h1.post-title{ font-size:20px;}

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ปัญหาใบกำกับภาษีที่พบบ่อย

ปัญหาที่มักจะพบกันอยู่บ่อยๆ คือ "ใบกำกับภาษี" ที่ผู้ขายหรือผู้ให้บริการต้องออกให้กับลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบที่ใช้เป็นหลักฐานในการขอภาษีซื้อ คืน ของผู้จ่ายเงินที่ซื้อสินค้า บริการนั้นๆ ซึ่งผู้ขายจะต้องทำใบกำกับภาษีเต็มรูปตามแบบประมวลรัษฎากร โดยส่งมอบต้นฉบับใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อ และเก็บรักษาสำเนาใบกำกับภาษี เพื่อการลงรายงานภาษีขาย ภายใน 3 วันทำการนับจากวันที่ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ใบกำกับภาษีเต็มรูป ตามประมวลรัษฎากร อย่างน้อยต้อมมีรายการดังต่อไปนี้
  1. คำว่า "ใบกำกับภาษี" ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน
  2. ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จัดทำใบกำกับภาษี
    ชื่อ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ,ชื่อ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการ หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, ที่อยู่ หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนฯไว้ กรณีระบุที่อยู่ไม่ครบถ้วน แต่รายการที่อยู่ที่ระบุไว้ถูกต้อง และสามารถบอกตำแหน่งที่ตั้งที่ชัดเจนได้ ให้ถือว่าได้ระบุที่อยู่ครบถ้วนแล้ว
  3. ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อ คือชื่อผู้ประกอบการ ชื่อสถานประกอบการ ชื่อการของสถานประกอบการ ตามที่ได้จดทะเบียนฯไว้ กรณีบุคคลธรรมดาให้รวมถึงนามสกุลด้วย กรณีระบุชื่อผู้ซื้อไม่ครบถ้วน โดยมีเครื่องหมาย ไปยาลน้อย (ฯ) ละคำที่ประกอบคำหน้า แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบ การรายอื่น เช่น "การสื่อสารแห่งประเทศไทย" เขียนว่า "การสื่อสารฯ" ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว กรณีระบุชื่อผู้ชื่อ โดยตัวสะกด สระ วรรณยุกต์ การันต์ ผิดพลาด แต่เป็นที่เห็นได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นผู้ประกอบ การรายอื่น ให้ถือว่าได้ระบุชื่อครบถ้วนแล้ว
  4. หมายเลขลำดับของใบกำกับภาษี และหมายเลขลำดับของเล่น (ถ้ามี)
  5. ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และมูลค่าของสินค้าหรือบริการ ชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการ ให้ระบุเฉพาะชื่อ ชนิด ประเภท ของสินค้าหรือบริการ ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี เว้นแต่ในกรณีที่มีความเป็นต้องระบุชื่อ ชนิด ประเภทของสินค้าหรือบริการ ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษีด้วย ให้กระทำโดยต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือแยกรายการแสดงให้เห็นชัดเจนว่าเป็น สินค้าหรือบริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  6. มูลค่าของสินค้า หรือบริการที่ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ โดยให้แยกออกจากค่าสินค้าหรือบริการให้ชัดแจ้ง กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีมีจำนวนมากกว่าหรือน้อยกว่าภาษีมูลค่า เพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการ คูณด้วยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มหารด้วย 100 อันเนื่องมาจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีเศษเป็นจุดทศนิยม ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีตามจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าสินค้า หรือบริการ คูณด้วย อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม หารด้วย 100
  7. วันเดือนปี ที่ออกใบกำกับภาษี ใช้ตัวเลขแทนการระบุชื่อเดือนก็ได้และให้พุทธศักราช หรือ คริสต์ศักราช ก็ได้
ที่มา suretax

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น