยาสำเร็จรูป และมีรายได้จากการให้เช่าบ้าน นาย พ. ถือหุ้นบริษัท อ. จำนวน 100,000 หุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวมมูลค่า 1,000,000 บาท ราคาซื้อขายหุ้นละ 71.50 บาท ต่อมาบริษัท อ. ได้จดทะเบียนลดทุน และได้จ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่นาย พ. เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 จำนวนเงิน 8,000,000 บาท และหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ไว้จำนวนเงิน 2,520,000 บาท
บริษัท อ. จดทะเบียนเมื่อ 13 พฤษภาคม 2537 มีทุนจดทะเบียน 90,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท รวมทุนจด ทะเบียน 900,000,000 บาท ได้เพิกถอนหุ้นจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2543 และจดทะเบียนลดทุนเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 จำนวนตามมูลค่าทุน 6,690,000 บาท โดยจ่ายเงินลดทุนให้ผู้ถือหุ้นรวม 34,768,800 บาท เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2547 บริษัท อ. มีกำไรสะสมยังมิได้จัดสรร จำนวนเงิน 171,507,000 บาท เงิน สำรองตามกฎหมาย จำนวนเงิน 90,000,000 บาท รวมเป็นเงิน 261,507,000 บาท บริษัท อ. จ่ายเงินปันผลเมื่อเดือนพฤษภาคม2548 จำนวนเงิน 194,811,000 บาท คงเหลือเงินสำรองตามกฎหมายจำนวนเงิน 66,696,000 บาท นาย พ. ไม่ได้นำเงินลดทุน ที่ได้รับจำนวน 8,000,000 บาท มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่อย่างใด
2. บริษัท ก.ประกอบกิจการให้ยืมเงิน ซื้อ เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สิน มีทุนจดทะเบียน ที่ชำระแล้ว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 จำนวน 350,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท รวมทุนจดทะเบียน 35,000,000 บาท บริษัท ก. ได้ทำการลดทุนตามมติของที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 และครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2548 โดยลดจำนวนหุ้นลงรวม 60,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท จำนวนเงิน 6,000,000 บาท บริษัท ก. ได้จดทะเบียนลดทุนเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2549 ปัจจุบันคงเหลือหุ้นจำนวน 290,000 หุ้น มูลค่า หุ้นละ 100 บาท เป็นจำนวนเงิน 29,000,000 บาท ก่อนจดทะเบียนลดทุน บริษัท ก. ได้จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นราคาหุ้นละ 14 บาท จำนวน 350,000 หุ้น เป็นจำนวนเงิน 4,900,000 บาท เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 การจ่ายเงินลดทุนให้กับผู้ถือหุ้น ดังกล่าว บริษัท ก. มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนำส่งแต่อย่างใด
แนววินิจฉัย :
กรณีตาม 1. และ 2. บริษัท อ. และบริษัท ก. ได้จดทะเบียนลดทุนและได้จ่ายเงินลดทุนคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะถือเป็นเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไร และเงินที่กันไว้รวมกันนั้น เงินลดทุนที่ผู้ถือหุ้นได้รับดังกล่าว จะต้องเป็นการคืนทุนซึ่งเป็นกำไรสะสมตามงบดุลของบริษัท อ. และบริษัท ก. ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ครั้งสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก่อนการคืนเงินลดทุนหักด้วยเงินปันผลระหว่างกาล เฉพาะยอดที่บริษัท อ. และบริษัท ก. ประกาศจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นก่อนการคืนเงินลดทุน หากเงินลดทุนไม่เกินจำนวนเงินดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินลดทุนคืนต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษี เงินได้ทั้งจำนวน
เลขตู้ : 72/36628

ดังนั้น กรณีที่บริษัทฯ ได้ลดทุนและคืนเฉพาะเงินทุน โดยไม่มีการนำส่วนของกำไรสะสมมาจ่ายคืนให้แก่ผูถือหุ้น จึงไม่ถือมีการจ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็น "เงินลดทุนเฉพาะส่วนที่จ่าย ไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน" ตามมาตรา 40 (4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือหุ้น กรณีจึงไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับ "เงินลดทุน เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและ เงินที่กันไว้รวมกัน" ตามมาตรา 40 (4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร นั้น กรมสรรพากร ตอบข้อหารือไม่เหมือกัน บางข้อหารือก็ทึกทักเอาเงินลดทุน เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน มาถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่สนใจว่าจะมีการนำเงินกำไรมาจ่ายเป็นเงินลดทุนหรือไม่
แต่ผมยึดตามข้อหารือนี้ เพราะเป็นข้อหารือที่ "เป็นธรรม" แก่ผู้มีเงินได้ที่สุด และสมตามเจตนารมณ์ของการบัญญัติประมวลรัษฎากร ที่มุ่งอำนวยให้เกิดความเป็นธรรมแก่สั้งคม
 
ที่มา http://119.46.210.53/library/show_article.php?art_id=340

2 ความคิดเห็น:




  1. บทความดังกล่าว ฉนยั มาจากคำตอบของผม ขอความกรุณาอ้างที่มาให้ด้วยครับ จักเป็นพระคุณยิ่ง https://www.facebook.com/Suthep.Pongpitak/posts/594046277313019/?__xts__[0]=68.ARC8dJvFShR9O_GYuWf6SD74OkM1lS47ZbtIeejD9D_pyt7VDS2AKh6Dr5OlKZ5jp-WHnXm_HXMhw3zoOwjuJs7eKaCyGJQAY_EOKnF20F1sBsO66WJ-VK8PZYQPXcTS5fdYx2kX-BuwiUn3Xh6J5OlEQO1j8F6MR_QNhPv-_msVQdf0pzSIL1taazoQggcLw_qHTpUbTKE9lrxM6vZCeadPFHOY1THxknpX1Pr-QOTOtgcvSFgfuFVV4-uwe2ePGQhrLaXl6iUjSRWCcS0uPW5IAu1LR31uMH56w86B4iu4yBUJ-RjD8h1cP3CVCa4yvahZ_hrqp1IuBaxPpFkLDyubWw&__tn__=-UK-R

    ตอบลบ
  2. ถ้าผมซื้อบ้านโครงการสักแห่ง 900ล้านบาทจะถูกลดทุนหรือผมซื้อตราหนี้3,5ปี ผลเติบโต2% กำไร25,000-30,000ล้านบาท ซึ่งตราสารหนี้ราคา1,000หน้าต้วปิดที่1,100ล้านบาท 100ค่าดอกเบี้ยธนาคารคงเหลือ1,000ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยกู้1,000 ดอกเบี้ยกู้150ล้านบาท ต่อปี 3ปี450ล้านบาท น่าลงทุนจาก25,000=11,000 กำไรน่าจะ2,000=4,000 ถ้าหากหนี้สิน3เท่า ำไร1,000ล้านต่อปีเงินปันผล20% 200ล้านบาท เงินเดือน หรือเงินปันผล (ถ้าทำได้อย่างนี้ผมคง...โตแล้ว ม.26 กฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    ตอบลบ